"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ"
นั่นคือความหวังสูงสุดของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร.ที่กล้าท้าทายอำนาจนายกรัฐมนตรี ด้วยการยืนยันมติเดิมพิจารณาเห็นชอบว่า นายตำรวจ 3 นาย ไม่มีความผิด ประกอบด้วย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว และพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ ผบก.จว.อุดรธานี ซึ่งเป็นการขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งเห็นว่าตำรวจทั้ง 3 นาย มีความผิดในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. และเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรและ นปช. ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จ.อุดรธานี
หากพูดว่า ก.ตร.ทั้ง 20 ท่าน ที่ประกอบด้วยนายตำรวจมากประสบการณ์ระดับ พล.ต.อ. พล.ต.ท.และบรรดาผู้รู้จากหลากหลายสาขาอาชีพ ที่เข้าไปนั่งเป็น ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ จะไม่รู้เรื่อง ตัวบท กฎหมาย แน่นอนคงไม่มีใครเชื่อ
ดังนั้นเมื่อ ก.ตร.ประกอบด้วยผู้รู้ คำถามจึงตามมาว่า แล้วทำไม ก.ตร.จึงกล้ามีมติในลักษณะท้าทายตัวบทกฎหมาย ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า การดันทุรังยืนยันมติเดิม โอกาสที่เพื่อนร่วมเลือดสีกากี ทั้ง 3 นายพล จะหลุดพ้นบ่วงข้อกล่าวหา จากผิด มาเป็น ถูก เป็นไปได้ยากมากๆๆ
เรื่องนี้ วงใน ก.ตร.มีการพูดว่า เมื่อโจทก์คือ 3 นายพล ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีความผิดอาญาและวินัยร้ายแรง ดังนั้น หนทางเดียวคือ "สู้ดีกว่าไม่สู้"
ภายใต้ทางเลือกที่ 1 หาก ก.ตร.ไม่สู้ ถือว่า 3 นายพลมือเปื้อนเลือดตายสนิท รอวันเผาสถานเดียว
ทางเลือกที่ 2 หาก ก.ตร.สู้ด้วยการยืนยันมติเดิม ส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี ทำให้ 3 นายพลมีโอกาส 2 ทาง คือ นายกฯไม่เล่นด้วย และนายกฯเล่นด้วย
ซึ่งหากประตูกลด่านแรก นายกฯหลงกล เล่นด้วย ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เขาก็จะมีโอกาสลุ้นประตูกลด่านที่ 2 คือ กรณีศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัย และผลวินิจฉัยออกมาเป็นคุณกับ 3 นายพล นั่นคือ ชัยชนะ เพราะ"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ"สุดท้าย สามารถนำไปลบล้างผลชี้มูลของ ป.ป.ช.สร้างบรรทัดฐานให้กับ ตำรวจชั่วรุ่นต่อๆไปได้
แต่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นโทษกับ 3 นายพล เขาก็ถือว่าไม่แพ้ เพราะผลลัพยังเท่ากับทุนเดิม คือทางเลือกที่ 1 กรณีไม่สู้
ทางเลือกที่ 3 หาก ก.ตร.สู้และนายกรัฐมนตรีไม่หลงกล ไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่เลือกที่จะมอบให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย คือ รักษาการ ผบ.ตร.ส่งกฤษฎีกาตีความ ก็จะสามารถยื้อชีวิต ต่อดวงชะตาให้ 3 นายพล ไปได้อีกระยะหนึ่ง โดยที่ทางเลือกนี้ ก.ตร.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะนั่นไม่ใช่ความหวังสูงสุด
ดังนั้นประเด็นการต่อสู้ของ ก.ตร.ที่หวังช่วย 3 นายพลให้พ้นผิด ด้วยการมีมติสวนทางผลชี้มูลของ ป.ป.ช.ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า มติ ก.ตร.ไม่สามารถลบล้างผลชี้มูล ป.ป.ช.ได้ก็ตามที...แต่มันแสดงให้เห็นว่า นี่คือการท้าทายอำนาจ นายกรัฐมนตรี ด้วยการยกกฎหมู่ เหนือกฎหมาย
รายชื่อคณะกรรมการ ก.ตร.
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธาน
นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์
พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์
พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย
พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัติ
พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์
พล.ต.อ.บุญเพ็ญ บำเพ็ญบุญ
พล.ต.อ.พิชิต ควรเตชะคุปต์
พล.ต.ท.เหมราช ธารีไทย
พล.ต.ท.อำนวย ดิษฐกวี
นายชัยเกษม นิติศิริ
ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร
นายสมศักดิ์ บุญทอง
นายสีมา สีมานันท์
นั่นคือความหวังสูงสุดของคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ หรือ ก.ตร.ที่กล้าท้าทายอำนาจนายกรัฐมนตรี ด้วยการยืนยันมติเดิมพิจารณาเห็นชอบว่า นายตำรวจ 3 นาย ไม่มีความผิด ประกอบด้วย พล.ต.อ.พัชรวาท วงษ์สุวรรณ พล.ต.ท.สุชาติ เหมือนแก้ว และพล.ต.ต.เพิ่มศักดิ์ ภราดรศักดิ์ ผบก.จว.อุดรธานี ซึ่งเป็นการขัดแย้งกับความเห็นของคณะกรรมการ ป.ป.ช.ซึ่งเห็นว่าตำรวจทั้ง 3 นาย มีความผิดในเหตุการณ์การสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 7 ต.ค. และเหตุการณ์ปะทะกันระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมพันธมิตรและ นปช. ที่สวนสาธารณะหนองประจักษ์ จ.อุดรธานี
หากพูดว่า ก.ตร.ทั้ง 20 ท่าน ที่ประกอบด้วยนายตำรวจมากประสบการณ์ระดับ พล.ต.อ. พล.ต.ท.และบรรดาผู้รู้จากหลากหลายสาขาอาชีพ ที่เข้าไปนั่งเป็น ก.ตร.ผู้ทรงคุณวุฒิ จะไม่รู้เรื่อง ตัวบท กฎหมาย แน่นอนคงไม่มีใครเชื่อ
ดังนั้นเมื่อ ก.ตร.ประกอบด้วยผู้รู้ คำถามจึงตามมาว่า แล้วทำไม ก.ตร.จึงกล้ามีมติในลักษณะท้าทายตัวบทกฎหมาย ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า การดันทุรังยืนยันมติเดิม โอกาสที่เพื่อนร่วมเลือดสีกากี ทั้ง 3 นายพล จะหลุดพ้นบ่วงข้อกล่าวหา จากผิด มาเป็น ถูก เป็นไปได้ยากมากๆๆ
เรื่องนี้ วงใน ก.ตร.มีการพูดว่า เมื่อโจทก์คือ 3 นายพล ถูก ป.ป.ช.ชี้มูลว่ามีความผิดอาญาและวินัยร้ายแรง ดังนั้น หนทางเดียวคือ "สู้ดีกว่าไม่สู้"
ภายใต้ทางเลือกที่ 1 หาก ก.ตร.ไม่สู้ ถือว่า 3 นายพลมือเปื้อนเลือดตายสนิท รอวันเผาสถานเดียว
ทางเลือกที่ 2 หาก ก.ตร.สู้ด้วยการยืนยันมติเดิม ส่งเรื่องให้นายกรัฐมนตรี ทำให้ 3 นายพลมีโอกาส 2 ทาง คือ นายกฯไม่เล่นด้วย และนายกฯเล่นด้วย
ซึ่งหากประตูกลด่านแรก นายกฯหลงกล เล่นด้วย ส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย เขาก็จะมีโอกาสลุ้นประตูกลด่านที่ 2 คือ กรณีศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัย และผลวินิจฉัยออกมาเป็นคุณกับ 3 นายพล นั่นคือ ชัยชนะ เพราะ"คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นเด็ดขาดและมีผลผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล และองค์กรอื่นของรัฐ"สุดท้าย สามารถนำไปลบล้างผลชี้มูลของ ป.ป.ช.สร้างบรรทัดฐานให้กับ ตำรวจชั่วรุ่นต่อๆไปได้
แต่หากศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยเป็นโทษกับ 3 นายพล เขาก็ถือว่าไม่แพ้ เพราะผลลัพยังเท่ากับทุนเดิม คือทางเลือกที่ 1 กรณีไม่สู้
ทางเลือกที่ 3 หาก ก.ตร.สู้และนายกรัฐมนตรีไม่หลงกล ไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญ แต่เลือกที่จะมอบให้ผู้มีอำนาจตามกฎหมาย คือ รักษาการ ผบ.ตร.ส่งกฤษฎีกาตีความ ก็จะสามารถยื้อชีวิต ต่อดวงชะตาให้ 3 นายพล ไปได้อีกระยะหนึ่ง โดยที่ทางเลือกนี้ ก.ตร.ส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย เพราะนั่นไม่ใช่ความหวังสูงสุด
ดังนั้นประเด็นการต่อสู้ของ ก.ตร.ที่หวังช่วย 3 นายพลให้พ้นผิด ด้วยการมีมติสวนทางผลชี้มูลของ ป.ป.ช.ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่า มติ ก.ตร.ไม่สามารถลบล้างผลชี้มูล ป.ป.ช.ได้ก็ตามที...แต่มันแสดงให้เห็นว่า นี่คือการท้าทายอำนาจ นายกรัฐมนตรี ด้วยการยกกฎหมู่ เหนือกฎหมาย
รายชื่อคณะกรรมการ ก.ตร.
นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ประธาน
นางเบญจวรรณ สร่างนิทร
พล.ต.อ.ปทีป ตันประเสริฐ
พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงษ์
พล.ต.อ.วงกต มณีรินทร์
พล.ต.อ.จุมพล มั่นหมาย
พล.ต.อ.จงรัก จุฑานนท์
พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ
พล.ต.อ.วิเชียร พจน์โพธิ์ศรี
พล.ต.อ.ปานศิริ ประภาวัติ
พล.ต.อ.นพดล สมบูรณ์ทรัพย์
พล.ต.อ.บุญเพ็ญ บำเพ็ญบุญ
พล.ต.อ.พิชิต ควรเตชะคุปต์
พล.ต.ท.เหมราช ธารีไทย
พล.ต.ท.อำนวย ดิษฐกวี
นายชัยเกษม นิติศิริ
ศ.ดร.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
นายมนุชญ์ วัฒนโกเมร
นายสมศักดิ์ บุญทอง
นายสีมา สีมานันท์