xs
xsm
sm
md
lg

กกพ. – ผู้กำกับดูแลกิจการไฟฟ้า

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ครั้งที่ มีความพยายามแปรรูปการไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ.) โดยการนำเข้าตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และถูกกลุ่มเอ็นจีโอต่อต้าน ด้วยการขอให้ศาลปกครอง ระงับการการขายหุ้น กฟผ. จนเป็นผลสำเร็จ เหตุผลสำคัญข้อหนึ่งในการคัดค้านการแปรรูป กฟผ.คือ ยังไม่มีการจัดตั้งหน่วยงานที่จะมากำกับดูแล กิจการไฟฟ้า หลังการแปรรูป ซึ่งอาจจะทำให้ ประชาชนผู้บริโภคได้รับความไม่เป็นธรรมในการให้บริการ เพราะเมื่อ กฟผ.แปรสภาพจากรัฐวิสาหกิจ เป็นบริษัทในตลาดหุ้นแล้ว ย่อมต้องคำนึงถึงการแสวงหากำไรสูงสุด มากกว่า ประโยชน์ขิองประชาชน

มาถึงวันนี้ หน่วยงานกำกับดูแลที่ว่านี้ ได้ถือกำเนิดขึ้นมาได้ ประมาณ 3 ปี แล้ว ในชื่อ “ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน” หรือ กกพ. ถือเป็นหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่เป็น Regulator กิจการ สาธารณูปโภคพื้นฐาน ในทำนองเดียวกับ คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กทช. ที่กำกับดูแล กิจการการโทรคมนาคมสื่อสาร

แต่ กกพ. ไม่ได้เป็นองค์กรอิสระ เหมือน กทช. เพราะ ตามพรบ. ประกอบกิจการพลังงาน พ.ศ. 2550 ซึ่งเป็น กฎหมายจัดตั้ง กกพ. บัญัญัติว่า การดำเนินการใดๆ ขอ งกกพ. ต้องอยู่ภายใต้ “ กรอบนโยบายแห่งรัฐ”

นอกจากนั้น คณะกรรมการ กกพ. ทั้ง 7 คน ซึ่งมีสาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ก็มาจากการสรรหาของ คณะกรรมการสรรหา ซึ่งแต่งตั้ง โดย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เมื่อสรรหาได้แล้ว ก็ต้องให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เสนอให้คณะรัฐมนตรีเห็นชอบ

ต่าง จาก กทช. ที่ วุฒิสภา เป็นผู้ให้ความเห็นชอบ และ ในทางทฤษฎ๊ ถือว่า เป็นองค์กรอิสระ ไม่ขึ้นกับฝ่ายบริหาร

กิจการพลังงาน ที่ กกพ. มีหน้าที่ต้องกำกับดูแลคือ ไฟฟ้า และก๊าซธรรมชาติ ปัจจุบัน กิจการไฟฟ้าในประเทศไทย กล่าวได้ว่า ยังอยูในสภาพผูกขาดทุกขั้นตอน คือ การผลิตกระแสไฟฟ้า แม้จะมีการเปิดให้เอกชนผลิตไฟฟ้าได้ แต่เมื่อผลิตแล้ว ก็ต้องขายให้ กับ กฟผ. ในราคาที่ตกลงกัน , ระบบสายส่ง ผูกขาดตามธรรมชาติ โดย กฟผ. ระบบจำหน่าย ผูกขาด โดย กฟผ. , การไฟฟ้านครหลวง ( กฟน.) และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ( กฟภ), ระบบค้าปลีก ผู้ขาดโดย กฟน. และ กฟภ.

บทบาทของ กกพ. จึงเป็นไปตามสภาพของโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า ไม่สามารถกำกับดูแลในทุกๆเรือง ที่เกี่ยวกับไฟฟ้า เหมือในบางประเทศ ที่มีการเปิดเสรี การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้าอย่างกว้างขวาง มีกลไกตลาด ทำหน้าที่กำหนดราคาไฟฟ้า ตามดีมานด์ และซัพพลายในแต่ละช่วงเวลา


หน้าที่หลักของ กกพ. ประกอบด้วย

1)ออกใบอนุญาติกิจการไฟฟ้า ทั้งการผลิตไฟฟ้า ระบบส่งและระบบจำหน่ายไฟฟ้า การขายปลีกไฟฟ้า การสั่งการผลิตไฟฟ้า

2)ออกใบอนุญาติกิจการก๊าซธรรมชาติ ได้แก่ การขายส่ง การขายปลีก โรงงาน LNG (ก๊าซธรรมชาติเหลว)

3)กำกับดูแลอัตราค่าบริการและคุณภาพบริการ อาทิ ค่าเอฟที ค่าผ่านท่อก๊าซธรรมชาติ คุณภาพบริการของไฟฟ้า ไม่ให้ไฟตกไฟดับ

4)ดูแลเรื่องอสังหาริมทรัพย์ เช่น การรอนสิทธ์ในการสร้างสายส่ง สายจำหน่ายไฟฟ้า เพื่อให้ความเป็นธรรมกับเจ้าของที่ดินที่ถูกรอนสิทธิ์

5)ดูแลเรื่องการมีส่วนร่วม โดยให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมให้มากที่สุด เช่น

การตั้งคณะกรรมการผู้ใช้พลังงานประจำเขตหรือเรียกว่า คพข. มีทั้งหมด 13 เขต รวมกรุงเทพฯ ครอบคลุมทั้ง 77 จังหวัด โดยจะมีการคัดเลือก/สรรหา มีทั้งหมด 11 คน โดย 8 คนเป็นผู้แทนทั่วไป อีก 3 คนเป็นผู้แทนภาคโดยคพข.นี้ จะดูแลเรื่องร้องเรียนของผู้ใช้ไฟฟ้าเช่น ถูก กฟน. หรือ กฟภ. ตัดมิเตอร์ไฟฟ้า โดยไม่แจ้งล่วงหน้า , ถูกเรียกเก็บค่าต่อไฟ ฯลฯ

กองทุนพัฒนาไฟฟ้า ซึ่งดูแลผู้ได้รับผลกระทบกับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและการดำเนินการโรงไฟฟ้า โดยจะมีการเก็บเงินจากผู้ประกอบการเข้ากองทุนฯ แล้วแต่ชนิดของเชื้อเพลิง เช่น โรงไฟฟ้าถ่านหินถ่านหิน จะเก็บ 2 สตางค์ต่อหน่วย ก๊าซธรรมชาติ 1 สตางค์ต่อหน่วยเพื่อนำไปชดเชยให้กับประชาชนที่อยู่รอบโรงไฟฟ้า โดยให้ประชาชนได้ใช้เงินตามความต้องการของชุมชน

6)การให้ความเป็นธรรม อาทิ อุทธรณ์เรื่องค่าทดแทนของสายส่ง สายจำหน่าย หรือหากผู้ประกอบการกับผู้ประกอบการเกิดมีปัญหาด้วยกัน หรือผู้ใช้พลังงานมีปัญหากับผู้ประกอบการ ก็สามารถจะร้องเรียนมาที่ กกพ.ได้

7)การเสนอความเห็นต่อแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าระยะยาว หรือแผนPDP แผนการลงทุนในกิจการไฟฟ้า แผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติ และแผนการขยายระบบโครงข่ายพลังงาน เพื่อนำเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน

อย่างไรก็ตาม กกพ. ไม่มีหน้าที่ในเรื่อง การแปรรูปกิจการฟ้า เพราะ เป็นเรื่องระดับนโยบายของฝ่ายการเมือง
กำลังโหลดความคิดเห็น