เคาะข่าวริมโขง : "บิ๊กแป๊ะ" เสียดายปฏิวัติเสียของ เตือนทหารถ้าคิดทำอีกต้องระวังผลเสีย ชี้ทางสว่างให้ "ทหารอำนาจเก่า" นำบทเรียนปฏิวัติ 3 ปีก่อนมาเตือนสติ หลัง 3 ทหารเอก "สนธิ-อนุพงษ์-สพรั่ง" ตั้งตัวก่อปฏิวัติ แต่ผลที่ได้กลับโค่นแค่ รบ. "นช.แม้ว" แต่ประเทศยังจมปลักวังวนเดิม
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง รายการ “เคาะข่าวริมโขง”
รายการ “เคาะข่าวริมโขง” ออกอากาศทาง “อีสานทีวี” ช่วงเวลา 18.30-20.30 น.วันพฤหัสบดีที่ 17 ก.ย. มี น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก และ นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้มีการหยิกยกประเด็นข่าวที่น่าสนใจมานำเสนอเพื่อเติมปัญญาให้แก่ชาวอีสาน โดยวันนี้ จะนำกรณี พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ผบ.ตร. กำลังจะพิจารณาออกหมายเรียกครั้งที่ 2 ให้ทางแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปรับทราบข้อกล่าวหาในคดีพันธมิตรฯ ร่วมกันชุมนุมปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง เมื่อปี 2551 และเชิญอดีตนายทหารผู้อยู่ในเหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี 2549 อย่าง พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย มาร่วมสนทนา หลังจากที่ขณะนี้ เกิดกระแสข่าวว่า จะมีการปฏิวัติอีกครั้งในวันที่ 19 กันยายนที่จะถึงนี้ ซึ่งจะครบเวลา 3 ปีพอดีสำหรับการเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ
ทั้งนี้ น.ส.อัญชะลี เริ่มเปิดประเด็นถึงกรณีที่ พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ผบ.ตร. กำลังจะพิจารณาออกหมายเรียกครั้งที่ 2 ให้ทางแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปรับทราบข้อกล่าวหาในคดีพันธมิตรฯ ร่วมกันชุมนุมปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง เมื่อปี 2551 โดย พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวถึงกรณีนี้ ว่า เรื่องนี้ตนอยากรอฟังคำแนะนำจากทาง นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ ก่อนว่าสมควรดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินการไปเป็นขั้นเป็นตอน แต่ไม่ต้องกลัวว่าตนจะหลบหนี เพราะนิสัยของตนไม่เคยหนีเอาตัวรอด แสดงจุดยืนชัดเจนเรื่องนี้มาตลอด
จากนั้น น.ส.อัญชะลี ถามถึงเหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี 2549 ซึ่ง พล.อ.ปฐมพงษ์ อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวว่า ตนได้ร่วมอยู่เหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย ซึ่งจำได้ดีว่า ก่อนหน้าที่จะถึงช่วงนั้น ได้เกิดกระแสข่าวแพร่สะพัดเรื่องการปฏิวัติมาตลอด และเหล่าทหารได้มีการเช็คขุมกำลังของตนเองว่าเป็นอย่างไร
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวต่อว่า เมื่อข่าวลือมีแนวโน้มว่าจะเป็นความจริง ตนได้ติดต่อไปทาง พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว โดยตอนนั้นเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจน ระหว่างทหารและ ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ขณะนั้นอยู่ต่างประเทศ และพยายามรวบรวมขุมกำลังไม่ให้ทหารยึดอำนาจรัฐบาลตัวเองได้ ซึ่งในประเทศไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็นผู้เดินเกมต่อสู้กับทหาร
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวอีกว่า นพ.พรหมมินทร์ ประกาศชัดว่าจะสู้ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ บอกให้สู้ อย่ายอมแพ้ ตนจึงเห็นว่าเหตุการณ์เริ่มสุกงอม ทราบว่าจะมีการใช้กำลังไปปิดล้อมบ้านสี่เสาเทเวศน์ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ดังนั้น ตนจึงโทรไปบอก พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป หัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรี ให้ทราบ เพื่อให้ระวังเรื่องความปลอดภัย ซึ่งทาง พล.ร.ท.พะจุณณ์ บอกว่าไม่เป็นไร มีการจัดวางกำลังรักษาความปลอดภัยไว้รัดกุมอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าไม่เหตุร้ายใดๆ
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวต่อว่า จากนั้น ตนมีโอกาสพบกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน และถูกดึงมาช่วยงานเป็นหนึ่งในคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่ต่อมาเปลี่ยนสถานะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ทั้งนี้ ในเมื่อตอนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอม ทางทหารก็ไม่ยอมเช่นกัน โดยเฉพาะ 3 แกนนำหลักที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการปฏิวัติครั้งนั้น คือ พล.อ.สนธิ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพล.อ.สพรั่ง กัลยามิตร
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวอีกว่า ในที่สุดความชะล่าใจที่เคยคิดว่าคุมขุมกำลังได้อยู่หมัดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ทำให้พบกับความพ่ายแพ้ โดยฝ่ายทหารทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ทำให้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องหมดอำนาจลงไป แต่ปัญหาในประเทศไม่ได้จบลงหรือสิ้นสุดแค่นั้น
"ใน คปค. ไม่ได้ลงรอยทั้งหมด มีผู้บัญชาการเหล่าทัพบางคนไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติครั้งนั้น เพราะมีใจเอนเอียงไปทาง พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างการแถลงประกาศของ คปค. ครั้งแรก ว่าได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อความสงบของบ้านเมือง กว่าจะตามตัว พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ ช่างยากเย็นเหลือเกิน ดังนั้น ใน คปค. จึงมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ" พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าว
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวต่อว่า หลังจากปฏิวัติเสร็จ เหตุการณ์ความวุ่นวายยังไม่จบ บรรดาทหารเกิดความคิดจะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีดูแลกระทรวงต่างๆเอง ซึ่งในความเห็นของตน ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะทหารกับนักการเมืองไม่เหมือนกัน มันถือเป็นคนละเรื่อง
"หลังปฏิวัติ ผมได้ไปพบ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เพื่อเยี่ยมเยียนในฐานะพี่น้องที่รักใคร่กัน จึงได้ทราบว่า สาเหตุการปฏิวัติครั้งนั้น มาจากคน 3 คน กลัวหมดอำนาจ ทั้งๆที่อยากครอบครองอำนาจอยู่ 3 คนนั้น ก็คือ พล.อ.สนธิ พล.อ.อนุพงษ์ และพล.อ.สพรั่ง ตัวตั้งตัวตีของเรื่องทั้งหมด และมีการแทรกซึมกำลังพลมาโดยตลอด จนเหตุการณ์ได้สุกงอม ทำให้การปฏิวัติสำเร็จ" พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าว
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวอีกว่า หากจะเกิดการปฏิวัติขึ้นอีกเร็วๆนี้ ตนคิดว่าต้องมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรง โดยโยงสถาบันเบื้องสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือจะเป็นการสังหารบุคคลสำคัญระดับประเทศ หรือไม่ก็เป็นการเผาบ้านเผาเมือง จนทำให้ทหารต้องออกมาจัดการอะไรบ้างอย่าง โดยประสบการณ์ที่ตนเล่าไปวันนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์ ทำให้ทุกฝ่ายเห็นแก่ผลประโยชน์ของส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว เพราะที่ผ่านมามีผู้ชอบแอบอ้างความต้องการของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง จนมีความพยายามจะทำลายสถาบัน ทั้งๆที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ลำบากเพื่อประชาชนมาโดยตลอด ดังนั้น สิ่งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ต้องการจากเหล่าทหารมากที่สุด คือ ทำให้ประชาชนของพระองค์อยู่ในประเทศได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าใครจะได้มาเป็นใหญ่เป็นโตในกองทัพ แต่ต้องตระหนักว่า หน้าที่ทหารคือ รับใช้ชาติบ้านเมือง และทำประโยชน์ให้แก่สังคม ทหารควรมีกล้าหาญ อดทน และจงรักภักดี
น.ส.อัญชะลี ถามต่อถึงกรณี มีหลายฝ่ายออกมาระบุว่า เหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อ 19 กันยายน ปี 2549 ถือว่าเสียของ เพราะไม่สามารถจัดการปัญหาและหาทางออกให้แก่บ้านเมืองได้จริง พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวตอบว่า เมื่อทำการปฏิวัติสำเร็จ และรู้ว่าเป็นตัวสกัดไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศไทยได้แล้ว ทหารที่ทำการปฏิวัติก็เกิดความทรนงตัว ว่าแก้ปัญหาให้แก่ชาติบ้านเมืองได้จริง มีการใช้จ่ายงบฟุ่มเฟื่อย โยกย้ายคนของตัวเองไปประจำตำแหน่งสำคัญ เพื่อคุมขุมกำลังให้มีอำนาจต่อรอง ซึ่งต่างจากทหารในยุคก่อน ที่แม้เกิดการปฏิวัติ แต่ก็ยังรู้จักใช้คนที่มีความรู้ความสามารถให้เกิดประโยชน์ รู้จักขีดความรู้ของตนเองว่ามีความเชี่ยวชาญด้านไหน ดังนั้น เห็นได้ชัดว่า ทหารที่ทำปฏิวัติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี 2549 ถือว่า ทำอย่างครึ่งๆกลางๆ แก้ไขปัญหาบ้านเมืองไม่ถึงจุดสิ้นสุด
น.ส.อัญชะลี ถามต่อว่า มีกระแสข่าวว่า พล.ต. ดร.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง นำอาวุธมาซ่องสุ่มไว้ที่ค่ายทหารแถวเกียกกาย พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวถึงกรณีนี้ ว่า เรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ แต่ พล.อ.อนุพงษ์ ควรสั่งให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะถ้าหากมีอำนาจแล้วไม่ทำให้เกิดประโยชน์ ก็ถือว่าไร้ค่า ใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อมีข่าวมา ก็ต้องตรวจสอบให้เกิดความกระจ่าง ดีกว่าปล่อยไปแล้วเกิดเหตุร้าย ทั้งๆที่รู้มาก่อนหน้านี้
น.ส.อัญชะลี ถามอีกว่า มีคนลือว่าวันที่ 19 กันยายนนี้ กลุ่มคนเสื้อแดง จะก่อความวุ่นวาย และสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงแน่ นอกจากนี้ ทางฝ่ายทหารก็เตรียมจะปะทะ พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวตอบว่า ถ้าคิดว่าแค่นี้ จะทำให้เกิดการปฏิวัติ ตนถือว่าใช้เหตุผลเบาไป ไม่เหมาะสม เพราะตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่เลวเหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ แม้จะปัญหาเรื่องภาวะความเป็นผู้นำบ้าง แต่ก็ถือว่ายังมีความเหมาะสมในการเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนปัญหาด้านภาวะการเป็นผู้นำ ตนว่าต้องขอโทษ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง และนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ทำให้ภาวะความเป็นผู้นำในตัว นายอภิสิทธิ์ ด้อยถอยลง เพราะที่ผ่านมา จะเห็นว่าไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น ทั้งนายสุเทพและนิพนธ์ ไม่เคยถามนายอภิสิทธิ์ แต่กลับไปถามฝ่ายทหาร หรือถามฝ่ายนายเนวิน ชิดชอบ
"เรื่องการนำไปสู่การปฏิวัติ หากมันเกิดขึ้นจริง คนที่ต้องรับผิดชอบ คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ เนื่องจาก มีข้อมูลว่าจะเกิดการปฏิวัติ แต่นิ่งเฉย ปล่อยให้เกิดขึ้น ซึ่งถ้ามีการปฏิวัติ ตนขอแนะนำให้ไปตายซะ เพราะไม่รู้ว่าจะมีอำนาจในมือทำไม เรื่องชาติบ้านเมืองสำหรับตนแล้ว ถือว่าไม่มีพี่ไม่น้อง แม้ พล.อ.อนุพงษ์ จะเป็นนายทหารรุ่นน้องที่เติบโตมาด้วยกัน แต่เห็นอย่างไร ก็เตือนไปเช่นนั้น โดยอยากฝากไว้ว่า พล.อ.อนุพงษ์ ไม่ควรทำให้ผู้คนรู้สึกว่า ผบ.ทบ. เป็นที่พึ่งให้แก่ประชาชนไม่ได้" พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าว
นายชัชวาลย์ ถามต่อว่า มีอะไรอยากฝากแนะนำรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ หรือไม่ พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวว่า ตนอยากบอกว่า นายอภิสิทธิ์ เป็นคนเก่งและเฉลียวฉลาด แต่ในทางการเมืองถือว่าถูกบ่มด้วยแก๊ส ยังอ่อนประสบการณ์ กลับถูกดันมาเป็นถึงนายกรัฐมนตรี ทำให้คนอย่าง นายสุเทพและนิพนธ์ คอยชักนำอยู่ด้านหลัง ดังนั้น ตนอยากแนะนำให้นายอภิสิทธิ์ ลองไปขอคำแนะนำจากผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ท่านอื่น ที่รักและเป็นห่วงนายอภิสิทธิ์ จริงๆ อย่าง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ซึ่งก็อาจจะได้ข้อคิดดีๆ มาปรับใช้ และทำให้ภาวะความเป็นผู้นำประเทศเด่นชัดขึ้น เพราะในเรื่องการเมือง ประสบการณ์หรือชั่วโมงบินถือเป็นสิ่งสำคัญ
คลิกที่นี่ เพื่อฟัง รายการ “เคาะข่าวริมโขง”
รายการ “เคาะข่าวริมโขง” ออกอากาศทาง “อีสานทีวี” ช่วงเวลา 18.30-20.30 น.วันพฤหัสบดีที่ 17 ก.ย. มี น.ส.อัญชะลี ไพรีรัก และ นายชัชวาลย์ ชาติสุทธิชัย เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้มีการหยิกยกประเด็นข่าวที่น่าสนใจมานำเสนอเพื่อเติมปัญญาให้แก่ชาวอีสาน โดยวันนี้ จะนำกรณี พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ผบ.ตร. กำลังจะพิจารณาออกหมายเรียกครั้งที่ 2 ให้ทางแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปรับทราบข้อกล่าวหาในคดีพันธมิตรฯ ร่วมกันชุมนุมปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง เมื่อปี 2551 และเชิญอดีตนายทหารผู้อยู่ในเหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี 2549 อย่าง พล.อ.ปฐมพงษ์ เกษรศุกร์ อดีตประธานที่ปรึกษากองบัญชาการกองทัพไทย มาร่วมสนทนา หลังจากที่ขณะนี้ เกิดกระแสข่าวว่า จะมีการปฏิวัติอีกครั้งในวันที่ 19 กันยายนที่จะถึงนี้ ซึ่งจะครบเวลา 3 ปีพอดีสำหรับการเกิดเหตุการณ์ปฏิวัติ
ทั้งนี้ น.ส.อัญชะลี เริ่มเปิดประเด็นถึงกรณีที่ พล.ต.ท.สมยศ พุ่มพันธุ์ม่วง ผบ.ผบ.ตร. กำลังจะพิจารณาออกหมายเรียกครั้งที่ 2 ให้ทางแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ไปรับทราบข้อกล่าวหาในคดีพันธมิตรฯ ร่วมกันชุมนุมปิดท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและดอนเมือง เมื่อปี 2551 โดย พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวถึงกรณีนี้ ว่า เรื่องนี้ตนอยากรอฟังคำแนะนำจากทาง นายสุวัฒน์ อภัยภักดิ์ ทนายความพันธมิตรฯ ก่อนว่าสมควรดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร เพื่อให้ทุกอย่างดำเนินการไปเป็นขั้นเป็นตอน แต่ไม่ต้องกลัวว่าตนจะหลบหนี เพราะนิสัยของตนไม่เคยหนีเอาตัวรอด แสดงจุดยืนชัดเจนเรื่องนี้มาตลอด
จากนั้น น.ส.อัญชะลี ถามถึงเหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี 2549 ซึ่ง พล.อ.ปฐมพงษ์ อยู่ในเหตุการณ์ดังกล่าวด้วย พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวว่า ตนได้ร่วมอยู่เหตุการณ์ครั้งนั้นด้วย ซึ่งจำได้ดีว่า ก่อนหน้าที่จะถึงช่วงนั้น ได้เกิดกระแสข่าวแพร่สะพัดเรื่องการปฏิวัติมาตลอด และเหล่าทหารได้มีการเช็คขุมกำลังของตนเองว่าเป็นอย่างไร
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวต่อว่า เมื่อข่าวลือมีแนวโน้มว่าจะเป็นความจริง ตนได้ติดต่อไปทาง พล.อ.บุญสร้าง เนียมประดิษฐ์ ที่ขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด ว่าจะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว โดยตอนนั้นเกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายกันอย่างชัดเจน ระหว่างทหารและ ฝ่าย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่ขณะนั้นอยู่ต่างประเทศ และพยายามรวบรวมขุมกำลังไม่ให้ทหารยึดอำนาจรัฐบาลตัวเองได้ ซึ่งในประเทศไทย พ.ต.ท.ทักษิณ ใช้ นพ.พรหมมินทร์ เลิศสุริย์เดช เป็นผู้เดินเกมต่อสู้กับทหาร
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวอีกว่า นพ.พรหมมินทร์ ประกาศชัดว่าจะสู้ เพราะ พ.ต.ท.ทักษิณ บอกให้สู้ อย่ายอมแพ้ ตนจึงเห็นว่าเหตุการณ์เริ่มสุกงอม ทราบว่าจะมีการใช้กำลังไปปิดล้อมบ้านสี่เสาเทเวศน์ ของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ดังนั้น ตนจึงโทรไปบอก พล.ร.ท.พะจุณณ์ ตามประทีป หัวหน้าสำนักงานประธานองคมนตรี ให้ทราบ เพื่อให้ระวังเรื่องความปลอดภัย ซึ่งทาง พล.ร.ท.พะจุณณ์ บอกว่าไม่เป็นไร มีการจัดวางกำลังรักษาความปลอดภัยไว้รัดกุมอยู่แล้ว จึงเชื่อว่าไม่เหตุร้ายใดๆ
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวต่อว่า จากนั้น ตนมีโอกาสพบกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตนกลิน และถูกดึงมาช่วยงานเป็นหนึ่งในคณะปฎิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ที่ต่อมาเปลี่ยนสถานะเป็น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) ทั้งนี้ ในเมื่อตอนนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ ไม่ยอม ทางทหารก็ไม่ยอมเช่นกัน โดยเฉพาะ 3 แกนนำหลักที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการปฏิวัติครั้งนั้น คือ พล.อ.สนธิ พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา และพล.อ.สพรั่ง กัลยามิตร
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวอีกว่า ในที่สุดความชะล่าใจที่เคยคิดว่าคุมขุมกำลังได้อยู่หมัดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็ทำให้พบกับความพ่ายแพ้ โดยฝ่ายทหารทำการปฏิวัติได้สำเร็จ ทำให้รัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ต้องหมดอำนาจลงไป แต่ปัญหาในประเทศไม่ได้จบลงหรือสิ้นสุดแค่นั้น
"ใน คปค. ไม่ได้ลงรอยทั้งหมด มีผู้บัญชาการเหล่าทัพบางคนไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติครั้งนั้น เพราะมีใจเอนเอียงไปทาง พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างการแถลงประกาศของ คปค. ครั้งแรก ว่าได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ เพื่อความสงบของบ้านเมือง กว่าจะตามตัว พล.ร.อ.สถิรพันธุ์ เกยานนท์ ผู้บัญชาการทหารเรือ และ พล.ต.อ.โกวิท วัฒนะ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ได้ ช่างยากเย็นเหลือเกิน ดังนั้น ใน คปค. จึงมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วยกับการปฏิวัติ" พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าว
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวต่อว่า หลังจากปฏิวัติเสร็จ เหตุการณ์ความวุ่นวายยังไม่จบ บรรดาทหารเกิดความคิดจะดำรงตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีดูแลกระทรวงต่างๆเอง ซึ่งในความเห็นของตน ถือว่าไม่เหมาะสม เพราะทหารกับนักการเมืองไม่เหมือนกัน มันถือเป็นคนละเรื่อง
"หลังปฏิวัติ ผมได้ไปพบ พล.อ.ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เพื่อเยี่ยมเยียนในฐานะพี่น้องที่รักใคร่กัน จึงได้ทราบว่า สาเหตุการปฏิวัติครั้งนั้น มาจากคน 3 คน กลัวหมดอำนาจ ทั้งๆที่อยากครอบครองอำนาจอยู่ 3 คนนั้น ก็คือ พล.อ.สนธิ พล.อ.อนุพงษ์ และพล.อ.สพรั่ง ตัวตั้งตัวตีของเรื่องทั้งหมด และมีการแทรกซึมกำลังพลมาโดยตลอด จนเหตุการณ์ได้สุกงอม ทำให้การปฏิวัติสำเร็จ" พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าว
พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวอีกว่า หากจะเกิดการปฏิวัติขึ้นอีกเร็วๆนี้ ตนคิดว่าต้องมีการสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรง โดยโยงสถาบันเบื้องสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง หรือจะเป็นการสังหารบุคคลสำคัญระดับประเทศ หรือไม่ก็เป็นการเผาบ้านเผาเมือง จนทำให้ทหารต้องออกมาจัดการอะไรบ้างอย่าง โดยประสบการณ์ที่ตนเล่าไปวันนี้ หวังว่าจะมีประโยชน์ ทำให้ทุกฝ่ายเห็นแก่ผลประโยชน์ของส่วนรวม มากกว่าประโยชน์ส่วนตัว เพราะที่ผ่านมามีผู้ชอบแอบอ้างความต้องการของผู้หลักผู้ใหญ่ในบ้านเมือง จนมีความพยายามจะทำลายสถาบัน ทั้งๆที่ตลอดเวลาที่ผ่านมา พระมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ ลำบากเพื่อประชาชนมาโดยตลอด ดังนั้น สิ่งที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ ต้องการจากเหล่าทหารมากที่สุด คือ ทำให้ประชาชนของพระองค์อยู่ในประเทศได้อย่างมีความสุข ไม่ว่าใครจะได้มาเป็นใหญ่เป็นโตในกองทัพ แต่ต้องตระหนักว่า หน้าที่ทหารคือ รับใช้ชาติบ้านเมือง และทำประโยชน์ให้แก่สังคม ทหารควรมีกล้าหาญ อดทน และจงรักภักดี
น.ส.อัญชะลี ถามต่อถึงกรณี มีหลายฝ่ายออกมาระบุว่า เหตุการณ์ปฏิวัติเมื่อ 19 กันยายน ปี 2549 ถือว่าเสียของ เพราะไม่สามารถจัดการปัญหาและหาทางออกให้แก่บ้านเมืองได้จริง พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวตอบว่า เมื่อทำการปฏิวัติสำเร็จ และรู้ว่าเป็นตัวสกัดไม่ให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับประเทศไทยได้แล้ว ทหารที่ทำการปฏิวัติก็เกิดความทรนงตัว ว่าแก้ปัญหาให้แก่ชาติบ้านเมืองได้จริง มีการใช้จ่ายงบฟุ่มเฟื่อย โยกย้ายคนของตัวเองไปประจำตำแหน่งสำคัญ เพื่อคุมขุมกำลังให้มีอำนาจต่อรอง ซึ่งต่างจากทหารในยุคก่อน ที่แม้เกิดการปฏิวัติ แต่ก็ยังรู้จักใช้คนที่มีความรู้ความสามารถให้เกิดประโยชน์ รู้จักขีดความรู้ของตนเองว่ามีความเชี่ยวชาญด้านไหน ดังนั้น เห็นได้ชัดว่า ทหารที่ทำปฏิวัติ เมื่อวันที่ 19 กันยายน ปี 2549 ถือว่า ทำอย่างครึ่งๆกลางๆ แก้ไขปัญหาบ้านเมืองไม่ถึงจุดสิ้นสุด
น.ส.อัญชะลี ถามต่อว่า มีกระแสข่าวว่า พล.ต. ดร.ขัตติยะ สวัสดิผล หรือ เสธ.แดง นำอาวุธมาซ่องสุ่มไว้ที่ค่ายทหารแถวเกียกกาย พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวถึงกรณีนี้ ว่า เรื่องนี้ไม่ว่าจะเป็นความจริงหรือไม่ แต่ พล.อ.อนุพงษ์ ควรสั่งให้มีการตรวจสอบเรื่องนี้ เพราะถ้าหากมีอำนาจแล้วไม่ทำให้เกิดประโยชน์ ก็ถือว่าไร้ค่า ใช้อำนาจในทางที่ไม่ถูกต้อง ดังนั้น เมื่อมีข่าวมา ก็ต้องตรวจสอบให้เกิดความกระจ่าง ดีกว่าปล่อยไปแล้วเกิดเหตุร้าย ทั้งๆที่รู้มาก่อนหน้านี้
น.ส.อัญชะลี ถามอีกว่า มีคนลือว่าวันที่ 19 กันยายนนี้ กลุ่มคนเสื้อแดง จะก่อความวุ่นวาย และสร้างสถานการณ์ให้เกิดความรุนแรงแน่ นอกจากนี้ ทางฝ่ายทหารก็เตรียมจะปะทะ พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวตอบว่า ถ้าคิดว่าแค่นี้ จะทำให้เกิดการปฏิวัติ ตนถือว่าใช้เหตุผลเบาไป ไม่เหมาะสม เพราะตัวนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ไม่เลวเหมือน พ.ต.ท.ทักษิณ แม้จะปัญหาเรื่องภาวะความเป็นผู้นำบ้าง แต่ก็ถือว่ายังมีความเหมาะสมในการเป็นนายกรัฐมนตรี ส่วนปัญหาด้านภาวะการเป็นผู้นำ ตนว่าต้องขอโทษ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ฝ่ายความมั่นคง และนายนิพนธ์ พร้อมพันธุ์ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ที่ทำให้ภาวะความเป็นผู้นำในตัว นายอภิสิทธิ์ ด้อยถอยลง เพราะที่ผ่านมา จะเห็นว่าไม่ว่าจะมีเรื่องอะไรเกิดขึ้น ทั้งนายสุเทพและนิพนธ์ ไม่เคยถามนายอภิสิทธิ์ แต่กลับไปถามฝ่ายทหาร หรือถามฝ่ายนายเนวิน ชิดชอบ
"เรื่องการนำไปสู่การปฏิวัติ หากมันเกิดขึ้นจริง คนที่ต้องรับผิดชอบ คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รมว.กลาโหม และพล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ผบ.ทบ เนื่องจาก มีข้อมูลว่าจะเกิดการปฏิวัติ แต่นิ่งเฉย ปล่อยให้เกิดขึ้น ซึ่งถ้ามีการปฏิวัติ ตนขอแนะนำให้ไปตายซะ เพราะไม่รู้ว่าจะมีอำนาจในมือทำไม เรื่องชาติบ้านเมืองสำหรับตนแล้ว ถือว่าไม่มีพี่ไม่น้อง แม้ พล.อ.อนุพงษ์ จะเป็นนายทหารรุ่นน้องที่เติบโตมาด้วยกัน แต่เห็นอย่างไร ก็เตือนไปเช่นนั้น โดยอยากฝากไว้ว่า พล.อ.อนุพงษ์ ไม่ควรทำให้ผู้คนรู้สึกว่า ผบ.ทบ. เป็นที่พึ่งให้แก่ประชาชนไม่ได้" พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าว
นายชัชวาลย์ ถามต่อว่า มีอะไรอยากฝากแนะนำรัฐบาล นายอภิสิทธิ์ หรือไม่ พล.อ.ปฐมพงษ์ กล่าวว่า ตนอยากบอกว่า นายอภิสิทธิ์ เป็นคนเก่งและเฉลียวฉลาด แต่ในทางการเมืองถือว่าถูกบ่มด้วยแก๊ส ยังอ่อนประสบการณ์ กลับถูกดันมาเป็นถึงนายกรัฐมนตรี ทำให้คนอย่าง นายสุเทพและนิพนธ์ คอยชักนำอยู่ด้านหลัง ดังนั้น ตนอยากแนะนำให้นายอภิสิทธิ์ ลองไปขอคำแนะนำจากผู้ใหญ่ในพรรคประชาธิปัตย์ท่านอื่น ที่รักและเป็นห่วงนายอภิสิทธิ์ จริงๆ อย่าง นายบัญญัติ บรรทัดฐาน ซึ่งก็อาจจะได้ข้อคิดดีๆ มาปรับใช้ และทำให้ภาวะความเป็นผู้นำประเทศเด่นชัดขึ้น เพราะในเรื่องการเมือง ประสบการณ์หรือชั่วโมงบินถือเป็นสิ่งสำคัญ