ธนาคารทหารไทย เป๊ปซี่ เวิลด์แก๊ส ซัมซุง ไทยแอร์เอเชีย รถเชฟโรเล็ต รถฟอร์ด โตโยต้า ฯลฯ
ผู้บริหารของกิจการ และสินค้า บริการเหล่านี้ จะรู้ไหมว่า สินค้าและบริการของท่านบนป้ายโฆษณาที่คร่อมกลางทางด่วนขั้นที่ 1 นั้น เป็นที่สนใจของผู้ใช้ทางด่วนอย่างมาก ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมานี้
ความสนใจนั้น ไม่ได้อยู่ที่สรรพคุณของสินค้าและบริการที่อยู่บนป้ายดังกล่าว แต่เป็นความสนใจที่เป็นข้อสงสัยว่า เหตุใด ผู้บริหารของกิจการ และสินค้าบริการเหล่านี้จึงไปร่วมมือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และบริษัทที่ได้รับสัมปทานในการให้เช่าป้ายโฆษณาเหล่านี้ กระทำในสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อ การจราจรบนทางด่วนขั้นที่ 1
จะอ้างว่า ไม่รู้ ไม่เห็น เป็นเรื่องของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการโฆษณาที่ติดต่อกับเจ้าของสัมปทานป้ายโดยตรงไม่ได้ เพราะป้ายโฆษณาที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการจราจรบนทางด่วนนี้ ติดตั้งให้เห็นอย่างเด่นชัด และเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก ถึงความไม่เหมาะสม ทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ และในโลกออนไลน์ อีกทั้งผู้บริหารเหล่านี้ ย่อมต้องมีโอกาสใช้ทางด่วนขั้นที่ 1 อยู่แล้ว จึงต้องมองเห็นป้ายเหล่านี้บ้าง ถ้าไม่นอนหลับ หรือทำกิจอย่างอย่างอื่นอยู่
จะอ้างว่า ไม่คิดว่าจะเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุก็คงจะไม่ถูก เพราะคนส่วนใหญ่ ที่ได้เห็นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่คร่อมทางด่วน อยู่เหนือศีรษะ จะคิดได้ในทันทีว่า เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง คนที่มีสติสัมปชัญญะปกติ ไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญ ด้านการจราจร และความปลอดภัยบนท้องถนน เหมือนคนที่นั่งอย่ในบอร์ดการทางพิเศษหลายๆ คน ย่อมรู้ได้ว่า ข้อความ และรูปภาพในป้ายโฆษณานี้ จะดึงดูดความสนใจของผู้ขับรถ ที่ขับมาด้วยความเร็วสูง จนอาจทำให้เสียสมาธิ และเป็นชนวนให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
ที่จริงแล้ว คนขับรถบนทางด่วนนี่แหละที่เป็นเป้าหมายของป้ายโฆษณาเหล่านี้ ติดตั้งป้ายตามสองข้างทางยังไม่พอ คราวนี้เล่นดักไว้ข้างหน้าเลย รับรองว่าอย่างไรก็ต้องมองเห็น ต้องอ่านแน่ๆ
ในเวลากลางคืน ป้ายโฆษณาเหล่านี้ มีไฟส่องแสงสว่างจ้า ยิ่งกว่า ป้ายบอกทางของการทางพิเศษฯ ซึ่งมองไม่ค่อยจะเห็นหลายเท่า
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายใ นลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย ในทางพิเศษ หรือ การจราจรบนทางพิเศษ ที่ลงนาม โดย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ก็มีข้อกำหนด ว่า ห้ามติดป้ายที่ปิดหรือบดบัง เครื่องหมายสัญญาณจราจรในทางพิเศษ และป้ายที่มีข้อความหรือรูปภาพอันเป็นการรบกวนสมาธิของผุ้ขับขี่ หรือดึงดูดความสนใจ หรือทัศนวิสัยของผู้ขับขี่
ยกเว้น ป้ายที่ติดตั้งในทีที่การทางพิเศษกำหนดหรือจัดไว้ให้
ข้อความในประกาศกระทรวงคมนาคมนี้ มีความชัดเจน ไม่ต้องส่งไปให้นักกฎหมายที่ไหนตีวาม คนทั่วไปที่อ่านออก คิดได้ และมีสำนึกต่อสังคม ก็เข้าใจได้ทันที่ว่า ป้ายโฆษณากลางทางด่วนนั้น เป็นป้ายที่ผิดกฎหมาย
หวังว่า การทางพิเศษ คงไม่อ้างข้อยกเว้น ว่า เป็นป้ายที่ติดตั้งในที่ที่การทางพิเศษกำหนดหรือจัดไว้ให้ มาแก้ตัวกับสังคม เพราะจะเป็นป้ายที่ติดตั้งตรงไหน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไม่รบกวนสมาธิ หรือดึงดูดความสนใจ หรือทัศนวิสัยของผู้ขับขี่
ปัจจุบัน สองข้างทางด่วนเต็มไปด้วยป้ายโฆษณา ขนาดใหญ่ที่ใช้ข้อความ รูปภาพ ที่ตั้งใจดึงดูดความสนใจของผู้ขับรถบนทางด่วน แม้ป้ายเหล่านี้จะไมได้ตั้งอยู่ในที่ของการทางพิเศษฯ แต่การทางพิเศษฯ ก็มีอำนาจตามประกาศกระทรวงคมนาคมนี้ ที่จะบังคับให้เจ้าของป้าย แก้ไข หรือถอดป้ายออกไป ให้ห่างจากทางด่วนได้
เมื่อหลายปี่ก่อน มีป้ายโฆษณาเนสกาแฟข้างทางด่วน ที่ใช้นักร้องสาวหุ่นเซ็กซี่ในขณะนั้น คือ แสงรวี อัศวรักษ์ เป็นนางแบ บ เรียกเสืยงฮือฮา และปลุกจิตนการ ของ ผู้ได้เพบเห็นเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่เหมาะสม และเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ขับรถบนทางด่วน การทางพิเศษฯ สมัยนั้นใส่ใจกับปัญหานี้ และที่สุดมีการเจรจาให้เจ้าของป้ายถอดป้ายออกไป
สมัยนี้ มีป้ายโฆษณา ที่ใช้ดารา นักร้อง แต่งตัวเย้ยฟ้าท้าลม ติดอยู่บนป้ายขนาดใหญ่ ริมทางด่วนบางจุด เป็นทางโค้งที่ผู้ขับรถต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง แต่ไม่เห็นว่า การทางพิเศษ จะใสใจในปัญหานี้แต่อย่างใด และกลับทำตัวให้เป็นเยี่ยงอย่างเสียเอง ด้วยการติดตั้งป้ายโฆษณาคร่อมทางด่วนเสียเลย
เพราะการทางพิเศษในยุคนี้ เป็นการทางพิเศษที่เห็นแก่รายได้ มากกว่าการให้บริการที่สะดวก ปลอดภัย และมีต้นทุนที่เหมาะสม จะเห็นได้จากกรณีบัตรอีซีพาส ที่เรียกเก็บค่ามัดจำสูงมาก แม้จะลดลงมาจาก 1,000 บาท เหลือ 800 บาท ทั้งๆ ที่วัตถุประสงค์ของ การใช้บัตรอีซีพาส คือ การทำให้การจราจรหน้าด่านเก็บเงินคล่องตัวมากี่สุด ไม่ใช่ฉวยโอกาสเอาเงินค่ามัดจำไปนอนกินดอกเบี้ย
กรณีป้ายโฆษณาคร่อมทางด่วนก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นการแสดงความเห็นแก่ส่วนแบ่งรายได้ ค่าเช่าป้าย โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ใช้ฟรี แต่ต้องจ่ายค่าผ่านทาง และไม่มีความสำนึกในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการด้านจราจรแก่ประชาชนเลย
มีผู้โทรศัพท์สอบถามกับการทางพิเศษฯ ว่า ทำไมจึงทำเรื่องเช่นนี้ได้ ได้รับคำตอบว่า เป็นนโยบายของกระทรวงคมนาคม คำตอบนี้พอจะรับฟังได้อยู่ เพราะการทางพิเศษเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม การทางพิเศษ คงไม่กล้าทำอะไรที่ผิดกฎหมาย หากไม่ถูกสั่งมาจากนักการเมืองที่คุมกระทรวง บริษัทที่รับสัมปทานป้ายมานี้ คงจะไปวิ่งเต้นกับหน้าห้อง เลขานุการ ที่ปรึกษา ของรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม หรือรัฐมนตรีช่วบที่คุม การทางพิเศษ ให้สั่งการผ่านปลัดกระทรวง ลงมายังบอร์ดการทางพิเศษ ให้เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ กับ การติดตั้งป้ายที่ขัดกับประกาศของกระทรวงคมนาคมเอง
เรื่องแบบนี้ เป็นเส้นทางปกติของ การทำมาหากินกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ในยุคนี้และยุคก่อนหน้านี้
แต่บอร์ดการทางพิเศษ ซึ่งแต่ะละคนล้วนแต่มีคุณวุฒิ มีตำแหน่งที่มีเกียรติ ไล่มาตั้งแต่ประธานบอร์ดที่เป็นผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และการจราจร นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ไปจนถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา ย่อมต้องเห็นอยู่ทนโท่ว่า การติดป้ายโฆษณากลางทางด่วนนี้ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ยังยอมปล่อยให้เกิดขึ้น แสดงว่า แม้จะไม่เห็นแก่ได้ แต่ว่าเห็นแก่ตัว ไม่กล้าหือนักการเมืองที่ทำสิ่งผิด ยอมเอาสวัสดิภาพ ความปลอดภัยของประชาชนไปเสี่ยง แลกกับการได้เป็นตรายางในบอร์ดการทางพิเศษ
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นหน้าที่ของ ผู้บริหาร กิจการ สินค้า และบริการ ที่อยุ่บนป้ายโฆษณากลางทางด่วน ที่จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการไม่สนับสนุน การโฆษณาสินค้ากลางทางด่วน ซึ่งจะเป็นการง่ายกว่า ที่จะไปรอให้ การทางพิเศษ ตระหนักรู้ มีสำนึกในบทบาทหน้าที่ของตน
ผู้บริหารของกิจการ และสินค้า บริการเหล่านี้ จะรู้ไหมว่า สินค้าและบริการของท่านบนป้ายโฆษณาที่คร่อมกลางทางด่วนขั้นที่ 1 นั้น เป็นที่สนใจของผู้ใช้ทางด่วนอย่างมาก ในช่วงสองเดือนที่ผ่านมานี้
ความสนใจนั้น ไม่ได้อยู่ที่สรรพคุณของสินค้าและบริการที่อยู่บนป้ายดังกล่าว แต่เป็นความสนใจที่เป็นข้อสงสัยว่า เหตุใด ผู้บริหารของกิจการ และสินค้าบริการเหล่านี้จึงไปร่วมมือกับการทางพิเศษแห่งประเทศไทย และบริษัทที่ได้รับสัมปทานในการให้เช่าป้ายโฆษณาเหล่านี้ กระทำในสิ่งที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อ การจราจรบนทางด่วนขั้นที่ 1
จะอ้างว่า ไม่รู้ ไม่เห็น เป็นเรื่องของผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการโฆษณาที่ติดต่อกับเจ้าของสัมปทานป้ายโดยตรงไม่ได้ เพราะป้ายโฆษณาที่เป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการจราจรบนทางด่วนนี้ ติดตั้งให้เห็นอย่างเด่นชัด และเป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างมาก ถึงความไม่เหมาะสม ทั้งในหน้าหนังสือพิมพ์ และในโลกออนไลน์ อีกทั้งผู้บริหารเหล่านี้ ย่อมต้องมีโอกาสใช้ทางด่วนขั้นที่ 1 อยู่แล้ว จึงต้องมองเห็นป้ายเหล่านี้บ้าง ถ้าไม่นอนหลับ หรือทำกิจอย่างอย่างอื่นอยู่
จะอ้างว่า ไม่คิดว่าจะเป็นการเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุก็คงจะไม่ถูก เพราะคนส่วนใหญ่ ที่ได้เห็นป้ายโฆษณาขนาดใหญ่คร่อมทางด่วน อยู่เหนือศีรษะ จะคิดได้ในทันทีว่า เป็นสิ่งที่ไม่สมควรอย่างยิ่ง คนที่มีสติสัมปชัญญะปกติ ไม่ต้องมีความเชี่ยวชาญ ด้านการจราจร และความปลอดภัยบนท้องถนน เหมือนคนที่นั่งอย่ในบอร์ดการทางพิเศษหลายๆ คน ย่อมรู้ได้ว่า ข้อความ และรูปภาพในป้ายโฆษณานี้ จะดึงดูดความสนใจของผู้ขับรถ ที่ขับมาด้วยความเร็วสูง จนอาจทำให้เสียสมาธิ และเป็นชนวนให้เกิดอุบัติเหตุขึ้นได้
ที่จริงแล้ว คนขับรถบนทางด่วนนี่แหละที่เป็นเป้าหมายของป้ายโฆษณาเหล่านี้ ติดตั้งป้ายตามสองข้างทางยังไม่พอ คราวนี้เล่นดักไว้ข้างหน้าเลย รับรองว่าอย่างไรก็ต้องมองเห็น ต้องอ่านแน่ๆ
ในเวลากลางคืน ป้ายโฆษณาเหล่านี้ มีไฟส่องแสงสว่างจ้า ยิ่งกว่า ป้ายบอกทางของการทางพิเศษฯ ซึ่งมองไม่ค่อยจะเห็นหลายเท่า
ประกาศกระทรวงคมนาคม เรื่อง ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติดหรือตั้งป้ายใ นลักษณะที่อาจก่อให้เกิดความไม่ปลอดภัย ในทางพิเศษ หรือ การจราจรบนทางพิเศษ ที่ลงนาม โดย นายสันติ พร้อมพัฒน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ.2551 ก็มีข้อกำหนด ว่า ห้ามติดป้ายที่ปิดหรือบดบัง เครื่องหมายสัญญาณจราจรในทางพิเศษ และป้ายที่มีข้อความหรือรูปภาพอันเป็นการรบกวนสมาธิของผุ้ขับขี่ หรือดึงดูดความสนใจ หรือทัศนวิสัยของผู้ขับขี่
ยกเว้น ป้ายที่ติดตั้งในทีที่การทางพิเศษกำหนดหรือจัดไว้ให้
ข้อความในประกาศกระทรวงคมนาคมนี้ มีความชัดเจน ไม่ต้องส่งไปให้นักกฎหมายที่ไหนตีวาม คนทั่วไปที่อ่านออก คิดได้ และมีสำนึกต่อสังคม ก็เข้าใจได้ทันที่ว่า ป้ายโฆษณากลางทางด่วนนั้น เป็นป้ายที่ผิดกฎหมาย
หวังว่า การทางพิเศษ คงไม่อ้างข้อยกเว้น ว่า เป็นป้ายที่ติดตั้งในที่ที่การทางพิเศษกำหนดหรือจัดไว้ให้ มาแก้ตัวกับสังคม เพราะจะเป็นป้ายที่ติดตั้งตรงไหน สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ต้องไม่รบกวนสมาธิ หรือดึงดูดความสนใจ หรือทัศนวิสัยของผู้ขับขี่
ปัจจุบัน สองข้างทางด่วนเต็มไปด้วยป้ายโฆษณา ขนาดใหญ่ที่ใช้ข้อความ รูปภาพ ที่ตั้งใจดึงดูดความสนใจของผู้ขับรถบนทางด่วน แม้ป้ายเหล่านี้จะไมได้ตั้งอยู่ในที่ของการทางพิเศษฯ แต่การทางพิเศษฯ ก็มีอำนาจตามประกาศกระทรวงคมนาคมนี้ ที่จะบังคับให้เจ้าของป้าย แก้ไข หรือถอดป้ายออกไป ให้ห่างจากทางด่วนได้
เมื่อหลายปี่ก่อน มีป้ายโฆษณาเนสกาแฟข้างทางด่วน ที่ใช้นักร้องสาวหุ่นเซ็กซี่ในขณะนั้น คือ แสงรวี อัศวรักษ์ เป็นนางแบ บ เรียกเสืยงฮือฮา และปลุกจิตนการ ของ ผู้ได้เพบเห็นเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันก็มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า ไม่เหมาะสม และเป็นการดึงดูดความสนใจของผู้ขับรถบนทางด่วน การทางพิเศษฯ สมัยนั้นใส่ใจกับปัญหานี้ และที่สุดมีการเจรจาให้เจ้าของป้ายถอดป้ายออกไป
สมัยนี้ มีป้ายโฆษณา ที่ใช้ดารา นักร้อง แต่งตัวเย้ยฟ้าท้าลม ติดอยู่บนป้ายขนาดใหญ่ ริมทางด่วนบางจุด เป็นทางโค้งที่ผู้ขับรถต้องใช้ความระมัดระวังอย่างสูง แต่ไม่เห็นว่า การทางพิเศษ จะใสใจในปัญหานี้แต่อย่างใด และกลับทำตัวให้เป็นเยี่ยงอย่างเสียเอง ด้วยการติดตั้งป้ายโฆษณาคร่อมทางด่วนเสียเลย
เพราะการทางพิเศษในยุคนี้ เป็นการทางพิเศษที่เห็นแก่รายได้ มากกว่าการให้บริการที่สะดวก ปลอดภัย และมีต้นทุนที่เหมาะสม จะเห็นได้จากกรณีบัตรอีซีพาส ที่เรียกเก็บค่ามัดจำสูงมาก แม้จะลดลงมาจาก 1,000 บาท เหลือ 800 บาท ทั้งๆ ที่วัตถุประสงค์ของ การใช้บัตรอีซีพาส คือ การทำให้การจราจรหน้าด่านเก็บเงินคล่องตัวมากี่สุด ไม่ใช่ฉวยโอกาสเอาเงินค่ามัดจำไปนอนกินดอกเบี้ย
กรณีป้ายโฆษณาคร่อมทางด่วนก็เช่นเดียวกัน ที่เป็นการแสดงความเห็นแก่ส่วนแบ่งรายได้ ค่าเช่าป้าย โดยไม่คำนึงถึงความปลอดภัยของผู้ใช้บริการที่ไม่ได้ใช้ฟรี แต่ต้องจ่ายค่าผ่านทาง และไม่มีความสำนึกในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการด้านจราจรแก่ประชาชนเลย
มีผู้โทรศัพท์สอบถามกับการทางพิเศษฯ ว่า ทำไมจึงทำเรื่องเช่นนี้ได้ ได้รับคำตอบว่า เป็นนโยบายของกระทรวงคมนาคม คำตอบนี้พอจะรับฟังได้อยู่ เพราะการทางพิเศษเป็นรัฐวิสาหกิจสังกัดกระทรวงคมนาคม การทางพิเศษ คงไม่กล้าทำอะไรที่ผิดกฎหมาย หากไม่ถูกสั่งมาจากนักการเมืองที่คุมกระทรวง บริษัทที่รับสัมปทานป้ายมานี้ คงจะไปวิ่งเต้นกับหน้าห้อง เลขานุการ ที่ปรึกษา ของรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม หรือรัฐมนตรีช่วบที่คุม การทางพิเศษ ให้สั่งการผ่านปลัดกระทรวง ลงมายังบอร์ดการทางพิเศษ ให้เอาหูไปนาเอาตาไปไร่ กับ การติดตั้งป้ายที่ขัดกับประกาศของกระทรวงคมนาคมเอง
เรื่องแบบนี้ เป็นเส้นทางปกติของ การทำมาหากินกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ ในยุคนี้และยุคก่อนหน้านี้
แต่บอร์ดการทางพิเศษ ซึ่งแต่ะละคนล้วนแต่มีคุณวุฒิ มีตำแหน่งที่มีเกียรติ ไล่มาตั้งแต่ประธานบอร์ดที่เป็นผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และการจราจร นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ไปจนถึงผู้บัญชาการตำรวจนครบาล พลตำรวจโท จักรทิพย์ ชัยจินดา ย่อมต้องเห็นอยู่ทนโท่ว่า การติดป้ายโฆษณากลางทางด่วนนี้ เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ยังยอมปล่อยให้เกิดขึ้น แสดงว่า แม้จะไม่เห็นแก่ได้ แต่ว่าเห็นแก่ตัว ไม่กล้าหือนักการเมืองที่ทำสิ่งผิด ยอมเอาสวัสดิภาพ ความปลอดภัยของประชาชนไปเสี่ยง แลกกับการได้เป็นตรายางในบอร์ดการทางพิเศษ
ด้วยเหตุนี้เอง จึงเป็นหน้าที่ของ ผู้บริหาร กิจการ สินค้า และบริการ ที่อยุ่บนป้ายโฆษณากลางทางด่วน ที่จะต้องแสดงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยการไม่สนับสนุน การโฆษณาสินค้ากลางทางด่วน ซึ่งจะเป็นการง่ายกว่า ที่จะไปรอให้ การทางพิเศษ ตระหนักรู้ มีสำนึกในบทบาทหน้าที่ของตน