คลังตีปีกยอดจัดเก็บรายได้พฤษภาคม 2.17 แสนล้านบาทสูงกว่าเป้าเป็นครั้งแรกของปี เชื่อทั้งปีรายได้รวมต่ำกว่าที่คาดไว้เดิม 2.8 แสนล้านแน่นอน ระบุ 4 เดือนท้ายของปีมีปัจจัยบวกหนุนเพียบทั้ง ภาษีน้ำมัน สุรา ยาสูบ การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มไม่ได้ต่ำกว่าที่คาดไว้มากและการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่มีแนวโน้มลดลง
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนพฤษภาคม 2552 ว่า รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 2.17 แสนล้านบาทต่ำกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว 5.99 หมื่นล้านบาท หรือ 21.6% โดยมีภาษีที่สำคัญที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ได้แก่
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้ 8.57 หมื่นล้านบาทและ 4.57 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 5.38 หมื่นล้านบาทและ 9.1 พันล้านบาท หรือ 38.6% และ 16.6% ตามลำดับ เนื่องจากวันสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีจากผลกำไรสุทธิ รอบสิ้นปีบัญชีปี 2551 ตรงกับวันหยุด จึงได้มีการเลื่อนระยะเวลาการยื่นชำระภาษีวันสุดท้ายเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2552 ทำให้มีรายได้ส่วนหนึ่งเหลื่อมไปอยู่ในเดือนมิถุนายน 2552 ประกอบกับผลประกอบการในครึ่งปีหลังของปี 2551 ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณภาษีชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงด้วย
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 3.25 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 8.1 พันล้านบาท หรือ 20.0% โดยเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าที่จัดเก็บได้ต่ำกว่า เดือนเดียวกันปีที่แล้วถึง 39.2% เป็นสำคัญ เพราะได้รับผลกระทบจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่หดตัวลง ด้านอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 4.8 พันล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2.7 พันล้านบาท หรือ 35.8% เนื่องจากการหดตัวลงของมูลค่าการนำเข้า
แต่อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีน้ำมัน ภาษีสุรา และภาษีเบียร์ ในเดือนนี้สูงกว่าเดือน เดียวกันปีที่แล้ว 56.8% 25.9% และ 10.0% ตามลำดับ เนื่องจากผลของการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตของสินค้าดังกล่าว
โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 8.74 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.6 แสนล้านบาท หรือ 15.5% เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลัก ที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วโดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติ บุคคลและเงินได้ปิโตรเลียมจากกำไรสุทธิของกรมสรรพากร เนื่องจากมีการเหลื่อมเวลาในการยื่นชำระภาษีดังกล่าว นอกจากนี้ การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วอีกด้วย
สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้ กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 7 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.19 แสนล้านบาท หรือ 14.6% โดยเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการยืดระยะเวลาการยื่นชำระภาษีจากผลกำไรครึ่งปีหลังของปี 2551 ไปอีก 1 วัน เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2552 จึงทำให้มีรายได้ส่วนหนึ่งเหลื่อมไปอยู่ในเดือนมิถุนายน 2552 นอกจากนี้ การส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศก็ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วด้วยเช่นกัน และการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าและการบริโภคในประเทศที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวลงและการบริโภคของประชาชนที่ชะลอตัวลงตามสภาวะของเศรษฐกิจ
กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 1.79 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.5 หมื่นล้านบาท หรือ 8.0% สาเหตุสำคัญมาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมันและภาษีรถยนต์ที่ต่ำกว่าช่วง เดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ กรณีภาษีน้ำมันเป็นผลจากมาตรการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอล์ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 และกรณีภาษีรถยนต์เป็นผลจากการที่ประชาชนชะลอการซื้อสินค้าคงทน ประกอบกับสถาบันการเงินระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้น
กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 5.27 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.21 หมื่นล้านบาท หรือ 18.8% เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.24 หมื่นล้านบาท หรือ 19.6% เป็นผลจากการหดตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าเป็นสำคัญ โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 22.2% และ 17.8% ตามลำดับ
ส่วนรัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 5.65 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.26 หมื่นล้านบาท หรือ 18.3% โดยมีรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูง 5 อันดับแรก ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ธนาคารออมสิน บมจ. กสท.โทรคมนาคม และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามลำดับ ขณะที่หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 5.78 หมื่นล้าน สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 7.5 พันล้านบาท หรือ 15.0% เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ทั้งในส่วนของส่วนราชการอื่นและกรมธนารักษ์สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
สำหรับการคืนภาษีของกรมสรรพากร 1.43 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 10.9% ประกอบด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 1.12 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.6 พันล้านบาท หรือ 2.4% และการคืนภาษีอื่น จำนวน 3.12 หมื่นล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.14 หมื่นล้านบาท หรือ 57.7% เนื่องจากการคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ค่อนข้างสูง
นายสมชัย สัจจพงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยถึงผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลประจำเดือนพฤษภาคม 2552 ว่า รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 2.17 แสนล้านบาทต่ำกว่าเดือนเดียวกัน ปีที่แล้ว 5.99 หมื่นล้านบาท หรือ 21.6% โดยมีภาษีที่สำคัญที่จัดเก็บได้ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว ได้แก่
ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้ปิโตรเลียมจัดเก็บได้ 8.57 หมื่นล้านบาทและ 4.57 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 5.38 หมื่นล้านบาทและ 9.1 พันล้านบาท หรือ 38.6% และ 16.6% ตามลำดับ เนื่องจากวันสุดท้ายของการยื่นชำระภาษีจากผลกำไรสุทธิ รอบสิ้นปีบัญชีปี 2551 ตรงกับวันหยุด จึงได้มีการเลื่อนระยะเวลาการยื่นชำระภาษีวันสุดท้ายเป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2552 ทำให้มีรายได้ส่วนหนึ่งเหลื่อมไปอยู่ในเดือนมิถุนายน 2552 ประกอบกับผลประกอบการในครึ่งปีหลังของปี 2551 ซึ่งเป็นฐานในการคำนวณภาษีชะลอตัวลงตามภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงด้วย
ส่วนภาษีมูลค่าเพิ่มจัดเก็บได้ 3.25 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 8.1 พันล้านบาท หรือ 20.0% โดยเป็นผลจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าสินค้าที่จัดเก็บได้ต่ำกว่า เดือนเดียวกันปีที่แล้วถึง 39.2% เป็นสำคัญ เพราะได้รับผลกระทบจากมูลค่าการนำเข้าสินค้าที่หดตัวลง ด้านอากรขาเข้าจัดเก็บได้ 4.8 พันล้านบาท ต่ำกว่าเดือนเดียวกันปีที่แล้ว 2.7 พันล้านบาท หรือ 35.8% เนื่องจากการหดตัวลงของมูลค่าการนำเข้า
แต่อย่างไรก็ดี การจัดเก็บภาษีน้ำมัน ภาษีสุรา และภาษีเบียร์ ในเดือนนี้สูงกว่าเดือน เดียวกันปีที่แล้ว 56.8% 25.9% และ 10.0% ตามลำดับ เนื่องจากผลของการปรับเพิ่มอัตราภาษีสรรพสามิตของสินค้าดังกล่าว
โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ 8.74 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.6 แสนล้านบาท หรือ 15.5% เป็นผลจากการจัดเก็บภาษีของ 3 กรมหลัก ที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วโดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติ บุคคลและเงินได้ปิโตรเลียมจากกำไรสุทธิของกรมสรรพากร เนื่องจากมีการเหลื่อมเวลาในการยื่นชำระภาษีดังกล่าว นอกจากนี้ การนำส่งรายได้ของรัฐวิสาหกิจที่ ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วอีกด้วย
สำหรับผลการจัดเก็บรายได้ตามหน่วยงานจัดเก็บสรุปได้ ดังนี้ กรมสรรพากร จัดเก็บได้รวม 7 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.19 แสนล้านบาท หรือ 14.6% โดยเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการยืดระยะเวลาการยื่นชำระภาษีจากผลกำไรครึ่งปีหลังของปี 2551 ไปอีก 1 วัน เป็นวันที่ 1 มิถุนายน 2552 จึงทำให้มีรายได้ส่วนหนึ่งเหลื่อมไปอยู่ในเดือนมิถุนายน 2552 นอกจากนี้ การส่งค่าบริการและจำหน่ายกำไรไปต่างประเทศก็ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้วด้วยเช่นกัน และการเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มจากการนำเข้าและการบริโภคในประเทศที่ต่ำกว่าช่วงเดียวกัน ปีที่แล้ว อันเนื่องมาจากมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวลงและการบริโภคของประชาชนที่ชะลอตัวลงตามสภาวะของเศรษฐกิจ
กรมสรรพสามิต จัดเก็บได้รวม 1.79 แสนล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.5 หมื่นล้านบาท หรือ 8.0% สาเหตุสำคัญมาจากการจัดเก็บภาษีน้ำมันและภาษีรถยนต์ที่ต่ำกว่าช่วง เดียวกันปีที่แล้ว ทั้งนี้ กรณีภาษีน้ำมันเป็นผลจากมาตรการลดอัตราภาษีน้ำมันดีเซลและแก๊สโซฮอล์ ในช่วง 4 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 และกรณีภาษีรถยนต์เป็นผลจากการที่ประชาชนชะลอการซื้อสินค้าคงทน ประกอบกับสถาบันการเงินระมัดระวังในการให้สินเชื่อมากขึ้น
กรมศุลกากร จัดเก็บได้รวม 5.27 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.21 หมื่นล้านบาท หรือ 18.8% เนื่องจากอากรขาเข้าจัดเก็บได้ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.24 หมื่นล้านบาท หรือ 19.6% เป็นผลจากการหดตัวของมูลค่าการนำเข้าสินค้าเป็นสำคัญ โดยในช่วง 8 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2552 มูลค่าการนำเข้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินบาทต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 22.2% และ 17.8% ตามลำดับ
ส่วนรัฐวิสาหกิจ นำส่งรายได้ 5.65 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.26 หมื่นล้านบาท หรือ 18.3% โดยมีรัฐวิสาหกิจที่นำส่งรายได้สูง 5 อันดับแรก ได้แก่ สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล การไฟฟ้าฝ่ายผลิต ธนาคารออมสิน บมจ. กสท.โทรคมนาคม และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ตามลำดับ ขณะที่หน่วยงานอื่น นำส่งรายได้รวม 5.78 หมื่นล้าน สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 7.5 พันล้านบาท หรือ 15.0% เนื่องจากการจัดเก็บรายได้ทั้งในส่วนของส่วนราชการอื่นและกรมธนารักษ์สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
สำหรับการคืนภาษีของกรมสรรพากร 1.43 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 10.9% ประกอบด้วยการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำนวน 1.12 แสนล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 2.6 พันล้านบาท หรือ 2.4% และการคืนภาษีอื่น จำนวน 3.12 หมื่นล้านบาท สูงกว่าช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 1.14 หมื่นล้านบาท หรือ 57.7% เนื่องจากการคืนภาษีเงินได้นิติบุคคลที่ค่อนข้างสูง