ศาลปกครองยกคำร้อง กรณีหมอเชิดชู ฟ้องกรรมการแพทยสภา เลือกตั้งไม่โปร่งใส เหตุหลักฐานไม่เพียงพอ ด้านพญ.เชิดชู ขอสู้ต่อ เดินหน้ายื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดให้กลับคำสั่งศาลปกครองกลางฯ
จากกรณีที่ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา หนึ่งในผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ในนามกลุ่มแพทย์ไทยสามัคคี ยื่นฟ้องคณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาที่มี นพ.พรณรงค์ โชติวรรณ เป็นประธานคณะอนุกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการแพทยสภา ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีดำเลขที่ 294 / 2554 เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งไม่สุจริตและไม่โปร่งใส โดยขอให้ศาลพิจารณาใน 3 ข้อ คือ 1.ขอให้ศาลสั่งยกเลิกการประกาศผลการเลือกตั้งคณะกรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ.2554- 2556 2.สั่งให้มีการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการแพทยสภาใหม่ และ3.ขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้คณะกรรมการแพทยสภาชุดใหม่ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
นพ.พรณรงค์ โชติวรรณ ประธานคณะกรรมการเลือกตั้งแพทยสภา กล่าวว่า ขณะนี้ศาลปกครองกลาง ได้ส่งคำพิพากษาคดีดำเลขที่ 294 / 2554 กลับมาแล้ว โดยผลการพิจารณา ศาลได้สั่งให้ยกคำร้องให้คุ้มครองชั่วคราว มีผลให้คณะกรรมการแพทยสภาที่ได้รับเลือกทั้ง 26 คน สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามที่ได้รับเลือกตั้ง โดยศาลได้มีคำพิพากษารวม 28 หน้า โดยสรุปใจความว่า คำกล่าวหาไม่ชัดเจนหลักฐานไม่เพียงพอ การขอให้ศาลคุ้มครองเร่งด่วนจึงให้ยกเลิกไปก่อน โดยศาลจะพิจารณาอีก 1-2 ครั้ง ระหว่างนี้สามารถส่งหลักฐาน และพยานเพิ่มเติมได้ แต่ยังไม่มีการนัดวันในการพิจารณาครั้งต่อไป
“สำหรับบัตรเลือกตั้ง ตามกระบวนการปกติภายหลังการเลือกตั้ง จะเก็บหีบบัตรเลือกตั้งทั้งหมดไว้ และทำลายทิ้งในการเลือกตั้งครั้งถัดไป รวมเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งคณะกรรมการเลือกตั้ง ยินดีจะให้ตรวจสอบบัตรเลือกตั้งทั้งหมดหากมีการร้องขอจากศาล ทั้งนี้ ตนไม่ได้รู้สึกหนักใจอะไร เพราะทำทุกอย่างตามกระบวนการ พร้อมให้ตรวจสอบ” นพ.พรณรงค์ กล่าว
ด้านพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา หนึ่งในผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนได้รับทราบคำสั่งศาลปกครองกลางตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 11 ก.พ. แล้ว แต่เนื่องจากเห็นว่ากระบวนการบางอย่างนั้นยังไม่ยุติธรรมพอ ในวันที่ 14 ก.พ.ตนในฐานะผู้ฟ้องที่ 1 และ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล หนึ่งในผู้สมัครเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ในฐานะผู้ฟ้องคนที่ 2 จึงได้เดินทางไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดให้กลับคำสั่งศาลปกครองกลางที่ระบุว่าให้มีการยกคำร้องฯ เนื่องจากระบวนการส่งและรับบัตรเลือกตั้งของ คณะอนุกรรมการฯนั้นยังไม่โปร่งใสพอและเปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงาน ดังนั้นตนในฐานะผู้ฟ้อง จึงจำเป็นต้องยื่นอุทธรณ์ต่อกรณีดังกล่าว โดยจะยึดถือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดเป็นหลักเท่านั้น หากมีคำสั่งออกมาอย่างไรก็จะถือเป็นที่สิ้นสุดการฟ้องร้อง
จากกรณีที่ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา หนึ่งในผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ในนามกลุ่มแพทย์ไทยสามัคคี ยื่นฟ้องคณะอนุกรรมการเลือกตั้งกรรมการแพทยสภาที่มี นพ.พรณรงค์ โชติวรรณ เป็นประธานคณะอนุกรรมการการเลือกตั้งคณะกรรมการแพทยสภา ต่อศาลปกครองกลาง เป็นคดีดำเลขที่ 294 / 2554 เนื่องจากเห็นว่าการเลือกตั้งไม่สุจริตและไม่โปร่งใส โดยขอให้ศาลพิจารณาใน 3 ข้อ คือ 1.ขอให้ศาลสั่งยกเลิกการประกาศผลการเลือกตั้งคณะกรรมการแพทยสภาวาระ พ.ศ.2554- 2556 2.สั่งให้มีการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการแพทยสภาใหม่ และ3.ขอให้ศาลสั่งคุ้มครองชั่วคราว ไม่ให้คณะกรรมการแพทยสภาชุดใหม่ปฏิบัติหน้าที่จนกว่าคดีจะถึงที่สุด
นพ.พรณรงค์ โชติวรรณ ประธานคณะกรรมการเลือกตั้งแพทยสภา กล่าวว่า ขณะนี้ศาลปกครองกลาง ได้ส่งคำพิพากษาคดีดำเลขที่ 294 / 2554 กลับมาแล้ว โดยผลการพิจารณา ศาลได้สั่งให้ยกคำร้องให้คุ้มครองชั่วคราว มีผลให้คณะกรรมการแพทยสภาที่ได้รับเลือกทั้ง 26 คน สามารถปฏิบัติหน้าที่ต่อไปได้ตามที่ได้รับเลือกตั้ง โดยศาลได้มีคำพิพากษารวม 28 หน้า โดยสรุปใจความว่า คำกล่าวหาไม่ชัดเจนหลักฐานไม่เพียงพอ การขอให้ศาลคุ้มครองเร่งด่วนจึงให้ยกเลิกไปก่อน โดยศาลจะพิจารณาอีก 1-2 ครั้ง ระหว่างนี้สามารถส่งหลักฐาน และพยานเพิ่มเติมได้ แต่ยังไม่มีการนัดวันในการพิจารณาครั้งต่อไป
“สำหรับบัตรเลือกตั้ง ตามกระบวนการปกติภายหลังการเลือกตั้ง จะเก็บหีบบัตรเลือกตั้งทั้งหมดไว้ และทำลายทิ้งในการเลือกตั้งครั้งถัดไป รวมเป็นเวลา 2 ปี ซึ่งคณะกรรมการเลือกตั้ง ยินดีจะให้ตรวจสอบบัตรเลือกตั้งทั้งหมดหากมีการร้องขอจากศาล ทั้งนี้ ตนไม่ได้รู้สึกหนักใจอะไร เพราะทำทุกอย่างตามกระบวนการ พร้อมให้ตรวจสอบ” นพ.พรณรงค์ กล่าว
ด้านพญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา หนึ่งในผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา กล่าวถึงกรณีดังกล่าวว่า ตนได้รับทราบคำสั่งศาลปกครองกลางตั้งแต่วันศุกร์ ที่ 11 ก.พ. แล้ว แต่เนื่องจากเห็นว่ากระบวนการบางอย่างนั้นยังไม่ยุติธรรมพอ ในวันที่ 14 ก.พ.ตนในฐานะผู้ฟ้องที่ 1 และ พญ.อรพรรณ์ เมธาดิลกกุล หนึ่งในผู้สมัครเลือกตั้งกรรมการแพทยสภา ในฐานะผู้ฟ้องคนที่ 2 จึงได้เดินทางไปยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุดให้กลับคำสั่งศาลปกครองกลางที่ระบุว่าให้มีการยกคำร้องฯ เนื่องจากระบวนการส่งและรับบัตรเลือกตั้งของ คณะอนุกรรมการฯนั้นยังไม่โปร่งใสพอและเปิดโอกาสให้คนนอกเข้ามามีส่วนร่วม ในการดำเนินงาน ดังนั้นตนในฐานะผู้ฟ้อง จึงจำเป็นต้องยื่นอุทธรณ์ต่อกรณีดังกล่าว โดยจะยึดถือคำสั่งของศาลปกครองสูงสุดเป็นหลักเท่านั้น หากมีคำสั่งออกมาอย่างไรก็จะถือเป็นที่สิ้นสุดการฟ้องร้อง