"แกนนำ 40 ส.ว." เปิดใจหากสภาไฟเขียว พ.ร.ก.เงินกู้ 4 แสนล้าน ประเทศวอดวายแน่ ชี้รู้ทั้งรู้ว่าไม่โปร่งใส แล้วเดินหน้าอนุมัติเพื่ออะไร ระบุกระบวนการปราบโกงทำงานชักช้าเหมือนเต่าคลาน เตรียมหันพึ่งรธน. มาตรา 762 วรรค 2 ให้อำนาจผู้ไต่สวนเทียบ ปปช. ช่วยสางปมทุจริต แจงหากกกต. มีมติให้ 16 ส.ว. ที่เอี่ยวถือหุ้นเอกชน พ้นสภาพ ก็พร้อมยอมรับ แต่เชื่อในความยุติธรรมของศาลรธน.
รายการ “คนในข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์เอเอสทีวี-ทีวีของประชาชน ช่วงเวลา 20.30-21.30 น. วันที่ 24 มิถุนายน โดยนางสาวรัตน์ติกรณ์ จารุเกษตรวิทย์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ได้มีการร่วมวิเคราะห์บทบาท ส.ว. ในการทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของรัฐบาลและบรรดา ส.ส. ซึ่งได้รับเกียรติจาก นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา แกนนำกลุ่ม 40 ส.ว. มาร่วมพูดคุย
นายไพบูลย์ กล่าวว่า วาระการทำหน้าที่ ส.ว. ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ จะดำรงตำแหน่งอยู่ที่คราวละ 6 ปี โดยที่มาของ ส.ว. มาจากการเลือกตั้งและสรรหา ซึ่งในระยะแรกๆ ต้องยอมรับว่ามีปัญหาเรื่องการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันบ้าง แต่หลังจากที่ได้ทำงานร่วมกัน ก็ได้มีการปรับตัวเข้าหากัน ทำให้แต่ละฝ่ายยอมรับซึ่งกันและกัน จนมี ส.ว. ท่านหนึ่งกล่าวว่า ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งจะเปรียบเสมือนตัวแทนของภาคประชาชน ส่วน ส.ว .สรรหา ถือเป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ ความสามารถเฉพาะด้าน ดังนั้น ถ้าหากนำสองส่วนมาทำงานร่วมกันก็จะถือวาเป็นมิติที่ดีในการเข้าถึงและรับรู้ปัญหาในพื้นที่ได้ดียิ่งขึ้น
ทั้งนี้ นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า ขณะเดียวกันก็มี ส.ว. ที่นอกจากจะปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถในสภาแล้ว ยังได้ข้อมูลข่าวที่เป็นประโยชน์มาแลกเปลี่ยนรวมกันอีกด้วย ซึ่งจุดนี้จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น มีอิสระในการตรวจสอบได้อย่างเต็มที่ โดยเฉพาะ ส.ว.เลือกตั้ง จะทำหน้าที่ในการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี เพราะรับรู้ปัญหามาตลอด ส่วน ส.ว.สรรหา ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ก็ทำหน้าที่อย่างไม่ต้องเกรงกลัวความการกดดันทางการเมือง
นายไพบูลย์ กล่าวถึงจุดเริ่มต้นของกลุ่ม 40 ส.ว. ว่า เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ ซึ่งมีหลายเรื่องที่ ส.ว. หรือคณะกรรมการคณะใดคณะหนึ่งลงมือทำฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงจำเป็นจะต้องมีการรวมตัว เพื่อปรึกษาหารือ อาทิ กรณีปราสาทเขาพระวิหาร การแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยเมื่อเกิดการรวมตัวกัน ก็จะมีการปรึกษาหารือว่าจะดำเนินการแก้ไขปัญหาอย่างไร โดยมีจุดยืนเน้นความถูกต้องและความยุติธรรมเป็นหลัก ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นได้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ จริงๆ แล้ว กลุ่ม 40 ส.ว. ไม่ได้มี ส.ว. แค่ 40 คน แต่มีประมาณ 50 คน ด้วยเหตุสื่อมวลชนเข้าใจผิด เพราะการแถลงข่าวครั้งแรกมี ส.ว. มาร่วม 40 คน จึงให้ฉายาว่า กลุ่ม 40 ส.ว.
ในส่วนกรณีการคัดค้านเช่า-ซื้อ รถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 4 พันคัน นายไพบูลย์ กล่าวว่า ตนมองว่าไม่ได้เป็นการก้าวก่ายหน้าที่ แต่เห็นว่า ครม. พิจารณาอนุมัติโครงการดังกล่าว ท่ามกลางเสียงคัดค้านจากหลายฝ่าย ดังนั้น จึงเกิดความเป็นห่วงว่าหากปล่อยให้อนุมัติไป ทั้งๆที่รู้ว่าไม่โปร่งใสจะเกิดความน่าเชื่อได้อย่างไร นอกจากนี้ ในมาตรา 3 ของ พ.ร.ก. กู้เงินฯ ได้ระบุถึงการให้อำนาจกระทรวงการคลัง และในมาตรา 4 ของ พ.ร.ก. ดังกล่าว ได้ให้อำนาจคณะรัฐมนตรีในการพิจารณาโครงการ โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากสภาเลย ฉะนั้น จะเอาอะไรมาเป็นหลักประกันวัดมาตรฐาน ถ้า พ.ร.ก.กู้เงินฯ 4 แสนล้านนี้ผ่านไปได้ แล้วไปใช้มาตรฐานที่ไม่ถูกต้อง ก็จะทำให้ประเทศวอดวายในที่สุด
นายไพบูลย์ กล่าวอีกว่า สาเหตุคว่ำ พ.ร.ก.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตร เดิมผ่านวิปวุฒิฯไปแล้ว ไม่มีข้อผิดปกติ แต่ปรากฏวาเข้าไปสู่การพิจารณา มีการอภิปราย จนสมาชิกวุฒิสภาไม่สบายใจ และตลอดเวลาเรื่อง พรก.เงินกู้ ทางรัฐมักจะชี้แจงว่า ประเทศเกิดวิกฤติจำเป็นต้องมีทุนเข้าไปอัดฉีด ซึ่งทางออกก็มีให้เลือกอยู่ 3 วีธี คือ เพิ่มภาษีให้มากขึ้น หรือขายทรัพย์สินของรัฐออกไป และวิธีที่ 3 คือการกู้เงิน รัฐบาลได้เลือกแก้ไขวิกฤติโดยวิธีที่ 3 คือการกู้เงิน แต่ปรากฏว่าในการประชุมวุฒิสภา มี พ.ร.ก. เกี่ยวกับการขึ้นภาษีน้ำมันเข้ามาพิจารณา ทั้งที่ก่อนหน้าเคยบอกว่าจะไม่เอาเรื่องของภาษีขึ้นมาพิจารณา จะอ้างว่าประชาชนไม่เดือดร้อนไม่ได้ การที่รัฐมนตรีอธิบายว่าในระยะ 6 เดือนแรกจะนำเงินกองทุนจ่ายให้ก่อนประชาชนจะไม่เดือดร้อน แต่พูดไม่หมดว่า หลังจาก 6 เดือนแล้วจะให้ประชาชนรับผิดชอบ อย่างนี้เป็นหารซ้ำเติมประชาชน และตรงนี้ไม่ใช่เป็นหารหักหน้ารัฐบาล แต่เป็นหน้าที่ของ ส.ว. ที่ต้องกลั่นกรองแล้วแสดงความเห็นออกไป ซึ่งผลออกมาเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วย อันนี้ถือเป็นสิ่งดีที่รัฐบาลจะได้จำไว้เตือนสติ ลั่นหาก ส.ว. ชุดนี้ยังดำรงค์ตำแหน่งอยู่ ก็จะมีการตรวจสอบอย่างเข้มข้น ในทุกรัฐบาลไม่ใช่เฉพาะแต่รัฐบาลชุดนี้
นายไพบูลย์ กล่าวฝากถึงคณะรัฐมนตรี ที่นำเสนอ พ.ร.ก.เงินกู้อย่านำเสนอเงินกู้ครั้งละ 8 แสนล้านบาทในทีเดียว เพราะพิจารณาคราวละ 4 แสนก็ยุ่งพอแล้ว บังเอิญ พ.ร.บ. ก็เข้ามาในสภาในเวลาเดียวกันอีก อันนี้จะสร้างปัญหาให้วุฒิสภาอย่างมาก เหตุเวลาอภิปรายบางครั้งพิจารณา พ.ร.ก.4 แสนล้าน แต่พออภิปรายดันไปโจมตีเกี่ยวกับเรื่อง พ.ร.บ. โดยไม่รู้ตัว เช่นบอกว่าใช้งบประมาณรถไฟฟ้า ตรงนี้อยู่ในพ.ร.บ. ไม่ได้อยู่ใน พ.ร.ก. ซึ่งประเด็นรายละเอียดเล็กๆน้อยๆนี้ก็อาจเป็นสาเหตุทำให้การอภิปรายล้มได้ คาด พ.ร.ก. 4 แสนล้าน จะนำเข้าสู้สภาในสมัยนิติบัญญัติ ในวันจันทร์ 3 ส.ค. ในเบื้องต้นคิดว่าน่าจะรับร่าง แล้วนำมาศึกษาในชั้นกรรมาธิการ หากมีผู้ที่ไม่สบายใจก็จะได้แก้ไข อย่างไรก็ดี พ.ร.ก. เรามีอำนาจให้ความเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบเท่านั้น ตั้งกรรมาธิการไม่ได้ ทั้งนี้ใน พ.ร.ก .ให้อำนาจกระทรวงการคลังฟื้นฟู เสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ แต่ร่างพระราชบัญญัติให้อำนาจ ฟื้นฟูเศรษฐกิจอย่างเดียว ซึ่งฟื้นฟูเศรษฐกิจก็มีมุมมองแตกต่างกัน ว่ามากไปป่าวหรือน้อยไป ซึ่งก็ไม่น่าจะไม่ให้ความเห็นชอบแล้วส่งคืนไปเลย เพราะเท่ากับเป็นหารเสียประโยชน์ในการทำหน้าที่ เพราะอย่างน้อยก็ได้มีการตรวจสอบก่อน
นายไพบูลย์ กล่าวถึงการตรวจสอบ พ.ร.ก. กู้เงิน ส่วนใหญ่เป็นเงินลงทุนในโคลงการต่างๆ โดยกระจายไปผู้รับเหมา กระทรวง ทบวง กรม เม็ดเงินตรงนี้จะหายไปตามเส้นทางที่ไป ซึ่งมันไม่ค่อยโปร่งใส ประชาชนก็จะได้รับประโยชน์ไม่มากนัก โดยส่วนตัวสนับสนุนโคลงการณ์เช็คช่วยชาติ เพราะนักการเมืองจะเข้าไปแสวงหาผลประโยชน์ตรงนี้ไม่ได้ ประชาชนก็จะได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย ส่วนประเด็นปัญหาภาคใต้ นายไพบูลย์ ติงว่ารัฐบาลน่าจะแก้ไขปัญหาให้ได้เร็วกว่านี้ งบประมาณที่รัฐให้ไปต้องผ่านกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งล่าช้ามาก กว่าถั่วจะสุกงาก็ไหม้แล้ว ดังนั้นถ้ารัฐจัดงบตรงถึงหมู่บ้านแล้วให้ประชาชนไปจัดสันกันเอง ก็จะเข้าถึงเจตนารมณ์กว่า
นายไพบูลย์ กล่าวต่อว่า หลังจากที่ติดตาม เรื่องกระบวนการปราบปรามการทุจริตที่ผ่านมา ปปช. ทำงานล่าช้ามาก ต้องตั้งคณะอนุกรรมการ เอากรรมการแต่ละท่านไปกรรมการ ปปช. ไปเป็นประธานอนุฯ ซึ่งเห็นว่าโครงสร้างดังกล่าวเป็นไปไม่ได้ที่จะรับเรื่องราวต่างๆ ซึ่งมีจำนวนมาก ดังนั้นเราจึงหันไปพึ่งรัฐธรรมนูญมาตรา 276 วรรค 2 ที่ให้อำนาจผู้ไต่สวนอิสระทำหน้าที่เหมือน ปปช. ซึ่งการดำเนินคดีจะเร็วกว่า และจะดูเฉพาะเรื่องไปจนสิ้นสุดดี แต่อย่างไรก็ดีต้องเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ ปรากฏว่าทางฝ่าย สส. ไม่ผ่านกฎหมายฉบับนี้โดยขณะนี้ยังเตะถ่วงกันอยู่ ตรงนี้กลุ่ม 40 ส.ว. มีแผนเตรียมหารือว่าจะให้มีการเร่งให้ผ่านกฏหมายฉบับนี้มา อย่างเช่นกรณี ปปช. ทำงานล่าช้าหรือมีมติไม่รับเรื่อง ให้ส่งผ่านไปให้ศาลฎีกาพิจารณาแต่งตังผู้ไต่สวนอิสระได้ เช่นกรณี 7 ต.ค. มีประชาชนบาดเจ็บ เสียชีวิต ทำไมถึงล่าช้า แล้วจะเอาคนผิดมาลงโทษได้อย่างไร
นายไพบูลย์ ชมรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถ้าเปรียบเทียบกับรัฐบาลนายสมัคร หรือรัฐบาลนายสมชาย นั้นดีกว่ามาก สามารถทำให้วิกฤติเศรษฐกิจทรงตัว ตรงนี้ถือว่าเป็นผลงาน ซึ่งถ้าเป็นช่วงขาขึ้นอาจเห็นผลงานได้ง่ายกว่านี้ แต่นี้เป็นช่วงลง โดยจุดแข็งของรัฐบาลชุดนี้ อยู่ที่ตัวนายกฯ ที่สังคมให้ความยอมรับเชื่อถือ เป็นภาวะผู้นำได้ ไว้วางใจได้ พร้อมเตือนนายกฯ อายุยังน้อยไม่ว่าจะทำอะไรก็ตาม ต้องมองอนาคตข้างหน้าไว้ อย่าคิดเพียงแค่เอาตัวรอดไปวันๆ หรือเข้ารับตำแหน่งเพื่อเป็นเกียรติยศ เพราะยังสามารถกลับมาเป็นนายกฯ ได้อีกหลายครั้ง ดังนั้นหากตัดสินใจ จะอะไรให้ทำเพื่อประเทศ ซึ่งตรงนี้จะเป็นตัวชี้วัด ว่านายกฯ จะสามารถเป็นเสาหลักในการประคองพัฒนาประเทศให้ก้าวหน้าได้หรือไม่ ส่วนจุดอ่อนของรัฐบาล มีพรรคร่วมที่มาจากการเมืองเก่า เข้ามาก็หวังจะแบ่งเค้ก อาศัยความเคยชินในสมัยก่อน แต่เมื่อโดนคัดค้านก็จะไม่พอใจ ซึ่งอาจทำให้เสถียรภาพของรัฐบาลมีปัญหา
นายไพบูลย์ กล่าวว่า กรณีที่ กกต.มีมติให้ 16 ส.ว. สิ้นสมาชิกภาพไม่ส่งผลกระทบกับการปฏิบัติหน้าที่ โดยในนี้มีสมาชิกกลุ่ม 40 สว. อยู่เพียง 6 ท่าน แต่นี้ไปการดำเนินคดีทาง กกต. จะต้องส่งเรื่องให้ประธานวุฒิ จากนั้นจะมีการส่งไปยังศาลรัฐธรรานูญ ซึ่งทาง ส.ว. คงมีเวลาเตรียมตัวว่าจะดำเนินการอย่างไร ตนเชื่อในความยุติธรรมของศาลรัฐธรรมนูญในการวินิจฉัย กรณีมีข่าวว่า 16 ส.ว. มีการหารือร่วมกัน เพื่อหาหลักฐานต่างๆไปชี้แจงรัฐธรรมนูญ ตรงนี้ไม่ใช่การประชุม16 ส.ว. แต่เป็นการประชุมของคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมาย ศึกษาเกี่ยวกับข้อที่ว่า ส.ว. ขาดเกินร้อยละ5 จะมีผลทำให้วุฒิสภาต้องหยุดปฏิบัติหน้าที่หรือไม่ รวมถึงเรื่องหุ้นที่มีข้อมูลใหม่ๆเข้ามาซึ่งต้องนำมาศึกษากัน และการที่ 16 ส.ว. สิ้นสภาพ ไม่ทำให้เกิดระบบสูญญากาศ เพราะข้อกฎหมายเกี่ยวกับการสิ้นสภาพในวรรค 4 จะต้องมี 95 % ถึงจะดำเนินการได้ แต่ในวรรค 3 ก็อีกแแบบหนึ่ง ซึ่งในกรณี 16 ส.ว. เข้าข่ายกรณีที่ 3 ให้เลือกสมาชิกเข้ามาดำรงค์ตำแหน่งแทนตำแหน่งที่ว่างลงได้ เชื่อการถือหุ้นของ ส.ว. และ ส.ส. ไม่มีเจตนาทุจริต และทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะก่อนที่ มีเจ้าหน้าที่ ปปช.เข้ามาชี้แจงถึงเรื่องการนำเสนอบัญชีทรัพย์สิน โดย ส.ว.ได้ถามถึงหุ่นต่างๆ ว่าสามารถเข้าถือได้หรือไม่ ทางเจ้าหน้าที่ก็บอกว่าได้