xs
xsm
sm
md
lg

“ขาใหญ่” เหลืออดผนึกกำลังลดบทบาท “สุเทพ”!!

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


ดังนั้นจึงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าการผนึกกำลังกันของบรรดาขาใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้จะเป็นการลดบทบาทของ สุเทพ ลงอีกแค่ไหน และที่สำคัญงานนี้ยังน่าจะเป็นการ “หัก” กันโดยตรงของ อภิสิทธิ์ อีกด้วย

ก่อนอื่นต้องยอมรับว่าเป็นความกล้าหาญไม่น้อยสำหรับการลงมติของพรรคประชาธิปัตย์เมื่อเย็นวันที่ 26 ม.ค.ทั้งในส่วนของกรรมการบริหารพรรค มาจนถึงที่ประชุม ส.ส.ยืนยันไม่ร่วมลงชื่อแก้ไขรัฐธรรมนูญกับพรรคร่วมรัฐบาล พร้อมกันนี้แกนนำพรรคหลายคนต่างออกมาแสดงความเห็นในแนวทางเดียวกันโดยพร้อมจะยอมรับผลที่จะตามมานับจากนี้ โดยเฉพาะในเรื่องของการยุบสภาเลือกตั้งใหม่

ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งผลจากมติดังกล่าวยังส่งผลต่อบทบาทของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ที่เป็นเลขาธิการพรรคและกำลังเป็นผู้จัดการรัฐบาลอยู่ในเวลานี้ว่าจะมีบทบาทในอนาคตอย่างไรอีกด้วย

ปฏิเสธไม่ได้ว่าผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญในครั้งนี้มาจากแกนนำพรรคร่วมรัฐบาลที่ต้องการปลดล็อกจากพันธนาการในหลายประเด็น แต่สิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการก่อนก็คือแก้ไขเพื่อแบ่งเขตเลือกตั้งให้เล็กลง เนื่องจากเชื่อว่าจะส่งผลดีต่ออนาคตของพรรคขนาดเล็กและขนาดกลาง

หลายฝ่ายมองว่าเขตเล็กจะ “ซื้อ” ได้ง่ายกว่า แ ละปฏิเสธไม่ได้เช่นเดียวกันว่าการผลักดันแก้ไขรัฐธรรมนูญเที่ยวนี้เป็นวาระส่วนตัวของนักการเมืองที่เสียประโยชน์ล้วนๆ ไม่ได้เกี่ยวกับชาวบ้านเลยแม้แต่น้อย

หลายคนสรุปตรงกันว่าเป็นการแก้ไขเพื่อพรรคของ บรรหาร ศิลปอาชา พรรคของ เนวิน ชิดชอบ และ สมศักดิ์ เทพสุทิน ล้วนๆ ทั้งที่คนเหล่านี้ถูกตัดสิทธิ์ห้ามยุ่งเกี่ยวทางการเมือง แต่ก็ยังเห็นหน้าวิ่งประสานงานท้าทายกฎหมายกันหน้าสลอน

วกกลับมาที่พรรคประชาธิปัตย์พบว่าบรรยากาศก่อนการลงมติมีการล็อบบี้จาก สุเทพ เทือกสุบรรณ อย่างสุดกำลัง เพื่อให้สมาชิกพรรคเห็นชอบในการแก้ไขรัฐธรรมนูญตามที่พรรคร่วมรัฐบาลเคลื่อนไหวในลักษณะข่มขู่ โดยการล็อบบี้ดังกล่าวเริ่มตั้งแต่สุดสัปดาห์ที่ผ่านมาตอนที่มีการสัมมนาที่จังหวัดกระบี่ ต่อเนื่องมาจนถึงการประชุมกรรมการบริหารพรรค และวนกลับมาถึงที่ประชุม ส.ส.อีกครั้ง โดยอ้างถึงความอยู่รอดของรัฐบาล

อย่างไรก็ดีก็ได้รับการสั่งสอนจากบรรดาผู้อาวุโสของพรรคที่มี ชวน หลีกภัย ประธานสภาที่ปรึกษาพรรค และ บัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคและอดีตหัวหน้าพรรคที่ตอกหน้าแงอย่างเจ็บแสบ

ลองฟังคำพูดของ นายหัวชวน ที่เบรกความอยากของ สุเทพ จนหัวทิ่มว่า “ไม่ต้องห่วงว่าเราจะอยู่ยาวหรือ สั้น ถ้ารัฐบาลอยู่รอดได้ แต่ประชาธิปัตย์เสยศักดิ์ศรี และเสียจุดยืนเราจะเป็นรัฐบาลไปทำไม ถือว่าไม่คุ้มค่า ถ้าเราไม่ได้เป็นรัฐบาลเราก็ไม่ตาย เราเคยเป็นพรรคฝ่ายค้านมาแล้วยาวนานไม่เห็นว่าจะมีใครตายเลย”

“การแก้ไข2 ประเด็น ประชาชนไม่ได้ประโยชน์ แต่เป็นประโยชน์ของนักการเมืองล้วนๆ และหากไม่แก้ก็ไม่ใช่เรื่องคอขาดบาดตาย และหากเราจะแก้จะอธิบายต่อความรู้สึกของประชาชนอย่างไร เพราะปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นปัญหาส่วนตัวของนายบรรหาร ศิลปอาชา และนายเนวิน ชิดชอบ เราจะเอาปัญหาที่เกิดขึ้นมาเป็นปัญหาภายในพรรคไม่ได้ หน้าที่ของส.ส.คือช่วยรัฐบาลให้แก้ไขวิกฤติ ไม่ใช่ไปซ้ำเติมวิกฤต ไม่ใช่ไปร่วมมือกับพรรคร่วมเพื่อแก้ปัญหาเรื่องเขตเดียวเบอร์ดียว นั่นไม่ใช่วิกฤตของชาติ และไม่สามารถทำให้พรรคประชาธิปัตย์อยู่รอดได้”

ขณะที่คำพูดของ อภิสิทธิ์ ได้กล่าวว่า เรื่องเขตใหญ่เขตเล็กเราไม่ต้องพูดถึงกันแล้ว เพราะไม่ว่าจะใช้รูปแบบการเลือกตั้งอย่างไรเราก็พร้อมที่จะสู้ และการใช้เขตเลือกตั้งใหญ่ ตนเองเป็นคนเสนอต่อคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปี 50 ให้ใช้เอง เพราะคิดว่ายังมีส.ส.ที่ดีกว่าไม่ดี ถ้าเราอยู่กับพรรคร่วมโดยยอมให้แก้ไขรัฐธรรมนูย เราต้องมีคำตอบให้กับสังคม เพราะสังคมจะตีตราเราว่าประชาธิปัตย์แก้ไขเพราะอยากเป็นรัฐบาลต่อ”

หรือ “ถ้าคิดว่า พ.ต.ท.ทักษิณเป็นสารพิษตกค้าง การจะถอนสารพิษได้มีทางเดียวคือ ต้องเรียกคืนศรัทธาจากปราชนให้ได้จากการเลือกตั้ง เราต้องไม่กลัวเรื่องยุบสภา เพราะไม่มีใครขู่ผมได้ ตราบใดที่ผมยังเป็นนายกฯ การเป้นรับบาลที่ดีเราต้องทำให้แตกต่างจากพรรคการเมืองอื่น และเราไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้กลับมาเป็นรัฐบาล หรือกลัวการปฏิวัติ”
คำพูดของคนสำคัญในพรรคประชาธิปัตย์ดังกล่าวย่อมสะท้อนให้เห็นว่าทั้งคู่เข้าใจความรู้สึกของประชาชน และเลือกยืนอยู่ในหลักการที่ถูกต้อง ขณะเดียวกันยังสะท้อนให้เห็นอีกว่าพวกเขาพร้อมสำหรับผลที่จะตามมาโดยมาสนใจคำข่มขู่อีกต่อไปแล้ว

นอกจากนี้ยังต้องจับตาอีกว่าหลังจากผลจากการลงมติของพรรคประชาธิปัตย์ที่ นายกฯ อภิสิทธิ์เปิดเผยว่าไม่เอาด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญด้วยเสียง 82 ต่อ 48 เสียง ตามแรงผลักดันในเชิงข่มขู่ของ สุเทพ ที่อ้างว่าอาจไม่ได้เป็นรัฐบาลอีกต่อไป ซึ่งเป็นคะแนนที่ต่างกันอย่างขาดลอย

อีกด้านหนึ่งย่อมสะท้อนให้เห็นว่านับจากนี้ สุเทพ น่าจะถูกลดบทบาทลงไปไม่น้อย เพราะที่ผ่านมาปฏิเสธความจริงไม่ได้ว่าความเคลื่อนไหวของเขาส่งผลในเชิงลบต่อภาพลักษณ์ของพรรคในสายตาประชาชนลงเรื่อยๆ ที่เห็นกันล่าสุดก็คือ ฐานะประธาน ข้าราชการตำรวจ (กตร.) อุ้ม 3 นายพล ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการปราบปรามประชาชนในเหตุการณ์ 7 ตุลาฯกลับเข้ารับราชการ เพียงเพื่อเอาใจกลุ่มอำนาจให้ค้ำจุนรัฐบาลต่อไปเท่านั้น โดยไม่คำนึงถึงความรู้สึกของผู้ที่สูญเสีย

ดังนั้นจึงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดว่าการผนึกกำลังกันของบรรดาขาใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ครั้งนี้จะเป็นการลดบทบาทของ สุเทพ ลงอีกแค่ไหน และที่สำคัญงานนี้ยังน่าจะเป็นการ “หัก” กันโดยตรงของ อภิสิทธิ์ อีกด้วย !!
กำลังโหลดความคิดเห็น