นายกฯ ปัดให้พาณิชย์นำเข้าน้ำมันปาล์มดิบอีก 2 หมื่นตัน นัดพิจารณาสถานการณ์ในที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์ม 8 มี.ค.นี้ ยันอัตราชดเชยเอกชนลด ปัดชะลอนำเข้า 1.2 แสนตัน บอกถ้าเพียงพอก็ไม่ต้องนำเข้าหมด ยันพยายามแก้ปัญหา รับรายงานดีเอสไอยังไม่พบสิ่งผิดปกติ โยนสอบต่อให้ชัด ขู่ฟันไม่เว้น
วันนี้ (27 ก.พ.) ที่สถานีโทรทัศน์แห่งประเทศไทย นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่กระทรวงพาณิชย์จะขออนุมัตินำเข้าน้ำมันปาล์มดิบเพิ่มอีก 2 หมื่นตันว่า คงไม่ใช่เช่นนั้นเพราะจากที่ได้ไปดูมาวันที่ 26 ก.พ. และจากการพูดคุยช่วงแรกที่เอามาบรรจุแล้วมีฝาสีชมพูแล้วเป็นในประเทศ ส่วนที่นำเข้าจากต่างประเทศอีก 3 หมื่นตันนั้นจะมาถึงประเทศไทยในวันที่ 3 มี.ค.และแนวโน้มราคาเป็นขาลงน้ำมันจึงออกสู่ตลาดมากขึ้น ดังนั้น สิ่งที่คิดและดำเนินการตามมติคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ จะมีไปถึงกลางเดือนมี.ค.ในการประชุมวันที่ 8 มี.ค.จะมีการพิจารณากันอีกครั้งหนึ่งว่าสถานการณ์เป็นอย่างไร เราจะตัดสินใจอีกว่าจำเป็นต้องดำเนินการหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ขณะนี้อัตราการชดเชยให้กับเอกชนได้ลดลงจากที่ได้มีการประชุมกันในวันที่ 22 ก.พ.ที่ผ่านาเนื่องจากราคาปาล์มลดลง ภาระงบประมาณก็จะน้อยกว่า
ผู้สื่อข่าวถามว่า คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติสามารถที่จะตัดสินใจนำเข้าปาล์มดิบได้ โดยไม่ต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) หรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า สำหรับมติ ครม.ที่ผ่านมา ครม.มอบอำนาจแต่จะมีการรายงานเพื่อทราบ ในวันที่ 8 มี.ค.จะดูอีกทีว่าราคาและปริมาณช่วงเวลานั้นเป็นอย่างไร
เมื่อถามต่อว่า เดิมได้มีการกำหนดนำเข้าไว้ 1.2 แสนตันยังจำเป็นหรือไม่ นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เวลานี้เรื่องปริมาณขณะนี้ยังเร่งผลิตออกมาตามปกติเพียงแต่อัตราชดเชยให้ เอกชนลดลง ส่วนสถานการณ์พอถึงกลางเดือนมี.ค.ต้องมาดูและตัดสินใจในวันที่ 8 มี.ค. เมื่อถามย้ำว่า คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติบอกว่า 1.2 แสนตันที่จะนำเข้าแนวโน้มต้องชะลอไว้ก่อน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า อย่าไปบอกว่าชะลอเพราะจะเกิดความสับสนอย่าไปทำให้เกิดความสับสนเพราะเราเร่งนำเข้ามาเพื่อให้มีความเพียงพอในตลาด แต่ถ้ามีเพียงพอแล้วก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าเต็มจำนวน และอย่าเพิ่งไปพูดว่าเบรกหรือชะลอไว้เพราะคนจะสับสน ขณะนี้รัฐบาลเดินหน้าผลิตให้พอสำหรับการใช้ของประชาชน ราคาที่ผู้บริโภคใช้ยังเท่าเดิมการชดเชยก็ชดเชยกันไป
เมื่อถามว่า นโยบายเรื่องนำมันปาล์มถึงไม่มีความไม่แน่นอน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เหตุที่ไม่แน่นอนเพราะภาวะตลาดไม่แน่นอน โดยเราจะต้องดูราคาต้นทุนต่างๆ และปริมาณเป็นอย่างไร การผลิตที่คิดว่าจะเต็มจำนวนตามปกติในขณะนี้ที่จะนำไปขายในกรุงเทพฯ ที่จะเริ่มในวันนี้พรุ่งนี้ ต่างจังหวัดจะตามมาอีก 2-3 วัน และสิ่งหนึ่งที่ต้องยอมรับว่าพฤติกรรมการซื้อในแต่ละคน โดยเฉพาะบรรดาพ่อค้าแม่ค้าก็อยากซื้อไว้เป็นจำนวนมาก ทั้งซื้อเก็บเผื่อไว้เพราะไม่มีความมั่นใจ
ต่อข้อถามว่า มองเรื่องที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ไปตรวจสอบโรงงานแล้วว่าไม่พบความผิดปกติแต่พบว่ามีความขาดแคลนเกิดขึ้นอย่างผิดปกติ แต่เมื่อรัฐมีมาตรการออกมากลับมีน้ำมันออกสู่ตลาดได้อย่างรวดเร็ว นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ขณะนี้ต้องยอมรับว่าแม้ว่าได้มีการดำเนินการไปแล้ว และจากที่ตนไปตรวจสอบตามห้างและตลาดพบว่ายังไม่เพียงพอต่อความต้องการ เพราะปริมาณที่ออกไปสู่จุดต่างๆ เมื่อไปถึงประชาชนก็ซื้อหมดทันที สภาพจริงๆต้องยอมตามหลักเศรษฐศาสตร์ง่ายว่า ก่อนหน้านี้มี 2 ปัญหา คือต้นทุนสูงกว่าราคาที่ขาย ดังนั้นก็ไม่มีแรงจูงใจที่จะผลิตออกมา และอีกอย่างเราคุมเฉพาะในส่วนของขวดไม่ได้คุมส่วนอื่นที่เป็นระบบที่ทำกันมา นานทำให้เกิดการยักย้ายถ่ายเทเพราะคนจะไปซื้อของที่ถูกกว่าและไปใช้ในสิ่งปกติที่ซื้อแพง ขณะนี้เราพยายามแก้ปัญหาตรงนี้ให้กลับมาสู่ความสมดุลตามปกติ การตรวจสอบของดีเอสไอต้องทำต่อ
เมื่อถามว่า นายกฯ ยืนยันได้หรือไม่ว่าไม่มีใครได้ผลประโยชน์จากปัญหาน้ำมันปาล์ม นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เป็นเรื่องที่ดีเอสไอจะต้องไปสอบแต่ที่รายงานเบื้องต้นมาให้ตนทราบนั้น การที่ไปพบน้ำมันในโรงกลั่นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการยืมหรือนำไปใช้ด้าน พลังงานยังไม่พบสิ่งผิดปกติ อีกทั้งก็ไม่ได้บอกว่าไม่มีสิ่งผิดปกติ ใครได้ประโยชน์หรือไม่ ต้องสอบกันต่อ ส่วนที่มีการไปกว้านซื้อเพื่อไปผลิตไบโอดีเซลนั้นก็ต้องสอบด้วย ขณะนี้สิ่งที่เราทำไปแล้ว 2 อย่างคือ ไบโอดีเซลบี 3 ลดมาเป็นบี 2 ที่ จะต้องทำไปถึงสิ้นเดือนมี.ค.และเรื่องการนำน้ำมันในสต็อกของกระทรวงพลังงาน ยินดีที่จะให้มาใช้ผลิตน้ำมันปาล์มสำหรับบริโภคตรงนี้ก่อน
ผู้สื่อข่าวถามว่า กรณีที่นายพิเชษฐ์ พันธ์วิชาติกุล ออกมาระบุว่ามีคนชื่อย่อ ส.โคราช ได้ประโยชน์ในเรื่องไบโอดีเซล นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า เรื่องนี้ดีเอสไอต้องสอบออกมาให้ชัดและไม่ว่าจะเกี่ยวข้องกับใครต้องดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นระดับแกนนพรรคร่วมรัฐบาล ใครเกี่ยวข้องก็ต้องดำเนินการ ใครก็ตามถ้ามีปัญหา