ศาล ปค.สูงสุด พิพากษายืนตามศาล ปค.กลาง ยกฟ้อง อดีต ผญบ.ฟ้องเพิกถอนคำสั่ง กทม.ชี้ ประกาศยกเลิกตำแหน่งกำนัน-ผู้ใหญ่บ้าน ใน กทม.ชอบแล้ว และการไม่จัดเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ไม่ถือเป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่
วันนี้ (16 ก.พ.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางให้ยกฟ้องกรณีนายเฉลิมพล สุทธิเกษมศานต์ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กทม. ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรณีขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนประกาศกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 17 ม.ค.43 และลงวันที่ 27 ก.ย.47 ที่เกี่ยวกับการให้ยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้พ้นจากตำแหน่ง หรือครบวาระไปแล้ว และขอให้มีคำสั่งให้กรุงเทพมหานคร สั่งให้มีการเลือกตั้ง ตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวในเขตกรุงเทพมหานครแทนตำแหน่งที่ว่างทั้งที่พ้นจากตำแหน่งหรือครบวาระภายหลังจากมีประกาศกรุงเทพมหานครลงวันที่ 17 ม.ค.43 และลงวันที่ 27 ก.ย.47
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว นายเฉลิมพล เห็นว่า ตนเองได้รับความเสียหาย จากการที่ 3 ผู้ว่าฯ กทม.ในเวลานั้น คือ นายพิจิตต รัตตกุล นายสมัคร สุนทรเวช และ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครให้ยกเลิกตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวในเขตกรุงเทพมหานคร และเมื่อยังไม่ถึงวันที่ 30 ก.ย.48 ที่ประกาศกรุงเทพมหานคร ระบุให้ยกเลิกตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ โดยให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่พ้นจากตำแหน่งทันที แต่พอตำแหน่งต่างๆ นี้ว่างลงเช่นตนเองเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 แขวงบางขุนเทียนครบวาระ 5 ปีในวันที่ 5 ก.ค.46 กทม.และผู้ว่าฯ กทม.ก็กลับไม่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง จึงถือเป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุดเห็นควรยกฟ้อง ระบุว่า ศาลเห็นว่า การออกประกาศทั้ง 2 ฉบับ เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และชอบด้วยกฎหมายแล้ว อีกทั้งมีจุดมุ่งหมายที่จะยกเลิกตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าวโดยมีผลใช้บังคับกับผู้ดำแหน่งดังกล่าวทุกคนในเขต กทม.ไม่ใช่บังคับใช้แก่ผู้ดำตำแหน่งคนใดคนหนึ่ง จึงไม่ขัดกับหลักความเสมอภาคที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ สำหรับที่นายเฉลิมพลอ้างว่า กทม.และผู้ว่าฯ กทม.ไม่จัดให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 แขวงบางขุนเทียน รวมทั้งแทนผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าวที่พ้นจากตำแหน่งไปถือเป็นการละเลย เห็นว่า เมื่อประกาศ 2 ฉบับชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้น เมื่อ นายเฉลิมพล และบุคคลอื่นที่ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าว พ้นจากตำแหน่งแล้ว กทม.ไม่ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ก็ไม่ถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายให้ต้องปฏิบัติแต่อย่างใด
วันนี้ (16 ก.พ.) ศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษายืนตามศาลปกครองกลางให้ยกฟ้องกรณีนายเฉลิมพล สุทธิเกษมศานต์ อดีตผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 แขวงบางขุนเทียน เขตจอมทอง กทม. ยื่นฟ้องกรุงเทพมหานคร และผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กรณีขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอนประกาศกรุงเทพมหานคร ลงวันที่ 17 ม.ค.43 และลงวันที่ 27 ก.ย.47 ที่เกี่ยวกับการให้ยกเลิกตำแหน่งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน แพทย์ประจำตำบล สารวัตรกำนัน และผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านในเขตกรุงเทพมหานคร ในส่วนที่ผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวได้พ้นจากตำแหน่ง หรือครบวาระไปแล้ว และขอให้มีคำสั่งให้กรุงเทพมหานคร สั่งให้มีการเลือกตั้ง ตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวในเขตกรุงเทพมหานครแทนตำแหน่งที่ว่างทั้งที่พ้นจากตำแหน่งหรือครบวาระภายหลังจากมีประกาศกรุงเทพมหานครลงวันที่ 17 ม.ค.43 และลงวันที่ 27 ก.ย.47
ทั้งนี้ คดีดังกล่าว นายเฉลิมพล เห็นว่า ตนเองได้รับความเสียหาย จากการที่ 3 ผู้ว่าฯ กทม.ในเวลานั้น คือ นายพิจิตต รัตตกุล นายสมัคร สุนทรเวช และ นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครให้ยกเลิกตำแหน่งต่าง ๆ ดังกล่าวในเขตกรุงเทพมหานคร และเมื่อยังไม่ถึงวันที่ 30 ก.ย.48 ที่ประกาศกรุงเทพมหานคร ระบุให้ยกเลิกตำแหน่งต่างๆ เหล่านี้ โดยให้ผู้ที่ดำรงตำแหน่งอยู่ตามกฎหมายว่าด้วยการปกครองท้องที่พ้นจากตำแหน่งทันที แต่พอตำแหน่งต่างๆ นี้ว่างลงเช่นตนเองเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ 7 แขวงบางขุนเทียนครบวาระ 5 ปีในวันที่ 5 ก.ค.46 กทม.และผู้ว่าฯ กทม.ก็กลับไม่มีการจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง จึงถือเป็นการละเลยต่อการปฏิบัติหน้าที่หรือปฏิบัติหน้าที่ล่าช้าเกินสมควรจึงนำคดีมาฟ้องต่อศาล
ส่วนที่ศาลปกครองสูงสุดเห็นควรยกฟ้อง ระบุว่า ศาลเห็นว่า การออกประกาศทั้ง 2 ฉบับ เป็นการดำเนินการตามอำนาจหน้าที่และชอบด้วยกฎหมายแล้ว อีกทั้งมีจุดมุ่งหมายที่จะยกเลิกตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าวโดยมีผลใช้บังคับกับผู้ดำแหน่งดังกล่าวทุกคนในเขต กทม.ไม่ใช่บังคับใช้แก่ผู้ดำตำแหน่งคนใดคนหนึ่ง จึงไม่ขัดกับหลักความเสมอภาคที่รัฐธรรมนูญบัญญัติ สำหรับที่นายเฉลิมพลอ้างว่า กทม.และผู้ว่าฯ กทม.ไม่จัดให้มีการเลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านหมู่ 9 แขวงบางขุนเทียน รวมทั้งแทนผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าวที่พ้นจากตำแหน่งไปถือเป็นการละเลย เห็นว่า เมื่อประกาศ 2 ฉบับชอบด้วยกฎหมายแล้ว ดังนั้น เมื่อ นายเฉลิมพล และบุคคลอื่นที่ดำรงตำแหน่งต่างๆ ดังกล่าว พ้นจากตำแหน่งแล้ว กทม.ไม่ดำเนินการจัดให้มีการเลือกตั้งแทนตำแหน่งที่ว่าง ก็ไม่ถือเป็นการละเลยต่อหน้าที่ตามที่กฎหมายให้ต้องปฏิบัติแต่อย่างใด