"สาวิทย์" ประธาน สร.รฟท. เปิดใจ ถูกสังคมประฌามหาอยู่เบื้องหลัง พนง.รถไฟ สไตร์คหยุดเดินรถใต้ แฉ บอร์ด รฟท. เป็นคนสั่ง เพื่อหวังดิสเครดิตสหภาพฯ เปิดทางให้รัฐนำองค์กรไปแปรรูป เผย "ซาเล้ง" ไม่เคยเหลียวแลปัญหา แม้เกี่ยวกับชีวิตและทรัพย์สินปชช. ทั้งที่เคยเรียกร้องไปแล้วหลายครั้งถึงระบบป้องกันความปลอดภัยชำรุด แต่ได้รับแค่งบน้อยนิดมาซ่อมประทังพอวิ่งได้
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ “เคาะข่าวริมโขง”
รายการ “เคาะข่าวริมโขง” ออกอากาศทาง “อีสานทีวี” ช่วงเวลา 18.30-20.30 น.วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม มี นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย และ น.ส.วรรษมน ช่างปรีชา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยได้มีการเชิญ น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย และ นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาร่วมพูดคุยในรายการถึงกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์กรณี การหยุดงานของพนักงานการรถไฟฯ พร้อมทั้งหยุดให้บริการเดินรถในเส้นทางสายใต้เป็นเวลา 2 วัน
น.ส.วรรษมน กล่าวเปิดประเด็นถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ประชาชนจำนวนมากที่สัญจรด้วยการใช้บริการรถไฟ ต้องได้รับความเดือดร้อนถ้วนหน้า โดยตามข่าวระบุว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ นัดหยุดงาน และประท้วงหยุดเดินรถ มิหนำซ้ำ ยังมีการปล่อยผู้โดยสารลงกลางทาง ด้วยเหตุผลที่ว่าหัวรถจักรไม่พร้อมใช้งาน
นายสาวิทย์ กล่าวตอบถึงกรณีดังกล่าว ว่า ในความเป็นจริงแล้ว พนักงานขับรถไฟขบวนที่มีข่าวว่าไปปล่อยผู้โดยสารลงกลางทาง พร้อมจะทำหน้าที่ของตนเอง แต่พอมาถึงสถานีกลางทาง ถูกนายสถานีสั่งให้หยุด และบอกให้ไปพัก อีกทั้งมีการขนถ่ายผู้โดยสารไปยังยานพาหนะชนิดอื่น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่อยู่ๆ นายสถานีจะลุกขึ้นมาจัดการเช่นนั้น หากไม่ได้รับคำสั่งมาจากฝ่ายบริหารของการรถไฟฯ โดยหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น สื่อมวลชนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ได้นำเสนอข่าวว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ สั่งให้พนักงานแข็งข้อดำเนินการขั้นเด็ดขาด เพื่อใช้เป็นเครื่องต่อรองกับัรฐบาล ทั้งที่จริงๆ แล้ว มีคำสั่งจากฝ่ายบริหารขององค์กร ให้หยุดบริการประชาชน
นายสาวิทย์ กล่าวต่อว่า เมื่อปัญหาเกิดขึ้น สหภาพแรงงานการรถไฟฯ ตกเป็นเป้าหมายโจมตีจากทางสังคม ทั้งที่ผ่านมา ได้ต่อสู้เพื่อส่วนรวมและเพื่อประชาชนมาโดยตลอด ตนถือว่า การกระทำของฝ่ายบริหารเป็นความต้องการดิสเครดิตสหภาพแรงงานการรถไฟฯ รวมทั้งพนักงานในองค์กร ให้หมดความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวคัดค้านการแปรรูป
นายสาวิทย์ กล่าวอีกว่า ปัญหาสะสมที่สหภาพแรงงานการรถไฟฯ เรียกร้องกับรัฐมาตลอด ไม่ใช่การขอขึ้นเงินตอบแทน เพื่อความสุขสบายของตนเอง หากเป็นการขอเพื่อส่วนรวม และเพื่อประชาชนจะได้ใช้บริการรถไฟด้วยความปลอดภัย เพราะสหภาพแรงงานการรถไฟฯและพนักงานทุกคนตระหนักดีว่าประสิทธิภาพของรถไฟที่มีอยู่ในประเทศไทยเป็นเช่นไร ซึ่งตนบอกได้ว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากอุปกรณ์ หรือระบบภายในตัวรถไฟ ใช้งานไม่ได้และมีปัญหา โดยไม่รับการเหลียวแลจากฝ่ายบริหารและภาครัฐอย่างจริงจัง สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเดินของรถไฟ ได้แก่ ที่ปัดน้ำฝน ที่ล็อกประตูห้องคนขับ ที่ล็อกประตูห้องเครื่องยนต์ ระบบโรยทรายกันรางลื่น ระบบป้องกันพนักงานหลับในขณะขับรถ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งดวงไฟหน้าที่ใช้ส่องสว่าง สิ่งเหล่านี้ เชื่อหรือไม่ว่า รถไฟที่ใช้บริการอยู่ ล้วนแล้วแต่มีอุปกรณ์และระบบป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่พร้อมใช้งาน
“ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน สหภาพฯ ยื่นข้อเสนอให้องค์กรและรัฐ ช่วยปรับปรุงรถไฟที่ให้บริการประชาชนอยู่ตลอด เนื่องจากเห็นว่าไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งหากให้เปิดใช้บริการต่อ รถไฟก็สามารถวิ่งได้ แต่อุปกรณ์และระบบป้องกันอุบัติเหตุใช้การไม่ได้ และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นอันตรายต่อชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะเหตุการณ์โศกนาฏกรรมรถไฟตกรางที่หัวหิน ทำให้สหภาพฯและพนักงานทุกคนตระหนักเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารทำการปรับปรุงรถไฟแล้ว แต่ได้รับงบประมาณซ่อมแซ่มเพียงเล็กน้อย เพื่อซื้อเวลานำรถไฟกลับมาให้บริการต่อ อีกทั้งยังมีการทำหนังสือขอให้พนักงานขับรถไฟทำหน้าที่อย่างระมัดระวัง หากเกิดอุบัติเหตุให้รับผิดชอบเอง เนื่องจากถือว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง” นายสาวิทย์ กล่าว
นายสาวิทย์ กล่าวต่อว่า จริงๆ แล้ว หากรัฐบาลต้องการปรับปรุงรถไฟให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน เพียงแค่ทุ่มงบกว่า 1,000 ล้านบาท ก็สามารถพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้ ทั้งที่เรื่องระบบราง ซึ่งเป็นทางคมนาคมที่สำคัญของประเทศ แต่รัฐบาลกลับไม่ให้ความสนใจ ที่ผ่านมา พอเรียกร้องไป ก็ได้แค่งบประมาณเล็กน้อย เพื่อมาซ่อมแซมให้พอใช้งานได้ แต่ตอนนี้ไม่มีอะไหล่ที่จะซ่อมแล้ว ทำให้สหภาพแรงงานการรถไฟฯ ต้องส่งสัญญาณบอกรัฐบาล ว่า ถึงเวลาที่ต้องเจรจากันเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนที่หัวหินอีก
นายชัชวาลย์ กล่าวเสริมกรณีนี้ ว่า ปัญหาดังกล่าว นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย เพราะที่ผ่านมา ปล่อยปละปัญหาเหล่านี้มาตลอด ทั้งที่มีการเรียกร้องมายาวนาน แต่ก็ยังนิ่งเฉย ไม่ยอมทำอะไร อีกทั้ง ยังปล่อยให้ผู้บริหารการรถไฟฯ ไปแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานคนขับรถ ซึ่งในความจริงแล้ว ทางสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ก็ไม่ได้เป็นฝ่ายสั่งให้หยุดเดินรถ ตนไม่เข้าใจว่า นายโสภณ มีจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยผู้โดยสารหรือไม่ ทำไมกลับกล่าวหาว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ ไม่รักองค์กร ปล่อยทิ้งประชาชน โยนความผิด โยนบาปทั้งหมดให้ฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ประชาชนมาโดยตลอด
นายศิริชัย กล่าวเสริมกรณีเดียวกัน ว่า ขณะนี้ มีกระแสข่าวเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเข้ามาหนาหู โดยรัฐต้องการให้เอกชนเข้ามาบริหาร เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากรัฐวิสาหกิจ ไม่คำนึงถึงส่วนรวมและประชาชน ซึ่งเท่าที่ทราบ หากไม่มีสหภาพแรงงานการรถไฟฯ เข้าไปขวางเรื่องนี้ ป่านนี้มีการแปรรูปองค์กรไปนานแล้ว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องน่าเห็นใจบทบาทหน้าที่และการเคลื่อนไหวของทางสหภาพแรงงานการรถไฟฯ เพราะตลอดเวลาสู้เพื่อประชาชน แต่ถูกป้ายสีความผิด เพื่อทำลายภาพลักษณ์และหาข้ออ้างในการแปรรูป โดยรัฐต้องการทำเช่นนั้น เพื่อลดการกู้เงินจากต่างประเทศ จึงคิดนำองค์กรรัฐวิสาหกิจไปแปรรูป และก็ไม่สนใจว่าองค์กรเหล่านั้น จะได้กลับคืนมาเป็นของคนไทยอีกครั้งหนึ่งหรือไม่
น.ส.อัญชะลี เปิดประเด็นกรณี เวลานี้มีกระแสข่าวว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ จะยกระดับไปปิดหัวลำโพง เพื่อกดดันรัฐบาล นายสาวิทย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นแค่การปล่อยข่าว เพราะถ้าหากเป็นเรื่องจริง ไม่มีความจำเป็นต้องทำให้เป็นข่าว ก็เหมือนการสร้างกระแสเรื่องการทิ้งผู้โดยสาร ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
น.ส.วรรษมน กล่าวเปิดประเด็นกรณี กระแสข่าวว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ ต้องการกดดันให้รัฐบาลปลดบอร์ดบริหารองค์กรออก นายสาวิทย์ กล่าวยืนยันว่า ปัญหานี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง เพราะการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ที่ผ่านมา ชัดเจนเรื่องคัดค้านการแปรรูป ส่วนเรื่องการหยุดให้บริการ ก็เป็นการคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก เนื่องจากอุปกรณ์และระบบป้องกันอุบัติเหตุไม่พร้อมใช้งานจริงๆ อีกทั้ง คาดโทษว่าหากเกิดเหตุร้าย พนักงานต้องรับผิดเต็มๆ ซึ่งส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของคนในองค์กร
นายชัชวาลย์ กล่าวเปิดประเด็นถามว่า การรถไฟฯ มีรายได้จากการนำที่ดินไปให้เอกชนเช่า มีการแบ่งเงินจำนวนดังกล่าวมาปรับปรุงประสิทธิภาพรถไฟหรือไม่ นายสาวิทย์ กล่าวว่า เท่าที่ตนทราบ การรถไฟฯ มีที่ดินให้เอกชนเช่าทั้งหมดประมาณ 30,000 กว่าไร่ คิดเป็นผลตอบแทน 1,000 ล้านบาทต่อหนึ่งไร่ ซึ่งหากคำนวณดู จะเห็นว่า รายได้ที่ได้รับมีจำนวนมหาศาล แต่ทุกอย่างดันตกไปอยู่ในมือนักการเมือง มีการเจียดส่วนเล็กน้อยให้มาปรับปรุงรถไฟให้พอบริการประชาชนได้
“ที่ผ่านมา ผมโดนโจมตีมาเยอะ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยใจ มองว่า สหภาพฯ ทำเพื่อประโยชน์ตนเอง ไม่ใช่ส่วนรวม ซึ่งผมอยากบอกว่า ตลอดเวลาได้แบกรับความปลอดภัยของประชาชนไว้บนบ่า และยืนเคียงข้างประชาชนมาตลอด ผมอยากสื่อช่วยไปตรวจดู ว่า เหตุใดรัฐจึงไม่ยอมแบ่งงบประมาณมาซ่อมบำรุงระบบขนส่งมวลชนแบบรางบ้าง ทั้งนี้ ผมขอยืนยันว่า เราพร้อมจะกลับมาให้บริการประชาชน แต่ทางรัฐบาลต้องออกมาแก้ไขปัญหาเรื่องนี้” นายสาวิทย์ กล่าว
นายศิริชัย กล่าวเสริมกรณีนี้ ว่า พอเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แทนที่ผู้บริหารการรถไฟฯ จะออกมาแก้ปัญหาให้ดีขึ้น กลับซ้ำเติมสถานการณ์ด้วยการเดินทางไปแจ้งความจับพนักงานองค์กรตัวเอง ทั้งที่เป็นฝ่ายที่สั่งให้หยุดเดินรถขบวนดังกล่าว พร้อมทั้งโยนความผิดทุกอย่าง กล่าวหาว่ามีการทอดทิ้งผู้โดยสาร มีความพยายามจะเอาชนะสหภาพแรงงานการรถไฟฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสะใจ ตนอยากยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นความจริงได้ชัดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนตอนที่พันธมิตรฯ เดินทางไปชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และผู้บริหารการท่าอากาศยานฯ ออกมาประกาศหยุดการบิน แล้วมาโทษพันธมิตรฯ ภายหลังว่า ไปปิดสนามบินจนได้รับความเสียหาย ทั้งที่พันธมิตรฯ ไม่ได้ไปขวางรันเวย์ หรือเส้นทางการสัญจรของเครื่องบิน
นายชัชวาลย์ กล่าวเสริมกรณีนี้ ว่า อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด การแปรรูปไม่ได้สร้างให้กับคนไทย เช่น กรณีแปรรูป ปตท.บัดนี้ถามว่าประชาชนได้อะไร จากการที่รัฐนำองค์กรที่เดิมเคยมีคนไทยเป็นเจ้าของไปประเคนให้ต่างชาติเข้ามาร่วมทุน เห็นได้ชัดเจนว่ามีแต่ผู้บริหาร ปตท.ที่ได้ประโยชน์
นายสาวิทย์ กล่าวว่า ปัญหานี้เป็นหน้าที่รัฐบาลที่ต้องดำเนินการแก้ไข โดยต้องหันหน้ามาคุยกันว่าจะดำเนินการอย่างไร ภายใต้กรอบเวลาเท่าไหร่ และที่สำคัญ หากไม่ดำเนินการทันที แต่ต้องการให้มีการเดินรถให้บริการประชาชน ก็ต้องแสดงความชัดเจนว่า หากเกิดเหตุร้าย ต้องมาร่วมรับผิดชอบชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
นายศิริชัย กล่าวว่า ทางสหภาพแรงงานการไฟฟ้าฯ ขอยืนยันที่จะร่วมสู้กับสหภาพแรงงานการรถไฟฯ เพราะที่ผ่านมาอยู่ร่วมอุดมการณ์เคียงบ่าเคียงไหล่กันมาตลอด โดยขอยืนกรานกับประชาชน ว่า ทั้งสองสหภาพฯ มีความหวังดีแก่ส่วนรวมจริงๆ การที่ออกมาเรียกร้องก็เพื่อให้รัฐช่วยแก้ปัญหา และอยากบอกว่า เวลาที่รัฐบาลต้องการออกนโยบายประชานิยมเรียกคะแนนเสียงจากประชาชน ก็ใช้องค์กรรัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือหาเสียง ด้วยการออกนโยบายให้บริการประชาชนต่างๆ เช่น ขึ้นรถไฟฟรี แม้ว่าทางการรถไฟฯ ต้องแบกรับภาระหนักเพิ่มขึ้น แต่ก็ยินดีรับใช้ประชาชนมาตลอด ดังนั้น ทั้งหมดที่ทำก็เพื่อประชาชน
น.ส.วรรษมน กล่าวเปิดประเด็นว่า ทางกระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอ 2 ประเด็นเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ (20 ต.ค.) คือ 1.ประเด็นจี้ให้บอร์ดการรถไฟฯ ไปหาวิธีดำเนินการให้รถไฟเปิดให้บริการประชาชนตามปกติ และ 2.ประเด็นการยืนยันว่ายังไงต้องมีการแปรรูปทั้งการรถไฟฯและการไฟฟ้าฯ อยู่ดี
นายสาวิทย์ กล่าวประเด็นนี้ ว่า ที่ผ่านมา ตนเคยเดินทางไปเรียกร้องกับ นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ก็ได้รับความเพิกเฉย ไม่ยอมมาพบและเจรจา ความจริงทั้งรัฐบาล และ นายโสภณ น่าจะยอมรับฟังความคิดเห็นของสหภาพแรงงานการรถไฟฯ บ้างว่าต้องการอะไร ไม่ใช่ไปปิดประตูคุยกันเอง ไม่มีการเรียกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปตกลงเจรจาถึงปัญหาต่างๆ
คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ “เคาะข่าวริมโขง”
รายการ “เคาะข่าวริมโขง” ออกอากาศทาง “อีสานทีวี” ช่วงเวลา 18.30-20.30 น.วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม มี นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย และ น.ส.วรรษมน ช่างปรีชา เป็นผู้ดำเนินรายการ โดยได้มีการเชิญ น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก นายสาวิทย์ แก้วหวาน ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการรถไฟแห่งประเทศไทย และ นายศิริชัย ไม้งาม ประธานสหภาพแรงงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย มาร่วมพูดคุยในรายการถึงกระแสสังคมที่วิพากษ์วิจารณ์กรณี การหยุดงานของพนักงานการรถไฟฯ พร้อมทั้งหยุดให้บริการเดินรถในเส้นทางสายใต้เป็นเวลา 2 วัน
น.ส.วรรษมน กล่าวเปิดประเด็นถึงกรณีดังกล่าว ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ประชาชนจำนวนมากที่สัญจรด้วยการใช้บริการรถไฟ ต้องได้รับความเดือดร้อนถ้วนหน้า โดยตามข่าวระบุว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ นัดหยุดงาน และประท้วงหยุดเดินรถ มิหนำซ้ำ ยังมีการปล่อยผู้โดยสารลงกลางทาง ด้วยเหตุผลที่ว่าหัวรถจักรไม่พร้อมใช้งาน
นายสาวิทย์ กล่าวตอบถึงกรณีดังกล่าว ว่า ในความเป็นจริงแล้ว พนักงานขับรถไฟขบวนที่มีข่าวว่าไปปล่อยผู้โดยสารลงกลางทาง พร้อมจะทำหน้าที่ของตนเอง แต่พอมาถึงสถานีกลางทาง ถูกนายสถานีสั่งให้หยุด และบอกให้ไปพัก อีกทั้งมีการขนถ่ายผู้โดยสารไปยังยานพาหนะชนิดอื่น ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่อยู่ๆ นายสถานีจะลุกขึ้นมาจัดการเช่นนั้น หากไม่ได้รับคำสั่งมาจากฝ่ายบริหารของการรถไฟฯ โดยหลังจากเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้น สื่อมวลชนที่ไม่ทราบข้อเท็จจริงที่ชัดเจน ได้นำเสนอข่าวว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ สั่งให้พนักงานแข็งข้อดำเนินการขั้นเด็ดขาด เพื่อใช้เป็นเครื่องต่อรองกับัรฐบาล ทั้งที่จริงๆ แล้ว มีคำสั่งจากฝ่ายบริหารขององค์กร ให้หยุดบริการประชาชน
นายสาวิทย์ กล่าวต่อว่า เมื่อปัญหาเกิดขึ้น สหภาพแรงงานการรถไฟฯ ตกเป็นเป้าหมายโจมตีจากทางสังคม ทั้งที่ผ่านมา ได้ต่อสู้เพื่อส่วนรวมและเพื่อประชาชนมาโดยตลอด ตนถือว่า การกระทำของฝ่ายบริหารเป็นความต้องการดิสเครดิตสหภาพแรงงานการรถไฟฯ รวมทั้งพนักงานในองค์กร ให้หมดความชอบธรรมในการเคลื่อนไหวคัดค้านการแปรรูป
นายสาวิทย์ กล่าวอีกว่า ปัญหาสะสมที่สหภาพแรงงานการรถไฟฯ เรียกร้องกับรัฐมาตลอด ไม่ใช่การขอขึ้นเงินตอบแทน เพื่อความสุขสบายของตนเอง หากเป็นการขอเพื่อส่วนรวม และเพื่อประชาชนจะได้ใช้บริการรถไฟด้วยความปลอดภัย เพราะสหภาพแรงงานการรถไฟฯและพนักงานทุกคนตระหนักดีว่าประสิทธิภาพของรถไฟที่มีอยู่ในประเทศไทยเป็นเช่นไร ซึ่งตนบอกได้ว่า มีความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุ เนื่องจากอุปกรณ์ หรือระบบภายในตัวรถไฟ ใช้งานไม่ได้และมีปัญหา โดยไม่รับการเหลียวแลจากฝ่ายบริหารและภาครัฐอย่างจริงจัง สำหรับอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการเดินของรถไฟ ได้แก่ ที่ปัดน้ำฝน ที่ล็อกประตูห้องคนขับ ที่ล็อกประตูห้องเครื่องยนต์ ระบบโรยทรายกันรางลื่น ระบบป้องกันพนักงานหลับในขณะขับรถ ระบบควบคุมความเร็วอัตโนมัติ หรือแม้กระทั่งดวงไฟหน้าที่ใช้ส่องสว่าง สิ่งเหล่านี้ เชื่อหรือไม่ว่า รถไฟที่ใช้บริการอยู่ ล้วนแล้วแต่มีอุปกรณ์และระบบป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่พร้อมใช้งาน
“ตั้งแต่ปี 2544 จนถึงปัจจุบัน สหภาพฯ ยื่นข้อเสนอให้องค์กรและรัฐ ช่วยปรับปรุงรถไฟที่ให้บริการประชาชนอยู่ตลอด เนื่องจากเห็นว่าไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งหากให้เปิดใช้บริการต่อ รถไฟก็สามารถวิ่งได้ แต่อุปกรณ์และระบบป้องกันอุบัติเหตุใช้การไม่ได้ และอยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นอันตรายต่อชีวิตของประชาชน โดยเฉพาะเหตุการณ์โศกนาฏกรรมรถไฟตกรางที่หัวหิน ทำให้สหภาพฯและพนักงานทุกคนตระหนักเรื่องความปลอดภัยเป็นพิเศษ ซึ่งก่อนหน้านี้ ได้มีการเรียกร้องให้ฝ่ายบริหารทำการปรับปรุงรถไฟแล้ว แต่ได้รับงบประมาณซ่อมแซ่มเพียงเล็กน้อย เพื่อซื้อเวลานำรถไฟกลับมาให้บริการต่อ อีกทั้งยังมีการทำหนังสือขอให้พนักงานขับรถไฟทำหน้าที่อย่างระมัดระวัง หากเกิดอุบัติเหตุให้รับผิดชอบเอง เนื่องจากถือว่าปฏิบัติหน้าที่บกพร่อง” นายสาวิทย์ กล่าว
นายสาวิทย์ กล่าวต่อว่า จริงๆ แล้ว หากรัฐบาลต้องการปรับปรุงรถไฟให้มีประสิทธิภาพพร้อมใช้งาน เพียงแค่ทุ่มงบกว่า 1,000 ล้านบาท ก็สามารถพัฒนาศักยภาพให้ดีขึ้นได้ ทั้งที่เรื่องระบบราง ซึ่งเป็นทางคมนาคมที่สำคัญของประเทศ แต่รัฐบาลกลับไม่ให้ความสนใจ ที่ผ่านมา พอเรียกร้องไป ก็ได้แค่งบประมาณเล็กน้อย เพื่อมาซ่อมแซมให้พอใช้งานได้ แต่ตอนนี้ไม่มีอะไหล่ที่จะซ่อมแล้ว ทำให้สหภาพแรงงานการรถไฟฯ ต้องส่งสัญญาณบอกรัฐบาล ว่า ถึงเวลาที่ต้องเจรจากันเรื่องนี้อย่างจริงจัง เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยเหมือนที่หัวหินอีก
นายชัชวาลย์ กล่าวเสริมกรณีนี้ ว่า ปัญหาดังกล่าว นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ต้องมีส่วนร่วมรับผิดชอบเรื่องนี้ด้วย เพราะที่ผ่านมา ปล่อยปละปัญหาเหล่านี้มาตลอด ทั้งที่มีการเรียกร้องมายาวนาน แต่ก็ยังนิ่งเฉย ไม่ยอมทำอะไร อีกทั้ง ยังปล่อยให้ผู้บริหารการรถไฟฯ ไปแจ้งความดำเนินคดีกับพนักงานคนขับรถ ซึ่งในความจริงแล้ว ทางสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ก็ไม่ได้เป็นฝ่ายสั่งให้หยุดเดินรถ ตนไม่เข้าใจว่า นายโสภณ มีจิตสำนึกเรื่องความปลอดภัยผู้โดยสารหรือไม่ ทำไมกลับกล่าวหาว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ ไม่รักองค์กร ปล่อยทิ้งประชาชน โยนความผิด โยนบาปทั้งหมดให้ฝ่ายที่ต่อสู้เพื่อผลประโยชน์ประชาชนมาโดยตลอด
นายศิริชัย กล่าวเสริมกรณีเดียวกัน ว่า ขณะนี้ มีกระแสข่าวเรื่องการแปรรูปรัฐวิสาหกิจเข้ามาหนาหู โดยรัฐต้องการให้เอกชนเข้ามาบริหาร เพื่อกอบโกยผลประโยชน์จากรัฐวิสาหกิจ ไม่คำนึงถึงส่วนรวมและประชาชน ซึ่งเท่าที่ทราบ หากไม่มีสหภาพแรงงานการรถไฟฯ เข้าไปขวางเรื่องนี้ ป่านนี้มีการแปรรูปองค์กรไปนานแล้ว ดังนั้น จึงเป็นเรื่องน่าเห็นใจบทบาทหน้าที่และการเคลื่อนไหวของทางสหภาพแรงงานการรถไฟฯ เพราะตลอดเวลาสู้เพื่อประชาชน แต่ถูกป้ายสีความผิด เพื่อทำลายภาพลักษณ์และหาข้ออ้างในการแปรรูป โดยรัฐต้องการทำเช่นนั้น เพื่อลดการกู้เงินจากต่างประเทศ จึงคิดนำองค์กรรัฐวิสาหกิจไปแปรรูป และก็ไม่สนใจว่าองค์กรเหล่านั้น จะได้กลับคืนมาเป็นของคนไทยอีกครั้งหนึ่งหรือไม่
น.ส.อัญชะลี เปิดประเด็นกรณี เวลานี้มีกระแสข่าวว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ จะยกระดับไปปิดหัวลำโพง เพื่อกดดันรัฐบาล นายสาวิทย์ กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นแค่การปล่อยข่าว เพราะถ้าหากเป็นเรื่องจริง ไม่มีความจำเป็นต้องทำให้เป็นข่าว ก็เหมือนการสร้างกระแสเรื่องการทิ้งผู้โดยสาร ซึ่งไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
น.ส.วรรษมน กล่าวเปิดประเด็นกรณี กระแสข่าวว่า สหภาพแรงงานการรถไฟฯ ต้องการกดดันให้รัฐบาลปลดบอร์ดบริหารองค์กรออก นายสาวิทย์ กล่าวยืนยันว่า ปัญหานี้ไม่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางการเมือง เพราะการเคลื่อนไหวของสหภาพแรงงานการรถไฟฯ ที่ผ่านมา ชัดเจนเรื่องคัดค้านการแปรรูป ส่วนเรื่องการหยุดให้บริการ ก็เป็นการคำนึงถึงความปลอดภัยของประชาชนเป็นหลัก เนื่องจากอุปกรณ์และระบบป้องกันอุบัติเหตุไม่พร้อมใช้งานจริงๆ อีกทั้ง คาดโทษว่าหากเกิดเหตุร้าย พนักงานต้องรับผิดเต็มๆ ซึ่งส่งผลต่อขวัญและกำลังใจของคนในองค์กร
นายชัชวาลย์ กล่าวเปิดประเด็นถามว่า การรถไฟฯ มีรายได้จากการนำที่ดินไปให้เอกชนเช่า มีการแบ่งเงินจำนวนดังกล่าวมาปรับปรุงประสิทธิภาพรถไฟหรือไม่ นายสาวิทย์ กล่าวว่า เท่าที่ตนทราบ การรถไฟฯ มีที่ดินให้เอกชนเช่าทั้งหมดประมาณ 30,000 กว่าไร่ คิดเป็นผลตอบแทน 1,000 ล้านบาทต่อหนึ่งไร่ ซึ่งหากคำนวณดู จะเห็นว่า รายได้ที่ได้รับมีจำนวนมหาศาล แต่ทุกอย่างดันตกไปอยู่ในมือนักการเมือง มีการเจียดส่วนเล็กน้อยให้มาปรับปรุงรถไฟให้พอบริการประชาชนได้
“ที่ผ่านมา ผมโดนโจมตีมาเยอะ เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยใจ มองว่า สหภาพฯ ทำเพื่อประโยชน์ตนเอง ไม่ใช่ส่วนรวม ซึ่งผมอยากบอกว่า ตลอดเวลาได้แบกรับความปลอดภัยของประชาชนไว้บนบ่า และยืนเคียงข้างประชาชนมาตลอด ผมอยากสื่อช่วยไปตรวจดู ว่า เหตุใดรัฐจึงไม่ยอมแบ่งงบประมาณมาซ่อมบำรุงระบบขนส่งมวลชนแบบรางบ้าง ทั้งนี้ ผมขอยืนยันว่า เราพร้อมจะกลับมาให้บริการประชาชน แต่ทางรัฐบาลต้องออกมาแก้ไขปัญหาเรื่องนี้” นายสาวิทย์ กล่าว
นายศิริชัย กล่าวเสริมกรณีนี้ ว่า พอเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น แทนที่ผู้บริหารการรถไฟฯ จะออกมาแก้ปัญหาให้ดีขึ้น กลับซ้ำเติมสถานการณ์ด้วยการเดินทางไปแจ้งความจับพนักงานองค์กรตัวเอง ทั้งที่เป็นฝ่ายที่สั่งให้หยุดเดินรถขบวนดังกล่าว พร้อมทั้งโยนความผิดทุกอย่าง กล่าวหาว่ามีการทอดทิ้งผู้โดยสาร มีความพยายามจะเอาชนะสหภาพแรงงานการรถไฟฯ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสะใจ ตนอยากยกตัวอย่างง่ายๆ ให้เห็นความจริงได้ชัดว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหมือนตอนที่พันธมิตรฯ เดินทางไปชุมนุมที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และผู้บริหารการท่าอากาศยานฯ ออกมาประกาศหยุดการบิน แล้วมาโทษพันธมิตรฯ ภายหลังว่า ไปปิดสนามบินจนได้รับความเสียหาย ทั้งที่พันธมิตรฯ ไม่ได้ไปขวางรันเวย์ หรือเส้นทางการสัญจรของเครื่องบิน
นายชัชวาลย์ กล่าวเสริมกรณีนี้ ว่า อีกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด การแปรรูปไม่ได้สร้างให้กับคนไทย เช่น กรณีแปรรูป ปตท.บัดนี้ถามว่าประชาชนได้อะไร จากการที่รัฐนำองค์กรที่เดิมเคยมีคนไทยเป็นเจ้าของไปประเคนให้ต่างชาติเข้ามาร่วมทุน เห็นได้ชัดเจนว่ามีแต่ผู้บริหาร ปตท.ที่ได้ประโยชน์
นายสาวิทย์ กล่าวว่า ปัญหานี้เป็นหน้าที่รัฐบาลที่ต้องดำเนินการแก้ไข โดยต้องหันหน้ามาคุยกันว่าจะดำเนินการอย่างไร ภายใต้กรอบเวลาเท่าไหร่ และที่สำคัญ หากไม่ดำเนินการทันที แต่ต้องการให้มีการเดินรถให้บริการประชาชน ก็ต้องแสดงความชัดเจนว่า หากเกิดเหตุร้าย ต้องมาร่วมรับผิดชอบชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน
นายศิริชัย กล่าวว่า ทางสหภาพแรงงานการไฟฟ้าฯ ขอยืนยันที่จะร่วมสู้กับสหภาพแรงงานการรถไฟฯ เพราะที่ผ่านมาอยู่ร่วมอุดมการณ์เคียงบ่าเคียงไหล่กันมาตลอด โดยขอยืนกรานกับประชาชน ว่า ทั้งสองสหภาพฯ มีความหวังดีแก่ส่วนรวมจริงๆ การที่ออกมาเรียกร้องก็เพื่อให้รัฐช่วยแก้ปัญหา และอยากบอกว่า เวลาที่รัฐบาลต้องการออกนโยบายประชานิยมเรียกคะแนนเสียงจากประชาชน ก็ใช้องค์กรรัฐวิสาหกิจเป็นเครื่องมือหาเสียง ด้วยการออกนโยบายให้บริการประชาชนต่างๆ เช่น ขึ้นรถไฟฟรี แม้ว่าทางการรถไฟฯ ต้องแบกรับภาระหนักเพิ่มขึ้น แต่ก็ยินดีรับใช้ประชาชนมาตลอด ดังนั้น ทั้งหมดที่ทำก็เพื่อประชาชน
น.ส.วรรษมน กล่าวเปิดประเด็นว่า ทางกระทรวงคมนาคม เตรียมเสนอ 2 ประเด็นเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันพรุ่งนี้ (20 ต.ค.) คือ 1.ประเด็นจี้ให้บอร์ดการรถไฟฯ ไปหาวิธีดำเนินการให้รถไฟเปิดให้บริการประชาชนตามปกติ และ 2.ประเด็นการยืนยันว่ายังไงต้องมีการแปรรูปทั้งการรถไฟฯและการไฟฟ้าฯ อยู่ดี
นายสาวิทย์ กล่าวประเด็นนี้ ว่า ที่ผ่านมา ตนเคยเดินทางไปเรียกร้องกับ นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม แต่ก็ได้รับความเพิกเฉย ไม่ยอมมาพบและเจรจา ความจริงทั้งรัฐบาล และ นายโสภณ น่าจะยอมรับฟังความคิดเห็นของสหภาพแรงงานการรถไฟฯ บ้างว่าต้องการอะไร ไม่ใช่ไปปิดประตูคุยกันเอง ไม่มีการเรียกฝ่ายที่เกี่ยวข้องไปตกลงเจรจาถึงปัญหาต่างๆ