ถ้อยแถลงของ “ฮอร์ นัมฮง” ต่อ UNSC ระบุว่า ไทยรุกรานกัมพูชา อ้างเดิมๆ ไทยยอมรับแผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 รวมถึงระวางดงรัก แต่กลับอ้างสิทธิบนพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบๆปราสาทพระวิหาร เรียกร้อง UNSC ส่งผู้สังเกตการณ์หรือกองกำลังรักษาสันติภาพ หรืออย่างน้อยสุดก็คณะพิสูจน์ความจริงลงพื้นที่ และเรียกร้องให้ส่งคำพิพากษาศาลโลกกลับไปตีความใหม่
เมื่อเวลา 02.16 น. เว็บไซต์ฟิฟทีนมูฟ ได้เผยแพร่ถ้อยแถลงของนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ที่มีต่อคณะมนตรีความมั่นคงสหประชาชาติ หรือ UNSC โดยนายฮอร์ นัมฮง ระบุว่าไทยเป็นฝ่ายรุกรานกัมพูชาก่อน ทำให้ปราสาทพระวิหารและวัดแก้วสิกขาฯได้รับความเสียหาย ชาวกัมพูชาเสียชีวิต 6 ราย และบาดเจ็บ 71 คน พร้อมทั้งอ้างถึงอนุสัญญา 1904 และสนธิสัญญา 1907 รวมถึงเอ็มโอยู 2543 โดยระบุว่าไทยยอมรับแผนที่อัตราส่วน 1 ต่อ 200,000 รวมถึงระวางดงรักด้วย นอกจากนี้เขายังได้อ้างถึงคำพิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเมื่อปี 2505 ที่ระบุว่าปราสาทพระวิหารอยู่บนพื้นที่ของกัมพูชา แต่ไทยอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบๆ ปราสาทพระวิหารตั้งแต่กัมพูชาขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก
นายฮอร์ยังได้กล่าวว่าไทยได้รุกรานกัมพูชาก่อนหน้านี้ตั้งแต่เดือน ก.ค.2551 ด้วยกำลังทหารและอาวุธที่เหนือกว่า จนมาในปัจจุบันเมื่อเดือน ม.ค.2554 ไทยได้เรียกร้องให้กัมพูชาปลดธงที่วัดแก้วสิกขาฯ มีการซ้อมรบ รวมถึงการข่มขู่จะใช้กำลังทหาร จนในที่สุดนำไปสู่การปะทะกันในวันที่ 4-7 ก.พ.2554 ซึ่งไทยได้ละเมิดกฎบัตรของสหประชาชาติ ทางกัมพูชาจึงต้องการให้สหประชาชาติช่วยยุติการรุกรานของไทย และขอให้มีผู้สังเกตุการณ์หรือตัวแทนสหประชาชาติเข้ามาค้นหาความจริงในพื้นที่ โดยกัมพูชามองว่าการเจรจาทวิภาคีนั้นล้มเหลว แต่กัมพูชาก็ยังจะยึดการเจรจาตามกรอบภูมิภาคคือระดับอาเซียน แต่ถ้าเกิดความล้มเหลวอีก ก็อยากให้ UNSC เข้ามามีส่วนร่วม และส่งเรื่องให้ศาลโลกตีความคำตัดสินเมื่อปี 2505 อีกครั้ง
ดูต้นฉบับถ้อยแถลงของนายฮอร์ นัมฮง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา ในที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคง วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2554 ได้ที่ http://www.15thmove.net/files/2011/02/hor-numhong-unsc.jpg
ฟิฟทีนมูฟแปลเรียบเรียงดังนี้...
————————————————-
– ประการแรกสุด ผมใคร่ขอขอบคุณทุกท่านที่ให้โอกาสผมเพื่อบรรยายสรุปต่อคณะมนตรีความมั่นคงกรณีสงครามรุกรานกัมพูชาโดยประเทศไทย เมื่อวันที่ 4, 5, 6, และ 7 กุมภาพันธ์ 2011 หลายสถานที่ เหล่านี้รวมถึงพื้นที่ดังต่อไปนี้ซึ่งอยู่ในเขตของกัมพูชา
ปราสาทพระวิหาร
วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ และพื้นที่ขมุม ซึ่งอยู่ห่าง 300 เมตร และ 500 เมตร ตามลำดับจากปราสาทพระวิหาร
แถบช่องคานม้าและภูมะเขือ ตั้งอยู่ห่างโดยประมาณ 1,120 เมตร และ 1,600 เมตร ตามลำดับจากพรมแดน พื้นที่ตาเส็มและอื่นๆ
– ในการโจมตีด้วยกระสุนปืนใหญ่ต่อกัมพูชา ประเทศไทยได้ใช้อาวุธทันสมัยประกอบด้วย ระเบิดพวง และกระสุนปืนใหญ่ขนาด 105, 120, 130 และ 155 ไกลถึง 20 กิโลเมตรภายในเขตแดนกัมพูชา การโจมตีของประเทศไทยนับแต่ 4 กุมภาพันธ์ 2011 ได้สร้างความเสียหายร้ายแรงต่อวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ และปราสาทพระวิหาร แหล่งมรดกโลก ตลอดจนเสียชีวิต 6 ราย และบาดเจ็บ 71 ราย ในหมู่ทหารและประชาชนกัมพูชา จากความสูญเสียต่อมนุษย์ทั้งหมด 2 คน ถูกสังหารและอีก 8 คน ได้รับบาด เจ็บจากระเบิดพวงซึ่งใช้โดยทหารไทย แม้จะมีการห้ามใช้อาวุธชนิดนี้ทั่วโลก
- แม้มีการเจรจาตกลงหยุดยิงสองครั้ง สถานการณ์ปัจจุบัน อย่างไรก็ตามยังมีความเปราะบางอย่างสูง การต่อสู้สามารถเกิดขึ้นได้ทุกขณะโดยไม่มีการเตือนล่วงหน้า ขณะที่ ทหารไทยซึ่งติดอาวุธหนัก กระสุนปืนใหญ่และรถถังได้ถูกประจำการตามแนวชายแดน สร้างความกดดันต่อกัมพูชา
– อนุญาตให้ผมได้เตือนความจำถึงรากสาเหตุที่นำไปสู่สงครามรุกรานขณะนี้ของประเทศไทยต่อกัมพูชา ดังต่อไปนี้ :
– ฝรั่งเศสและสยามลงนามในอนุสัญญา 1904 และสนธิสัญญา 1907 เพื่อตั้งคณะกรรมการผสมปักปันเขตแดนระหว่างอินโด-จีนและสยาม ในช่วงระหว่างปี 1905 ถึง 1908 คณะกรรมการฝรั่งเศส-สยามซึ่งตั้งโดยอนุสัญญา 1904 ได้จัดทำแผนที่ชุดหนึ่งจำนวน 11 ฉบับ (ทั้งหมดเป็นมาตราส่วน 1/200,000) รวมถึงระวางหนึ่งที่เรียกว่า “แผนที่ดงรัก” ซึ่งแบ่งเขตตอนที่ 6 ซึ่งเป็นบริเวณปราสาทพระวิหาร (กัมพูชาอยู่ภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศสจากปี 1863-1953)
– นับแต่การจัดทำแผนที่ดงรักในปี 1908 ประเทศไทยได้ยอมรับแผนที่นี้อย่างเป็นทางการโดยการขอให้เจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสส่งสำเนาแผนที่จำนวนมากสำหรับการใช้งานของผู้ปกครองจังหวัดชายแดนติดกับกัมพูชา
– ในปี 1954 หลังการประกาศอิสรภาพของกัมพูชาในเดือนพฤศจิกายน 1953 กำลังทหารไทยได้รุกล้ำดินแดนกัมพูชาและยึดครองปราสาทพระวิหาร กัมพูชาด้วยความอด กลั้นและความปรารถนาที่จะหลีกเลี่ยงสงครามได้ฟ้องคดีไปยังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) เมื่อวันที่ 6 ตุลาคม 1959 ตามหลักของแผนที่ดงรักซึ่งอ้างถึงข้างต้น อ้างถึง โดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศว่าแผนที่ “ผนวก 1” ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 1962 ดังนี้
“ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนพื้นดินภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา”
“ประเทศไทยอยู่ภายใต้พันธกรณีที่จะต้องถอนทหารหรือกำลังตำรวจหรือยามหรือผู้ดูแลที่ประจำการโดยประเทศไทยที่ปราสาทพระวิหาร หรือบริเวณใกล้เคียงบนเขตของ กัมพูชา”
“ประเทศไทยอยู่ภายใต้พันธกรณีที่จะต้องส่งคืนกัมพูชาในวัตถุใดๆ ตามที่ระบุในคำร้องที่ห้าซึ่งอาจจะ นับแต่วันเข้ายึดครองปราสาทโดยประเทศไทยในปี 1954 ถูกเคลื่อน ย้ายออกไปจากปราสาทหรือบริเวณปราสาทโดยเจ้าหน้าที่ไทย”
– ในเรื่องเขตแดนระหว่างกัมพูชาและประเทศไทยในบริเวณปราสาทพระวิหาร ฐานคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ICJ) ในปี 1962 กล่าวอย่างชัดเจนในบรรดา เรื่องต่างๆ ดังต่อไปนี้
“ศาล อย่างไรก็ตามเห็นว่าประเทศไทยในปี 1908-1909 ได้ยอมรับแผนที่ผนวก 1 ในฐานะผลงานการปักปันเขตแดน และได้รับรู้เส้นบนแผนที่ว่าเป็นเส้นเขตแดน ผลคือได้วาง พระวิหารในเขตกัมพูชา” …
“อย่างไรก็ตาม ไม่มีเหตุผลที่จะคิดว่าคู่ภาคีได้แนบสิ่งใดเป็นพิเศษไปยังเส้นสันปันน้ำ …ด้วยเหตุนี้ ศาลรู้สึกถึงขอบเขต เป็นเรื่องของการตีความสนธิสัญญา เพื่อที่จะประกาศ ความชอบของเส้นดังวาดในพื้นที่พิพาท” …
– ขอให้ผมได้นำความสนใจของคณะมนตรีความมั่นคงว่า เหล่านี้ล้วนเป็นส่วนเล็กน้อยของฐานคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
– ควรตั้งข้อสังเกตว่านับจากการตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในปี 1962 ประเทศไทยได้ยอมรับที่จะถอนทหารจากพื้นที่ปราสาทพระวิหารและบริเวณใกล้เคียง
– ในเดือนมิถุนายน 2000 กัมพูชาและประเทศไทยได้ลงนามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลของราชอาณาจักรกัมพูชาและรัฐบาลของราชอาณาจักรไทยในการสำรวจและ จัดทำหลักเขตทางบก ซึ่งได้ยอมรับ “แผนที่ดงรัก” ซึ่งอ้างถึงโดยศาลยุติธรรมระหว่างประเทศสำหรับคำตัดสินในปี 1962 ว่าแผนที่ “ผนวก 1” พร้อมด้วยเอกสารที่ชอบด้วย กฎหมายอื่น เป็นฐานทางกฎหมายสำหรับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกระหว่างกัมพูชาและประเทศไทย
– ประเทศไทยได้เริ่มเรียกร้องว่าเป็นเขตแดนของตนซึ่งเรียกว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ในบริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหารเฉพาะเมื่อคณะกรรมการมรดกโลกเริ่มพิจารณา การขึ้นทะเบียนปราสาทในบัญชีมรดกโลกในปี 2008 การอ้างของไทยนี้อาศัยแผนที่ซึ่งลากเองเพียงฝ่ายเดียวซึ่งไม่มีคุณค่าทางกฎหมายใด
– ในการพยายามเรียกร้องผิดทำนองคลองธรรม ประเทศไทยได้กระทำการรุกรานกัมพูชาในสามโอกาสก่อนหน้า คือ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2008, 10 ตุลาคม 2008 และ 3 เมษายน 2009 ในพื้นที่วัดแก้วสิกขาคีรีสวาระ ช่องคานม้า ภูมะเขือ และตาเส็มซึ่งอยู่ใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร การรุกรานเหล่านี้เป็นผลให้เกิดความสูญเสียต่อมนุษย์ตลอด จนความเสียหายต่อทรัพย์สิน โดยเฉพาะปราสาทพระวิหาร
– ในการเผชิญหน้าต่อการรุกรานอย่างครึกโครมเหล่านี้ กัมพูชาได้ใช้ความอดทนอดกลั้นอย่างที่สุดแลรักษาความอดทนอย่างมากในการเจรจากับประเทศไทยเพื่อแก้ปัญหา อย่างสันติ เพื่อที่จะหลีกเลี่ยงการปะทะทางทหารขนาดใหญ่ อย่างไรก็ตาม ความพยายามของกัมพูชานั้นเปล่าประโยชน์ เพราะประเทศไทยฮึกเหิมด้วยอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ทัน สมัยและขนาดใหญ่กว่า
– ควรเตือนความจำด้วยว่าเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2011 คู่ขนานกับการซ้อมรบของประเทศไทยด้วยปืนใหญ่ตามแนวพรมแดนติดกับกัมพูชา แต่ในความเป็นจริงคือการเตรียม สงคราม นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ของประเทศไทย เรียกร้องให้กัมพูชาต้องปลดธงชาติออกจากวัดแก้วสิกขาคีรีสวาระของกัมพูชาใกล้ปราสาทพระวิหารซึ่งสร้าง ตั้งแต่ปี 1998 สามวันให้หลัง เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2011 เขาได้กล่าวว่า “การใช้กำลังจะเป็นตัวเลือกสุดท้าย….รัฐบาลไม่ได้กลัวที่จะทำสงครามกับกัมพูชา” หลังจากนั้นไม่กี่ วัน ผู้บัญชาการกองทัพบก พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวคล้ายกันว่า “การใช้กำลังจะเป็นทางสุดท้าย”
– อีกครั้ง เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2011 นายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกกับผู้สื่อข่าวว่า “ผมยืนยันว่าการถอนทหารตามข้อเสนอของกัมพูชาไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อ เราต้องรักษาสิทธิ์ของเรา (เหนือพื้นที่) แม้ว่ามีความเสี่ยงที่จะเกิดการปะทะกันอีก” ขณะที่กัมพูชาเสนอให้ถอนกำลังทหารทั้งสองฝ่ายห่างจากแนวพรมแดนเพื่อหลีกเลี่ยงการ เผชิญหน้าด้วยอาวุธรอบใหม่
– คำกล่าวเหล่านี้ คู่ขนานกับการเตรียมสงครามสร้างเหตุทำสงครามเดือนกุมภาพันธ์กับกัมพูชาในวันที่ 4, 5, 6 และ 7 แม้ในปัจจุบัน ตามรายงานของสื่อไทยซึ่งท่านทั้งหลาย อาจจะทราบ ประเทศไทยยังคงเสริมกำลังรถถัง ปืนใหญ่และทหารอย่างต่อเนื่องตลอดแนวพรมแดนกัมพูชา
– การทำการรุกรานซ้ำต่อกัมพูชาโดยประเทศไทยล่วงละเมิดเครื่องมือทางกฎหมายอย่างโจ่งแจ้งดังนี้
ข้อ 94.1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ ในเรื่องพันธกรณีของแต่ละชาติสมาชิกของสหประชาติที่จะต้องปฏิบัติตามคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในทุกคดีที่ซึ่งประเทศ นั้นเป็นภาคี
ข้อ 2.3, 2.4 และ 94.1 ของกฎบัตรสหประชาชาติ
สนธิสัญญาทางไมตรีและความร่วมมือ (TAC) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ข้อ 2 ซึ่งกัมพูชาและประเทศไทยเป็นภาคี มีดังนี้
มีความเคารพต่อกันในความเป็นเอกราช อธิปไตย ความเท่าเทียม บูรณภาพแห่งดินแดนและเอกลักษณ์ของชาติของทุกชาติ
ยุติความแตกต่างและข้อพิพาทด้วยสันติวิธี
สละสิทธิที่จะคุกคามหรือใช้กำลัง
ข้อตกลงซึ่งคำนึงต่ออธิปไตย ความเป็นเอกราช บูรณภาพแห่งดินแดน การไม่อาจล่วงล้ำ ความเป็นกลาง ความเป็นเอกภาพของชาติของกัมพูชา ข้อ 2.2c, 2.2d ของข้อตกลง สันติภาพปารีส ในปี ค.ศ.1991
– ด้วยเหตุนี้ ผมร้องขออย่างจริงจังต่อคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาติให้ใช้มาตรการตามข้อ 35.1, 36, 39 และ 94.2 ของกฎบัตรสหประชาชาติ เพื่อยุติการรุกรานของ ประเทศไทยซึ่งอันตรายร้ายแรงต่อสันติภาพและเสถียรภาพในภูมิภาค จนกว่าจะมีการแก้ปัญหาที่ชัดเจน รัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชาเห็นว่ามีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องมีผู้สังเกตการณ์หรือรักษาสันติภาพของยูเอ็น หรืออย่างน้อยที่สุด คณะเจ้าหน้าที่ค้นหาความจริงในพื้นที่พรมแดนนี้ เพื่อให้ความมั่นใจว่าจะไม่มีการต่อต้านด้วยอาวุธเกิด ขึ้นอีก
– แม้ว่าความอดทนอดกลั้นและความพยายามโดยกัมพูชาเพื่อหาข้อยุติความขัดแย้งอย่างสันติผ่านการเจรจาทวิภาคีได้ล้มเหลว กัมพูชายังคงปรารถนาทางออกอย่างสันติ ผ่านกรอบการทำงานระดับภูมิภาคอย่างเช่นอาเซียน ที่ทั้งกัมพูชาและประเทศไทยต่างเป็นสมาชิกองค์กรนี้
– ในกรณีของข้อยุติความขัดแย้งที่ไม่เป็นไปอย่างสันติ ทั้งที่มีการเป็นตัวกลางรับฟังของอาเซียน กัมพูชาใคร่ขอเสนอว่า ยูเอ็นเอสซีควรยังคงร่วมเพื่อหาทางออกที่ชัดเจนตาม กฎบัตรของยูเอ็น
– ยูเอ็นเอสซีอาจส่งเรื่องนี้ต่อให้ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศเพื่อตีความคำตัดสิน ปี 1962 ตามข้อ 96.1 ของกฎบัตรยูเอ็น เนื่องจากรากสาเหตุของความขัดแย้งอยู่ในความเข้า ใจผิดต่อคำตัดสิน ปี 1962
– ขอบคุณการตัดสินใจของยูเอ็นเอสซีเมื่อต้นสัปดาห์ที่แล้วที่เรียกประชุมในวันนี้ กองทัพบกไทยได้ปลดเปลื้องการโจมตีด้วยอาวุธขนาดใหญ่ต่อกัมพูชาและได้ตกลงหยุดยิง รัฐบาลของผมหวังที่จะใช้โอกาสนี้แสดงความขอบคุณอย่างสุดซึ้งต่อสมาชิกคณะมนตรีทุกท่าน สำหรับการดำเนินการให้ซึ่งได้ปกปักชีวิตและความขัดสนจำนวนมาก ไม่เฉพาะ ต่อประชาชนของกัมพูชาแต่ของประเทศไทยด้วยเช่นกัน
ขอบคุณ