ที่ประชุมวุฒิสภา พิจารณารับหลักการร่าง พ.ร.บ.องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3 ฉบับ มีมติปลดล็อกวาระดำรงตำแหน่งผู้บริหาร อปท.3 ฉบับ ให้ทำหน้าที่ติดต่อได้เกิน 2 วาระ ชี้ถือเป็นสิทธิของประชาชนเลือกเองว่าจะเอาคนแบบใด
วันนี้ (15 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ว่า ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม มี นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม พิจารณาวาระเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.องค์กรปกครองท้องถิ่น 3 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ร่าง พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว มีสาระสำคัญคือ การปลดล็อกวาระการดำรงตำแหน่งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายฉบับปัจจุบันกำหนดว่า ห้ามดำรงติดต่อกันเกินสองวาระ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ว.มีความเห็นเป็นสองฝ่าย ระหว่างการคัดค้านและสนับสนุนร่าง โดยฝ่ายคัดค้าน อาทิ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว.สมุทรสงคราม นาย สาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง กล่าวว่า การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในสหรัฐฯแม้ไม่ได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง แต่ก็ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า จะดำรงตำแหน่งติดกันเพียง 2 วาระเท่านั้น เพราะหากดำรงตำแหน่งยาวนานจะเป็นการผูกขาดอำนาจทางการเมือง และเรื่องนี้ยังเกี่ยวพันกับการบริหารงบประมาณจำนวนมากด้วย และกฎหมายปัจจุบัน ไม่ได้ห้ามให้ขาดจากการเมืองท้องถิ่นไปเลย เพียงแต่ห้ามดำรงตำแหน่งผู้บริหารเกิน 2 วาระเท่านั้น และยังสามารถไปเป็นตำแหน่งอื่นได้ แม้จะอ้างว่า ประชาชนต้องการคนดี เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเลือก แต่คนดีจริงๆไม่ยึดติดกับตำแหน่ง
ส่วนฝ่ายสนับสนุน อาทิ นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี นาย อนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา เห็นว่า เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน และความต้องการประชาชนในการเลือกผู้บริหาร และจากสถิติพบว่า การกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่สอง มีไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า หากประชาชนเห็นว่า ผู้บริหารไม่ดี ก็ไม่เลือกกลับมาอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุมอภิปรายนานกว่า 3 ชั่วโมง ที่ประชุมมีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้วยคะแนน 60 ต่อ 38 งดออกเสียง 3 เสียง และรับหลักการร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ด้วยคะแนน 61 ต่อ 34 งด 3 เสียง ส่วนร่างพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ประชุมมีมติรับหลักการไปแล้วตั้งแต่การประชุมครั้งที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ตั้งคณะกรรมาธิการ ซึ่งที่ประชุมสรุปว่า ทั้ง 3 ร่างดังกล่าว ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เทศบาล เป็นผู้พิจารณา กำหนดแปรญัตติ 7 วัน
วันนี้ (15 พ.ค.) ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา ว่า ในการประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม มี นายนิคม ไวยรัชพานิช รองประธานวุฒิสภาคนที่ 1 เป็นประธานการประชุม พิจารณาวาระเรื่องด่วน ร่าง พ.ร.บ.องค์กรปกครองท้องถิ่น 3 ฉบับ คือ ร่าง พ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ร่าง พ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด และ ร่าง พ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรลงมติเห็นชอบแล้ว มีสาระสำคัญคือ การปลดล็อกวาระการดำรงตำแหน่งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่กฎหมายฉบับปัจจุบันกำหนดว่า ห้ามดำรงติดต่อกันเกินสองวาระ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ส.ว.มีความเห็นเป็นสองฝ่าย ระหว่างการคัดค้านและสนับสนุนร่าง โดยฝ่ายคัดค้าน อาทิ นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา นายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว.สมุทรสงคราม นาย สาย กังกเวคิน ส.ว.ระยอง กล่าวว่า การดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในสหรัฐฯแม้ไม่ได้กำหนดวาระการดำรงตำแหน่ง แต่ก็ถือเป็นธรรมเนียมปฏิบัติว่า จะดำรงตำแหน่งติดกันเพียง 2 วาระเท่านั้น เพราะหากดำรงตำแหน่งยาวนานจะเป็นการผูกขาดอำนาจทางการเมือง และเรื่องนี้ยังเกี่ยวพันกับการบริหารงบประมาณจำนวนมากด้วย และกฎหมายปัจจุบัน ไม่ได้ห้ามให้ขาดจากการเมืองท้องถิ่นไปเลย เพียงแต่ห้ามดำรงตำแหน่งผู้บริหารเกิน 2 วาระเท่านั้น และยังสามารถไปเป็นตำแหน่งอื่นได้ แม้จะอ้างว่า ประชาชนต้องการคนดี เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชนในการเลือก แต่คนดีจริงๆไม่ยึดติดกับตำแหน่ง
ส่วนฝ่ายสนับสนุน อาทิ นางนฤมล ศิริวัฒน์ ส.ว.อุตรดิตถ์ นายดิเรก ถึงฝั่ง ส.ว.นนทบุรี นาย อนุรักษ์ นิยมเวช ส.ว.สรรหา เห็นว่า เป็นสิทธิเสรีภาพของประชาชน และความต้องการประชาชนในการเลือกผู้บริหาร และจากสถิติพบว่า การกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งเป็นวาระที่สอง มีไม่เกิน 40 เปอร์เซ็นต์ แสดงว่า หากประชาชนเห็นว่า ผู้บริหารไม่ดี ก็ไม่เลือกกลับมาอยู่แล้ว
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากที่ประชุมอภิปรายนานกว่า 3 ชั่วโมง ที่ประชุมมีมติรับหลักการร่างพ.ร.บ.องค์การบริหารส่วนจังหวัด ด้วยคะแนน 60 ต่อ 38 งดออกเสียง 3 เสียง และรับหลักการร่างพ.ร.บ.ระเบียบบริหารราชการเมืองพัทยา ด้วยคะแนน 61 ต่อ 34 งด 3 เสียง ส่วนร่างพ.ร.บ.สภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล ที่ประชุมมีมติรับหลักการไปแล้วตั้งแต่การประชุมครั้งที่แล้ว แต่ยังไม่ได้ตั้งคณะกรรมาธิการ ซึ่งที่ประชุมสรุปว่า ทั้ง 3 ร่างดังกล่าว ให้คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.เทศบาล เป็นผู้พิจารณา กำหนดแปรญัตติ 7 วัน