xs
xsm
sm
md
lg

“นักข่าวอาวุโส” เตือน “มาร์ค” อย่าปลด “กษิต” ตามกระแส ยันนานาชาติให้การยอมรับ

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“นักข่าวอาวุโส” เตือน “มาร์ค” อย่าปลด “กษิต” ตามกระแส ยันนานาชาติให้การยอมรับ ด้าน “อดีตทูต 5 ประเทศ” กล่าวชมไทย จัดประชุมอาเซียนราบรื่น ย้ำ “กษิต” ไม่ได้เป็นจุดด่างพร้อย ทำให้ประเทศเสียหาย ขณะที่ “ฮิลลารี” เยือนเอเชีย ต้องการแรงหนุนจากประชาคมและหาประโยชน์ทาง ศก.ชี้ ประชุมอาเซียนครั้งหน้า ต้องยกระดับกดดันพม่าให้เข้มข้น โดย 10 ประเทศต้องผนึกกำลังทางการเมือง บีบจนพม่าแผลงฤทธิ์ไม่ออก


คลิกที่นี่ เพื่อฟังรายการ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย”

รายการ “พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย” ทางเอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน ช่วงเวลา 22.00-23.30 น.วันศุกร์ที่ 24 ก.ค.ที่ผ่านมา โดยมี สโรชา พรอุดมศักดิ์ ดำเนินรายการ ได้รับเกียรติจาก นายสุรพงษ์ ชัยนาม อดีตเอกอัครราชทูตประจำ 5 ประเทศ และ นายสุทิน วรรณบวร นักข่าวการเมืองอาวุโส ร่วมพูดคุยถึงเรื่องบทบาทอาเซียนต่อประเทศสมาชิก

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การประชุมอาเซียน ที่ จ.ภูเก็ต ครั้งที่ผ่านมา ถือว่าประเทศไทยประสบความสำเร็จใจฐานะที่เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม โดยสามารถกู้ภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศให้กลับมาได้ระดับหนึ่ง ซึ่งจะเห็นได้ว่า ผู้นำทั้ง 20 ประเทศ ที่ได้เดินทางมาร่วมประชุมในครั้งนี้ แม้ว่าจะพบกับเหตุการณ์อันเลวร้ายเมื่อครั้งกลุ่มคนเสื้อแดงไปทำปิดล้อมโรงแรมรอยัล คลิฟ บีช ที่พัทยา แต่ผู้นำเหล่านี้ ก็เข้าใจในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นอย่างดี และเดินทางมาเข้าร่วมประชุมที่ จ.ภูเก็ต อย่างพร้อมเพรียงกัน ดังนั้น ถือเป็นการส่งสัญญาณให้เห็นว่า ประเทศดังกล่าวมีความเข้าใจในระบอบประชาธิปไตยและบทบาทหน้าที่ของรัฐบาลชุดนี้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ การที่ผู้นำประเทศต่างๆ เดินทางมาด้วยตนเอง ย่อมแสดงว่าเป็นเครื่องรับรองได้ว่า ไว้วางใจรัฐบาลไทย

อดีตเอกอัครราชทูตประจำ 5 ประเทศ กล่าวถึงกรณีที่ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ โดนประทับตราก่อการร้ายแล้วยังเข้าร่วมประชุมอาเซียน จนหลายคนมองว่าทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยเสียหาย ตรงนี้เป็นเรื่องไร้สาระ เพราะต่างประเทศเขาไม่สนใจประเด็นนี้ โดยเขามองว่าคนไทยจะไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจก็เป็นเรื่องภายใน ไม่มีผลต่อการประชุมแลกเปลี่ยนแนวคิด นโยบาย ตราบใดที่รัฐบาลยังให้ความไว้วางใจ นายกษิต ทำหน้าที่อยู่

“การเดินทางมาทวีปเอเชียของ นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา มีนัยยะแอบแฝง คือ 1.ต้องการที่จะได้รับความไว้วางใจ การสนับสนุนจากประชาคมระหว่างประเทศ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหารือการทุตพหุภาคีและปรึกษาหารือกับมิตรประเทศ เพราะสมัย รัฐบาลของ นายจอร์จ ดับเบิลยู บุช ทำงานแบบสุดโต่งไม่สนใจคำคัดค้านจากประเทศเพื่อนบ้านจนทำให้อยู่ในตำแหน่งไม่ได้ และ 2.เพื่อผลประโยชน์ เพราะเขามองว่าทวีปเอเชียคือแหล่งเศรษฐกิจที่สำคัญมาก” นายสุรพงษ์ กล่าว

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า การประชุมอาเซียนครั้งหน้าที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในเดือนตุลาคม อาเซียนจะเพิ่มน้ำหนักการโน้มน้าวประเทศพม่า ได้แก่ 1.มีถ้อยแถลงประณามของประธานอีกครั้งหนึ่ง 2.บีบรัดพม่าในเรื่องของพัฒนาการด้านประชาธิปไตย 3.ปัญหาของพม่า ซึ่งประเทศไทยในฐานะที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด คนไทยต้องสนใจ รัฐบาลต้องดำเนินนโยบายต่อประเทศพม่า ในทางที่ดูแลผลประโยชน์ของประเทศไทย ทั้งนี้การที่ไทยไม่มีเอกภาพในด้านนี้ เพราะมีคนบางกลุ่มเห็นแก่ผลประโยชน์ที่มีอย่างมหาศาลต่อประเทศพม่า แล้วประเทศพม่าก็ใช้กลุ่มผลประโยชน์นี้มากดดันรัฐบาลอีกที เวลาทำอะไรที่พม่าไม่พอใจ ด้วยการยื่นผลประโยชน์ให้ ซึ่งก็ประสบผลสำเร็จมาเกือบทุกครั้ง นี่คือปัญหาของประเทศไทย

นายสุรพงษ์ กล่าวถึงสนธิสัญญาระหว่างอาเซียน ว่า ถึงแม้อาเซียนจะมีนโยบายร่วมกันในด้านเศรษฐกิจ แต่ในด้านการเมืองความมั่นคงไม่เคยมีนโยบายร่วมกัน และไม่มีนโยบายร่วมกันในปัญหาของประเทศพม่า เพราะ 10 ประเทศอาเซียน มีระบอบการเมืองการปกครองที่แตกต่างกันมาก ด้วยเหตุนี้จึงเป็นสาเหตุที่ไม่สามารถหานโยบายร่วมกันในประเด็นทางการเมืองความมั่นคงได้ อย่างไรก็ดี ก็ไม่ได้ปิดกั้นไปเสียทุกอย่าง หากกระทบกับเรื่องของผลประโยชน์ หรือผลกระทบจากการที่ประชาคมระหว่างประเทศไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลพม่าในการปกครอง ประธานอาเซียนก็สามารถออกถ้อยแถลง ประณาม ติเตียน พม่าได้

นายสุรพงษ์ กล่าวว่า จุดอ่อนของรัฐมนตรีต่างประเทศของไทยตั้งแต่ในอดีต คือ ชอบเหมา ว่า ตนเองคิดอย่างไรคนอื่นก็คิดอย่างเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่บ้าง อย่างกรณี สมเด็จฯ ฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมายาวนาน ซึ่งไม่ว่าจะด้วยวิธีไดก็ตาม และเขาสามารถทำนิติกรรมสัญญาอะไรได้หลายอย่าง ซึ่งแตกต่างจากรัฐบาลไทยที่มีข้อจำกัดต้องอยู่ภายใต้กฎหมายรัฐธรรมนูญ อย่างไรก็ดี สำหรับนักการเมืองไทยที่ไปทำนิติกรรมเพื่อผลประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง คิดว่า เขมรทำได้และมีอำนาจก็อาศัยอำนาจเขา ทั้งที่รู้ว่าผิดตามกฎหมายไทยก็คิดว่าหากจับได้ก็ซวยไป หากจับไม่ได้รับผลประโยชน์เป็นกอบเป็นกำ นี่จึงเป็นที่มาของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 ที่กำหนดให้การทำหนังสือสัญญาที่มีผลผูกพันด้านการค้าการลงทุน หรืองบประมาณของประมาณของประเทศ ต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาก่อน และตอนนี้มาตรา 190 ก็ค่อนข้างมีปัญหาในการนำไปใช้ เพราะคลุมเคลือ ที่ดีจะต้องระบุให้ชัดเจนว่ามีอะไรบ้างที่ต้องขออนุมัติ

นายสุทิน กล่าวว่า ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพประชุมอาเซียนที่ภูเก็ต ราบรื่นผ่านไปได้ด้วยดี แต่การออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และเอาทหารมาตรึงกำลังรักษาความปลอดภัยจำนวนมาก ถึงแม้จะปลอดภัยก็จริงอยู่ แต่มันไม่มีความจำเป็น เพราะรัฐบาลมองแต่ปัญหาแค่ป้องกันกลุ่มเสื้อแดงป่วน ทั้งนี้ดูจากลักษณะพื้นที่ก็มีหลายวิธีที่ทำได้ โดยไม่จำเป็นต้องออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่อย่างนั้นมันจะเป็นบรรทัดฐานว่าทุกครั้งที่มีการประชุมในไทย จะต้องทำอย่างนี้ ซึ่งจริงๆแล้วผู้นำต่างประเทศเขาไม่ได้กังวลเรื่องเสื้อแดงเลย แต่เขากังวลผู้ก่อการร้ายระหว่างประเทศ และการที่นางฮิลลารี คลินตัน รัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ไปไหนมีทหารติดตามจำนวนมาก ตรงนี้เป็นเรื่องปกติที่ประเทศเขาให้ความสำคัญกับผู้นำ

นายสุทิน กล่าวต่อว่า การล้มประชุมอาเซียน ที่พัทยา ผู้นำประเทศต่างๆ มองว่า เป้าหมายของผู้ก่อการไม่สงบนั้นไม่ได้อยู่ที่ผู้นำต่างประเทศ แต่อยู่ที่ผู้นำของประเทศไทยและประชาธิปัตย์เท่านั้น ซึ่งปัญหาของรัฐบาล ที่ทำให้เสื้อแดงบุกล้มการประชุมอาเซียนได้ เพราะไม่ได้รับการเชื่อถือและไว้วางใจจากหน่วยงานความมั่นคง มิหนำซ้ำหน่วยงานความมั่นคงยังมีส่วนเข้าไปทำลายการประชุมครั้งนี้ด้วย อย่างไรก็ดี หากปฏิบัติตาม หน้าที่ตามนโยบาย แนวทางที่วางไว้ก็ไม่จำเป็นต้องออก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และจะไม่มีเหตุรุนแรงเกิดขึ้นเลย ด้วยเหตุนี้นายกฯควรจะหวาดกลัวคนข้างๆ เช่น รมว.กลาโหม อธิบดีกรมตำรวจ มากกว่าที่จะกลัวคนเสื้อแดง

“มั่นใจว่า นายกฯ มองออกว่าข้อหาก่อการร้ายที่ตังให้ นายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เป็นข้อหาทางการเมือง ตั้งใจทำให้รัฐบาลเสียหน้า และไม่มีท่าทีที่จะปลด นายกษิต เพราะรมว.ต่างประเทศ ช่วงที่ผ่านมา 3-4 คน ไม่มีใครที่ต่างประเทศให้ความการรับรองเหมือนนายกษิต ดูอย่าง นางฮิลลารี พูดถึงนายกษิต หลายครั้ง ร่วมประชุมหลายครั้ง มีสีหน้าท่าทียืนยันให้การยอมรับรัฐมนตรีต่างประเทศคนนี้ แตกต่างจากรัฐมนตรีอเมริกาครั้งก่อน ที่มาประชุมพอเป็นพิธี” นายสุทิน กล่าวว่า

นักข่าวอาวุโส กล่าวว่า การมาของ นางฮิลลารี มีท่าทีแสดงบทบาททางการเมือง อย่างการแถลงข่าวสวนกับเกาหลีเหนือ ก็ด่าสวนกันตรงๆ หรือกรณีประเทศพม่าไม่เห็นด้วยกับการจัดตั้งองค์กรสิทธิฯ ก็บอกให้ขับพม่า ออกจากอาเซียนไปเลย แต่อิทธิพลเหล่านี้ไม่สามารถมากดดันแก้ไขปัญหาในเกาหลีหรือพม่าได้ ถ้าจะมีการเปลี่ยนแปลงในพม่าได้ก็แต่ด้วยประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนเอง อีกอย่างตอนนี้ท่าทีของอาเซียนต่อประเทศพม่า ก็ยังไม่เป็นหนึ่งเดียวกัน ดังนี้ การที่ นางฮิลลารี มาประณาม ก็เสมือนเป็นการพูดให้ดูดีเท่านั้น แก้ไขอะไรไม่ได้

นายสุทิน กล่าวว่า ประเทศกัมพูชาเซ็นสัญญายกสัมปทานให้กับประเทศฝรั่งเศสที่จะเข้ามาสำรวจก๊าซ ซึ่งเป็นบริเวณดังกล่าวเป็นพื้นที่ทับซ้อนที่กำลังมีปัญหากับไทย เป็นผลพวงของความมักง่ายของนักการเมืองไทย ที่เอาผลประโยชน์ของชาติ ไปเกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว โดยมีนักการเมือง ทหาร เข้าไปเก็บเกี่ยวผลประโยชน์กับกัมพูชา โดยเอาผลประโยชน์ของชาติแลกเปลี่ยน และเมื่อมีประเทศมหาอำนาจหนุนหลังเขาก็เลยเอาความมักง่ายของคนไทย มาเป็นข้ออ้างแล้วเก็บเกี่ยวผลประโยชน์ให้กับประเทศตนเอง ยกตัวอย่างเช่น ในสมัย นายนพดล ปัทมะ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก็ได้ไปเซ็นลงนามร่วม ซึ่งมีผลถือเป็นการรับรองในนามประเทศไทย อันจะทำให้เขมรไปขอจดจะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ มิหนำซ้ำยังไปเปิดถนนเรียบชายแดนซึ่งยังเป็นพื้นที่ ที่ยังเหลือมล้ำกันอยู่ ทำให้เขมรคิดว่านี่คือของเขา การที่จะไปให้สัมปทานแก่ใครก็เป็นสิทธิของเขา ด้วยเหตุนี้เราจะไปโทษเขมรไม่ได้ต้องโทษตัวเอง
สุรพงษ์ ชัยนาม
สุทิน วรรณบวร
กำลังโหลดความคิดเห็น