กห.ชง ครม.ยกเลิก เอ็มโอยู ปี 43 ระหว่างไทย-เขมร ว่าด้วยปักปันเขตแดนทางบกจากทั้งหมด 78 หลัก
วันนี้ (9 พ.ย.) แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทางฝ่ายกระทรวงกลาโหม เสนอผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ซึ่งเป็นผลการหารือระหว่างกระทรวงกลาโหมไทยกับกัมพูชา เมื่อวันที่ 2-3 เม.ย.ที่ผ่านมา ณ เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวเป็นการรายงานให้ ครม.ใช้ประกอบการพิจารณาโดยมีสาระสำคัญดังนี้ คือ ผลการประชุมหารือระหว่างกระทรวงกลาโหมไทยกับกัมพูชา ในการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบก มีความก้าวหน้าไปมาก คือ พบหลักเขตแดน 48 หลัก จากทั้งหมด 78 หลัก ซึ่งเป็นการทำงานที่เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการจัดทำเขตแดนไทยกับกัมพูชาร่วมกัน ลงนามเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2543
นอกจากนี้ หลังจากการเจรจาทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว ให้มีความร่วมมือกันในการให้ กระทรวงกลาโหม ไทย-กัมพูชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พบปะระหว่างกัน โดยจะต้องมีการสนับสนุนให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการทางเทคนิคในการจัดทำเขตแดนไทย-กัมพูชาโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนรายงานบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือจุดผ่อนผันและช่วยเหลือ ณ จุดข้ามแดนระหว่างกันทั้ง 2 ประเทศ ให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2540 และ ความร่วมมือด้านแรงงาน ที่เป็นความตกลงร่วมกันในการจ้างงานระหว่างไทยและกัมพูชา จากผลการหารือระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) รวมทั้ง ความร่วมมือด้านยาเสพติดต้องมีการปฏิบัติร่วมกันในการตั้งจุดตรวจเพื่อร่วมมือและปราบปรามยาเสพติดที่ จ.พระตะบอง ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ตามแนวชายแดนทุกรูปแบบหรืออาชญากรรมข้ามชาติ การค้าอาวุธสงคราม การก่อการร้าย ความร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพชีวิต และความร่วมมือในการช่วยเหลือและส่งเสริมสาธารณภัยด้วย
วันนี้ (9 พ.ย.) แหล่งข่าวทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทางฝ่ายกระทรวงกลาโหม เสนอผลการประชุมคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ซึ่งเป็นผลการหารือระหว่างกระทรวงกลาโหมไทยกับกัมพูชา เมื่อวันที่ 2-3 เม.ย.ที่ผ่านมา ณ เสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ทั้งนี้ รายงานดังกล่าวเป็นการรายงานให้ ครม.ใช้ประกอบการพิจารณาโดยมีสาระสำคัญดังนี้ คือ ผลการประชุมหารือระหว่างกระทรวงกลาโหมไทยกับกัมพูชา ในการสำรวจและจัดทำเขตแดนทางบก มีความก้าวหน้าไปมาก คือ พบหลักเขตแดน 48 หลัก จากทั้งหมด 78 หลัก ซึ่งเป็นการทำงานที่เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ (MOU) ในการจัดทำเขตแดนไทยกับกัมพูชาร่วมกัน ลงนามเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2543
นอกจากนี้ หลังจากการเจรจาทั้ง 2 ฝ่ายแล้ว ให้มีความร่วมมือกันในการให้ กระทรวงกลาโหม ไทย-กัมพูชา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้พบปะระหว่างกัน โดยจะต้องมีการสนับสนุนให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการทางเทคนิคในการจัดทำเขตแดนไทย-กัมพูชาโดยเร็ว
อย่างไรก็ตาม ในส่วนรายงานบันทึกความเข้าใจ (MOU) ความร่วมมือจุดผ่อนผันและช่วยเหลือ ณ จุดข้ามแดนระหว่างกันทั้ง 2 ประเทศ ให้เป็นไปตามบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.2540 และ ความร่วมมือด้านแรงงาน ที่เป็นความตกลงร่วมกันในการจ้างงานระหว่างไทยและกัมพูชา จากผลการหารือระดับรัฐมนตรีและเจ้าหน้าที่อาวุโส (SOM) รวมทั้ง ความร่วมมือด้านยาเสพติดต้องมีการปฏิบัติร่วมกันในการตั้งจุดตรวจเพื่อร่วมมือและปราบปรามยาเสพติดที่ จ.พระตะบอง ความร่วมมือในการป้องกันและปราบปรามอาชญากรรม ตามแนวชายแดนทุกรูปแบบหรืออาชญากรรมข้ามชาติ การค้าอาวุธสงคราม การก่อการร้าย ความร่วมมือในการส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพชีวิต และความร่วมมือในการช่วยเหลือและส่งเสริมสาธารณภัยด้วย