xs
xsm
sm
md
lg

ครม.ไม่กล้าขวาง มท.พิมพ์สมาร์ทการ์ด 4 ล้านใบ ตีกลับ คปร. ชงถือครองที่ดิน 50 ไร่

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

วัชระ กรรณิการ์
ที่ประชุม ครม.เห็นดีเห็นงาม มท.เร่งคลอดจัดทำสมาร์ทการ์ดแจกทั่วประเทศ 4 ล้านใบ ทันก่อน พ.ค. “ไอซีที” ไม่กล้าขวางครหาแผนจัดซื้อ ด้าน “สาทิตย์” เผย ครม.ตีกลับข้อเสนอจำกัดครองที่ดินของ คปร. ถามกลับบริษัทขนาดใหญ่ถือครองเกิน 50 ไร่ได้หรือไม่

วันนี้ (8 มี.ค.) นายวัชระ กรรณิการ์ รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า นายบุญจง วงศ์ไตรรัตน์ รมช.มหาดไทย ได้รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีให้ทราบถึงความคืบหน้าการเร่งทำบัตรประชาชนอิเล็กทรอนิกส์ หรือสมาร์ทการ์ด โดยระบุว่าในเดือน มี.ค.นี้จะมีบัตรแล้วเสร็จ 1.5 ล้านใบ เดือน เ.ม.ย.จะออกมา 1.5 ล้านใบ และภายในเดือน พ.ค.จะแล้วเสร็จ 4 ล้านใบ นอกจากนี้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารไม่ขัดข้อง หลังจากที่เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ประชุมได้มอบหมายให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีการประชุมระหว่างกระทรวงไอซีที กระทรวงมหาดไทย หลังการประชุมผู้แทนของกระทรวงไอซีทีไม่ได้ขัดข้องคำชี้แจงของกระทรวงมหาดไทย ในเรื่องการจัดซื้อ หรือกระบวนการที่เกี่ยวข้องกับเทคนิค บัตรประชาชนที่จัดซื้อ ดังนั้น ในส่วนนี้นายกรัฐมนตรีได้กำชับให้เร่งรัดเพื่อให้ประชาชนมีบัตรใช้แทนบัตรเหลืองได้อย่างรวดเร็ว

ด้าน นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อเสนอการปฏิรูปที่ดินของคณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ว่า ในที่ประชุม ครม.มีการหยิบยกขึ้นมาพิจารณา โดยเรื่องที่เห็นชอบมี 2 เรื่อง 1.การเปิดข้อมูลถือครองที่ดินเพื่อการเกษตรที่เป็นข้อมูลสาธารณะ ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ให้ความเห็นชอบโดยจะมีการดำเนินการร่วมกับกรม ที่ดิน ซึ่งหลังจากนี้ มติ.ครม.จะออกมาแล้วกระทรวงเกษตรจะต้องไปคุยกับกรมที่ดิน หลังจากนั้นต้องไปหากลไกวิธีการ ซึ่งน่าจะดำเนินการได้ไม่เกินเดือนนี้ เพราะกระทรวงเกษตรฯ เขาบอกว่ามีข้อมูลอยู่แล้ว เช่น ข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดินต่างๆ 2.ดำเนินการคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรม โดยเรียกว่าเขตเศรษฐกิจพิเศษเพื่อการเกษตร ซึ่งกระทรวงเกษตรฯและกระทรวงอื่นๆ เห็นชอบด้วยก็จะมีการตั้งคณะกรรมการและจัด ทำเป็นระเบียบสำนักนายกฯ

ส่วนข้อเสนอการจัดสรรการถือครองที่ดิน นายสาทิตย์กล่าวว่า ยังมีความเห็นต่างกันอยู่ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาประเด็นนี้กันใหม่อีกครั้งเข้าใจว่า 1-2 สัปดาห์จะได้ข้อสรุป โดยประเด็นที่ถกเถียงกันคือที่ ครป.เสนอมาเราสงสัยในเรื่องของนิติบุคคลซึ่งตอนนี้เขาตอบมาแล้ว แต่เวลาเขาตอบมาเรายังไม่ได้ส่งข้อมูลที่เขาตอบมาให้กับกระทรวงที่เกี่ยวข้องก็มีการส่งกลับให้เขาไป เพราะที่เขาเสนอนั้นเสนอเป็นครัวเรือน

“แต่คำถามของเราก็คืออย่างบริษัทที่เป็นนิติบุคคลบริษัทใหญ่ในความเห็นของเขาสามารถถือครองที่ดินเกิน 50 ไร่ได้หรือไม่ ก็อยากให้เขาตอบมาด้วย” นายสาทิตย์กล่าว และว่าสำหรับเรื่องภาษีก้าวหน้ากระทรวงการคลังต้องทำความเห็นกลับมาใหม่อีกครั้ง

นายสาทิตย์กล่าวอีกว่า ตอนที่ตกลงกับพีมูฟว่าข้อเสนอของเขาที่มีข้อยุติและเรื่องที่ต้องการให้นายก รัฐมนตรีสั่งการก็ให้นำเข้า ครม. วันนี้ก็นำเข้า ครม.ทุกเรื่องโดยแยกเป็น 1.เรื่องที่เกี่ยวข้องกับที่ดินก็นำเข้า ครม.เพื่อทราบเป็นที่เรียบร้อย 2.เรื่องที่ต้องการให้นายกรัฐมนตรีสั่งการซึ่งมี 8 เรื่อง ทั้งเรื่องของโรงไฟฟ้าชีวมวลซึ่งให้ตั้งกรรมการ เรื่องอ่างเก็บน้ำและเรื่องเหมืองต่างๆ ก็มีการสั่งการในที่ประชุม ครม.แล้ว ซึ่งในทีนี้รวมถึงเงิน 167 ล้านบาทที่นำไปจัดซื้อที่ดินของธนาคารที่ดิน ซึ่งวันนี้ ครม.มีการอนุมัติกฤษฎีกาจัดตั้งธนาคารที่ดินเรียบร้อยแล้ว ที่จะผูกมัดเรื่องของสถานที่ก็เริ่มที่ลำพูนและเชียงใหม่เรียบร้อยแล้ว 3.เรื่องเขื่อนปากมูล วันนี้เป็นการเชิญนักวิชาการที่ศึกษาฯ ในนามอนุกรรมการเข้าไปชี้แจง สรุปได้ว่าขณะนี้ฝ่ายของผู้ที่กังวลเรื่องเปิดเขือ่นก็กลัวว่าน้ำจะหมด แต่ส่วนที่เรียกร้องให้เปิดเขื่อนยืนยันว่าน้ำไม่หมดเพราะว่าแก่งสามารถกักเก็บไว้ได้ แต่รายงานศึกษาของนักวิชาการไม่มีข้อมูลส่วนนี้ชัดเจน มีแต่ตัวเลขที่เป็นการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา

“นายกรัฐมนตรีก็อยากให้คณะกรรมการชุดของผมได้นำเรื่องนี้ไปพิจารณาอีกครั้งว่า ระหว่างข้อมูลที่ชาวบ้านบอกว่าน้ำไม่หมดกับคนที่กลัวว่าน้ำหมดจริงๆ แล้ว ระดับตรงไหนถึงจะยอมรับกันได้ รวมทั้งการศึกษาให้นำผู้ที่มีความเห็นไม่ตรงกันได้รับฟังความเห็นด้วยโดยให้ เวลา 45 วัน ซึ่งคิดว่าจะทำเสร็จก่อน 45 วัน เพราะฉะนั้น เรื่องที่รับปากกับประชาชนพีมูฟทั้งหมดก็เป็นการดำเนินการจนครบแล้วเสร็จทุกกรณี ผมอยากให้พีมูฟรับรู้ว่ารัฐบาลก็ให้ความกังวลสนใจ ส่วนเขาจะเดินทางกลับหรือไม่อย่างไรก็ต้องดูท่าทีอีกครั้ง แต่ถ้าได้เห็นความตั้งใจเขาน่าจะเข้าใจ” นายสาทิตย์กล่าว

นายสาทิตย์ตอบกรณีข้อสังเกตุว่าซื้อเวลาเรื่องเขื่อนปากมูลออกไปว่า เรื่องนี้มีการดำเนินการตั้งแต่ปี 2532 ครม.พิจารณามานับครั้งนี้รวม 61ครั้ง ฉะนั้น ไม่ใช่เรื่องของการซื้อเวลาแต่เป็นเรื่องของข้อมูลมากกว่า บังเอิญข้อมูลที่ศึกษาวิจัยภายใต้ภาวะน้ำโขงปกติ แต่ตอนนี้แม่น้ำโขงวิกฤติมาระดับน้ำโขงและเขื่อนต่างกัน 11 เมตร ฉะนั้นนักวิชาการที่มาก็ยอมรับว่าที่ศึกษาไว้ยังไม่ครอบคลุมตรงนั้น

“เรื่องนี้มีคนเข้ามาเกี่ยวข้องเยอะทั้งผู้ใช้น้ำ คนที่เลี้ยงปลากระชัง ฉะนั้นชาวบ้านที่มาเรียกร้องเราก็ต้องให้ความสนใจกับทุกภาคส่วน แต่ว่าตัวยุติก็คงจะอยู่ที่น้ำว่าจะมีเพียงพอที่จะมีเพียงพอในการอุปโภคบริโภคทำให้ระบบนิเวศน์ฟื้นคืนมา และคนที่ทำชลประทานได้รับประโยชน์ด้วย” นายสาทิตย์กล่าว

นายสาทิตย์กล่าวถึงข้อเรียกร้องโฉนดชุมชนว่า พรุ่งนี้ (9 มี.ค.) เวลาประมาณ 10.30 น.ที่รัฐสภาจะมีการเซ็นเอ็มโอยูเรื่องโฉนดชุมชนระหว่างสปน.กับกระทรวงที่เกี่ยวข้องทุกกระทรวงโดยมีนายกฯเป็นประธาน ส่วนที่แนวทางของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมยังไม่ลงตัวนั้น ในวันนี้นายสุวิทย์ คุณกิตติ รมว.ทรัพยากรฯ ไม่ได้เข้าประชุม แต่ตอนนี้มีกลไกของกระทรวงทรัพย์ฯเกิดขึ้นมาแล้ว คิดว่าถ้าเซ็นเอ็มโอยูทุกอย่างจะดีขึ้นและจะเร่งรัดได้ทันที

นายสาทิตย์กล่าวอีกว่า ประชาชนต้องการให้พื้นที่มีการอนุมัติโฉนดชุมชนขอให้เขาอยู่ทำกินในที่ดินเดิมไปก่อนได้ซึ่ง ครม.มีมติรองรับไว้แล้ว ส่วนที่มีชาวบ้านถูกดำเนินคดีนั้นก็มีการดำเนินคดีมาก่อนที่จะมีนโยบายโฉนดชุมชน และเมื่อกระบวนการอยู่ในชั้นศาลจะหยุดยั้งกระบวนการพิจารณาไม่ได้ แต่สิ่งที่ดำเนินการได้คือเมื่อมีกระบวนการบังคับคดดีก็ไปชะลอเรื่องการบังคับคดี ซึ่งกรณีจอง

ส่วนเรื่องบ้านมั่นคง นายสาทิตย์กล่าวว่า มีการพิจารณาใน ครม. มีข่าวดีสำหรับเรื่องบ้านมั่นคงเพื่อคนไร้บ้าน ซึ่งครม.อนุมัติหลักการและงบประมาณ และมีการผ่อนปรนหลักเกณฑ์ว่าบ้านมั่นคงอาจจะเปลี่ยนชื่อนิดหน่อยไม่ให้ เหมือนบ้านมั่นคงทั่วไป ข้อดีคือโครงการนี้จะต้องจัดหาที่ดินโดยกระทรวงการคลังเสนอตัวว่าจะดำเนิน การร่วมกับกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) หาที่ดินเพิ่ม เติมให้ด้วย
กำลังโหลดความคิดเห็น