รายงานข่าวแจ้งว่า ในการประชุมครม. วันนี้( 24 ม.ค.) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ และสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอให้ครม.พิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการโครงการทางพิเศษ ศรีรัช-วงแหวนรอบนอก เชื่อมต่อฝั่งธนบุรี โดยให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในรูปแบบก่อสร้าง-โอนสิทธิ์-บริหาร ในกรอบเงินลงทุน 27,022 ล้านบาท ประกอบด้วย
1 . ประมาณการวงเงินลงทุนของภาคเอกชน 17,458 ล้านบาท 2. ประมาณการวงเงินลงทุนของภาครัฐ 9,564 ล้านบาท คิดเป็นค่าก่อสร้าง จำนวน 17,137 ล้านบาท ค่าทบทวนแบบและควมคุมงาน 321 ล้านบาท และ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลสำหรับค่าจัดการกรมสิทธิ์ที่ดิน 9,564 ล้านบาท ภายใต้รูปแบบการลงทุน Build-Transfer-Operate โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.ว่าด้วยหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535
โดยโครงการนี้ เป็นการการขยายโครงข่ายทางพิเศษให้มีความครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเพิ่มขึ้น และสามารถรองรับและเพิ่มทางเลือกในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งธงนบุรีและกรุงเทพฯ ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ฝั่งธนบุรี รวมทั้งจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และโครงข่ายถนนพื้นราบในพื้นที่โดยรอบโครงการ ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงข่ายบนเขตทางรถไฟที่มีอยู่เดิมเป็นส่วนใหญ่ มีระยะทาง 16.7 ก.ม. มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากถนนกาญจนาภิเษก บริเวณโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้เดิมข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหก และไปสิ้นสุดที่ทางพิเศษศรีรัชส่วน A บริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งสายเหนือ ( หมอชิต 2 ) อัตราค่าผ่านทางจัดเก็บค่าผ่านทางแบบระบบเปิด โดยปีแรกที่เปิดให้บริการ (ปี 2559) รถ 4 ล้อ เก็บ 50บาท ต่อคัน และปรับเพิ่มทุก 5 ปี ตามค่าเฉลี่ยดัชนีผู้บริโภค
1 . ประมาณการวงเงินลงทุนของภาคเอกชน 17,458 ล้านบาท 2. ประมาณการวงเงินลงทุนของภาครัฐ 9,564 ล้านบาท คิดเป็นค่าก่อสร้าง จำนวน 17,137 ล้านบาท ค่าทบทวนแบบและควมคุมงาน 321 ล้านบาท และ ขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากรัฐบาลสำหรับค่าจัดการกรมสิทธิ์ที่ดิน 9,564 ล้านบาท ภายใต้รูปแบบการลงทุน Build-Transfer-Operate โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอน พ.ร.บ.ว่าด้วยหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535
โดยโครงการนี้ เป็นการการขยายโครงข่ายทางพิเศษให้มีความครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑลเพิ่มขึ้น และสามารถรองรับและเพิ่มทางเลือกในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างฝั่งธงนบุรีและกรุงเทพฯ ของประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ฝั่งธนบุรี รวมทั้งจะช่วยบรรเทาปัญหาการจราจรบนสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา และโครงข่ายถนนพื้นราบในพื้นที่โดยรอบโครงการ ได้ในระดับหนึ่ง ซึ่งจะเป็นการก่อสร้างทางยกระดับขนาด 6 ช่องจราจร ร่วมกับระบบขนส่งมวลชนสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งเป็นการพัฒนาโครงข่ายบนเขตทางรถไฟที่มีอยู่เดิมเป็นส่วนใหญ่ มีระยะทาง 16.7 ก.ม. มีแนวเส้นทางเริ่มต้นจากถนนกาญจนาภิเษก บริเวณโรงกรองน้ำมหาสวัสดิ์ ไปทางทิศตะวันออกตามแนวเขตทางรถไฟสายใต้เดิมข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาที่สะพานพระรามหก และไปสิ้นสุดที่ทางพิเศษศรีรัชส่วน A บริเวณด้านเหนือของสถานีขนส่งสายเหนือ ( หมอชิต 2 ) อัตราค่าผ่านทางจัดเก็บค่าผ่านทางแบบระบบเปิด โดยปีแรกที่เปิดให้บริการ (ปี 2559) รถ 4 ล้อ เก็บ 50บาท ต่อคัน และปรับเพิ่มทุก 5 ปี ตามค่าเฉลี่ยดัชนีผู้บริโภค