จับตาวาระ ครม.เด่น “ซาเล้ง” ชงเพิ่มงบโยธารถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน 3.6 พันล้านบาท พร้อมเบิกงบสร้างท่าเทียบเรือ จ.ตราด 1.2 พันล้านบาท ด้าน มห. เชียร์ยกเลิกบ้านเอื้ออาทร 7 หมื่นยูนิต ทั้งเสนอผ่อนปรนเงื่อนไข หลังพบปัญหาเพียบ ส่วน “แรงงาน” เสนอขอจ่ายค่าครองชีพ 2,000 บาทให้ รสก.7 แห่ง ขณะที่ ก.เกษตรฯ ขออนุมัติงบชดเชย ปชช. เดือนร้อนสร้างฝายราศีไศล
วันนี้ (24 พ.ย.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทางกระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอขออนุมัติผลการทบทวนกรอบวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธาในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จากเดิม 4.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มเป็น 5.2 หมื่นล้านบาท ด้านกระทรวงการคลังมีหน้าที่จัดหาเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 8.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงานที่ปรึกษา 2.17 พันล้านบาท จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5.9 พันล้านบาท งานระบบเดินรถ 2.2 หมื่นล้านบาท ขณะที่งานค่าก่อสร้างงานโยธาเพิ่มขึ้น 3,639 ล้านบาท หรือ 7.46% จากเดิม 48,821 ล้านบาท เป็น 52,460 ล้านบาท
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ยังเสนอ ครม.ให้พิจารณาโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเอนกประสงค์คลองใหญ่ จ.ตราด งบประมาณ 1.2 พันล้านบาท ก่อหนี้ผูกพัน 3 ปี ตั้งแต่ ปี 2553-2555 โดยใช้งบกลางปี 2553 จำนวน 259 ล้านบาท และงบผูกพันข้ามปี 2554 จำนวน 452 ล้านบาท และ ปี 2555 จำนวน 605 ล้านบาท
สำหรับ กระทรวงมหาดไทย เตรียมเสนอ ครม.ให้พิจารณาเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาบ้านเอื้ออาทร ให้ยกเลิกโครงการระหว่างขาย 70,000 หน่วย พร้อมกับมาตรการด้านการตลาด ราคา การผ่อนปรนเงื่อนไขด้านกฎหมาย และ เพิ่มเติมอื่นๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงาน 2.81 แสนหน่วย มีหน่วยที่สร้างเสร็จ จำนวน 2.02 แสนหน่วย อยู่ระหว่างก่อสร้าง 7.9 หมื่นหน่วย ในจำนวนนี้ 6 หมื่นหน่วย เป็นโครงการที่มีผลงานก่อสร้าง 50-99% ส่วนที่เหลือ 1.9 หมื่นหน่วย มีผลการดำเนินงานก่อสร้าง 50% สำหรับการขายจาก 2.81 แสนหน่วย ขายได้ 2.10 หน่วย คงเหลือ 7 หมื่นหน่วย และ 2.1 หมื่นหน่วย อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยยังเตรียมเสนอของบกลางเพื่อจัดซื้อถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน จำนวน 8.9 หมื่นชุด งบประมาณ 179 ล้านบาท
ขณะที่ กระทรวงแรงงานเสนอขอเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวแก่พนักงานและลูกจ้าง จำนวน 7 รัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย องค์การเภสัชกรรม การท่าเรือแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท ให้ได้รับเงินค่าครองชีพชั่วคราวอัตรา 2,000บาทต่อคนเป็นระยะเวลา 6 เดือน
ส่วน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขออนุมัติเงินชดเชยประชาชนที่ได้รับผลกระทบโครงการฝายราศีไศล จำนวน 3,608 แปลง คิดเป็นไร่ละ 32,000 บาท งบประมาณ 795 ล้านบาท ให้แก่เกษตรกรใน 3 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด โดยใช้งบกลางรายจ่ายสำรองฉุกเฉิน โดยให้กรมชลประทานนำมาใช้จ่ายเพื่อการนี้
วันนี้ (24 พ.ย.) แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทางกระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอขออนุมัติผลการทบทวนกรอบวงเงินค่าก่อสร้างงานโยธาในโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จากเดิม 4.8 หมื่นล้านบาท เพิ่มเป็น 5.2 หมื่นล้านบาท ด้านกระทรวงการคลังมีหน้าที่จัดหาเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ดังกล่าว ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 8.2 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นงานที่ปรึกษา 2.17 พันล้านบาท จัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 5.9 พันล้านบาท งานระบบเดินรถ 2.2 หมื่นล้านบาท ขณะที่งานค่าก่อสร้างงานโยธาเพิ่มขึ้น 3,639 ล้านบาท หรือ 7.46% จากเดิม 48,821 ล้านบาท เป็น 52,460 ล้านบาท
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ยังเสนอ ครม.ให้พิจารณาโครงการก่อสร้างท่าเทียบเรือเอนกประสงค์คลองใหญ่ จ.ตราด งบประมาณ 1.2 พันล้านบาท ก่อหนี้ผูกพัน 3 ปี ตั้งแต่ ปี 2553-2555 โดยใช้งบกลางปี 2553 จำนวน 259 ล้านบาท และงบผูกพันข้ามปี 2554 จำนวน 452 ล้านบาท และ ปี 2555 จำนวน 605 ล้านบาท
สำหรับ กระทรวงมหาดไทย เตรียมเสนอ ครม.ให้พิจารณาเห็นชอบมาตรการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาบ้านเอื้ออาทร ให้ยกเลิกโครงการระหว่างขาย 70,000 หน่วย พร้อมกับมาตรการด้านการตลาด ราคา การผ่อนปรนเงื่อนไขด้านกฎหมาย และ เพิ่มเติมอื่นๆ อีกด้วย
ทั้งนี้ จากผลการดำเนินงาน 2.81 แสนหน่วย มีหน่วยที่สร้างเสร็จ จำนวน 2.02 แสนหน่วย อยู่ระหว่างก่อสร้าง 7.9 หมื่นหน่วย ในจำนวนนี้ 6 หมื่นหน่วย เป็นโครงการที่มีผลงานก่อสร้าง 50-99% ส่วนที่เหลือ 1.9 หมื่นหน่วย มีผลการดำเนินงานก่อสร้าง 50% สำหรับการขายจาก 2.81 แสนหน่วย ขายได้ 2.10 หน่วย คงเหลือ 7 หมื่นหน่วย และ 2.1 หมื่นหน่วย อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
อย่างไรก็ตาม กระทรวงมหาดไทยยังเตรียมเสนอของบกลางเพื่อจัดซื้อถุงยังชีพเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชน จำนวน 8.9 หมื่นชุด งบประมาณ 179 ล้านบาท
ขณะที่ กระทรวงแรงงานเสนอขอเพิ่มค่าครองชีพชั่วคราวแก่พนักงานและลูกจ้าง จำนวน 7 รัฐวิสาหกิจ ประกอบด้วย องค์การเภสัชกรรม การท่าเรือแห่งประเทศไทย การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค การไฟฟ้าฝ่ายผลิต การทางพิเศษแห่งประเทศไทย การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ ที่เงินเดือนไม่เกิน 15,000 บาท ให้ได้รับเงินค่าครองชีพชั่วคราวอัตรา 2,000บาทต่อคนเป็นระยะเวลา 6 เดือน
ส่วน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ขออนุมัติเงินชดเชยประชาชนที่ได้รับผลกระทบโครงการฝายราศีไศล จำนวน 3,608 แปลง คิดเป็นไร่ละ 32,000 บาท งบประมาณ 795 ล้านบาท ให้แก่เกษตรกรใน 3 จังหวัด คือ ศรีสะเกษ สุรินทร์ และร้อยเอ็ด โดยใช้งบกลางรายจ่ายสำรองฉุกเฉิน โดยให้กรมชลประทานนำมาใช้จ่ายเพื่อการนี้