ที่ประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ สรุปผลศึกษาแก้ไข รธน.ยื่นต่อนายกรัฐมนตรี ในช่วงบ่ายวันนี้ แย้มไต๋ไม่กล้าสรุปแก้มาตรา 309 เข้าไปในข้อเสนอ แค่เป็นความเห็นบัญชีแนบท้าย พร้อมคืนสิทธิและความเป็นธรรม ให้กก.บห.พรรคที่ถูกยุบ
วันนี้ (16 มิ.ย.) ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ประธานคณะกรรมการฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในประเด็นที่คณะกรรมการฯ ได้สรุปแล้ว เพื่อเตรียมส่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเสนอต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เพื่อยื่นต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
นายดิเรกได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่ที่ประชุมมอบหมายให้ไปหารือกับประธานรัฐสภาถึงการทำพิธีส่งมอบหนังสือสรุปของคณะกรรมการฯ และส่งต่อให้นายกฯ นั้น บังเอิญได้พบกับประธานรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีพอดี ซึ่งนายชัยรับปากที่จะให้ทำพิธีส่งมอบในวันที่ 16 ก.ค.เวลา 13.30 น.ที่รัฐสภาต่อหน้าสื่อมวลชน นอกจากนี้ เมื่อเสร็จพิธีแล้วนายชัยจะส่งมอบให้นายกรัฐมนตรีทันทีด้วย และถือเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลต่อไป อีกทั้งนายกรัฐมนตรีก็แสดงความโปร่งใสโดยได้รับปากทันที อย่างไรก็ตาม นายชัยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เสนอทางออกทางการเมือง อีกทั้งยังแนะนำให้จัดพิมพ์ 1 พันเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับสถาบันอุดมศึกษาด้วย
ด้าน นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ได้เสนอต่อที่ประชุมว่ายังติดใจรัฐธรรมนูญ 2550 ในมาตรา 309 โดยอยากให้ใส่ไว้ในข้อสรุปของคณะกรรมการฯด้วย ขณะที่นายประยุทธ ศิริพาณิชย์ กรรมการจากพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า มาตรา 309 เป็นบทบัญญัติที่เข้าใจว่าเป็นการนิรโทษกรรม จึงน่าจะไปอยู่ในกฎหมายธรรมดา ไม่ใช่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะทำให้การบังคับใช้รัฐธรรมนูญมีปัญหา เนื่องจากกลุ่มนี้ทำอะไรไม่ผิดกฎหมายนั้นมันไม่ถูกต้อง ซึ่งมีกรรมการฯหลายคนได้คัดค้านขึ้น อาทิ นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ระบุว่า ขณะนี้เลยขั้นตอนเสนอประเด็นต่างๆ ในชั้นคณะอนุกรรมการฯแล้ว ถ้าเสนอเข้ามาในที่ประชุมใหญ่แบบนี้จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ ทำให้นายดิเรกต้องตัดบทว่าจะนำไปหารือกันในช่วงท้ายของการประชุมในวันที่ 17 มิ.ย. เพื่อบันทึกเป็นความเห็นเฉยๆ เพราะประเด็นต่างๆ ที่จะเสนอ
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้มีการพิจารณาปรับถ้อยคำผลสรุปของคณะอนุกรรมการฯทั้ง 3 ชุด โดยเริ่มจากคณะอนุกรรมการสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย ที่มีนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแนวทางสมานฉันท์ โดยเฉพาะในแนวทางปฏิบัติการดำเนินการระยะเร่งด่วน ผลักดัน สนับสนุน ส่งเสริมภารกิจแนวทางสมานฉันท์ไปสู่กระบวนการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้ ที่ประชุมมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในถ้อยคำที่ว่า “คืนความชอบธรรม”ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบและถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น โดยนายสุรพล นิติไกรพจน์ กรรมการฯ ได้เสนอให้ใช้คำว่า “คืนสิทธิ” แทนคำว่า “คืนความชอบธรรม” แต่ที่ประชุมมีการเสนอให้เพิ่มเป็น “คืนสิทธิและความเป็นธรรม” เข้าไปด้วย ซึ่งในที่สุดแล้วที่ประชุมก็ได้เห็นชอบให้ใช้คำว่า “คืนสิทธิและความเป็นธรรม”
วันนี้ (16 มิ.ย.) ที่รัฐสภา ในการประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยมีนายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี ประธานคณะกรรมการฯ ทำหน้าที่เป็นประธานในการประชุม เพื่อตรวจสอบความถูกต้องในประเด็นที่คณะกรรมการฯ ได้สรุปแล้ว เพื่อเตรียมส่งจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มเสนอต่อนายชัย ชิดชอบ ประธานรัฐสภา เพื่อยื่นต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี
นายดิเรกได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ตามที่ที่ประชุมมอบหมายให้ไปหารือกับประธานรัฐสภาถึงการทำพิธีส่งมอบหนังสือสรุปของคณะกรรมการฯ และส่งต่อให้นายกฯ นั้น บังเอิญได้พบกับประธานรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีพอดี ซึ่งนายชัยรับปากที่จะให้ทำพิธีส่งมอบในวันที่ 16 ก.ค.เวลา 13.30 น.ที่รัฐสภาต่อหน้าสื่อมวลชน นอกจากนี้ เมื่อเสร็จพิธีแล้วนายชัยจะส่งมอบให้นายกรัฐมนตรีทันทีด้วย และถือเป็นแนวทางปฏิบัติของรัฐบาลต่อไป อีกทั้งนายกรัฐมนตรีก็แสดงความโปร่งใสโดยได้รับปากทันที อย่างไรก็ตาม นายชัยให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ เพราะเป็นเอกสารสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่เสนอทางออกทางการเมือง อีกทั้งยังแนะนำให้จัดพิมพ์ 1 พันเล่มเพื่อแจกจ่ายให้กับสถาบันอุดมศึกษาด้วย
ด้าน นายกฤช อาทิตย์แก้ว ส.ว.กำแพงเพชร ได้เสนอต่อที่ประชุมว่ายังติดใจรัฐธรรมนูญ 2550 ในมาตรา 309 โดยอยากให้ใส่ไว้ในข้อสรุปของคณะกรรมการฯด้วย ขณะที่นายประยุทธ ศิริพาณิชย์ กรรมการจากพรรคเพื่อไทยกล่าวว่า มาตรา 309 เป็นบทบัญญัติที่เข้าใจว่าเป็นการนิรโทษกรรม จึงน่าจะไปอยู่ในกฎหมายธรรมดา ไม่ใช่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ เพราะทำให้การบังคับใช้รัฐธรรมนูญมีปัญหา เนื่องจากกลุ่มนี้ทำอะไรไม่ผิดกฎหมายนั้นมันไม่ถูกต้อง ซึ่งมีกรรมการฯหลายคนได้คัดค้านขึ้น อาทิ นายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา ระบุว่า ขณะนี้เลยขั้นตอนเสนอประเด็นต่างๆ ในชั้นคณะอนุกรรมการฯแล้ว ถ้าเสนอเข้ามาในที่ประชุมใหญ่แบบนี้จะกลายเป็นเรื่องใหญ่ได้ ทำให้นายดิเรกต้องตัดบทว่าจะนำไปหารือกันในช่วงท้ายของการประชุมในวันที่ 17 มิ.ย. เพื่อบันทึกเป็นความเห็นเฉยๆ เพราะประเด็นต่างๆ ที่จะเสนอ
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ได้มีการพิจารณาปรับถ้อยคำผลสรุปของคณะอนุกรรมการฯทั้ง 3 ชุด โดยเริ่มจากคณะอนุกรรมการสร้างความสมานฉันท์ทางการเมืองของสังคมไทย ที่มีนายตวง อันทะไชย ส.ว.สรรหา เป็นประธาน ซึ่งที่ประชุมพิจารณาแนวทางสมานฉันท์ โดยเฉพาะในแนวทางปฏิบัติการดำเนินการระยะเร่งด่วน ผลักดัน สนับสนุน ส่งเสริมภารกิจแนวทางสมานฉันท์ไปสู่กระบวนการเลือกตั้งที่สุจริตและเที่ยงธรรม ทั้งนี้ ที่ประชุมมีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในถ้อยคำที่ว่า “คืนความชอบธรรม”ให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการบังคับใช้รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมการบริหารพรรคการเมืองที่ถูกยุบและถูกตัดสิทธิเลือกตั้ง เป็นต้น โดยนายสุรพล นิติไกรพจน์ กรรมการฯ ได้เสนอให้ใช้คำว่า “คืนสิทธิ” แทนคำว่า “คืนความชอบธรรม” แต่ที่ประชุมมีการเสนอให้เพิ่มเป็น “คืนสิทธิและความเป็นธรรม” เข้าไปด้วย ซึ่งในที่สุดแล้วที่ประชุมก็ได้เห็นชอบให้ใช้คำว่า “คืนสิทธิและความเป็นธรรม”