ที่ประชุมวุฒิสภาฯ นัดสุดท้ายมีวาระที่น่าสนใจว่าด้วยการรับทราบกรอบการเจรจาการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.และร่าง กม.ว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน รวมทั้งพิจารณาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไร จากรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช.ในการถอดถอน “สมชาย” ออกจากตำแหน่ง จากคดีสลายการชุมนุม 7 ตุลาคม
วันนี้ (20 พ.ย.) นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) เปิดเผยว่า การประชุมวุฒิสภาวันที่ 23 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นการประชุมนัดสุดท้ายของวุฒิสภาในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติจะเริ่มเวลา 10.00 น. ซึ่งมีวาระสำคัญเป็นจำนวนมาก วิปวุฒิจึงจัดลำดับการพิจารณาตามความเหมาะสมและเงื่อนไขของเวลาในการพิจารณากฎหมาย โดยจะเริ่มจาก วาระรับทราบ 2 เรื่อง ซึ่งเรื่องหนึ่งที่อาจจะมีการอภิปรายบ้าง คือ รับทราบกรอบการเจรจาการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 จากนั้นจะเป็นวาระเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่ค้างพิจารณาอยู่ที่ มาตรา 116 ซึ่งเมื่อพิจารณาจบจบที่มาตรา 121 ก็จะลงมติในวาระ 3 ซึ่งต้องใช้เสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง จากนั้นจะเป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ต่อด้วยร่าง พ.ร.บ.การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
นายนิคมกล่าวว่า จากนั้นจะเป็นการเลือกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แทนตำแหน่งที่ว่างโดยการลาออก 1 ตำแหน่ง โดยมีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 2 คน ซึ่งในการเลือกต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งคิดว่าวุฒิสภาน่าจะเลือกได้ เพื่อให้การทำงานของ กทช.ในปัจจุบันเดินหน้าไปได้ เพราะตอนนี้มี กทช.เหลือเพียง 3 คนเท่านั้น จากนั้นจะเป็นการให้ความเห็นชอบ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อด้วยการเลือก กทช.แทนตำแหน่งที่ว่างกรณีกรรมการพ้นตำแหน่งโดยการจับสลาก 3 คน จากที่มีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 6 คน ซึ่งดูทิศทางแล้วไม่แน่ว่าวุฒิสภาจะเลือกได้ทั้งหมดหรือไม่ อาจได้แค่ 1 หรือ 2 คน หรือไม่ได้เลยก็เป็นได้ จากนั้นเป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และยังมีร่างกฎหมายอีก 5 ฉบับ รวมถึงการให้วุฒิสภาพิจารณาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไรกรณีรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช.ในการถอดถอนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่งจากคดีสลายการชุมนุม 7 ตุลาคม 51
เมื่อถามว่าจำเป็นต้องนัดประชุมเพิ่มวันที่ 24 พฤศจิกายนหรือไม่ หากกฎหมายสำคัญพิจารณาไม่ทัน นายนิคมกล่าวว่า ต้องดูเหตุการณ์ก่อน ซึ่งก็เตรียมเผื่อไว้อีกวันเหมือนกัน แต่วันดังกล่าวเริ่มมีกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภาเดินทางไปต่างประเทศ ฉะนั้น วันที่ 23 พฤศจิกายน ต้องพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ได้ เนื่องจากจะครบกำหนด 90 วัน ในวันที่ 28 ธันวาคมนี้ ขณะที่วันที่ 27 พฤศจิกายน ก็จะปิดประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติแล้ว หากพิจารณาไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดจะถือว่าวุฒิสภาพิจารณาไม่ทัน และสภาผู้แทนราษฎรสามารถยืนยันร่างที่สภาเห็นชอบฯ ได้
ฟังชัดๆ “เพชรวรรต + สุรชัย” ปลุกคน 8 จังหวัดฆ่านายกฯ
วันนี้ (20 พ.ย.) นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญกิจการวุฒิสภา (วิปวุฒิ) เปิดเผยว่า การประชุมวุฒิสภาวันที่ 23 พฤศจิกายน ซึ่งเป็นการประชุมนัดสุดท้ายของวุฒิสภาในสมัยประชุมสามัญนิติบัญญัติจะเริ่มเวลา 10.00 น. ซึ่งมีวาระสำคัญเป็นจำนวนมาก วิปวุฒิจึงจัดลำดับการพิจารณาตามความเหมาะสมและเงื่อนไขของเวลาในการพิจารณากฎหมาย โดยจะเริ่มจาก วาระรับทราบ 2 เรื่อง ซึ่งเรื่องหนึ่งที่อาจจะมีการอภิปรายบ้าง คือ รับทราบกรอบการเจรจาการใช้จ่ายเงินกู้ตาม พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ พ.ศ.2552 จากนั้นจะเป็นวาระเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการตรวจเงินแผ่นดิน พ.ศ. .... ซึ่งเป็นการพิจารณาต่อจากการประชุมเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน ที่ค้างพิจารณาอยู่ที่ มาตรา 116 ซึ่งเมื่อพิจารณาจบจบที่มาตรา 121 ก็จะลงมติในวาระ 3 ซึ่งต้องใช้เสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเกินกึ่งหนึ่ง จากนั้นจะเป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ลักษณะปกครองท้องที่ ซึ่งคณะกรรมาธิการร่วมกันพิจารณาเสร็จแล้ว ต่อด้วยร่าง พ.ร.บ.การรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรม
นายนิคมกล่าวว่า จากนั้นจะเป็นการเลือกกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.) แทนตำแหน่งที่ว่างโดยการลาออก 1 ตำแหน่ง โดยมีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 2 คน ซึ่งในการเลือกต้องได้เสียงเกินกึ่งหนึ่ง ซึ่งคิดว่าวุฒิสภาน่าจะเลือกได้ เพื่อให้การทำงานของ กทช.ในปัจจุบันเดินหน้าไปได้ เพราะตอนนี้มี กทช.เหลือเพียง 3 คนเท่านั้น จากนั้นจะเป็นการให้ความเห็นชอบ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเป็นเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ต่อด้วยการเลือก กทช.แทนตำแหน่งที่ว่างกรณีกรรมการพ้นตำแหน่งโดยการจับสลาก 3 คน จากที่มีผู้ได้รับการเสนอชื่อ 6 คน ซึ่งดูทิศทางแล้วไม่แน่ว่าวุฒิสภาจะเลือกได้ทั้งหมดหรือไม่ อาจได้แค่ 1 หรือ 2 คน หรือไม่ได้เลยก็เป็นได้ จากนั้นเป็นการพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ และยังมีร่างกฎหมายอีก 5 ฉบับ รวมถึงการให้วุฒิสภาพิจารณาว่าจะดำเนินการต่อไปอย่างไรกรณีรายงานการไต่สวนข้อเท็จจริงของ ป.ป.ช.ในการถอดถอนนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ออกจากตำแหน่งจากคดีสลายการชุมนุม 7 ตุลาคม 51
เมื่อถามว่าจำเป็นต้องนัดประชุมเพิ่มวันที่ 24 พฤศจิกายนหรือไม่ หากกฎหมายสำคัญพิจารณาไม่ทัน นายนิคมกล่าวว่า ต้องดูเหตุการณ์ก่อน ซึ่งก็เตรียมเผื่อไว้อีกวันเหมือนกัน แต่วันดังกล่าวเริ่มมีกรรมาธิการสามัญของวุฒิสภาเดินทางไปต่างประเทศ ฉะนั้น วันที่ 23 พฤศจิกายน ต้องพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ได้ เนื่องจากจะครบกำหนด 90 วัน ในวันที่ 28 ธันวาคมนี้ ขณะที่วันที่ 27 พฤศจิกายน ก็จะปิดประชุมสมัยสามัญนิติบัญญัติแล้ว หากพิจารณาไม่เสร็จตามเวลาที่กำหนดจะถือว่าวุฒิสภาพิจารณาไม่ทัน และสภาผู้แทนราษฎรสามารถยืนยันร่างที่สภาเห็นชอบฯ ได้
ฟังชัดๆ “เพชรวรรต + สุรชัย” ปลุกคน 8 จังหวัดฆ่านายกฯ