ASTVผู้จัดการรายวัน-"มาร์ค"ยันมติ ก.ตร.รอบสอง อุ้ม "3 นายพลฆาตกร" สั่งสลายพันธมิตรฯเมื่อ 7 ตุลาฯ ขัดกฎหมาย เตรียมส่งกลับทบทวนใหม่ ย้ำต้องรักษาระบบตรวจสอบองค์กรอิสระ ชี้ถ้าก.ตร.ยันมติเดิมอีก ผู้มีส่วนได้เสียต้องพิจารณาเอง จะเอาเข้าครม.เพื่อส่งศาลรธน.ตีความไม่ได้ หวั่นพันธมิตรฯ ยื่นถอดถอนก.ตร. ยกชุด จะทำให้ปัญหาลุกลาม ยอมรับเห็นใจ"เทือก"นั่งหัวโต๊ะก.ตร. เชื่อไม่มีเจตนาทำผิดกม. เตรียมถกหาข้อยุติ
เมื่อเช้าวานนี้ (17 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ถึงกรณีที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ยืนยันมติเป็นครั้งที่สอง ให้ 3 นายพลตำรวจ ที่สั่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อ 7 ตุลาคม 2551 กลับเข้ารับราชการ ซึ่งเป็นการสวนคำวินิจฉัยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ว่า อาจจะเป็นข่าวคราวซึ่งเกิดความสับสนกันอยู่ในเรื่องของอำนาจระหว่าง ก.ตร. กับ ป.ป.ช. เพราะว่าก่อนหน้านี้ป.ป.ช.ได้มีการชี้มูลกรณีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 แล้วก็บอกว่า มีข้าราชการตำรวจที่ทำผิดวินัยร้ายแรงอยู่ ซึ่งต่อมาได้ส่งเรื่องมาให้ทางรัฐบาล รัฐบาลโดยตนและท่านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) หรือรักษาการ ผบ.ตร. ได้มีการดำเนินการสั่งลงโทษ 3 นายพลตำรวจ ตามมติของ ป.ป.ช. ต่อมาบุคคลที่ถูกลงโทษได้มีการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ตามกฎหมายของตำรวจ ตนอยากจะเรียนอย่างนี้ว่า ข่าวคราวก็ออกมาว่า ทางตำรวจโดย ก.ตร. ซึ่งพิจารณาเรื่องการอุทธรณ์นั้น ไม่เห็นด้วยกับมติของป.ป.ช.
**มติก.ตร.ล้างมติป.ป.ช.ไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อตนทราบข่าวนี้ เนื่องจากตนเป็นคนร่างกฎหมาย ป.ป.ช.คนหนึ่ง และได้มีการติดตามเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายป.ป.ช.มาโดยตลอด จึงได้สอบถามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปว่า ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายในเรื่องนี้เป็นอย่างไร ซึ่งคำตอบที่ได้มาก็ตรงกับความเข้าใจของตนมาโดยตลอด ก็คือว่า การที่เรามีกฎหมาย ป.ป.ช. เป็นการยกระดับจากสมัยก่อนที่เรามีกฎหมาย ป.ป.ป. ที่ต้องยกระดับเพราะว่า ในอดีตพอป.ป.ป. เข้าไปสอบในเรื่องอะไรแล้ว กลับกลายเป็นมีสถานะเหมือนกับแค่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเฉยๆ ซึ่งผลที่ออกมาอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงหรืออาจจะถูกลบโดยมติของฝ่ายบริหารได้ เขาจึงยกระดับ ป.ป.ป. มาเป็น ป.ป.ช. มีลักษณะเป็นองค์กรอิสระ ที่มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ในกฎหมายป.ป.ช. จึงได้เขียนเองไว้ว่า กระบวนการอุทธรณ์ตามกฎหมายบริหารงานบุคคลทั้งหมด ทำได้แต่จะอุทธรณ์ได้เฉพาะในเรื่องดุลพินิจของการสั่งลงโทษของผู้บังคับ บัญชาไม่สามารถที่จะไปอุทธรณ์ในประเด็นที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้วินิจฉัยไปแล้ว
"ผมทราบดีครับว่าทาง ก.ตร.ก็ดี หรือผู้เกี่ยวข้องก็ดี อาจจะมีความไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ป.ป.ช.ได้วินิจฉัยไป แต่ข้อเท็จจริงคือว่า ระบบที่จะไปคานอำนาจกับป.ป.ช.นั้น สามารถทำได้โดยการให้บุคคลเหล่านี้ไปฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งในอดีตนั้นก็มีหลายครั้งที่ศาลปกครองนั้นกลับมติของป.ป.ช. ที่จะต้องเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าเราต้องให้ป.ป.ช. ศาลปกครอง หรือองค์กรอิสระทั้งหลายมีความศักดิ์สิทธิ์ ฝ่ายบริหารถ้าหากสามารถที่จะไปลบล้างคำวินิจฉัยขององค์กรอิสระได้ นั่นเท่ากับว่าองค์กรอิสระจะไม่มีความหมาย" นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ ตนจะต้องดำเนินการเพื่อยืนยันหลักอันนี้ มิฉะนั้นแล้วปัญหาในเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบเราก็จะไม่มีกลไกที่เป็นองค์กรอิสระที่มี ความศักดิ์สิทธิ์เลย เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ไม่ว่าใครจะมีความเห็นในเรื่องของข้อเท็จจริงอย่างไร เรามีความจำเป็นที่จะต้องรักษาระบบให้องค์กรอิสระนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อที่จะให้องค์กรเหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และฝ่ายบริหารนั้นต้องรู้จักในการที่จะจำกัดขอบเขตอำนาจของตัวเอง ส่วนความเป็นธรรมนั้นอย่างที่ตนเรียนว่ายังมีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างองค์กรอิสระด้วยกันเองได้
**ส่งกลับก.ตร.พิจารณารอบ 3
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า มติของก.ตร.ในฐานะผู้วินิจฉัยการอุทธรณ์ออกมามันจะมีผลในแง่คนที่จะต้องต้องสั่งบรรจุข้าราชการนี้กลับเข้ารับราชการ แต่มติใดๆ ก็ตามถ้าขัดกับกฎหมาย ก็ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นส่วนหนึ่งจะเป็นดุลพินิจของตัวผู้ที่มีอำนาจในการออกคำสั่งว่าจะดำเนินการอย่างไร ถ้าเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ก็อาจจะแจ้งกลับไปยังก.ตร.อีก
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายตำรวจทั้ง 3นายนี้ อยู่ใต้บังคับบัญชากของนายกรัฐมนตรี ที่จะใช้ดุลพินิจ นายกฯจะใช้ดุลพินิจอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเองชัดเจนอยู่แล้วอย่างที่เรียนคือจริงๆตนเองเป็นคนทำกฎหมายป.ป.ช. และเคยตั้งข้อสังเกตุปัญหาเรื่องนี้ อภิปรายในเรื่องนี้ช่วงที่เป็นฝ่ายค้าน มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จากกรณีนั้นซึ่งตนเห็นว่ามันเป็นบรรทัดฐานแล้ว ฉะนั้นจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย
**ชี้ต้องไปร้องที่ศาลปกครอง
เมื่อถามว่าหมายความว่า จะไม่รับกลับเข้ารับราชการ และจะส่งกลับไปที่ ก.ตร.อีกครั้ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนคงต้องชี้กลับไปที่ก.ตร.ว่ามตินี้น่าจะเป็นปัญหาทางข้อกฎหมาย หากส่งกลับไปเขาจะพิจารณาอย่างไรก็อยู่ที่เขา เมื่อถามว่าหากส่งกลับไปแล้ว ก.ตร.ยังยืนยันในมติเดิม จะเกิดปัญหาอะไรระหว่างกันอย่างไรหรือไม่ นายกฯกล่าวว่ามันจะเป็นเรื่องของผู้มีส่วนได้เสียจะเป็นผู้พิจารณาต่อไปว่า จะไปใช้สิทธิ์กันอย่างไร แต่สิ่งที่ตนเองเรียนคือ หากจะทำให้ง่ายที่สุด ก.ตร. ควรจะยึดถือตามกรอบของรัฐธรรมนูญ และบอกให้บุคคลที่ถูกลงโทษทั้งหมดไปร้องที่ศาลปกครอง ตรงนั้นเป็นทางออกที่เป็นมาตรฐานที่ทำกันมา จะได้ไม่เกิดปัญหายุ่งยากขึ้นมาใหม่
เมื่อถามว่า มองหรือไม่ว่าทำไมวันนี้ ก.ตร. ถึงเลือกที่จะเอาองค์กรทั้งองค์กรมารองรับปัญหาบุคคลแค่ 3 คน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะไม่ได้เข้าไประชุม ไม่ได้เป็นประธานก.ตร.ในขณะนี้ จึงไม่ทราบว่าเหตุผลเป็นอย่างไร ถึงได้เรียนว่าจำเป็นต้องดูว่ามติของ ก.ตร.มีเหตุผลอะไร ซึ่งมันไปอยู่นอกกรอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร ถึงไม่อยู่ในกรอบตรงนั้น
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาเกิดปัญหาในการประชุม ก.ตร. มาหลายครั้งจำเป็นหรือไม่ที่นายกฯ จะดึงอำนาจในการดูสำนักงานตรวจแห่งชาติมาดูแลเอง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตนจะสอบถามนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. อีกครั้งว่าเป็นอย่างไร เพราะตั้งแต่มีมติของ ก.ตร.เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา ตนก็ยังไม่ทราบ แต่ก่อนหน้านี้ตนได้ขอความเห็นทางกฤษฏีกา ตนได้ส่งให้นายสุเทพ ซึ่งท่านก็บอกว่าจะไปดำเนินการในก.ตร. แต่หลังจากที่ก.ตร. มีการประชุมกัน ตนยังไม่มีโอกาสพบกับนายสุเทพเลย
** ส่งศาลรธน.ตีความไม่ได้
เมื่อถามว่า เท่ากับว่าวันนี้ชัดเจนนายกฯ จะไม่ส่งเรื่องเข้าที่ประชุมครม. เพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นเรื่อง ถ้าจะเสนอต่อครม.ก็ต้องเสนอมาที่ตนเองเพื่อที่จะอนุมัติให้นำเข้า หรือนายสุเทพ ถ้าจะเป็นวาระจร ก็ต้องให้ตนเองเซ็นเข้า แต่ที่ตนขอความเห็นกฤษฏีกาไปนั้น กฤษฏีกาเคยชี้ว่าครม.ก็ไม่มีอำนาจในการที่จะไปส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการจะส่งศาลรัฐธรรมนุญ องค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องขัดแย้งกันก.ตร.ไม่ใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นครม.นั้นใช่ แต่ครม.ไม่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็นอำนาจระหว่างป.ป.ช. กับก.ตร.
เมื่อถามว่าเมื่อ ก.ตร.มีมติแบบนี้ มันเป็นการสะท้อนให้ประชาชนเกิดความรู้สึกอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนตอบแทนประชาชนไม่ได้ แต่ตนมีหน้าที่ในการที่จะรักษาระบบ อย่างที่บอกเรื่องนี้ตนเข้าใจว่าทางตำรวจมีความรู้สึกไม่เห็นด้วยกับความคิด หรือการวินิจฉัยของ ป.ป.ช. แต่เราต้องรักษาระบบ ในเรื่องขององค์กรอิสระ หากเราไม่รักษาระบบเรื่องขององค์กรอิสระ องค์กรอิสระก็จะไม่มีความหมาย และการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารจะอ่อนแอลงไปทันที
" ความจริงผมอยู่ฝ่ายบริหาร การที่ฝ่ายบริหารจะมีอำนาจมากๆ เป็นเป็นประโยชน์กับทางผม แต่ผมเห็นว่า เราต้องการที่จะให้มีระบบตรวจสอบอย่างเข้มแข็งที่เราทำเรื่องนี้มา พูดเรื่องรัฐธรรมนูญมาปี 40 หรือ ปี 50 ก็เพื่อที่จะยืนยันว่า อำนาจของฝ่ายบริหารต้องถูกจำกัดขอบเขต ฉะนั้นเราต้องเคารพขอบเขตอำนาจตรงนี้ตามรัฐธรรมนูญ" นายกรัฐมนตรีกล่าว
**หวั่นก.ตร.ถูกยื่นถอดถอนยกชุด
เมื่อถามว่าในฐาะผู้มีอำนาจของนายกฯ คิดว่าจะฝ่าด่าน และผลัดดันให้เรื่องนี้อยู่ในกรอบที่เห็นว่าถูกต้องได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ ตนไม่คิดว่ามีปัญหา เพราะอะไรก็ตามที่มันขัดกฎหมาย มันก็ใช้ไม่ได้อยู่แล้ว เมื่อถามว่าทางพันธมิตรฯ เตรียที่จะร้องต่อป.ป.ช.ให้ถอดถอน ก.ตร.ทั้งชุด เพราะจงใจทำผิดรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่านี่จะเป็นปัญหาที่มันลุกลามออกไป ถ้าเราไม่ยึดเอาตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตนถึงบอกว่าดีที่สุด การให้ความเป็นธรรม คือไปผ่านกระบวนการของศาลปกครอง
เมื่อถามว่าตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้มองได้ว่า พออะไรที่เกี่ยวข้องกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. มักเอาครม.ไปรองรับเสมอ นายกฯกล่าวว่า ไม่ทราบ อันนี้เป็นบทวิเคราะห์ เมื่อถามว่า มันกิดเพราะเหตุนี้หรือเปล่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวยืนยันว่าไม่ทราบ เพราะไม่ได้อยู่ในการประชุมก.ตร. เมื่อถามว่าในส่วนของนายกฯ คิดว่าการทำหน้าที่ประธาน ก.ตร. ของนายสุเทพ เป็นอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนเห็นใจเพราะนายสุเทพ ก็ปรารภกับตนเองหลายครั้งว่ าการจะหาข้อยุติหรือความคิดร่วมกันใน ก.ตร. เป็นเรื่องยากเกือบทุกเรื่องและความขัดแย้งก็มีสูง แต่นายสุเทพก็พยายาม
เมื่อถามว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะนายสุเทพ ต้องการที่จะอลุ้มอะล่วย ตำรวจเพื่อซื้อใจ เพราะรัฐบาลถูกมองไม่กินเส้นกับตำรวจ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายสุเทพ ดูแลตำรวจก็ต้องรับฟังผู้ใต้บังคับบัญชา และนายสุเทพ ก็มีความกังวลเรื่องความรู้สึก ขวัญกำลังใจ ซึ่งตนก็เห็นใจ ไม่ใช่ไม่เห็นใจ แต่ความถูกต้องกับระบบมันต้องรักษาเอาไว้ ฉะนั้นต้องหาความพอดีตรงนี้ให้ได้
เมื่อถามว่าโดยส่วนตัวคิดว่านายสุเทพ จงใจที่จะละเมิดกฎหมายตรงนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่คิดว่านายสุเทพ มีเจตนา เพราะเมื่อนายสุเทพรับเรื่องกับตนไป ท่านก็บอกจะนำกลับไปให้ ก.ตร. พิจารณาอีก
เมื่อถามว่า การไม่แม่นข้อกฎหมาย และอ่อนเกินไปทำให้คุม ก.ตร.ไม่อยู่หรือเปล่า นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก.ตร.ไม่ได้มีแค่ตัวประธานหรือนายสุเทพ คนเดียว มีจำนวนมาก ฉะนั้นอาจจะเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจร่วมกัน ตนจะคุยกับนายสุเทพว่า จะแก้ปัญหาตรงนี้ไปได้อย่างไร เมื่อถามว่านายสุเทพ ทำหน้าที่ประธาน ก.ตร. โดยการมอบหมายอำนาจจากนายกฯ ห่วงหรือไม่วันหนึ่งมันจะกลับมาพันตัวเอง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หลักการ เวลาที่มอบอำนาจไปแล้วไม่ได้หมายความว่าจะพ้นจากความรับผิดชอบ ตนทราบดี ด้วยเหตุผลนี้ตอนที่ ก.ตร. มีมติครั้งแรก ยังไม่ทันรายงานตนเอง แต่พอตนทราบในสิ่งที่ตนเองคิดว่าไม่ถูกต้อง ตนก็ได้ดำเนินการ ฉะนั้น ยังไงก็ตาม ยืนยันในส่วนของตนเองรู้ว่าความรับผิดชอบทางกฎหมายจะต้องเป็นอย่าใงไร หากยังมีปัญหาความไม่ถูกต้องอยู่ ตนก็ต้องดำเนินการ และจะต้องช่วยกันกับนายสุเทพ เพื่อให้กลับไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง
** พท.อ้างเกมซื้อใจตำรวจ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นละครทางการเมือง จากข้อมูลเชิงลึกทราบว่า นายสุเทพ ต้องการซื้อใจ ก.ตร.ก่อน จึงมีคำสั่งให้ 3 นายพล กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง แท้จริงมีเป้าหมายหวังผลทางการเมือง เนื่องจากเดือนก.พ.นี้ จะมีการโยกย้าย ตำรวจระดับผู้บังคับการ รองผู้บังคับการ และสารวัตรทั่วประเทศระลอกแรก นายสุเทพจึงทำเป็นซื้อใจ ก.ตร. ก่อน เพื่อหวังย้ายคนของตัวเองเข้ามาเตรียมพร้อมในการเลือกตั้งครั้งหน้า งานนี้ นายสุเทพ จึงยอมเสียหน้าเล็กน้อย ทำเหมือนงัดกับนายอภิสิทธิ์ แต่ไม่ใช่ แท้จริงเป็นการอุ้มมากกว่า และยังเป็นการสร้างภาพภาวะผู้นำให้นายอภิสิทธิ์ ดูดีอีกด้วย ขอเรียกร้องให้ 3 นายพล ใช้สิทธิยื่นหนังสือไปถึงศาลปกครองเป็นผู้พิจารณา
**เชียร์"เพรียวพันธ์"นั่ง ผบ.ตร.
เมื่อถามถึงกระแสข่าวมติ ก.ต.ช. อาจแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร. ขึ้นเป็น ผบ.ตร. นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ต้องถามว่า นายอภิสิทธิ์และก.ต.ช.ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการตัวแทนจากหลายภาคส่วน และหัวหน้าบางพรรคการเมือง จะกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง กล้าแต่งตั้งจริงหรือไม่ หากแต่งตั้งจริง ถือเป็นเรื่องที่ดี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ มีภาพของการปราบปรามอบายมุข และยังอาวุโสอันดับ 1 หาก ก.ต.ช. กล้าแต่งตั้งจริง ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง จะได้รับเสียงปรบมือจากประชาชน ทำให้ภาพของนายกฯ ดีขึ้น
**ร้อง ป.ป.ช.ตั้ง"สัณฐาน"มิชอบ
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ในวันนี้ (18 ม.ค.) เวลา 10.00 น. ตนและคณะทำงานกฎหมายของพรรค จะไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อกล่าวโทษนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้แต่งตั้ง พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ จากผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ทั้งที่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า พล.ต.ท.สัณฐาน ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาร้ายแรง ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 157, 259, 83, 84 ในคดีสลายการชุมนุมของผู้คัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย จ.สงขลา โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัย กับพ.ต.ท.สัณฐานแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 52 ก่อนที่จะมีการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สัณฐาน เป็น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมของ พล.ต.ท.สัณฐาน ตามที่มีการเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ ย่อมทราบเรื่องดี แต่กลับละเว้นไม่ดำเนินการสอบสวนทางวินัยร้ายแรงตาม มาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ 2547 และไม่ดำเนินการเพื่อให้พล.ต.ท.สัณฐาน ออกจากราชการไว้ก่อน หรือสำรองราชการ ตาม มาตรา 95 การเสนอแต่งตั้ง พล.ต.ท.สัณฐาน จึงมาจากความสนิทสนมใกล้ชิดกับนายสุเทพ การกระทำดังกล่าว จึงเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ข้าราชการตำรวจท่านอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ไม่ติดคดี เสียโอกาส
**จวก พท.โยงมั่ว ทำคนสับสน
นายเทพไท เสนพงศ์ กล่าวถึงกรณีที่มติ ก.ตร. ที่พรรคเพื่อไทย ออกมาเปรียบว่าเป็นการทำเพื่อเอาใจข้าราชการตำรวจเพื่อหวังผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ( ก.ต.ช.) ที่จะคัดเลือกตัวผบ.ตร. ขอชี้แจงว่า กรรมการสองชุดนี้ ไม่มี่ความเกี่ยวข้องกัน เพราะก.ตร. มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เป็นประธาน ขณะที่ ก.ต.ช. มีนายกฯเป็นประธาน จึงเป็นการพยายามโยงอย่างมั่วของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้าใจผิดของพรรคเพื่อไทย และนายกฯ เองก็ออกมายืนยันแล้วว่า มติของป.ป.ช.ว่ามีอำนาจเหนือกว่า ก.ตร. เพราะ ป.ป.ช.ถือเป็นองค์กรอิสระ ที่มีที่มาจากรัฐธรรมนูญ แต่ก.ต.ช. เป็นแค่คณะกรรมการที่มีที่มาจาก ครม.เท่านั้น ซึ่งมีศักดิ์ และสิทธิ์ ที่ต่ำกว่า จึงอยากให้พรรคเพื่อไทย กลับไปศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนที่จะออกมาวิจารณ์ใดๆ หรือรู้แล้วแต่พยายามไม่เข้าใจ
เมื่อถามว่ามติของ ก.ตร. ที่ออกมาจะเป็นการดิสเครดิรความน่าเชื่อถือของ ป.ป.ช.หรือไม่ นายเทพไท ตอบว่า มติดังกล่าวน่าจะเป็นความคิดเห็นของกรรมการก.ตร. บางคนเท่านั้น หากไม่เห็นด้วยกับป.ป.ช. ก็ควรจะไปยื่นขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองได้ แต่ไม่ควรจะออกมาเป็นมติที่ออกมาสวนทางกับป.ป.ช.ในลักษณะเช่นนี้
ทั้งนี้ตนชื่อว่า ป.ป.ช.เองก็คงไม่เสียเครดิต เพราะก่อนหน้านี้ก็มีหลายเรื่องที่มีความเห็นต่างออกไป และตนก็คิดว่ากรรมการ ป.ป.ช.ได้ทำงานสมบูรณ์แล้ว
เมื่อเช้าวานนี้ (17 ม.ค.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี กล่าวตอนหนึ่งในรายการเชื่อมั่นประเทศไทยกับนายกฯอภิสิทธิ์ ถึงกรณีที่คณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ยืนยันมติเป็นครั้งที่สอง ให้ 3 นายพลตำรวจ ที่สั่งการสลายการชุมนุมของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่บริเวณหน้ารัฐสภา เมื่อ 7 ตุลาคม 2551 กลับเข้ารับราชการ ซึ่งเป็นการสวนคำวินิจฉัยคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) ว่า อาจจะเป็นข่าวคราวซึ่งเกิดความสับสนกันอยู่ในเรื่องของอำนาจระหว่าง ก.ตร. กับ ป.ป.ช. เพราะว่าก่อนหน้านี้ป.ป.ช.ได้มีการชี้มูลกรณีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 7 ต.ค. 51 แล้วก็บอกว่า มีข้าราชการตำรวจที่ทำผิดวินัยร้ายแรงอยู่ ซึ่งต่อมาได้ส่งเรื่องมาให้ทางรัฐบาล รัฐบาลโดยตนและท่านผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) หรือรักษาการ ผบ.ตร. ได้มีการดำเนินการสั่งลงโทษ 3 นายพลตำรวจ ตามมติของ ป.ป.ช. ต่อมาบุคคลที่ถูกลงโทษได้มีการใช้สิทธิในการอุทธรณ์ตามกฎหมายของตำรวจ ตนอยากจะเรียนอย่างนี้ว่า ข่าวคราวก็ออกมาว่า ทางตำรวจโดย ก.ตร. ซึ่งพิจารณาเรื่องการอุทธรณ์นั้น ไม่เห็นด้วยกับมติของป.ป.ช.
**มติก.ตร.ล้างมติป.ป.ช.ไม่ได้
นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า เมื่อตนทราบข่าวนี้ เนื่องจากตนเป็นคนร่างกฎหมาย ป.ป.ช.คนหนึ่ง และได้มีการติดตามเรื่องของการบังคับใช้กฎหมายป.ป.ช.มาโดยตลอด จึงได้สอบถามสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาไปว่า ข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายในเรื่องนี้เป็นอย่างไร ซึ่งคำตอบที่ได้มาก็ตรงกับความเข้าใจของตนมาโดยตลอด ก็คือว่า การที่เรามีกฎหมาย ป.ป.ช. เป็นการยกระดับจากสมัยก่อนที่เรามีกฎหมาย ป.ป.ป. ที่ต้องยกระดับเพราะว่า ในอดีตพอป.ป.ป. เข้าไปสอบในเรื่องอะไรแล้ว กลับกลายเป็นมีสถานะเหมือนกับแค่คณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงเฉยๆ ซึ่งผลที่ออกมาอาจจะถูกเปลี่ยนแปลงหรืออาจจะถูกลบโดยมติของฝ่ายบริหารได้ เขาจึงยกระดับ ป.ป.ป. มาเป็น ป.ป.ช. มีลักษณะเป็นองค์กรอิสระ ที่มีอำนาจเพิ่มมากขึ้น ในกฎหมายป.ป.ช. จึงได้เขียนเองไว้ว่า กระบวนการอุทธรณ์ตามกฎหมายบริหารงานบุคคลทั้งหมด ทำได้แต่จะอุทธรณ์ได้เฉพาะในเรื่องดุลพินิจของการสั่งลงโทษของผู้บังคับ บัญชาไม่สามารถที่จะไปอุทธรณ์ในประเด็นที่คณะกรรมการ ป.ป.ช.ได้วินิจฉัยไปแล้ว
"ผมทราบดีครับว่าทาง ก.ตร.ก็ดี หรือผู้เกี่ยวข้องก็ดี อาจจะมีความไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่ป.ป.ช.ได้วินิจฉัยไป แต่ข้อเท็จจริงคือว่า ระบบที่จะไปคานอำนาจกับป.ป.ช.นั้น สามารถทำได้โดยการให้บุคคลเหล่านี้ไปฟ้องร้องต่อศาลปกครอง ซึ่งในอดีตนั้นก็มีหลายครั้งที่ศาลปกครองนั้นกลับมติของป.ป.ช. ที่จะต้องเป็นเช่นนี้ ก็เพราะว่าเราต้องให้ป.ป.ช. ศาลปกครอง หรือองค์กรอิสระทั้งหลายมีความศักดิ์สิทธิ์ ฝ่ายบริหารถ้าหากสามารถที่จะไปลบล้างคำวินิจฉัยขององค์กรอิสระได้ นั่นเท่ากับว่าองค์กรอิสระจะไม่มีความหมาย" นายกรัฐมนตรี กล่าว
นายอภิสิทธิ์ กล่าวอีกว่า เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ ตนจะต้องดำเนินการเพื่อยืนยันหลักอันนี้ มิฉะนั้นแล้วปัญหาในเรื่องของการทุจริตคอร์รัปชั่น หรือการใช้อำนาจหน้าที่ในทางมิชอบเราก็จะไม่มีกลไกที่เป็นองค์กรอิสระที่มี ความศักดิ์สิทธิ์เลย เพราะฉะนั้น เรื่องนี้ไม่ว่าใครจะมีความเห็นในเรื่องของข้อเท็จจริงอย่างไร เรามีความจำเป็นที่จะต้องรักษาระบบให้องค์กรอิสระนั้นมีความศักดิ์สิทธิ์ เพื่อที่จะให้องค์กรเหล่านี้สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่ และฝ่ายบริหารนั้นต้องรู้จักในการที่จะจำกัดขอบเขตอำนาจของตัวเอง ส่วนความเป็นธรรมนั้นอย่างที่ตนเรียนว่ายังมีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลระหว่างองค์กรอิสระด้วยกันเองได้
**ส่งกลับก.ตร.พิจารณารอบ 3
นายอภิสิทธิ์ ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมในเรื่องนี้ว่า มติของก.ตร.ในฐานะผู้วินิจฉัยการอุทธรณ์ออกมามันจะมีผลในแง่คนที่จะต้องต้องสั่งบรรจุข้าราชการนี้กลับเข้ารับราชการ แต่มติใดๆ ก็ตามถ้าขัดกับกฎหมาย ก็ใช้ไม่ได้ เพราะฉะนั้นส่วนหนึ่งจะเป็นดุลพินิจของตัวผู้ที่มีอำนาจในการออกคำสั่งว่าจะดำเนินการอย่างไร ถ้าเห็นว่าไม่สามารถดำเนินการได้ก็อาจจะแจ้งกลับไปยังก.ตร.อีก
ผู้สื่อข่าวถามว่า นายตำรวจทั้ง 3นายนี้ อยู่ใต้บังคับบัญชากของนายกรัฐมนตรี ที่จะใช้ดุลพินิจ นายกฯจะใช้ดุลพินิจอย่างไร นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนเองชัดเจนอยู่แล้วอย่างที่เรียนคือจริงๆตนเองเป็นคนทำกฎหมายป.ป.ช. และเคยตั้งข้อสังเกตุปัญหาเรื่องนี้ อภิปรายในเรื่องนี้ช่วงที่เป็นฝ่ายค้าน มีคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จากกรณีนั้นซึ่งตนเห็นว่ามันเป็นบรรทัดฐานแล้ว ฉะนั้นจะต้องดำเนินการตามกฎหมาย
**ชี้ต้องไปร้องที่ศาลปกครอง
เมื่อถามว่าหมายความว่า จะไม่รับกลับเข้ารับราชการ และจะส่งกลับไปที่ ก.ตร.อีกครั้ง นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนคงต้องชี้กลับไปที่ก.ตร.ว่ามตินี้น่าจะเป็นปัญหาทางข้อกฎหมาย หากส่งกลับไปเขาจะพิจารณาอย่างไรก็อยู่ที่เขา เมื่อถามว่าหากส่งกลับไปแล้ว ก.ตร.ยังยืนยันในมติเดิม จะเกิดปัญหาอะไรระหว่างกันอย่างไรหรือไม่ นายกฯกล่าวว่ามันจะเป็นเรื่องของผู้มีส่วนได้เสียจะเป็นผู้พิจารณาต่อไปว่า จะไปใช้สิทธิ์กันอย่างไร แต่สิ่งที่ตนเองเรียนคือ หากจะทำให้ง่ายที่สุด ก.ตร. ควรจะยึดถือตามกรอบของรัฐธรรมนูญ และบอกให้บุคคลที่ถูกลงโทษทั้งหมดไปร้องที่ศาลปกครอง ตรงนั้นเป็นทางออกที่เป็นมาตรฐานที่ทำกันมา จะได้ไม่เกิดปัญหายุ่งยากขึ้นมาใหม่
เมื่อถามว่า มองหรือไม่ว่าทำไมวันนี้ ก.ตร. ถึงเลือกที่จะเอาองค์กรทั้งองค์กรมารองรับปัญหาบุคคลแค่ 3 คน นายอภิสิทธิ์กล่าวว่า ตนไม่ทราบ เพราะไม่ได้เข้าไประชุม ไม่ได้เป็นประธานก.ตร.ในขณะนี้ จึงไม่ทราบว่าเหตุผลเป็นอย่างไร ถึงได้เรียนว่าจำเป็นต้องดูว่ามติของ ก.ตร.มีเหตุผลอะไร ซึ่งมันไปอยู่นอกกรอบคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญอย่างไร ถึงไม่อยู่ในกรอบตรงนั้น
เมื่อถามว่า ที่ผ่านมาเกิดปัญหาในการประชุม ก.ตร. มาหลายครั้งจำเป็นหรือไม่ที่นายกฯ จะดึงอำนาจในการดูสำนักงานตรวจแห่งชาติมาดูแลเอง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่าตนจะสอบถามนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธาน ก.ตร. อีกครั้งว่าเป็นอย่างไร เพราะตั้งแต่มีมติของ ก.ตร.เมื่อวันศุกร์ที่ 15 ม.ค. ที่ผ่านมา ตนก็ยังไม่ทราบ แต่ก่อนหน้านี้ตนได้ขอความเห็นทางกฤษฏีกา ตนได้ส่งให้นายสุเทพ ซึ่งท่านก็บอกว่าจะไปดำเนินการในก.ตร. แต่หลังจากที่ก.ตร. มีการประชุมกัน ตนยังไม่มีโอกาสพบกับนายสุเทพเลย
** ส่งศาลรธน.ตีความไม่ได้
เมื่อถามว่า เท่ากับว่าวันนี้ชัดเจนนายกฯ จะไม่ส่งเรื่องเข้าที่ประชุมครม. เพื่อส่งศาลรัฐธรรมนูญตีความ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนยังไม่เห็นเรื่อง ถ้าจะเสนอต่อครม.ก็ต้องเสนอมาที่ตนเองเพื่อที่จะอนุมัติให้นำเข้า หรือนายสุเทพ ถ้าจะเป็นวาระจร ก็ต้องให้ตนเองเซ็นเข้า แต่ที่ตนขอความเห็นกฤษฏีกาไปนั้น กฤษฏีกาเคยชี้ว่าครม.ก็ไม่มีอำนาจในการที่จะไปส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพราะการจะส่งศาลรัฐธรรมนุญ องค์กรตามรัฐธรรมนูญต้องขัดแย้งกันก.ตร.ไม่ใช่องค์กรตามรัฐธรรมนูญ แต่ถ้าเป็นครม.นั้นใช่ แต่ครม.ไม่มีอำนาจเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็นอำนาจระหว่างป.ป.ช. กับก.ตร.
เมื่อถามว่าเมื่อ ก.ตร.มีมติแบบนี้ มันเป็นการสะท้อนให้ประชาชนเกิดความรู้สึกอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนตอบแทนประชาชนไม่ได้ แต่ตนมีหน้าที่ในการที่จะรักษาระบบ อย่างที่บอกเรื่องนี้ตนเข้าใจว่าทางตำรวจมีความรู้สึกไม่เห็นด้วยกับความคิด หรือการวินิจฉัยของ ป.ป.ช. แต่เราต้องรักษาระบบ ในเรื่องขององค์กรอิสระ หากเราไม่รักษาระบบเรื่องขององค์กรอิสระ องค์กรอิสระก็จะไม่มีความหมาย และการตรวจสอบการใช้อำนาจของฝ่ายบริหารจะอ่อนแอลงไปทันที
" ความจริงผมอยู่ฝ่ายบริหาร การที่ฝ่ายบริหารจะมีอำนาจมากๆ เป็นเป็นประโยชน์กับทางผม แต่ผมเห็นว่า เราต้องการที่จะให้มีระบบตรวจสอบอย่างเข้มแข็งที่เราทำเรื่องนี้มา พูดเรื่องรัฐธรรมนูญมาปี 40 หรือ ปี 50 ก็เพื่อที่จะยืนยันว่า อำนาจของฝ่ายบริหารต้องถูกจำกัดขอบเขต ฉะนั้นเราต้องเคารพขอบเขตอำนาจตรงนี้ตามรัฐธรรมนูญ" นายกรัฐมนตรีกล่าว
**หวั่นก.ตร.ถูกยื่นถอดถอนยกชุด
เมื่อถามว่าในฐาะผู้มีอำนาจของนายกฯ คิดว่าจะฝ่าด่าน และผลัดดันให้เรื่องนี้อยู่ในกรอบที่เห็นว่าถูกต้องได้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า จริงๆ ตนไม่คิดว่ามีปัญหา เพราะอะไรก็ตามที่มันขัดกฎหมาย มันก็ใช้ไม่ได้อยู่แล้ว เมื่อถามว่าทางพันธมิตรฯ เตรียที่จะร้องต่อป.ป.ช.ให้ถอดถอน ก.ตร.ทั้งชุด เพราะจงใจทำผิดรัฐธรรมนูญ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนคิดว่านี่จะเป็นปัญหาที่มันลุกลามออกไป ถ้าเราไม่ยึดเอาตามแนวคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ ตนถึงบอกว่าดีที่สุด การให้ความเป็นธรรม คือไปผ่านกระบวนการของศาลปกครอง
เมื่อถามว่าตอนนี้สิ่งที่เกิดขึ้นทำให้มองได้ว่า พออะไรที่เกี่ยวข้องกับ พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ อดีต ผบ.ตร. มักเอาครม.ไปรองรับเสมอ นายกฯกล่าวว่า ไม่ทราบ อันนี้เป็นบทวิเคราะห์ เมื่อถามว่า มันกิดเพราะเหตุนี้หรือเปล่า นายอภิสิทธิ์ กล่าวยืนยันว่าไม่ทราบ เพราะไม่ได้อยู่ในการประชุมก.ตร. เมื่อถามว่าในส่วนของนายกฯ คิดว่าการทำหน้าที่ประธาน ก.ตร. ของนายสุเทพ เป็นอย่างไร นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ตนเห็นใจเพราะนายสุเทพ ก็ปรารภกับตนเองหลายครั้งว่ าการจะหาข้อยุติหรือความคิดร่วมกันใน ก.ตร. เป็นเรื่องยากเกือบทุกเรื่องและความขัดแย้งก็มีสูง แต่นายสุเทพก็พยายาม
เมื่อถามว่าส่วนหนึ่งเป็นเพราะนายสุเทพ ต้องการที่จะอลุ้มอะล่วย ตำรวจเพื่อซื้อใจ เพราะรัฐบาลถูกมองไม่กินเส้นกับตำรวจ นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นายสุเทพ ดูแลตำรวจก็ต้องรับฟังผู้ใต้บังคับบัญชา และนายสุเทพ ก็มีความกังวลเรื่องความรู้สึก ขวัญกำลังใจ ซึ่งตนก็เห็นใจ ไม่ใช่ไม่เห็นใจ แต่ความถูกต้องกับระบบมันต้องรักษาเอาไว้ ฉะนั้นต้องหาความพอดีตรงนี้ให้ได้
เมื่อถามว่าโดยส่วนตัวคิดว่านายสุเทพ จงใจที่จะละเมิดกฎหมายตรงนี้หรือไม่ นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า ตนไม่คิดว่านายสุเทพ มีเจตนา เพราะเมื่อนายสุเทพรับเรื่องกับตนไป ท่านก็บอกจะนำกลับไปให้ ก.ตร. พิจารณาอีก
เมื่อถามว่า การไม่แม่นข้อกฎหมาย และอ่อนเกินไปทำให้คุม ก.ตร.ไม่อยู่หรือเปล่า นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ก.ตร.ไม่ได้มีแค่ตัวประธานหรือนายสุเทพ คนเดียว มีจำนวนมาก ฉะนั้นอาจจะเป็นเรื่องยากในการทำความเข้าใจร่วมกัน ตนจะคุยกับนายสุเทพว่า จะแก้ปัญหาตรงนี้ไปได้อย่างไร เมื่อถามว่านายสุเทพ ทำหน้าที่ประธาน ก.ตร. โดยการมอบหมายอำนาจจากนายกฯ ห่วงหรือไม่วันหนึ่งมันจะกลับมาพันตัวเอง นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า หลักการ เวลาที่มอบอำนาจไปแล้วไม่ได้หมายความว่าจะพ้นจากความรับผิดชอบ ตนทราบดี ด้วยเหตุผลนี้ตอนที่ ก.ตร. มีมติครั้งแรก ยังไม่ทันรายงานตนเอง แต่พอตนทราบในสิ่งที่ตนเองคิดว่าไม่ถูกต้อง ตนก็ได้ดำเนินการ ฉะนั้น ยังไงก็ตาม ยืนยันในส่วนของตนเองรู้ว่าความรับผิดชอบทางกฎหมายจะต้องเป็นอย่าใงไร หากยังมีปัญหาความไม่ถูกต้องอยู่ ตนก็ต้องดำเนินการ และจะต้องช่วยกันกับนายสุเทพ เพื่อให้กลับไปสู่แนวทางที่ถูกต้อง
** พท.อ้างเกมซื้อใจตำรวจ
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นละครทางการเมือง จากข้อมูลเชิงลึกทราบว่า นายสุเทพ ต้องการซื้อใจ ก.ตร.ก่อน จึงมีคำสั่งให้ 3 นายพล กลับเข้ารับราชการอีกครั้ง แท้จริงมีเป้าหมายหวังผลทางการเมือง เนื่องจากเดือนก.พ.นี้ จะมีการโยกย้าย ตำรวจระดับผู้บังคับการ รองผู้บังคับการ และสารวัตรทั่วประเทศระลอกแรก นายสุเทพจึงทำเป็นซื้อใจ ก.ตร. ก่อน เพื่อหวังย้ายคนของตัวเองเข้ามาเตรียมพร้อมในการเลือกตั้งครั้งหน้า งานนี้ นายสุเทพ จึงยอมเสียหน้าเล็กน้อย ทำเหมือนงัดกับนายอภิสิทธิ์ แต่ไม่ใช่ แท้จริงเป็นการอุ้มมากกว่า และยังเป็นการสร้างภาพภาวะผู้นำให้นายอภิสิทธิ์ ดูดีอีกด้วย ขอเรียกร้องให้ 3 นายพล ใช้สิทธิยื่นหนังสือไปถึงศาลปกครองเป็นผู้พิจารณา
**เชียร์"เพรียวพันธ์"นั่ง ผบ.ตร.
เมื่อถามถึงกระแสข่าวมติ ก.ต.ช. อาจแต่งตั้งให้ พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์ รองผบ.ตร. ขึ้นเป็น ผบ.ตร. นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ต้องถามว่า นายอภิสิทธิ์และก.ต.ช.ที่ประกอบด้วยคณะกรรมการตัวแทนจากหลายภาคส่วน และหัวหน้าบางพรรคการเมือง จะกล้าทำในสิ่งที่ถูกต้อง กล้าแต่งตั้งจริงหรือไม่ หากแต่งตั้งจริง ถือเป็นเรื่องที่ดี พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ มีภาพของการปราบปรามอบายมุข และยังอาวุโสอันดับ 1 หาก ก.ต.ช. กล้าแต่งตั้งจริง ถือเป็นสิ่งที่ถูกต้อง จะได้รับเสียงปรบมือจากประชาชน ทำให้ภาพของนายกฯ ดีขึ้น
**ร้อง ป.ป.ช.ตั้ง"สัณฐาน"มิชอบ
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ในวันนี้ (18 ม.ค.) เวลา 10.00 น. ตนและคณะทำงานกฎหมายของพรรค จะไปยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.) เพื่อกล่าวโทษนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ในฐานะที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติราชการแทนนายกรัฐมนตรี ในตำแหน่งประธานคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ (ก.ตร.) ได้แต่งตั้ง พล.ต.ท.สัณฐาน ชยนนท์ จากผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 8 เป็นผู้บัญชาการตำรวจนครบาล ทั้งที่ปรากฎข้อเท็จจริงว่า พล.ต.ท.สัณฐาน ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาร้ายแรง ตามประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 157, 259, 83, 84 ในคดีสลายการชุมนุมของผู้คัดค้านโครงการท่อก๊าซไทย-มาเลเซีย จ.สงขลา โดยผู้ที่ได้รับความเสียหายได้แจ้งเป็นหนังสือไปยังนายกรัฐมนตรี ให้ดำเนินการสอบสวนและลงโทษทางวินัย กับพ.ต.ท.สัณฐานแล้ว ตั้งแต่วันที่ 31 ต.ค. 52 ก่อนที่จะมีการแต่งตั้ง พล.ต.ท.สัณฐาน เป็น ผู้บัญชาการตำรวจนครบาล
นายพร้อมพงศ์ กล่าวว่า ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ประกอบกับพฤติกรรมของ พล.ต.ท.สัณฐาน ตามที่มีการเรียกร้องต่อนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ ย่อมทราบเรื่องดี แต่กลับละเว้นไม่ดำเนินการสอบสวนทางวินัยร้ายแรงตาม มาตรา 86 แห่ง พ.ร.บ.ตำรวจแห่งชาติ พ.ศ 2547 และไม่ดำเนินการเพื่อให้พล.ต.ท.สัณฐาน ออกจากราชการไว้ก่อน หรือสำรองราชการ ตาม มาตรา 95 การเสนอแต่งตั้ง พล.ต.ท.สัณฐาน จึงมาจากความสนิทสนมใกล้ชิดกับนายสุเทพ การกระทำดังกล่าว จึงเข้าข่ายความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ ทำให้ข้าราชการตำรวจท่านอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ไม่ติดคดี เสียโอกาส
**จวก พท.โยงมั่ว ทำคนสับสน
นายเทพไท เสนพงศ์ กล่าวถึงกรณีที่มติ ก.ตร. ที่พรรคเพื่อไทย ออกมาเปรียบว่าเป็นการทำเพื่อเอาใจข้าราชการตำรวจเพื่อหวังผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ ( ก.ต.ช.) ที่จะคัดเลือกตัวผบ.ตร. ขอชี้แจงว่า กรรมการสองชุดนี้ ไม่มี่ความเกี่ยวข้องกัน เพราะก.ตร. มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกฯ เป็นประธาน ขณะที่ ก.ต.ช. มีนายกฯเป็นประธาน จึงเป็นการพยายามโยงอย่างมั่วของทั้งสองหน่วยงาน เพื่อสร้างความเข้าใจผิดของพรรคเพื่อไทย และนายกฯ เองก็ออกมายืนยันแล้วว่า มติของป.ป.ช.ว่ามีอำนาจเหนือกว่า ก.ตร. เพราะ ป.ป.ช.ถือเป็นองค์กรอิสระ ที่มีที่มาจากรัฐธรรมนูญ แต่ก.ต.ช. เป็นแค่คณะกรรมการที่มีที่มาจาก ครม.เท่านั้น ซึ่งมีศักดิ์ และสิทธิ์ ที่ต่ำกว่า จึงอยากให้พรรคเพื่อไทย กลับไปศึกษาข้อมูลให้ดี ก่อนที่จะออกมาวิจารณ์ใดๆ หรือรู้แล้วแต่พยายามไม่เข้าใจ
เมื่อถามว่ามติของ ก.ตร. ที่ออกมาจะเป็นการดิสเครดิรความน่าเชื่อถือของ ป.ป.ช.หรือไม่ นายเทพไท ตอบว่า มติดังกล่าวน่าจะเป็นความคิดเห็นของกรรมการก.ตร. บางคนเท่านั้น หากไม่เห็นด้วยกับป.ป.ช. ก็ควรจะไปยื่นขอความเป็นธรรมต่อศาลปกครองได้ แต่ไม่ควรจะออกมาเป็นมติที่ออกมาสวนทางกับป.ป.ช.ในลักษณะเช่นนี้
ทั้งนี้ตนชื่อว่า ป.ป.ช.เองก็คงไม่เสียเครดิต เพราะก่อนหน้านี้ก็มีหลายเรื่องที่มีความเห็นต่างออกไป และตนก็คิดว่ากรรมการ ป.ป.ช.ได้ทำงานสมบูรณ์แล้ว