วานนี้ ( 10 ก.พ.) องค์คณะศาลปกครองกลางที่มีนายลิขิต ศกุนะสิงห์ ตุลาการศาลปกครองกลาง เป็นตุลาการเจ้าของสำนวน มีคำสั่งไม่รับคำฟ้องบางข้อหาที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ยื่นฟ้องนายกรัฐมนตรี คณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ (ก.ต.ช.) ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นประธาน และคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นประธาน กรณีออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจให้ดำรงตำแหน่ง และรักษาราชการในตำแหน่งสำคัญหลายคำสั่งที่ไม่น่าจะชอบด้วยกฎหมาย
โดยข้อหาที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับไว้พิจารณา ประกอบด้วย 1. กรณีฟ้องว่านายกฯใช้อำนาจออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 183/2552 ลงวันที่ 4 ส.ค. 52 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 188/2552 ลงวันที่ 11 ส.ค.52 แต่งตั้งพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ให้รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร. ) เนื่องจากศาลเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาไว้สั้น และปัจจุบันได้สิ้นผลลงแล้ว ประกอบกับท้ายคำขอ ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอน หรือพิพากษาว่า คำสั่งทั้ง 2 ฉบับไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากที่สุดแล้ว ศาลมีคำพิพากษาตามที่ขอ ผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ได้มีผลเป็นการแก้ไข หรือบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายโดยตรงแก่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เนื่องจากไม่ใช่คู่กรณี หรือเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการออกคำสั่งดังกล่าว
อีกทั้งคำสั่งสำนักนายกฯ ทั้งสองฉบับ เป็นการแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร ให้รักษาการตำแหน่ง ผบ.ตร. ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น ดังนั้นการออกคำสั่งดังกล่าวของนายกฯ จึงมิได้มีผลกระทบโดยตรงต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดังนั้น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี
2. กรณีฟ้องว่า นายกฯ กระทำการโดยไม่ชอบในการออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 211/2552 ลงวันที่ 29 ก.ย.52 เรื่องแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เป็นรักษาราชการแทนผบ.ตร. เพราะเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป เพียงรายชื่อเดียวให้ ก.ต.ช.มีมติเห็นชอบ ถือว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแบบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติมา
ศาลเห็นว่า กรณีนี้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เคยฟ้องเป็นคดีต่อศาลแล้ว โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลาง ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาด้วยเหตุว่า คำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวไม่ได้กระทบต่อสิทธิของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ อันจะถือได้ว่าเป็นผู้เดือดร้อนเสียหาย จึงมีผลทำให้คดีดังกล่าวเป็นที่สุดไปแล้ว
การฟ้องครั้งนี้จึงถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตามข้อ 97 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการพิจารณาคดีปกครอง ที่ห้ามมิให้คู่กรณีเดียวกันฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียว อีกทั้งข้อหาที่ฟ้องก็ไม่ได้เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์ส่วนรวมที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้
3. กรณีฟ้องว่า นายกฯ มอบหมายให้นายสุเทพ ทำหน้าที่ประธาน ก.ตร.นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การมอบหมายดังกล่าวไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลเห็นว่า เหตุแห่งความเดือดร้อนเสียหายที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ นำคดีมาฟ้องเนื่องจากมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้อำนาจของนายกฯ ที่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ให้รักษาราชการแทนในตำแหน่ง ผบ.ตร. และให้ดำรงตำแหน่งผบ.ตร. ทำให้การบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียระบบคุณธรรม ไม่เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติกันมา
โดยพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแนห่งรองผบ.ตร. อาวุโสลำดับที่ 1 อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ควรได้รับการพิจารณาเสนอชื่อเพื่อให้ดำรงตำแหน่งแต่กลับถูกเลือกปฏิบัติ เนื่องจากไม่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ประเด็นพิพาทในคดีจึงมีว่า การที่นายกฯ เสนอชื่อพล.ต.อ.วิเชียร เพียงรายชื่อเดียว เพื่อขอความเห็นชอบจาก ก.ต.ช.ให้ดำรงตำแหน่งผบ.ตร. เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มติของก.ต.ช.ที่เห็นชอบรายชื่อที่เสนอมาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และคำวินิจฉัยร้องทุกข์ของอนุกรรมการร้องทุกข์ของก.ตร. ที่ให้ยก และไม่รับคำร้องทุกข์ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น การกระทำของนายกฯ ที่มอบให้นายสุเทพ ทำหน้าที่ประธานก.ตร.แทนนั้น จึงไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเหตุแห่งความเดือดร้อนเสียหายของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์โดยตรง แม้หากการกระทำของนายกฯ จะไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่อ้างจริง คำขอที่ให้ศาลพิพากษาว่า การมอบหมายดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่มีผลเป็นการแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายโดยตรงให้กับ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จึงไม่อยู่ในฐานะผู้มีสิทธิฟ้องคดีในข้อหานี้
ส่วนข้อหาที่ศาลรับฟ้องไว้พิจารณามีเพียงข้อหาเดียวคือ กรณีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนายกฯ ที่เสนอชื่อ พล.ต.อ.วิเชียร เพียงรายชื่อเดียวต่อ ก.ต.ช. และมติก.ต.ช.ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 53 เฉพาะวาระที่ 3 เรื่องที่ 3 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ที่เห็นชอบให้ พล.ต.อ.วิเชียร ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. ตามที่นายกฯเสนอ และมีคำสั่งให้นายกฯ ดำเนินการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจแล้วเสนอให้ ก.ต.ช. พิจารณาคัดเลือก และให้ความเห็นชอบใหม่ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป และขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการร้องทุกข์ที่ให้ยกคำร้องทุกข์ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดังกล่าว หรือมีคำพิพากษาว่า เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
โดยข้อหาที่ศาลปกครองกลางมีคำสั่งไม่รับไว้พิจารณา ประกอบด้วย 1. กรณีฟ้องว่านายกฯใช้อำนาจออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 183/2552 ลงวันที่ 4 ส.ค. 52 และคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 188/2552 ลงวันที่ 11 ส.ค.52 แต่งตั้งพล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี ให้รักษาราชการแทนในตำแหน่งผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ( ผบ.ตร. ) เนื่องจากศาลเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวมีกำหนดระยะเวลาไว้สั้น และปัจจุบันได้สิ้นผลลงแล้ว ประกอบกับท้ายคำขอ ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ขอให้ศาลมีคำพิพากษาเพิกถอน หรือพิพากษาว่า คำสั่งทั้ง 2 ฉบับไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งหากที่สุดแล้ว ศาลมีคำพิพากษาตามที่ขอ ผลแห่งคำพิพากษาดังกล่าวก็ไม่ได้มีผลเป็นการแก้ไข หรือบรรเทาความเดือดร้อนเสียหายโดยตรงแก่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เนื่องจากไม่ใช่คู่กรณี หรือเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการออกคำสั่งดังกล่าว
อีกทั้งคำสั่งสำนักนายกฯ ทั้งสองฉบับ เป็นการแต่งตั้ง พล.ต.อ.วิเชียร ให้รักษาการตำแหน่ง ผบ.ตร. ซึ่งไม่ใช่ตำแหน่งที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแหน่งอยู่ในขณะนั้น ดังนั้นการออกคำสั่งดังกล่าวของนายกฯ จึงมิได้มีผลกระทบโดยตรงต่อสถานภาพของสิทธิ หรือหน้าที่ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดังนั้น พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จึงไม่อยู่ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิฟ้องคดี
2. กรณีฟ้องว่า นายกฯ กระทำการโดยไม่ชอบในการออกคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 211/2552 ลงวันที่ 29 ก.ย.52 เรื่องแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ เป็นรักษาราชการแทนผบ.ตร. เพราะเสนอชื่อ พล.ต.อ.ปทีป เพียงรายชื่อเดียวให้ ก.ต.ช.มีมติเห็นชอบ ถือว่าไม่ถูกต้องตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแบบธรรมเนียมที่ถือปฏิบัติมา
ศาลเห็นว่า กรณีนี้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ เคยฟ้องเป็นคดีต่อศาลแล้ว โดยศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามศาลปกครองกลาง ไม่รับคำฟ้องไว้พิจารณาด้วยเหตุว่า คำสั่งแต่งตั้งดังกล่าวไม่ได้กระทบต่อสิทธิของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ อันจะถือได้ว่าเป็นผู้เดือดร้อนเสียหาย จึงมีผลทำให้คดีดังกล่าวเป็นที่สุดไปแล้ว
การฟ้องครั้งนี้จึงถือเป็นการฟ้องซ้ำต้องห้ามตามข้อ 97 แห่งระเบียบของที่ประชุมใหญ่ตุลาการในศาลปกครองสูงสุดว่าด้วยการพิจารณาคดีปกครอง ที่ห้ามมิให้คู่กรณีเดียวกันฟ้องกันอีกในประเด็นที่ได้วินิจฉัย โดยอาศัยเหตุอย่างเดียว อีกทั้งข้อหาที่ฟ้องก็ไม่ได้เกี่ยวกับการคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ หรือประโยชน์ส่วนรวมที่ศาลจะรับไว้พิจารณาได้
3. กรณีฟ้องว่า นายกฯ มอบหมายให้นายสุเทพ ทำหน้าที่ประธาน ก.ตร.นั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขัดต่อเจตนารมณ์ของ พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ 2547 ขอให้ศาลพิพากษาว่า การมอบหมายดังกล่าวไม่ถูกต้อง และไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลเห็นว่า เหตุแห่งความเดือดร้อนเสียหายที่ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ นำคดีมาฟ้องเนื่องจากมองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการใช้อำนาจของนายกฯ ที่ใช้ตำแหน่งหน้าที่ทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงในการแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ให้รักษาราชการแทนในตำแหน่ง ผบ.ตร. และให้ดำรงตำแหน่งผบ.ตร. ทำให้การบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติเสียระบบคุณธรรม ไม่เป็นไปตามระเบียบกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และธรรมเนียมที่ยึดถือปฏิบัติกันมา
โดยพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดำรงตำแนห่งรองผบ.ตร. อาวุโสลำดับที่ 1 อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ควรได้รับการพิจารณาเสนอชื่อเพื่อให้ดำรงตำแหน่งแต่กลับถูกเลือกปฏิบัติ เนื่องจากไม่ได้รับการเสนอชื่อให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว ประเด็นพิพาทในคดีจึงมีว่า การที่นายกฯ เสนอชื่อพล.ต.อ.วิเชียร เพียงรายชื่อเดียว เพื่อขอความเห็นชอบจาก ก.ต.ช.ให้ดำรงตำแหน่งผบ.ตร. เป็นการกระทำที่ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ มติของก.ต.ช.ที่เห็นชอบรายชื่อที่เสนอมาชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ และคำวินิจฉัยร้องทุกข์ของอนุกรรมการร้องทุกข์ของก.ตร. ที่ให้ยก และไม่รับคำร้องทุกข์ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ดังนั้น การกระทำของนายกฯ ที่มอบให้นายสุเทพ ทำหน้าที่ประธานก.ตร.แทนนั้น จึงไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับเหตุแห่งความเดือดร้อนเสียหายของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์โดยตรง แม้หากการกระทำของนายกฯ จะไม่ชอบด้วยกฎหมายตามที่อ้างจริง คำขอที่ให้ศาลพิพากษาว่า การมอบหมายดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ก็ไม่มีผลเป็นการแก้ไขความเดือดร้อนเสียหายโดยตรงให้กับ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ จึงไม่อยู่ในฐานะผู้มีสิทธิฟ้องคดีในข้อหานี้
ส่วนข้อหาที่ศาลรับฟ้องไว้พิจารณามีเพียงข้อหาเดียวคือ กรณีฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งนายกฯ ที่เสนอชื่อ พล.ต.อ.วิเชียร เพียงรายชื่อเดียวต่อ ก.ต.ช. และมติก.ต.ช.ในการประชุมครั้งที่ 3/2553 เมื่อวันที่ 9 ส.ค. 53 เฉพาะวาระที่ 3 เรื่องที่ 3 การแต่งตั้งข้าราชการตำรวจ ที่เห็นชอบให้ พล.ต.อ.วิเชียร ดำรงตำแหน่ง ผบ.ตร. ตามที่นายกฯเสนอ และมีคำสั่งให้นายกฯ ดำเนินการคัดเลือกรายชื่อข้าราชการตำรวจแล้วเสนอให้ ก.ต.ช. พิจารณาคัดเลือก และให้ความเห็นชอบใหม่ให้เป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดต่อไป และขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการร้องทุกข์ที่ให้ยกคำร้องทุกข์ของพล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดังกล่าว หรือมีคำพิพากษาว่า เป็นการดำเนินการที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย