"ผ่าประเด็นร้อน"
ข้อกล่าวหาทุจริตในกระทรวงสาธารณสุขตามโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลทำท่าจะเป็นอีกปมหนึ่งที่จะเขย่าเสถียรภาพรัฐบาลของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้พังก่อนกำหนดได้ไม่ยาก
ที่ผ่านมาแทบทุกรัฐบาล หากมีปัญหาเรื่องทุจริต มีนักการเมืองในรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้อง มีหลักฐานน่าเชื่อได้แล้วเมื่อไหร่ละก็ เป็นอันต้องพังพาบไปทุกราย ไม่ว่ารัฐบาลนั้นจะเข้มแข็ง หรือ เจ๋งแค่ไหนก็ตาม
ไม่เชื่อลองย้อนกลับไปดูรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร แม้ว่าจะถูกรัฐประหารขับไล่ แต่หากพิจารณาจากสถานการณ์ที่เป็นจริงแล้ว เป็นเพียงเข้ามาถีบให้ล้มลงเท่านั้น หลังจากถูกพลังของภาคประชาชนออกมากดดันจนเซไปเซมาจะไปไม่รอดอยู่แล้ว
รัฐบาลทักษิณ หรือ “ระบอบทักษิณ” อันแข็งแกร่งที่หลายคนไม่เชื่อว่าจะล้มลงได้ เพราะควบคุมทุกอย่างในมืออย่างเบ็ดเสร็จ ทั้งสภา องค์กรอิสระ สื่อ แต่ด้วยความเหิมเกริม ทุจริตกันอย่างมโหฬาร และไร้จริยธรรม ทำให้ชาวบ้านที่เข้าถึงข้อมูลเห็นธาตุแท้ทนไม่ไหวต้องออกมาร่วมขบวนขับไล่ แม้ว่าจะถูกปราบปรามกลั่นแกล้งอย่างหนักก็ไม่ย่อท้อ
กรณีที่กำลังเกิดขึ้นกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวลานี้ ก็ถือว่าน่าเป็นห่วงไม่น้อย หากไม่สามารถเคลียร์ปมทุจริตที่เริ่มโหมกระหน่ำเข้ามาอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าใน เบื้องต้นยังเป็นแค่ข้อกล่าวหายังต้องตรวจสอบให้ชัดเจนกว่านี้
แต่เมื่อพิจารณาจากรูปการทั่วไปแล้วมันเข้าเค้า รวมไปถึงคนที่ออกมาแฉโพยหากตัดพวกพรรคเพื่อไทยออกไปแล้ว ก็ถือว่าน่าเชื่อได้
โดยกลุ่มที่ว่านั้นก็คือชมรมแพทย์ชนบท ที่มี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ เป็นประธาน ได้ออกมาเปิดโปงการทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของกระทรวงสาธารณสุขตามโครงการไทยเข้มแข็ง เนื่องจากพบว่ามีหลายรายการมีราคาสูงกว่าราคากลาง ราคาสูงเกินจริงและที่สำคัญไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีการล็อกสเปกเอาไว้สำหรับบางบริษัทเท่านั้น
ซึ่งก็ไปตามสูตรก็คือเป็นบริษัทของนักการเมืองและรัฐมนตรีนั่นเอง
สำหรับงบประมาณ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับตามโครงการไทยเข้มแข็งจำนวน 86,684 ล้านบาท ดำเนินการตั้งแต่ปี 2553-2555 โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
1.งบประมาณสำหรับก่อสร้างยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพสต.) การปรับปรุงโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ร้อยละ 66
2. งบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ร้อยละ 27
3. งบประมาณการสร้างบุคลากรด้วยการผลิตแพทย์และพยาบาลเพิ่มอีกร้อยละ 5 และ 4 งบประมาณในการบริหารจัดการอีกร้อยละ 2
แม้ว่าในภาพรวมแล้วการจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงสาธารณสุขเป็นจำนวนมากในอันดับต้นๆถือว่าเป็นเรื่องน่าชื่นชมในเจตนาดีที่เห็นความสำคัญในด้านสุขภาพเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต
แต่สิ่งที่รัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะต้องตรวจสอบอย่างจริงจัง และโปร่งใส ที่สำคัญต้องให้สังคมเชื่อถือ ไม่ใช่สอบกันเองเออเอง ซื้อเวลาให้เรื่องจางหาย
เพราะข้อกล่าวหาในคราวนี้ก็คือมีบรรดาคนใกล้ชิดและบริษัทที่ชิดของนักการเมือง ซึ่งในที่นี้ก็โยงไปถึงรัฐมนตรีทั้งในส่วนของ วิทยา แก้วภารดัย รัฐมนตรีว่าการและ มานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการ
และต่อมาก็มีบรรดาเลขานุการและทีมที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุขได้ลาออกยกชุดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา แม้ว่าจะเป็นการแสดงสปิริต ไม่ให้กระทบกับการสอบสวน แต่ช่วยไม่ได้ว่าคนเหล่านี้ได้ตกเป็นเป้าโจมตีในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เข้าไปทุจริต
ยังถูกกล่าวหาตามมาว่าเป็นการลาออกเพื่อตัดตอนไม่ให้ไปถึงตัวรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกันอย่างเข้มข้น
อย่างไรก็ดีแม้ว่านาทีการทุจริตยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์แบบเพราะยังไม่มีการจ่ายเงิน งบประมาณยังไม่ไหลลงไปจนครบก็ตาม
แต่ต้องไม่ลืมว่าข้อกล่าวเรื่องทุจริตถือว่าเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชนที่รับรู้แต่เรื่องทุจริตของบรรดานักการเมืองมาอย่างต่อเนื่องรัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่า เหลือบเก่าไปเหลือบฝูงใหม่ก็มาแทน วนเวียนซ้ำซาก ซึ่งรัฐบาล โดยเฉพาะนายกฯอภิสิทธิ์ ที่เคยประกาศเจตนาของผู้นำยุคใหม่ที่ยึดความโปร่งใสเป็นหลักจะต้องมีท่าทีที่จริงจังมากกว่านี้
เพราะหากพิจารณาดูแล้วนับตั้งแต่การทุจริตโครงการชุมชนพอเพียงที่เพิ่งจะสร่างซาไปหลังจากมีการเปลี่ยนตัวประธานผู้บริหาร จากนั้นถัดมาก็มาเจอเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างในกระทรวงสาธารณสุขซ้ำเข้าไปอีก และยังเชื่อว่าจะต้องเกิดกับอีกหลายหน่วยงาน มันก็ทำให้ชาวบ้านผิดหวัง และหันหลังให้รัฐบาลก่อนเวลาอันควร
ดังนั้นปมทุจริตที่เริ่มประดังเข้ามารัฐบาลจะต้องระมัดระวัง แม้ว่าจะมีรายการวางยาปะปนอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตามมันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามี ทุจริต ของจริงอยู่ไม่น้อยและมีแนวโน้มมากขึ้น หากไม่หาทางป้องกันที่ดีพอ !!
ข้อกล่าวหาทุจริตในกระทรวงสาธารณสุขตามโครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลทำท่าจะเป็นอีกปมหนึ่งที่จะเขย่าเสถียรภาพรัฐบาลของ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้พังก่อนกำหนดได้ไม่ยาก
ที่ผ่านมาแทบทุกรัฐบาล หากมีปัญหาเรื่องทุจริต มีนักการเมืองในรัฐบาลเข้าไปเกี่ยวข้อง มีหลักฐานน่าเชื่อได้แล้วเมื่อไหร่ละก็ เป็นอันต้องพังพาบไปทุกราย ไม่ว่ารัฐบาลนั้นจะเข้มแข็ง หรือ เจ๋งแค่ไหนก็ตาม
ไม่เชื่อลองย้อนกลับไปดูรัฐบาล ทักษิณ ชินวัตร แม้ว่าจะถูกรัฐประหารขับไล่ แต่หากพิจารณาจากสถานการณ์ที่เป็นจริงแล้ว เป็นเพียงเข้ามาถีบให้ล้มลงเท่านั้น หลังจากถูกพลังของภาคประชาชนออกมากดดันจนเซไปเซมาจะไปไม่รอดอยู่แล้ว
รัฐบาลทักษิณ หรือ “ระบอบทักษิณ” อันแข็งแกร่งที่หลายคนไม่เชื่อว่าจะล้มลงได้ เพราะควบคุมทุกอย่างในมืออย่างเบ็ดเสร็จ ทั้งสภา องค์กรอิสระ สื่อ แต่ด้วยความเหิมเกริม ทุจริตกันอย่างมโหฬาร และไร้จริยธรรม ทำให้ชาวบ้านที่เข้าถึงข้อมูลเห็นธาตุแท้ทนไม่ไหวต้องออกมาร่วมขบวนขับไล่ แม้ว่าจะถูกปราบปรามกลั่นแกล้งอย่างหนักก็ไม่ย่อท้อ
กรณีที่กำลังเกิดขึ้นกับรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวลานี้ ก็ถือว่าน่าเป็นห่วงไม่น้อย หากไม่สามารถเคลียร์ปมทุจริตที่เริ่มโหมกระหน่ำเข้ามาอย่างต่อเนื่องมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าใน เบื้องต้นยังเป็นแค่ข้อกล่าวหายังต้องตรวจสอบให้ชัดเจนกว่านี้
แต่เมื่อพิจารณาจากรูปการทั่วไปแล้วมันเข้าเค้า รวมไปถึงคนที่ออกมาแฉโพยหากตัดพวกพรรคเพื่อไทยออกไปแล้ว ก็ถือว่าน่าเชื่อได้
โดยกลุ่มที่ว่านั้นก็คือชมรมแพทย์ชนบท ที่มี นพ.เกรียงศักดิ์ วัชระนุกูลเกียรติ เป็นประธาน ได้ออกมาเปิดโปงการทุจริตเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของกระทรวงสาธารณสุขตามโครงการไทยเข้มแข็ง เนื่องจากพบว่ามีหลายรายการมีราคาสูงกว่าราคากลาง ราคาสูงเกินจริงและที่สำคัญไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ นอกจากนี้ยังมีการล็อกสเปกเอาไว้สำหรับบางบริษัทเท่านั้น
ซึ่งก็ไปตามสูตรก็คือเป็นบริษัทของนักการเมืองและรัฐมนตรีนั่นเอง
สำหรับงบประมาณ ที่กระทรวงสาธารณสุขได้รับตามโครงการไทยเข้มแข็งจำนวน 86,684 ล้านบาท ดำเนินการตั้งแต่ปี 2553-2555 โดยแบ่งเป็น 4 ส่วน คือ
1.งบประมาณสำหรับก่อสร้างยกระดับสถานีอนามัยเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพสต.) การปรับปรุงโรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลศูนย์/ทั่วไป ร้อยละ 66
2. งบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ร้อยละ 27
3. งบประมาณการสร้างบุคลากรด้วยการผลิตแพทย์และพยาบาลเพิ่มอีกร้อยละ 5 และ 4 งบประมาณในการบริหารจัดการอีกร้อยละ 2
แม้ว่าในภาพรวมแล้วการจัดสรรงบประมาณให้กับกระทรวงสาธารณสุขเป็นจำนวนมากในอันดับต้นๆถือว่าเป็นเรื่องน่าชื่นชมในเจตนาดีที่เห็นความสำคัญในด้านสุขภาพเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิต
แต่สิ่งที่รัฐบาล โดยเฉพาะนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ จะต้องตรวจสอบอย่างจริงจัง และโปร่งใส ที่สำคัญต้องให้สังคมเชื่อถือ ไม่ใช่สอบกันเองเออเอง ซื้อเวลาให้เรื่องจางหาย
เพราะข้อกล่าวหาในคราวนี้ก็คือมีบรรดาคนใกล้ชิดและบริษัทที่ชิดของนักการเมือง ซึ่งในที่นี้ก็โยงไปถึงรัฐมนตรีทั้งในส่วนของ วิทยา แก้วภารดัย รัฐมนตรีว่าการและ มานิต นพอมรบดี รัฐมนตรีช่วยว่าการ
และต่อมาก็มีบรรดาเลขานุการและทีมที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารสุขได้ลาออกยกชุดเมื่อวันที่ 6 ตุลาคมที่ผ่านมา แม้ว่าจะเป็นการแสดงสปิริต ไม่ให้กระทบกับการสอบสวน แต่ช่วยไม่ได้ว่าคนเหล่านี้ได้ตกเป็นเป้าโจมตีในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน เข้าไปทุจริต
ยังถูกกล่าวหาตามมาว่าเป็นการลาออกเพื่อตัดตอนไม่ให้ไปถึงตัวรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง ซึ่งจะต้องมีการตรวจสอบข้อเท็จจริงกันอย่างเข้มข้น
อย่างไรก็ดีแม้ว่านาทีการทุจริตยังไม่เกิดขึ้นสมบูรณ์แบบเพราะยังไม่มีการจ่ายเงิน งบประมาณยังไม่ไหลลงไปจนครบก็ตาม
แต่ต้องไม่ลืมว่าข้อกล่าวเรื่องทุจริตถือว่าเป็นสิ่งที่กระทบกระเทือนจิตใจของประชาชนที่รับรู้แต่เรื่องทุจริตของบรรดานักการเมืองมาอย่างต่อเนื่องรัฐบาลแล้วรัฐบาลเล่า เหลือบเก่าไปเหลือบฝูงใหม่ก็มาแทน วนเวียนซ้ำซาก ซึ่งรัฐบาล โดยเฉพาะนายกฯอภิสิทธิ์ ที่เคยประกาศเจตนาของผู้นำยุคใหม่ที่ยึดความโปร่งใสเป็นหลักจะต้องมีท่าทีที่จริงจังมากกว่านี้
เพราะหากพิจารณาดูแล้วนับตั้งแต่การทุจริตโครงการชุมชนพอเพียงที่เพิ่งจะสร่างซาไปหลังจากมีการเปลี่ยนตัวประธานผู้บริหาร จากนั้นถัดมาก็มาเจอเรื่องการจัดซื้อจัดจ้างในกระทรวงสาธารณสุขซ้ำเข้าไปอีก และยังเชื่อว่าจะต้องเกิดกับอีกหลายหน่วยงาน มันก็ทำให้ชาวบ้านผิดหวัง และหันหลังให้รัฐบาลก่อนเวลาอันควร
ดังนั้นปมทุจริตที่เริ่มประดังเข้ามารัฐบาลจะต้องระมัดระวัง แม้ว่าจะมีรายการวางยาปะปนอยู่บ้าง แต่อย่างไรก็ตามมันก็ปฏิเสธไม่ได้ว่ามี ทุจริต ของจริงอยู่ไม่น้อยและมีแนวโน้มมากขึ้น หากไม่หาทางป้องกันที่ดีพอ !!