ตลาดหุ้นให้ความสำคัญกับสถานการณ์การเมืองหลังวันที่ 26 กุมภาพันธ์นี้ มากกว่าปัจจัยอื่นๆ ขณะที่สภาวะเศรษฐกิจได้ผ่านพ้นจุดตกต่ำมาแล้ว ทั้งนี้ค่าเงินดอลล์สหรัฐฯมีแนวโน้มแข็งค่ารอบใหม่เทียบกับเงินสกุลยูโร เนื่องจากมีแนวโน้มว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วกว่าคาด
ด้านภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง มาเลเซีย และไทย จะเติบโตในอัตราค่อนข้างสูง ขณะที่การประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นในช่วงนี
ที่สำคัญในขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท แต่คณะกรรมการบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น มีมติจ่ายเงินปันผลพิเศษหุ้นละ 2 บาท และปันผลปกติ 1.25 บาท รวม 3.25 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 11% ซึ่งเป็นเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับงวดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 8 เมษายน 2553 โดยกำหนดจ่ายเงินวันที่ 4 พ.ค.นี้ ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีชื่อในทะเบียนวันที่ 21 เม.ย.2553
การจ่ายเงินปันผลครั้งนี้ ชินคอร์ปอเรชั่นต้องใช้เงินถึง 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการจ่ายเงินปันผลที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
โดยก่อนหน้านี้บริษัทจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 2.40บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2552 ในขณะที่บริษัทลูก คือ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส ประกาศจ่ายเงินปันผลงวดครึ่งหลังปี 2552 สูงถึง 8.30 บาท
ตรงกันข้ามกับความกังวลทางด้านการเมือง “ข่าวสาร” ที่มีผลเชิงลบต่อตลาดหุ้นได้ส่งผ่านไปยังหุ้นจนราคาตอบสนอง “ข่าวร้าย” หมดแล้วทั้งการข่มขู่ วางระเบิด ก่อจลาจล รวมถึงทุกวิถีทางที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ดังนั้นผลการตัดสินคดียึดทรัพย์จึงไม่มีผลต่อตลาดหุ้นมากนัก ยกเว้นจะเกิดเหตุไม่คาดฝันจริงๆ
สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้น ก็คือ กลุ่มนปช. ได้มีมตินัดชุมนุมใหญ่กลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 14 มีนาคมนี้
กลุ่มคนเสื้อแดงจะมีการตั้งเวทีใหญ่ที่สนามหลวง และตลอดเส้นถนนราชดำเนิน ซึ่งทางกลุ่มประเมินว่า ไม่น่าต่ำกว่า 1 ล้านคน และจะเริ่มเคลื่อนพลวันที่ 12 มี.ค. เป็นต้นไป
ในแง่เกมการเมืองกลุ่ม นปช.ต้องการกำหนดเกมการเคลื่อนไหว มากกว่าจะเป็นฝ่ายตั้งรับ
สำนักข่าวรอยเตอร์วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทย ภายหลังศาลมีคำพิพากษาในคดี โดยบทวิเคราะห์มองว่า สถานการณ์หลังจากนั้นจะมี 3 แนวทางด้วยกัน คือ
แนวทางที่ 1. หากศาลตัดสินยึดทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งเป็นคำตัดสินที่คนส่วนใหญ่คาดหวัง จะทำให้ผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร โกรธแค้น อาจจะก่อเหตุประท้วงและเพิ่มความเข้มข้นในการโค่นล้มรัฐบาล และการประท้วงยืดเยื้อ อาจทำให้การทำงานของรัฐบาลเป็นอัมพาต หากเกิดความรุนแรงปะทะขึ้น จะกระทบต่อตลาดหุ้นในระยะสั้น แต่คงไม่รุนแรงมากนัก
แนวทางที่ 2. หากศาลตัดสินยึดทรัพย์บางส่วน สำนักข่าวรอยเตอร์วิเคราะห์ว่า จะเป็นการประนีประนอม ทำให้ความตึงเครียดผ่อนคลาย แต่ในระยะยาวอาจเกิดความผันผวน ชัยชนะในบางส่วนอาจทำให้ทักษิณ ฉวยโอกาสปลุกระดมมวลชนก่อเหตุวุ่นวายทั้งในและนอกสภาได้ และอาจจะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลแปรพรรคได้
แนวทางที่ 3.หากศาลตัดสินคืนทรัพย์สินทั้งหมด จะทำให้ทุกอย่างคลี่คลายลง แต่เป็นเพียงระยะสั้น เพราะคำตัดสินนี้จะเป็นการพิสูจน์ว่า ทักษิณ เป็นผู้บริสุทธิ์ และตอกย้ำการก่อรัฐประหารของกองทัพว่า เป็นการกระทำที่ผิด ขณะเดียวกันกลุ่มต่อต้านอาจไม่พอใจ ออกมาชุมนุมประท้วงได้อีก ซึ่งจะทำให้เกิดการปะทะอีกครั้งกับกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ
อย่างไรก็ตาม ทักษิณดูจะค่อนข้างไม่มีความมั่นใจเหมือนในอดีต แม้กระทั่งการเสวนาเรื่อง “ทิศทางประเทศไทย 2553” หลังจากที่เขาเคยประกาศว่า สถานการณ์มาไกลเกินกว่าจะเจรจาแล้ว
แต่การแสดงความคิดเห็นของทักษิณครั้งนี้ กลับเรียกร้องให้ “คนสั่งการ” มานั่งคุยกับเขาแล้วทุกอย่างก็จบ
“ ขอทำนายว่าในปี 2553 มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแน่นอน แต่จะเป็นรัฐบาลแห่งชาติ รัฐบาลสลับขั้ว หรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใหม่ ไม่ทราบ ที่แน่ๆมีแน่นอน” ทักษิณทำนายสถานการณ์ที่เขาเป็นปัจจัยหนึ่งของเหตุการณ์
แม้ว่าทักษิณจะให้เหตุผลเลื่อนลอยตามปกติวิสัย แต่ความมั่นใจของทักษิณ ทำให้เขามั่นใจถึงกับเตรียมเก็บกระเป๋ากลับเมืองไทยในปี 2553
แต่ความมั่นใจแบบนักกลยุทธ์ทางการตลาดนั้น เชื่อถือได้ยากมาก เพราะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ทุกวัน
กระนั้นก็ตาม นัยของคำนายของทักษิณนั้น แสดงถึงความพยายามให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด
ทั้งการเปลี่ยนขั้ว การเลือกตั้งใหม่ และรัฐบาลแห่งชาติ
ที่สำคัญเสียงซุบซิบในตึกชินวัตรส่งผ่านไปยังแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลนั้น คละเคล้าไปทั้ง 3 ข้อเสนอพร้อมด้วยเงินอีกก้อนใหญ่มาก !!
แต่ข้อเสนอเหล่านั้น กลับถูกปฏิเสธไปอย่างนิ่มนวล
ทำให้ทักษิณ ต้องอาศัยกลุ่มนปช. เคลื่อนไหวกดดันในถึงขั้นแตกหัก แต่การันตีความปลอดภัยของแกนนำ
สอดรับการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเดือนมีนาคม
แต่ยังติดปัญหา “แคนดิเดทนายกรัฐมนตรี” ที่เสนอชื่อเข้าไปพร้อมกับญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เฉลิม อยู่บำรุง กระสันอยากจะเป็นถูกเขียนชื่อไปพร้อมกับญัตติ แต่ติดปัญหา “ต้นทุนการเมืองติดลบ” จนมีเสียงคัดค้านเต็มพรรค
แม้สวนดุสิตโพล ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ กรณีที่ฝ่ายค้านเดินหน้าการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ จากการสำรวจประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 3,042 คน ระหว่างวันที่ 15-20 ก.พ.2553 พบว่า ประชาชน 46.71% เห็นว่า ควรให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นนายกรัฐมนตรีเงา หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เพราะ มีความเป็นผู้นำ มีบทบาททางการเมืองสูง ลูกล่อลูกชนดี มีบารมีและเป็นนักการเมืองระดับแนวหน้าของประเทศ
รองลงมาคือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 37.28% เพราะเคยเป็นนายกรัฐมนตรี มาก่อน มีทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิที่เหมาะสม ,นักการเมืองส่วนใหญ่ให้ความเคารพ นับถือ มีประสบการณ์สูง มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ 11.20% เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา ใจเย็น มีประสบการณ์ด้านงานบริหาร ทำงานเป็นระบบ ส่วนคนอื่นๆ เช่น พล.ต.อ ประชา พรหมนอก ,พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์, นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ,พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ,นายวิทยา บุรณศิริ มีคะแนนน้อยลดหลั่นลงมา
แต่กระนั้นการเคาะครั้งสุดท้าย ไม่เกี่ยวกับผลโพลล์ แต่เป็นการตัดสินใจของทักษิณ
ขณะที่รัฐบาลเปิดสงครามข่าวเชิงรุก ด้วยการปูพรมด้านข้อมูล และข่าวสารการตัดสินคดียึดทั้งก่อนและหลังการตัดสินของศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
“ทันทีที่การพิพากษาเสร็จสิ้นลง รัฐบาลจะใช้สื่อของรัฐทุกแขนงชี้แจงรายละเอียดคำพิพากษาโดยจะเชิญนักกฎหมาย หรือบุคคลที่เป็นกลางมาถกเถียงกันในทุกๆแง่มุม เพื่อให้คนหายสงสัย เพื่อนำไปสู่การพูดคุยประเด็นอื่นๆ” ปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีระบุ
นั่นหมายความว่า เหนือคำนายของทักษิณ น่าจะมีสูตรรัฐบาลใหม่ที่ไม่อยู่ในความคิดของกลุ่มเสื้อแดง หลัง 26 กุมภาพันธ์
รัฐบาลสามฝ่าย !!
ด้านภาวะเศรษฐกิจของฮ่องกง มาเลเซีย และไทย จะเติบโตในอัตราค่อนข้างสูง ขณะที่การประกาศผลการดำเนินงานของบริษัทจะส่งผลบวกต่อตลาดหุ้นในช่วงนี
ที่สำคัญในขณะที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตัดสินคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท แต่คณะกรรมการบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น มีมติจ่ายเงินปันผลพิเศษหุ้นละ 2 บาท และปันผลปกติ 1.25 บาท รวม 3.25 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทน 11% ซึ่งเป็นเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับงวดตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 8 เมษายน 2553 โดยกำหนดจ่ายเงินวันที่ 4 พ.ค.นี้ ให้แก่ผู้ถือหุ้นที่มีชื่อในทะเบียนวันที่ 21 เม.ย.2553
การจ่ายเงินปันผลครั้งนี้ ชินคอร์ปอเรชั่นต้องใช้เงินถึง 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นการจ่ายเงินปันผลที่มากที่สุดเป็นประวัติการณ์
โดยก่อนหน้านี้บริษัทจ่ายเงินปันผลหุ้นละ 2.40บาท สำหรับผลการดำเนินงานประจำปี 2552 ในขณะที่บริษัทลูก คือ บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์เซอร์วิส ประกาศจ่ายเงินปันผลงวดครึ่งหลังปี 2552 สูงถึง 8.30 บาท
ตรงกันข้ามกับความกังวลทางด้านการเมือง “ข่าวสาร” ที่มีผลเชิงลบต่อตลาดหุ้นได้ส่งผ่านไปยังหุ้นจนราคาตอบสนอง “ข่าวร้าย” หมดแล้วทั้งการข่มขู่ วางระเบิด ก่อจลาจล รวมถึงทุกวิถีทางที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล
ดังนั้นผลการตัดสินคดียึดทรัพย์จึงไม่มีผลต่อตลาดหุ้นมากนัก ยกเว้นจะเกิดเหตุไม่คาดฝันจริงๆ
สิ่งที่สำคัญมากกว่านั้น ก็คือ กลุ่มนปช. ได้มีมตินัดชุมนุมใหญ่กลุ่มคนเสื้อแดงในวันที่ 14 มีนาคมนี้
กลุ่มคนเสื้อแดงจะมีการตั้งเวทีใหญ่ที่สนามหลวง และตลอดเส้นถนนราชดำเนิน ซึ่งทางกลุ่มประเมินว่า ไม่น่าต่ำกว่า 1 ล้านคน และจะเริ่มเคลื่อนพลวันที่ 12 มี.ค. เป็นต้นไป
ในแง่เกมการเมืองกลุ่ม นปช.ต้องการกำหนดเกมการเคลื่อนไหว มากกว่าจะเป็นฝ่ายตั้งรับ
สำนักข่าวรอยเตอร์วิเคราะห์สถานการณ์การเมืองไทย ภายหลังศาลมีคำพิพากษาในคดี โดยบทวิเคราะห์มองว่า สถานการณ์หลังจากนั้นจะมี 3 แนวทางด้วยกัน คือ
แนวทางที่ 1. หากศาลตัดสินยึดทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งเป็นคำตัดสินที่คนส่วนใหญ่คาดหวัง จะทำให้ผู้สนับสนุนทักษิณ ชินวัตร โกรธแค้น อาจจะก่อเหตุประท้วงและเพิ่มความเข้มข้นในการโค่นล้มรัฐบาล และการประท้วงยืดเยื้อ อาจทำให้การทำงานของรัฐบาลเป็นอัมพาต หากเกิดความรุนแรงปะทะขึ้น จะกระทบต่อตลาดหุ้นในระยะสั้น แต่คงไม่รุนแรงมากนัก
แนวทางที่ 2. หากศาลตัดสินยึดทรัพย์บางส่วน สำนักข่าวรอยเตอร์วิเคราะห์ว่า จะเป็นการประนีประนอม ทำให้ความตึงเครียดผ่อนคลาย แต่ในระยะยาวอาจเกิดความผันผวน ชัยชนะในบางส่วนอาจทำให้ทักษิณ ฉวยโอกาสปลุกระดมมวลชนก่อเหตุวุ่นวายทั้งในและนอกสภาได้ และอาจจะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลแปรพรรคได้
แนวทางที่ 3.หากศาลตัดสินคืนทรัพย์สินทั้งหมด จะทำให้ทุกอย่างคลี่คลายลง แต่เป็นเพียงระยะสั้น เพราะคำตัดสินนี้จะเป็นการพิสูจน์ว่า ทักษิณ เป็นผู้บริสุทธิ์ และตอกย้ำการก่อรัฐประหารของกองทัพว่า เป็นการกระทำที่ผิด ขณะเดียวกันกลุ่มต่อต้านอาจไม่พอใจ ออกมาชุมนุมประท้วงได้อีก ซึ่งจะทำให้เกิดการปะทะอีกครั้งกับกลุ่มผู้สนับสนุนทักษิณ
อย่างไรก็ตาม ทักษิณดูจะค่อนข้างไม่มีความมั่นใจเหมือนในอดีต แม้กระทั่งการเสวนาเรื่อง “ทิศทางประเทศไทย 2553” หลังจากที่เขาเคยประกาศว่า สถานการณ์มาไกลเกินกว่าจะเจรจาแล้ว
แต่การแสดงความคิดเห็นของทักษิณครั้งนี้ กลับเรียกร้องให้ “คนสั่งการ” มานั่งคุยกับเขาแล้วทุกอย่างก็จบ
“ ขอทำนายว่าในปี 2553 มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแน่นอน แต่จะเป็นรัฐบาลแห่งชาติ รัฐบาลสลับขั้ว หรือรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งใหม่ ไม่ทราบ ที่แน่ๆมีแน่นอน” ทักษิณทำนายสถานการณ์ที่เขาเป็นปัจจัยหนึ่งของเหตุการณ์
แม้ว่าทักษิณจะให้เหตุผลเลื่อนลอยตามปกติวิสัย แต่ความมั่นใจของทักษิณ ทำให้เขามั่นใจถึงกับเตรียมเก็บกระเป๋ากลับเมืองไทยในปี 2553
แต่ความมั่นใจแบบนักกลยุทธ์ทางการตลาดนั้น เชื่อถือได้ยากมาก เพราะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์ทุกวัน
กระนั้นก็ตาม นัยของคำนายของทักษิณนั้น แสดงถึงความพยายามให้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาล ทุกวิถีทาง ไม่ว่าจะออกมาในรูปแบบใด
ทั้งการเปลี่ยนขั้ว การเลือกตั้งใหม่ และรัฐบาลแห่งชาติ
ที่สำคัญเสียงซุบซิบในตึกชินวัตรส่งผ่านไปยังแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลนั้น คละเคล้าไปทั้ง 3 ข้อเสนอพร้อมด้วยเงินอีกก้อนใหญ่มาก !!
แต่ข้อเสนอเหล่านั้น กลับถูกปฏิเสธไปอย่างนิ่มนวล
ทำให้ทักษิณ ต้องอาศัยกลุ่มนปช. เคลื่อนไหวกดดันในถึงขั้นแตกหัก แต่การันตีความปลอดภัยของแกนนำ
สอดรับการยื่นอภิปรายไม่ไว้วางใจในช่วงเดือนมีนาคม
แต่ยังติดปัญหา “แคนดิเดทนายกรัฐมนตรี” ที่เสนอชื่อเข้าไปพร้อมกับญัตติอภิปรายไม่ไว้วางใจ
เฉลิม อยู่บำรุง กระสันอยากจะเป็นถูกเขียนชื่อไปพร้อมกับญัตติ แต่ติดปัญหา “ต้นทุนการเมืองติดลบ” จนมีเสียงคัดค้านเต็มพรรค
แม้สวนดุสิตโพล ได้เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นประชาชนทั่วประเทศ กรณีที่ฝ่ายค้านเดินหน้าการยื่นญัตติขอเปิดอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลอภิสิทธิ์ จากการสำรวจประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 3,042 คน ระหว่างวันที่ 15-20 ก.พ.2553 พบว่า ประชาชน 46.71% เห็นว่า ควรให้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง เป็นนายกรัฐมนตรีเงา หลังการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล เพราะ มีความเป็นผู้นำ มีบทบาททางการเมืองสูง ลูกล่อลูกชนดี มีบารมีและเป็นนักการเมืองระดับแนวหน้าของประเทศ
รองลงมาคือ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ 37.28% เพราะเคยเป็นนายกรัฐมนตรี มาก่อน มีทั้งวัยวุฒิ คุณวุฒิที่เหมาะสม ,นักการเมืองส่วนใหญ่ให้ความเคารพ นับถือ มีประสบการณ์สูง มิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ 11.20% เพราะเป็นคนตรงไปตรงมา ใจเย็น มีประสบการณ์ด้านงานบริหาร ทำงานเป็นระบบ ส่วนคนอื่นๆ เช่น พล.ต.อ ประชา พรหมนอก ,พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์, นายวิชาญ มีนชัยนันท์ ,พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ,นายวิทยา บุรณศิริ มีคะแนนน้อยลดหลั่นลงมา
แต่กระนั้นการเคาะครั้งสุดท้าย ไม่เกี่ยวกับผลโพลล์ แต่เป็นการตัดสินใจของทักษิณ
ขณะที่รัฐบาลเปิดสงครามข่าวเชิงรุก ด้วยการปูพรมด้านข้อมูล และข่าวสารการตัดสินคดียึดทั้งก่อนและหลังการตัดสินของศาลฎีกาแผนคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง
“ทันทีที่การพิพากษาเสร็จสิ้นลง รัฐบาลจะใช้สื่อของรัฐทุกแขนงชี้แจงรายละเอียดคำพิพากษาโดยจะเชิญนักกฎหมาย หรือบุคคลที่เป็นกลางมาถกเถียงกันในทุกๆแง่มุม เพื่อให้คนหายสงสัย เพื่อนำไปสู่การพูดคุยประเด็นอื่นๆ” ปณิธาน วัฒนายากร รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีระบุ
นั่นหมายความว่า เหนือคำนายของทักษิณ น่าจะมีสูตรรัฐบาลใหม่ที่ไม่อยู่ในความคิดของกลุ่มเสื้อแดง หลัง 26 กุมภาพันธ์
รัฐบาลสามฝ่าย !!