สำนักข่าวรอยเตอร์ตีแผ่ภูมิหลังเกี่ยวกับคดียึดทรัพย์ 7.6 หมื่นล้านบาท ของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี โดยรายงานถึงที่มาที่ไปว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ถูกกล่าวหาว่าซุกหุ้น และใช้นโยบายเอื้อประโยชน์ต่อบริษัทของตนเอง จนทำให้ร่ำรวยผิดปกติ ในรายงานรอยเตอร์ยังระบุคำกล่าวอ้างของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่บอกว่า ได้ขายทรัพย์สินก่อนที่จะมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
พร้อมกันนี้ ยังมีบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลังศาลมีคำพิพากษาในคดีนี้ด้วย โดยมีบทวิเคราะห์หลากหลายแนวทาง แบ่งออกเป็น 3 แนวทางด้วยกัน คือ 1.หากศาลตัดสินยึดทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งเดนี่ ริชาร์ด นักเศรษฐศาสตร์ และบรรณาธิการอาวุโส ประจำภูมิภาคเอเชีย ของนิตยสารอีโคโนมิค อินเทลลิเจนท์ ยูนิต กล่าวว่า เป็นคำตัดสินที่คนส่วนใหญ่คาดหวัง โดยคำตัดสินนี้จะทำให้ผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ โกรธแค้น โดยก่อเหตุประท้วงและเพิ่มความเข้มข้นในการโค่นล้มรัฐบาล และการประท้วงยืดเยื้ออาจทำให้การทำงานของรัฐบาลเป็นอัมพาต หากเกิดความรุนแรงปะทะขึ้น โดยบริษัท สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ชี้ว่า จะกระทบต่อตลาดหุ้นในระยะสั้น แต่คงไม่รุนแรงมาก เพราะการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งในตลาดพันธบัตร ตลาดเงิน และตลาดหุ้น มีปริมาณต่ำมากอยู่แล้ว
กรณีที่ 2. หากศาลตัดสินยึดทรัพย์บางส่วน รอยเตอร์ชี้ว่า ดูเหมือนจะเป็นการประนีประนอม ทำให้ความตึงเครียดผ่อนคลาย แต่ในระยะยาวอาจเกิดความผันผวน ชัยชนะในบางส่วนอาจทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ฉวยโอกาสปลุกระดมมวลชนก่อเหตุวุ่นวายทั้งในและนอกสภาได้ ขณะที่การเมือง ซึ่งมีเงินเป็นใหญ่ อาจจะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลแปรพรรคได้ ส่วนกรณีที่ 3.หากศาลตัดสินคืนทรัพย์สินทั้งหมด แนวทางนี้จะทำให้ทุกอย่างคลี่คลายลง แต่เป็นเพียงระยะสั้น เพราะคำตัดสินนี้จะเป็นการพิสูจน์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้บริสุทธิ์ และตอกย้ำการก่อรัฐประหารของกองทัพ ขณะที่กลุ่มต่อต้านอาจไม่พอใจ ออกมาชุมนุมประท้วงได้อีก ซึ่งจะทำให้เกิดการปะทะกับกลุ่มสนับสนุนที่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หวนคืนสู่อำนาจ
ส่วนแนวทางสุดท้าย คือ การเกิดเหตุรุนแรงหน้าศาล ทำให้ต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษา กรณีนี้จะกระทบต่อตลาดหุ้น หากว่าเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น รัฐบาลอาจจะยุบสภา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตลาดเช่นกัน เพราะจะทำให้นักลงทุนหวั่นวิตกต่อสถานการณ์เพิ่มมากขึ้น แต่หากกองทัพสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้โดยไม่มีผู้เสียชีวิต รัฐบาลจะพลิกเป็นฝ่ายได้คะแนน
พร้อมกันนี้ ยังมีบทวิเคราะห์เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นหลังศาลมีคำพิพากษาในคดีนี้ด้วย โดยมีบทวิเคราะห์หลากหลายแนวทาง แบ่งออกเป็น 3 แนวทางด้วยกัน คือ 1.หากศาลตัดสินยึดทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งเดนี่ ริชาร์ด นักเศรษฐศาสตร์ และบรรณาธิการอาวุโส ประจำภูมิภาคเอเชีย ของนิตยสารอีโคโนมิค อินเทลลิเจนท์ ยูนิต กล่าวว่า เป็นคำตัดสินที่คนส่วนใหญ่คาดหวัง โดยคำตัดสินนี้จะทำให้ผู้สนับสนุน พ.ต.ท.ทักษิณ โกรธแค้น โดยก่อเหตุประท้วงและเพิ่มความเข้มข้นในการโค่นล้มรัฐบาล และการประท้วงยืดเยื้ออาจทำให้การทำงานของรัฐบาลเป็นอัมพาต หากเกิดความรุนแรงปะทะขึ้น โดยบริษัท สแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ด ชี้ว่า จะกระทบต่อตลาดหุ้นในระยะสั้น แต่คงไม่รุนแรงมาก เพราะการซื้อขายของนักลงทุนต่างชาติ ทั้งในตลาดพันธบัตร ตลาดเงิน และตลาดหุ้น มีปริมาณต่ำมากอยู่แล้ว
กรณีที่ 2. หากศาลตัดสินยึดทรัพย์บางส่วน รอยเตอร์ชี้ว่า ดูเหมือนจะเป็นการประนีประนอม ทำให้ความตึงเครียดผ่อนคลาย แต่ในระยะยาวอาจเกิดความผันผวน ชัยชนะในบางส่วนอาจทำให้ พ.ต.ท.ทักษิณ ฉวยโอกาสปลุกระดมมวลชนก่อเหตุวุ่นวายทั้งในและนอกสภาได้ ขณะที่การเมือง ซึ่งมีเงินเป็นใหญ่ อาจจะทำให้พรรคร่วมรัฐบาลแปรพรรคได้ ส่วนกรณีที่ 3.หากศาลตัดสินคืนทรัพย์สินทั้งหมด แนวทางนี้จะทำให้ทุกอย่างคลี่คลายลง แต่เป็นเพียงระยะสั้น เพราะคำตัดสินนี้จะเป็นการพิสูจน์ว่า พ.ต.ท.ทักษิณ เป็นผู้บริสุทธิ์ และตอกย้ำการก่อรัฐประหารของกองทัพ ขณะที่กลุ่มต่อต้านอาจไม่พอใจ ออกมาชุมนุมประท้วงได้อีก ซึ่งจะทำให้เกิดการปะทะกับกลุ่มสนับสนุนที่ต้องการให้ พ.ต.ท.ทักษิณ หวนคืนสู่อำนาจ
ส่วนแนวทางสุดท้าย คือ การเกิดเหตุรุนแรงหน้าศาล ทำให้ต้องเลื่อนการอ่านคำพิพากษา กรณีนี้จะกระทบต่อตลาดหุ้น หากว่าเหตุการณ์รุนแรงมากขึ้น รัฐบาลอาจจะยุบสภา ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อตลาดเช่นกัน เพราะจะทำให้นักลงทุนหวั่นวิตกต่อสถานการณ์เพิ่มมากขึ้น แต่หากกองทัพสามารถควบคุมสถานการณ์ไว้ได้โดยไม่มีผู้เสียชีวิต รัฐบาลจะพลิกเป็นฝ่ายได้คะแนน