กระทรวงการคลังแจงกรรมาธิการงบ ยันมาตรการกระตุ้นระยะ 1 ได้ผลช่วยพยุงเศรษฐกิจ ชี้ พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิตน้ำมันไม่ผ่านสภา ไม่กระทบประมาณการรายได้รัฐบาล แจงมาตรการรองรับรีดรายได้จากรัฐวิสาหกิจเพิ่ม
วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โดยมีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองประธานกรรมาธิการ ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยที่ประชุมมีการพิจารณาภาพรวมของงบประมาณโดยกรรมาธิการส่วนใหญ่สนใจสอบถามตัวแทนจากกระทรวงการคลังถึงปัญหาการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ความคืบหน้าในการเบิกจ่ายงบประมาณและผลจาก พ.ร.ก. และร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวชี้แจงว่าภายหลังจากที่ได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พ.ศ.2552 จำนวน 1.16 แสนล้านบาท โดยในส่วนโครงการเช็คช่วยชาติ ได้พบว่ารัฐมีรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ประมาณการไว้เพียง 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านโยบายการเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน ถือว่ามีผลสัมฤทธิ์ที่น่าพอใจ ทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น และแม้มาตรการในระยะแรกไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจที่รุนแรง แต่สามารถพยุงและชะลอการตกต่ำของเศรษฐกิจได้ดีระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ สศค.ได้มีการประมาณการไว้ว่าจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจระยะแรก จะทำให้บริษัท ห้างหุ้นส่วนมีกำไรเพิ่มขึ้นจนสามารถจัดเก็บภาษีนิติบุคคลได้ราว 650 ล้านบาท และมีรายได้จากการเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันอีก 1.5 หมื่นล้านบาท ดังนั้น โดยภาพรวมจะทำให้รัฐมีรายได้จากภาษีประมาณการ 1.9 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการอื่นๆ แล้ว คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.9% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ สศค.พอใจในระดับหนึ่ง
ส่วนข้อสงสัยในการเตรียมหารายได้หรือมาตรการรองรับกรณี พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา นายสมชัยกล่าวว่า สศก.ประเมินรายได้จากการเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่ประเมินไว้ที่ประมาณ 70,000 ล้านบาท โดยประมาณการดังกล่าวไม่ได้นำไปรวมกับประมาณการรายได้ปี 2553 ที่กำหนดไว้ 1.35 ล้านล้านบาท เนื่องจากประมาณการรายได้จากภาษีสรรพสามิตเป็นการเพิ่มขึ้นในภายหลัง ดังนั้น ถึงแม้จะไม่มี พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิตฯ การจัดเก็บรายได้จะไม่มีผลกระทบต่อประมาณการรายได้ที่กำหนดไว้ ส่วนหากการจัดเก็บรายได้หากไม่เป็นไปตามเป้า 1.35 ล้านล้านบาท กระทรวงการคลังกำลังมองไปที่ผู้เสียภาษีที่อยู่นอกระบบภาษี ให้มาเสียภาษีให้ได้ โดยแนวทางนี้ถือว่ามีความเป็นธรรมที่สุดเนื่องจากไม่มีการขยายฐานภาษีแต่ทำให้การจัดเก็บรายได้เป็นมีความเป็นธรรมมากขึ้น นอกจากนี้กระทรวงยังมีเครื่องมีในการหารายได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มรายได้เข้าคลัง
“กำไรในรัฐวิสาหกิจแต่ละปีค่อนข้างสูงรายได้จากรัฐวิสาหกิจทั้งระบบอยู่ที่ 80,000 กล่าวล้านบาท โดยมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ ส่วนต่อมายังมีรายได้จากที่ราชพัสดุ 12.5 ล้านไร่ ที่มีมูลค่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนนี้จะไปเพิ่มรายได้ในส่วนที่ไมใช่ภาษีได้อีกส่วนหนึ่งกรณีการจัดเก็บภาษีมีปัญหา มาตรการสุดท้ายคือการนำเอาเงินคงคลังมาใช้ หรือเพิ่มภาษีในส่นที่ควรจะเพิ่มซึ่งถือเป็นทางเลือกสุดท้าย” นายสมชัย กล่าว
ขณะที่ นายซูการ์โน มะทา ส.ส.นราธิวาส กมธ.จากพรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตถึงการใช้งบประมาณของรัฐบาลในโครงการช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้ประชาชน โดยเห็นว่าแต่ละโครงการไม่ได้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลระบุไว้ โดยเฉพาะโครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐบาลได้ประเมินกันไว้หรือไม่ว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ สามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลจริง ซึ่งถ้ามีการประเมินขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแสดงเอกสารหลักฐานการจัดเก็บรายได้ของรัฐที่ชัดเจนให้กรรมาธิการทราบด้วย
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการติดตามสถานการณ์การคลัง โดยได้ตั้งคณะกรรมการประเมินผลทั้งรายวันและรายสัปดาห์ก่อนที่จะเสนอให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังรับทราบ ซึ่งขณะนี้มีการปรับปรุงฐานรายได้ใหม่ ดังนั้นมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าที่วางเอาไว้
“แนวทางการจัดเก็บภาษีให้เป็นไปตามเป้ามีหลายวิธี อาทิ ขยายฐานภาษี เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี และการเพิ่มภาษีบางตัวซึ่งมาตรการนี้จะเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะดำเนินการ นอกจากนี้ยังสามารถหารายได้เพิ่มเติมจากรัฐวิสาหกิจ ราชพัสดุ และกรมธนารักษ์ด้วย” นายสถิตกล่าว
วันนี้ (24 มิ.ย.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2553 โดยมีนายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองประธานกรรมาธิการ ทำหน้าที่ประธานการประชุม โดยที่ประชุมมีการพิจารณาภาพรวมของงบประมาณโดยกรรมาธิการส่วนใหญ่สนใจสอบถามตัวแทนจากกระทรวงการคลังถึงปัญหาการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาล ความคืบหน้าในการเบิกจ่ายงบประมาณและผลจาก พ.ร.ก. และร่าง พ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อฟื้นฟูและเสริมสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวชี้แจงว่าภายหลังจากที่ได้มีการกระตุ้นเศรษฐกิจระยะที่ 1 ผ่าน พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม พ.ศ.2552 จำนวน 1.16 แสนล้านบาท โดยในส่วนโครงการเช็คช่วยชาติ ได้พบว่ารัฐมีรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม 3 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่ประมาณการไว้เพียง 2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งจากตัวเลขดังกล่าวแสดงให้เห็นว่านโยบายการเพิ่มกำลังซื้อให้กับประชาชน ถือว่ามีผลสัมฤทธิ์ที่น่าพอใจ ทำให้รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้เพิ่มขึ้น และแม้มาตรการในระยะแรกไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจที่รุนแรง แต่สามารถพยุงและชะลอการตกต่ำของเศรษฐกิจได้ดีระดับหนึ่ง
นอกจากนี้ สศค.ได้มีการประมาณการไว้ว่าจากงบกระตุ้นเศรษฐกิจระยะแรก จะทำให้บริษัท ห้างหุ้นส่วนมีกำไรเพิ่มขึ้นจนสามารถจัดเก็บภาษีนิติบุคคลได้ราว 650 ล้านบาท และมีรายได้จากการเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันอีก 1.5 หมื่นล้านบาท ดังนั้น โดยภาพรวมจะทำให้รัฐมีรายได้จากภาษีประมาณการ 1.9 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมจากการกระตุ้นเศรษฐกิจในโครงการอื่นๆ แล้ว คาดว่าจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจได้ 0.9% ซึ่งเป็นตัวเลขที่ สศค.พอใจในระดับหนึ่ง
ส่วนข้อสงสัยในการเตรียมหารายได้หรือมาตรการรองรับกรณี พ.ร.ก.แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.พิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ.2527 ที่ไม่ผ่านความเห็นชอบของสภา นายสมชัยกล่าวว่า สศก.ประเมินรายได้จากการเพิ่มภาษีสรรพสามิตน้ำมันที่ประเมินไว้ที่ประมาณ 70,000 ล้านบาท โดยประมาณการดังกล่าวไม่ได้นำไปรวมกับประมาณการรายได้ปี 2553 ที่กำหนดไว้ 1.35 ล้านล้านบาท เนื่องจากประมาณการรายได้จากภาษีสรรพสามิตเป็นการเพิ่มขึ้นในภายหลัง ดังนั้น ถึงแม้จะไม่มี พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิตฯ การจัดเก็บรายได้จะไม่มีผลกระทบต่อประมาณการรายได้ที่กำหนดไว้ ส่วนหากการจัดเก็บรายได้หากไม่เป็นไปตามเป้า 1.35 ล้านล้านบาท กระทรวงการคลังกำลังมองไปที่ผู้เสียภาษีที่อยู่นอกระบบภาษี ให้มาเสียภาษีให้ได้ โดยแนวทางนี้ถือว่ามีความเป็นธรรมที่สุดเนื่องจากไม่มีการขยายฐานภาษีแต่ทำให้การจัดเก็บรายได้เป็นมีความเป็นธรรมมากขึ้น นอกจากนี้กระทรวงยังมีเครื่องมีในการหารายได้ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพรัฐวิสาหกิจเพื่อเพิ่มรายได้เข้าคลัง
“กำไรในรัฐวิสาหกิจแต่ละปีค่อนข้างสูงรายได้จากรัฐวิสาหกิจทั้งระบบอยู่ที่ 80,000 กล่าวล้านบาท โดยมีความเป็นไปได้ที่จะเพิ่มรายได้ให้มากขึ้นด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ ส่วนต่อมายังมีรายได้จากที่ราชพัสดุ 12.5 ล้านไร่ ที่มีมูลค่า 2 ล้านล้านบาท ซึ่งส่วนนี้จะไปเพิ่มรายได้ในส่วนที่ไมใช่ภาษีได้อีกส่วนหนึ่งกรณีการจัดเก็บภาษีมีปัญหา มาตรการสุดท้ายคือการนำเอาเงินคงคลังมาใช้ หรือเพิ่มภาษีในส่นที่ควรจะเพิ่มซึ่งถือเป็นทางเลือกสุดท้าย” นายสมชัย กล่าว
ขณะที่ นายซูการ์โน มะทา ส.ส.นราธิวาส กมธ.จากพรรคเพื่อไทย ตั้งข้อสังเกตถึงการใช้งบประมาณของรัฐบาลในโครงการช่วยแบ่งเบาภาระค่าครองชีพให้ประชาชน โดยเห็นว่าแต่ละโครงการไม่ได้เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจตามที่รัฐบาลระบุไว้ โดยเฉพาะโครงการเช็คช่วยชาติ 2,000 บาท ทั้งนี้ หน่วยงานของรัฐบาลได้ประเมินกันไว้หรือไม่ว่าโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ สามารถสร้างรายได้ให้กับรัฐบาลจริง ซึ่งถ้ามีการประเมินขอให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแสดงเอกสารหลักฐานการจัดเก็บรายได้ของรัฐที่ชัดเจนให้กรรมาธิการทราบด้วย
นายสถิตย์ ลิ่มพงศ์พันธุ์ ปลัดกระทรวงการคลัง ชี้แจงว่า กระทรวงการคลังได้ให้ความสำคัญกับการติดตามสถานการณ์การคลัง โดยได้ตั้งคณะกรรมการประเมินผลทั้งรายวันและรายสัปดาห์ก่อนที่จะเสนอให้ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลังรับทราบ ซึ่งขณะนี้มีการปรับปรุงฐานรายได้ใหม่ ดังนั้นมั่นใจว่ารัฐบาลจะสามารถจัดเก็บภาษีได้ตามเป้าที่วางเอาไว้
“แนวทางการจัดเก็บภาษีให้เป็นไปตามเป้ามีหลายวิธี อาทิ ขยายฐานภาษี เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดเก็บภาษี และการเพิ่มภาษีบางตัวซึ่งมาตรการนี้จะเป็นมาตรการสุดท้ายที่จะดำเนินการ นอกจากนี้ยังสามารถหารายได้เพิ่มเติมจากรัฐวิสาหกิจ ราชพัสดุ และกรมธนารักษ์ด้วย” นายสถิตกล่าว