ฉบับที่แล้วผมเล่าเรื่องอาจารย์อมร จันทรสมบูรณ์ เพื่อนร่วมคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับ 2517 ของผม ผมบอกว่าผมผิดหวังในรัฐธรรมนูญฉบับนั้นมาก และเห็นด้วยที่ดร.ธวัช มกรพงศ์ ยกมือคัดค้านรัฐธรรมนูญฉบับนั้น เป็นเสียงเดียวในสภานิติบัญญัติที่เลือกกันเองขึ้นมาจากสมัชชาแห่งชาติสนามม้าปี 2516
ท่านผู้อ่านคงเข้าใจผิดว่าผมเป็นคนขวางโลกเข้ากับใครเขาไม่ได้ เอาแต่ความคิดของตนเป็นใหญ่ แต่ด้อยปัญญาไม่สามารถทำให้คนอื่นเห็นด้วยกับความคิดของตน
ผมอยากจะเล่าว่า การทำงานของผมในคณะกรรมการร่างฯ มีความสนุกสนานเพลิดเพลินมาก มีความสัมพันธ์กันดีทุกคน ไม่มีความขัดแย้งใดๆเป็นส่วนตัวเลย ไม่ว่าคนที่ตายจากไปแล้ว หรือคนที่มีชีวิตอยู่ แต่เรื่องที่ขัดกันส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกรอบความคิด โดยเฉพาะท่านผู้ใหญ่ย่อมติดอยู่ข้างอนุรักษนิยม ติดโน่นติดนี่ กลัวโน่นกลัวนี่เป็นอาจิณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลัวคอมมิวนิสต์และไม่วางใจลูกจีน ทั้งๆ ที่ท่านเจ้าของความคิดก็มีนามสกุลที่บอกว่าเป็นลูกจีนอยู่โต้งๆ
ผลจึงออกมาอย่างที่ผมเล่า คือเราได้รัฐธรรมนูญบังคับสังกัดพรรค จำกัดสิทธิลูกจีน ผู้มีสิทธิออกเสียงมีสิทธิไม่เท่ากันแล้วแต่ว่าใครอยู่เขตมีผู้แทน 1 หรือ 2 หรือ 3 คน
พอเข้าสภานิติบัญญัติ องค์ประกอบไม่เลือกว่าเป็นคนแก่คนหนุ่ม ก็ยิ่งอนุรักษนิยม หรือขี้ขึ้นหัวสมองกลัวนั่นกลัวนี่หนักขึ้นไปอีก และก็มีปัญญาชนที่เรียกว่าไหม้เกินไปหรือไม่ก็ยังห่ามอยู่ กินไม่ได้ รัฐธรรมนูญจึงออกมายืดยาว เลอะเทอะยิ่งขึ้นไปใหญ่
แต่รัฐธรรมนูญจะเขียนดีเขียนเลวอย่างไร ถ้าหากผู้แทนดีหรือพรรคการเมืองดี ก็น่าจะไม่เป็นปัญหา ทำให้ทหารทนไม่ได้จนกระทั่งต้องทำปฏิวัติรัฐประหาร
แต่จุดสำคัญที่จำเป็นจะต้องพูดถึงและอาจารย์อมรมีความรู้สึกตรงกับผมอย่างแรงก็คือ การบังคับให้สังกัดพรรคการเมือง ทำให้ระบบพรรคไม่มีทางพัฒนาขึ้นมาได้ และไม่มีทางจะต้านทานคอร์รัปชันได้ เพราะพรรคนั่นเองแหละจะเป็นต้นตอของการคดโกงคอร์รัปชัน และแนวโน้มในเรื่องนี้จะหนักขึ้นทุกที และไม่มีวันขจัดได้
ก็เราเคยมีนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์เชื่อถือได้มาหลายคนแล้วมิใช่หรือ
อาจารย์สัญญา พล.อ.เปรม นายอานันท์ และนายชวน ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนซื่อมือสะอาดทั้งนั้น
แล้วเมืองไทยจึงยังสกปรกโสโครกอยู่อย่างนี้ อาจารย์อมรเชื่อเหมือนกับผมว่า ก็เพราะพรรคหัวหน้าตั้งไม่มีวันยั่งยืน จึงต้องรีบแย่งกันกินนี่แหละ ที่เป็นต้นตอที่แท้จริงของปัญหา
และในเรื่องเดียวกันนี้ เจ้าสำนักคิดทหารประชาธิปไตยคือนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ซึ่งขณะนี้ยังเหลือศิษย์อาวุโสคือ ศ.พันเอก (พิเศษ) ชวัติ พิสุทธิพันธุ์อยู่ก็คิดไม่ผิดเพี้ยนกันเลย
ผมนั่งเขียนบทความนี้อยู่ที่สนามบินอุดรธานี ท่ามกลางการห้อมล้อมของคนไทยเสื้อแดง เมื่อตอนก่อนเที่ยง ดาราพรรคชั่วคราวขนาดใหญ่ 2 พรรค บินมาพร้อมกัน ต่างก็บอกว่าการเลือกตั้งซ่อมที่สกลนครแพ้ไม่ได้ 2 คนนั้นคือ จตุพร พรหมพันธุ์และเนวิน ชิดชอบ คนที่ถูกศาลสั่งตัดสิทธิทางการเมืองนั่นแหละ แต่ทุกวันนี้ยังเรียกประชุมกระทรวงคมนาคมที่บ้านเนวิน อยู่เป็นประจำ
คนเสื้อแดงเมืองอุดรเกือบจะพากันได้กระทืบเนวิน โทษฐานทรยศอยู่แล้ว บังเอิญตำรวจไหวทัน ดักเอาตัวเนวินเก็บไว้ในห้องวีไอพีชั้น 2 เสียก่อน
ต่อหน้าผมมีบทความของดร.อมร เรื่อง “คนไทยจะหาทางออกทางการเมือง” ได้อย่างไร พร้อมกับบทความของพันเอกชวัติ เรื่อง “คณะปวงชนชาวไทย : เป็นไท เป็นธรรม ทัดเทียม” และหนังสือของนายกฯ อภิสิทธิ์เรื่อง “การเมืองไทยหลังรัฐประหาร : ทางออกจากวิกฤตก่อนจะกลับไม่ได้ ไปไม่ถึง”
ทั้งสองคนไม่ได้พูดตรงๆ ว่า นายกฯ อภิสิทธิ์มิใช่ทางออกการเมืองไทย หรือนายกฯ ไร้ความสามารถที่จะนำการเมืองไทยออกจากวิกฤต แต่ทั้งคู่สรุปเลยว่า เมืองไทยหาทางออกทางการเมืองไม่สำเร็จแน่ๆ
อาจารย์อมรก็เชื่อว่าวิธีของอาจารย์อมรจึงจะทำให้เมืองไทยหาทางออกได้ เพราะทางออกที่คนอื่นๆ รวมทั้งนายกฯ อภิสิทธิ์อ้างกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนเป็นทางออกเก่าๆ วิธีเก่าๆ ที่ล้มเหลวมาแล้วทั้งสิ้น
ผมขอลอกอีกทีนะครับ ดร.อมรเขียนว่า
“เนื้อหาสาระในการบรรยายของผู้เขียนในบ่ายวันเสาร์ที่ 18 เมษายน นั้น มีสาระที่แตกต่างกับความเห็นของท่านนายกรัฐมนตรีในทางตรงกัน”
ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้ดังนี้ “....ผมรับโทรศัพท์..พบข้อเรียกร้องหลายประการ ประชาชนจำนวนมากที่เห็นว่า กติกาทางการเมืองปัจจุบันไม่เป็นธรรมสืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กับ) ข้อเรียกร้องนี้ ผมให้ความสำคัญมาตลอด ก่อนเกิดเหตุการณ์ ผมได้ริเริ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขกฎหมายและปฏิรูปการเมือง เพียงแต่เห็นว่า มีประชาชนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้และออกมาเรียกร้องในช่วงปีที่แล้ว แต่ไม่อยากให้เหตุการณ์ย้อนกลับไปเหมือนปีที่แล้ว จึงเสนอให้สถาบันที่เป็นกลางมาดำเนินการ แต่ยังไม่ได้รับการขานรับจากพรรคฝ่ายค้านที่อาจจะระแวงว่า สถาบันนั้นเป็นกลางจริงหรือไม่ ดังนั้น ครม. และพรรคร่วมรัฐบาลจึงได้ตั้งหลักกันใหม่ว่า จะให้พรรคการเมืองทุกพรรคสรุปว่า ความไม่เป็นกลางและความไม่เป็นประชาธิปไตยมีประเด็นใดบ้างภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นก็จะมาพิจารณาดูว่ามีกี่ประเด็น และจะได้รับฉันทามติจากสังคมว่า จะแก้ไขอย่างไร และพร้อมจะเดินหน้าแก้ไขภายหลังระดมความเห็นพรรคการเมืองแล้ว ก็จะเปิดกว้างต่อไป เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่มากจนเกินไป”
อาจารย์อมรไม่ได้โจมตีนายกฯ แต่นายกฯ ก็เป็นคนไทยและนักการเมือง-นักวิชาการคนหนึ่ง ที่คงจะหนีไม่พ้นจากการสังเกตของอาจารย์อมรว่า
“การที่คนไทยมองไม่เป็น หรือไม่เห็นปัญหานี้ ก็เพราะความล้มเหลวของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเรียนการสอนในคณะนิติศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของเราที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากล การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาของเราได้สอนนักศึกษาของเราทั้งประเทศอย่างผิดพลาดไม่ตรงความจริง (reality) ตลอดมมา และดังนั้น ความเห็นของผู้เขียน เป็นความรับผิดชอบของวงการนิติศาสตร์ และวงการวิชาการที่ปล่อยให้คนไทยทั่วไปเรียก “ระบบเผด็จการ” โดยพรรคการเมือง (นายทุนธุรกิจ) ประเทศเดียวในโลกนี้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย”
ข้อสรุปของดร.อมรโดยไม่ต้องพูดถึงนายกฯ อภิสิทธิ์ว่า ทำไมจึงจะบ้าฝากความหวังไว้กับพรรคการเมือง “เผด็จการ” โดยพรรคการเมือง นายทุนธุรกิจ อาจารย์อมรไม่ได้พูดด้วยซ้ำถึงนายทุนใหญ่ท่อน้ำเลี้ยงที่ชักไยอยู่ต่างประเทศ
นายกฯ อภิสิทธิ์นั้นจบมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แต่ก็ได้ปริญญานิติศาสตร์มาจากรามคำแหง และเรียนการเมืองมาจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นเวลา 15-16 ปี
ผมจะจบบทความตอนนี้แค่นี้ก่อน ฉบับหน้าจะนำข้อเขียนของนายกฯอภิสิทธิ์มาประกบกับดร.อมร และเอามาตรวจสอบกับการกระทำของนายกฯอภิสิทธิ์เอง
แต่จะขอแถมความคิดของพันเอกชวัติ ว่า
“ประชาชนชาวไทยเหมือนคนหลงทางอยู่กลางทะเลทราย และเดินหลงทางไกลออกไปทุกทีจากแหล่งน้ำ คือ ความไพบูลย์ของประเทศชาติและประชาชน เพราะมีภาพลวงตามิอาจทำให้เขว คิดว่าดินแดนแห่งความตายที่เห็นอยู่เบื้องหน้านั้นคือแหล่งน้ำ ตลอด 77 ปีที่ผ่านมาประชาชนถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อว่าประชาธิปไตยคือรัฐธรรมนูญที่ประชาชนยังไม่สามารถเป็นเจ้าของอธิปไตยได้โดยแท้จริงนั้น เป็น “ปัญหาทางรัฐธรรมนูญ” ยิ่งสาละวนแก้รัฐธรรมนูญก็ยิ่งสิ้นเนื้อประดาตัว เป็นการฝังศพให้กับตัวเอง”
ท่านผู้อ่านคงเข้าใจผิดว่าผมเป็นคนขวางโลกเข้ากับใครเขาไม่ได้ เอาแต่ความคิดของตนเป็นใหญ่ แต่ด้อยปัญญาไม่สามารถทำให้คนอื่นเห็นด้วยกับความคิดของตน
ผมอยากจะเล่าว่า การทำงานของผมในคณะกรรมการร่างฯ มีความสนุกสนานเพลิดเพลินมาก มีความสัมพันธ์กันดีทุกคน ไม่มีความขัดแย้งใดๆเป็นส่วนตัวเลย ไม่ว่าคนที่ตายจากไปแล้ว หรือคนที่มีชีวิตอยู่ แต่เรื่องที่ขัดกันส่วนใหญ่เป็นเรื่องของกรอบความคิด โดยเฉพาะท่านผู้ใหญ่ย่อมติดอยู่ข้างอนุรักษนิยม ติดโน่นติดนี่ กลัวโน่นกลัวนี่เป็นอาจิณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลัวคอมมิวนิสต์และไม่วางใจลูกจีน ทั้งๆ ที่ท่านเจ้าของความคิดก็มีนามสกุลที่บอกว่าเป็นลูกจีนอยู่โต้งๆ
ผลจึงออกมาอย่างที่ผมเล่า คือเราได้รัฐธรรมนูญบังคับสังกัดพรรค จำกัดสิทธิลูกจีน ผู้มีสิทธิออกเสียงมีสิทธิไม่เท่ากันแล้วแต่ว่าใครอยู่เขตมีผู้แทน 1 หรือ 2 หรือ 3 คน
พอเข้าสภานิติบัญญัติ องค์ประกอบไม่เลือกว่าเป็นคนแก่คนหนุ่ม ก็ยิ่งอนุรักษนิยม หรือขี้ขึ้นหัวสมองกลัวนั่นกลัวนี่หนักขึ้นไปอีก และก็มีปัญญาชนที่เรียกว่าไหม้เกินไปหรือไม่ก็ยังห่ามอยู่ กินไม่ได้ รัฐธรรมนูญจึงออกมายืดยาว เลอะเทอะยิ่งขึ้นไปใหญ่
แต่รัฐธรรมนูญจะเขียนดีเขียนเลวอย่างไร ถ้าหากผู้แทนดีหรือพรรคการเมืองดี ก็น่าจะไม่เป็นปัญหา ทำให้ทหารทนไม่ได้จนกระทั่งต้องทำปฏิวัติรัฐประหาร
แต่จุดสำคัญที่จำเป็นจะต้องพูดถึงและอาจารย์อมรมีความรู้สึกตรงกับผมอย่างแรงก็คือ การบังคับให้สังกัดพรรคการเมือง ทำให้ระบบพรรคไม่มีทางพัฒนาขึ้นมาได้ และไม่มีทางจะต้านทานคอร์รัปชันได้ เพราะพรรคนั่นเองแหละจะเป็นต้นตอของการคดโกงคอร์รัปชัน และแนวโน้มในเรื่องนี้จะหนักขึ้นทุกที และไม่มีวันขจัดได้
ก็เราเคยมีนายกรัฐมนตรีที่ซื่อสัตย์เชื่อถือได้มาหลายคนแล้วมิใช่หรือ
อาจารย์สัญญา พล.อ.เปรม นายอานันท์ และนายชวน ก็ได้ชื่อว่าเป็นคนซื่อมือสะอาดทั้งนั้น
แล้วเมืองไทยจึงยังสกปรกโสโครกอยู่อย่างนี้ อาจารย์อมรเชื่อเหมือนกับผมว่า ก็เพราะพรรคหัวหน้าตั้งไม่มีวันยั่งยืน จึงต้องรีบแย่งกันกินนี่แหละ ที่เป็นต้นตอที่แท้จริงของปัญหา
และในเรื่องเดียวกันนี้ เจ้าสำนักคิดทหารประชาธิปไตยคือนายประเสริฐ ทรัพย์สุนทร ซึ่งขณะนี้ยังเหลือศิษย์อาวุโสคือ ศ.พันเอก (พิเศษ) ชวัติ พิสุทธิพันธุ์อยู่ก็คิดไม่ผิดเพี้ยนกันเลย
ผมนั่งเขียนบทความนี้อยู่ที่สนามบินอุดรธานี ท่ามกลางการห้อมล้อมของคนไทยเสื้อแดง เมื่อตอนก่อนเที่ยง ดาราพรรคชั่วคราวขนาดใหญ่ 2 พรรค บินมาพร้อมกัน ต่างก็บอกว่าการเลือกตั้งซ่อมที่สกลนครแพ้ไม่ได้ 2 คนนั้นคือ จตุพร พรหมพันธุ์และเนวิน ชิดชอบ คนที่ถูกศาลสั่งตัดสิทธิทางการเมืองนั่นแหละ แต่ทุกวันนี้ยังเรียกประชุมกระทรวงคมนาคมที่บ้านเนวิน อยู่เป็นประจำ
คนเสื้อแดงเมืองอุดรเกือบจะพากันได้กระทืบเนวิน โทษฐานทรยศอยู่แล้ว บังเอิญตำรวจไหวทัน ดักเอาตัวเนวินเก็บไว้ในห้องวีไอพีชั้น 2 เสียก่อน
ต่อหน้าผมมีบทความของดร.อมร เรื่อง “คนไทยจะหาทางออกทางการเมือง” ได้อย่างไร พร้อมกับบทความของพันเอกชวัติ เรื่อง “คณะปวงชนชาวไทย : เป็นไท เป็นธรรม ทัดเทียม” และหนังสือของนายกฯ อภิสิทธิ์เรื่อง “การเมืองไทยหลังรัฐประหาร : ทางออกจากวิกฤตก่อนจะกลับไม่ได้ ไปไม่ถึง”
ทั้งสองคนไม่ได้พูดตรงๆ ว่า นายกฯ อภิสิทธิ์มิใช่ทางออกการเมืองไทย หรือนายกฯ ไร้ความสามารถที่จะนำการเมืองไทยออกจากวิกฤต แต่ทั้งคู่สรุปเลยว่า เมืองไทยหาทางออกทางการเมืองไม่สำเร็จแน่ๆ
อาจารย์อมรก็เชื่อว่าวิธีของอาจารย์อมรจึงจะทำให้เมืองไทยหาทางออกได้ เพราะทางออกที่คนอื่นๆ รวมทั้งนายกฯ อภิสิทธิ์อ้างกันอยู่ทุกวันนี้ ล้วนเป็นทางออกเก่าๆ วิธีเก่าๆ ที่ล้มเหลวมาแล้วทั้งสิ้น
ผมขอลอกอีกทีนะครับ ดร.อมรเขียนว่า
“เนื้อหาสาระในการบรรยายของผู้เขียนในบ่ายวันเสาร์ที่ 18 เมษายน นั้น มีสาระที่แตกต่างกับความเห็นของท่านนายกรัฐมนตรีในทางตรงกัน”
ท่านนายกรัฐมนตรีได้กล่าวไว้ดังนี้ “....ผมรับโทรศัพท์..พบข้อเรียกร้องหลายประการ ประชาชนจำนวนมากที่เห็นว่า กติกาทางการเมืองปัจจุบันไม่เป็นธรรมสืบเนื่องมาจากการรัฐประหาร รัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง (กับ) ข้อเรียกร้องนี้ ผมให้ความสำคัญมาตลอด ก่อนเกิดเหตุการณ์ ผมได้ริเริ่มแก้ไขรัฐธรรมนูญ แก้ไขกฎหมายและปฏิรูปการเมือง เพียงแต่เห็นว่า มีประชาชนจำนวนมากไม่เห็นด้วยกับความคิดนี้และออกมาเรียกร้องในช่วงปีที่แล้ว แต่ไม่อยากให้เหตุการณ์ย้อนกลับไปเหมือนปีที่แล้ว จึงเสนอให้สถาบันที่เป็นกลางมาดำเนินการ แต่ยังไม่ได้รับการขานรับจากพรรคฝ่ายค้านที่อาจจะระแวงว่า สถาบันนั้นเป็นกลางจริงหรือไม่ ดังนั้น ครม. และพรรคร่วมรัฐบาลจึงได้ตั้งหลักกันใหม่ว่า จะให้พรรคการเมืองทุกพรรคสรุปว่า ความไม่เป็นกลางและความไม่เป็นประชาธิปไตยมีประเด็นใดบ้างภายใน 2 สัปดาห์ จากนั้นก็จะมาพิจารณาดูว่ามีกี่ประเด็น และจะได้รับฉันทามติจากสังคมว่า จะแก้ไขอย่างไร และพร้อมจะเดินหน้าแก้ไขภายหลังระดมความเห็นพรรคการเมืองแล้ว ก็จะเปิดกว้างต่อไป เชื่อว่าจะใช้เวลาไม่มากจนเกินไป”
อาจารย์อมรไม่ได้โจมตีนายกฯ แต่นายกฯ ก็เป็นคนไทยและนักการเมือง-นักวิชาการคนหนึ่ง ที่คงจะหนีไม่พ้นจากการสังเกตของอาจารย์อมรว่า
“การที่คนไทยมองไม่เป็น หรือไม่เห็นปัญหานี้ ก็เพราะความล้มเหลวของการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การเรียนการสอนในคณะนิติศาสตร์ และคณะรัฐศาสตร์ในมหาวิทยาลัยของเราที่ต่ำกว่ามาตรฐานสากล การเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาของเราได้สอนนักศึกษาของเราทั้งประเทศอย่างผิดพลาดไม่ตรงความจริง (reality) ตลอดมมา และดังนั้น ความเห็นของผู้เขียน เป็นความรับผิดชอบของวงการนิติศาสตร์ และวงการวิชาการที่ปล่อยให้คนไทยทั่วไปเรียก “ระบบเผด็จการ” โดยพรรคการเมือง (นายทุนธุรกิจ) ประเทศเดียวในโลกนี้ว่าเป็นระบอบประชาธิปไตย”
ข้อสรุปของดร.อมรโดยไม่ต้องพูดถึงนายกฯ อภิสิทธิ์ว่า ทำไมจึงจะบ้าฝากความหวังไว้กับพรรคการเมือง “เผด็จการ” โดยพรรคการเมือง นายทุนธุรกิจ อาจารย์อมรไม่ได้พูดด้วยซ้ำถึงนายทุนใหญ่ท่อน้ำเลี้ยงที่ชักไยอยู่ต่างประเทศ
นายกฯ อภิสิทธิ์นั้นจบมาจากมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก คือ มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ด แต่ก็ได้ปริญญานิติศาสตร์มาจากรามคำแหง และเรียนการเมืองมาจากพรรคประชาธิปัตย์เป็นเวลา 15-16 ปี
ผมจะจบบทความตอนนี้แค่นี้ก่อน ฉบับหน้าจะนำข้อเขียนของนายกฯอภิสิทธิ์มาประกบกับดร.อมร และเอามาตรวจสอบกับการกระทำของนายกฯอภิสิทธิ์เอง
แต่จะขอแถมความคิดของพันเอกชวัติ ว่า
“ประชาชนชาวไทยเหมือนคนหลงทางอยู่กลางทะเลทราย และเดินหลงทางไกลออกไปทุกทีจากแหล่งน้ำ คือ ความไพบูลย์ของประเทศชาติและประชาชน เพราะมีภาพลวงตามิอาจทำให้เขว คิดว่าดินแดนแห่งความตายที่เห็นอยู่เบื้องหน้านั้นคือแหล่งน้ำ ตลอด 77 ปีที่ผ่านมาประชาชนถูกหลอกลวงให้หลงเชื่อว่าประชาธิปไตยคือรัฐธรรมนูญที่ประชาชนยังไม่สามารถเป็นเจ้าของอธิปไตยได้โดยแท้จริงนั้น เป็น “ปัญหาทางรัฐธรรมนูญ” ยิ่งสาละวนแก้รัฐธรรมนูญก็ยิ่งสิ้นเนื้อประดาตัว เป็นการฝังศพให้กับตัวเอง”