องค์กรภาคประชาสังคม 37 องค์กร เดินทางยื่นแถลงการณ์นายกฯ หนุนใช้สันติวิธีแก้ปัญหา ยันประเทศไม่ได้มีแค่เสื้อแดง แนะถามสังคมเห็นด้วยหรือไม่ยุบสภา จี้รัฐจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทยให้ทุกภาคส่วนร่วมศึกษาแก้ปัญหาเชิงโครงสร้าง
วันนี้ (30 มี.ค.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางรัตนา สมบูรณ์วิทย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาประชาสังคมภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี นำกลุ่มผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคม 37 องค์กร เดินทางเข้ายื่นแถลงการณ์จุดยืนของ 37 องค์กรภาค ประชาสังคมต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ด้านหน้าตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นสถานที่ประชุม ครม.ชั่วคราว
โดยแถลงการณ์ที่มีการระบุรายชื่อ 37 องค์กร และชื่อผู้แทนนั้น ระบุว่า ตามที่รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้มีการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่าย นปช.ณ สถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 28 และ 29 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น องค์กรภาคประชาสังคม 37 องค์กร มีจุดยืน คือ 1.เราขอสนับสนุนมาตรการ แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีของนายกรัฐมนตรีในระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าการไม่ใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม การรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศโดยยึดหลักกฎหมายที่เป็นธรรม ตลอดจนการเจรจาทำความเข้าใจระหว่างรัฐบาล กับ นปช.พร้อมการสื่อสารกับสาธารณะ โดยตรง 2.ขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่เข้าใจ และแสดงเจตนา ชัดเจนว่า ประเทศไทยยังมีภาคส่วนอื่นๆ ของสังคมอีกมาก มิได้ประกอบด้วยเพียงกลุ่มคนเสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อสีอื่นๆ และพรรคการเมือง ยังมีภาคส่วนอื่นๆ และประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่อาจมีความคิดเห็นแตกต่างไปจากกลุ่มที่ออกมาชุมนุม 3.ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการยุบสภา รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคมออกมาแสดงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร และเมื่อใดคือเวลาที่เหมาะสม อนึ่ง การเจรจาระหว่างรัฐบาลกับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ควรจะเป็นข้อยุติ ของสังคม และ 4.การชุมนุมไม่ว่าจะเป็นฝ่าย นปช.หรือ ฝ่ายพันธมิตรฯ มีเนื้อหาสาระอันควรแก่การแก้ไขให้เป็นเรื่องของการไม่ได้รับความเป็นธรรม ของประชาชนในมิติเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม รวมทั้งให้มีสารในเรื่องของปัญหาการคอรัปชั่นของนักการเมืองและข้าราชการอัน เกิดจากเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ
“องค์กรภาคประชาสังคม 37 องค์กร จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลใช้โอกาสนี้ ในการแก้ไขปัญหาระดับโครงสร้างของประเทศ ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย อันประกอบด้วยบุคคลอันเป็นที่ยอมรับจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาทำหน้าที่ในการศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างระบบ เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและสังคมไปพร้อมกับการแก้ไขกติกาต่างๆ ในรัฐธรรมนูญของ สมาชิกรัฐสภาตามโอกาสของกรอบเวลาที่มี”
วันนี้ (30 มี.ค.) ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นางรัตนา สมบูรณ์วิทย์ ผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาประชาสังคมภูมิภาค จังหวัดสุพรรณบุรี นำกลุ่มผู้แทนจากองค์กรภาคประชาสังคม 37 องค์กร เดินทางเข้ายื่นแถลงการณ์จุดยืนของ 37 องค์กรภาค ประชาสังคมต่อการแก้ไขปัญหาวิกฤตของชาติให้ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ผ่าน นายปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกฯ ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ด้านหน้าตึกสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นสถานที่ประชุม ครม.ชั่วคราว
โดยแถลงการณ์ที่มีการระบุรายชื่อ 37 องค์กร และชื่อผู้แทนนั้น ระบุว่า ตามที่รัฐบาลได้เปิดโอกาสให้มีการเจรจาระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับฝ่าย นปช.ณ สถาบันพระปกเกล้า เมื่อวันที่ 28 และ 29 มี.ค.ที่ผ่านมานั้น องค์กรภาคประชาสังคม 37 องค์กร มีจุดยืน คือ 1.เราขอสนับสนุนมาตรการ แก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธีของนายกรัฐมนตรีในระยะเวลาที่ผ่านมา ไม่ว่าการไม่ใช้กำลังปราบปรามผู้ชุมนุม การรักษาความสงบเรียบร้อยของประเทศโดยยึดหลักกฎหมายที่เป็นธรรม ตลอดจนการเจรจาทำความเข้าใจระหว่างรัฐบาล กับ นปช.พร้อมการสื่อสารกับสาธารณะ โดยตรง 2.ขอบคุณนายกรัฐมนตรีที่เข้าใจ และแสดงเจตนา ชัดเจนว่า ประเทศไทยยังมีภาคส่วนอื่นๆ ของสังคมอีกมาก มิได้ประกอบด้วยเพียงกลุ่มคนเสื้อแดง เสื้อเหลือง เสื้อสีอื่นๆ และพรรคการเมือง ยังมีภาคส่วนอื่นๆ และประชาชนอีกเป็นจำนวนมากที่อาจมีความคิดเห็นแตกต่างไปจากกลุ่มที่ออกมาชุมนุม 3.ปัญหาเฉพาะหน้าเรื่องการยุบสภา รัฐบาลควรเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนในสังคมออกมาแสดงความเห็นว่าเห็นด้วยหรือไม่ อย่างไร และเมื่อใดคือเวลาที่เหมาะสม อนึ่ง การเจรจาระหว่างรัฐบาลกับคนเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งไม่ควรจะเป็นข้อยุติ ของสังคม และ 4.การชุมนุมไม่ว่าจะเป็นฝ่าย นปช.หรือ ฝ่ายพันธมิตรฯ มีเนื้อหาสาระอันควรแก่การแก้ไขให้เป็นเรื่องของการไม่ได้รับความเป็นธรรม ของประชาชนในมิติเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม รวมทั้งให้มีสารในเรื่องของปัญหาการคอรัปชั่นของนักการเมืองและข้าราชการอัน เกิดจากเห็นประโยชน์ส่วนตนมากกว่าประโยชน์ของประเทศชาติ
“องค์กรภาคประชาสังคม 37 องค์กร จึงขอเรียกร้องให้รัฐบาลใช้โอกาสนี้ ในการแก้ไขปัญหาระดับโครงสร้างของประเทศ ด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย อันประกอบด้วยบุคคลอันเป็นที่ยอมรับจากภาคส่วนต่างๆ เข้ามาทำหน้าที่ในการศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาในเชิงโครงสร้างระบบ เพื่อเสนอแนะต่อรัฐบาลและสังคมไปพร้อมกับการแก้ไขกติกาต่างๆ ในรัฐธรรมนูญของ สมาชิกรัฐสภาตามโอกาสของกรอบเวลาที่มี”