ที่ประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเมือง วางกรอบแนวทางปฏิรูป 4 ประเด็น เน้นโครงสร้างสังคมการเมือง เศรษฐกิจ วัฒนธรรมนูญ เผยแพร่ความรู้ประชาธิปไตย ขณะที่คณะอนุฯ ฟากฝ่ายค้าน ชี้ รัฐธรรมนูญมีปัญหา ต้องเขียนใหม่ ห้ามคนฉีก และทำรัฐประหาร ส่วนอนุฯฟากรัฐบาล แย้งไม่ควรมองรัฐธรรมนูญผิดทั้งหมด
วันนี้ (14 พ.ค.) ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเมือง ที่มี นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา ประธานคณะอนุกรรมการ เป็นประธานการประชุมนั้น มีการพิจารณากรอบและแนวทางการปฏิรูปการเมืองเบื้องต้น 4 ประเด็น คือ 1.โครงสร้างทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจตามรัฐธรรมนูญ 2.วัฒนธรรมทางการเมือง และการเผยแพร่ความรู้ประชาธิปไตย 3.หลักกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และ 4.บทบาททางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังกำหนดเป้าโดยจัดลำดับความสำคัญในการปฏิรูปการเมือง คือ 1.ต้องศึกษาโครงสร้างรัฐธรรมนูญและกฎหมายในประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่เป็นธรรม รวมถึงประเด็นที่อาจมีผลต่อการพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอาจนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราในอนาคต 2.ควรมีหน่วยงานดำเนินการเผยแพร่ความรู้ด้านประชาธิปไตยผ่านระบบการศึกษา 3.อาจนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยตั้ง ส.ส.ร.3 และตั้งสภาปฏิรูปการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพื่อปฏิรูปครั้งใหญ่ในอนาคต
นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายประเด็นโครงสร้างทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจ โดยนายอนุสรณ์ ธรรมใจ อนุกรรมการ ในส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เป้าหมายคือต้องหาแนวทางที่ทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง นักการเมืองมีคุณภาพ การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง องค์กรอิสระไม่โดนแทรกแซงและถูกตรวจสอบได้ เพราะปัจจุบันกรณียุบพรรค ถ้าเป็นอย่างที่ นายศักดิ์ เตชาชาญ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาพูด แสดงว่า ประเทศไม่มีระบบนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรมเชื่อไม่ได้ เพราะมีใบสั่ง ฉะนั้นถ้าจะทำให้ประเทศเป็นนิติรัฐ รัฐธรรมนูญต้องฉีกไม่ได้ ตนอยากให้ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของสสร.3 จะต้องเน้นหนักให้ประชาชนมีส่วนร่วม ที่สำคัญจะต้องป้องกันไม่ให้มีการฉีกทิ้งได้ง่าย อาจจะต้องเขียนไว้หนึ่งมาตราเลยว่าใครก็ตามจะทำการรัฐประหารยึดอำนาจไม่ได้
นายอนุสรณ์ กล่าวด้วยว่า การทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง เช่น การบริจาคเงินแก่พรรคสามารถหักภาษีได้ เพื่อให้พรรคเป็นของประชาชนมากขึ้น บริจาคเปิดเผยเพื่อไม่มีปัญหาการเมืองของกลุ่มทุน และกิจกรรมการเมืองของพรรคเช่น การระดมทุน รัฐต้องลดภาษี และรัฐอุดหนุนการทำกิจกรรม ระบบสวัสดิการของนักการเมืองต้องเหมาะสมกว่านี้ ต้องมีเบี้ยบำเหน็จบำนาญ และควรมีศาลเลือกตั้ง สมัยคมช.ที่มีการตัดสิทธิ์นักการเมืองถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแรง ส่วนประเด็นการซื้อเสียง การคอร์รัปชันวนไปถึงรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์
ด้าน นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอนุกรรมการ กล่าวว่า ตนคิดว่าเนื้อหาของรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ได้มีปัญหาทั้งหมด ดังนั้นการที่จะโละรัฐธรรมนูญปี 50 ทิ้งนั้นตนไม่ด้วย แต่เนื้อส่วนไหนมาตราไหนที่เป็นปัญหาก็สามารถแก้ไขได้
นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย อนุกรรมการ กล่าวว่า กรณียุบพรรค 3 พรรค มีการให้แถลงปิดคดีตอนเช้า บ่ายก็ตัดสิน แสดงว่า มีการเตรียมตัดสินไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งตนได้ถามผู้ใหญ่ในห้องตัดสินวันนั้นก็ยอมรับว่า ใช่ ทั้งนี้เมื่อหันมาดูปัญหา ตนเห็นว่า เกิดจากโครงสร้างในรัฐธรรมนูญที่ออกแบบมาให้รัฐบาลอ่อนแอ ให้องค์กรอิสระมีอำนาจทำลายล้าง
ขณะที่ นายสุเทพ เจตนาการณ์กุล อนุกรรมการ กล่าวว่า กระบวนการได้มาซึ่งองค์กรอิสระต้องดูว่าเหมาะสมแล้วหรือยัง สมัยอยู่ศาลฎีกา ศาลนำคนๆหนึ่งมาแนะนำ สุดท้ายที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาก็เลือกคนๆ นั้น จึงไม่ค่อยยุติธรรมกับคนที่ไม่ได้ไปแนะนำตัว ดังนั้น ตนจึงคิดว่าการสรรหาคนเข้าองค์กรอิสระ มีความรอบคอบแล้วหรือยัง
วันนี้ (14 พ.ค.) ที่รัฐสภา ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเมือง ที่มี นายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา ประธานคณะอนุกรรมการ เป็นประธานการประชุมนั้น มีการพิจารณากรอบและแนวทางการปฏิรูปการเมืองเบื้องต้น 4 ประเด็น คือ 1.โครงสร้างทางสังคมการเมือง และเศรษฐกิจตามรัฐธรรมนูญ 2.วัฒนธรรมทางการเมือง และการเผยแพร่ความรู้ประชาธิปไตย 3.หลักกฎหมายที่เอื้อต่อการพัฒนาประชาธิปไตย และ 4.บทบาททางการเมืองของภาคส่วนต่างๆ
ทั้งนี้ ที่ประชุมยังกำหนดเป้าโดยจัดลำดับความสำคัญในการปฏิรูปการเมือง คือ 1.ต้องศึกษาโครงสร้างรัฐธรรมนูญและกฎหมายในประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่เป็นธรรม รวมถึงประเด็นที่อาจมีผลต่อการพัฒนาการเมืองระบอบประชาธิปไตย ซึ่งอาจนำไปสู่การแก้ไขรัฐธรรมนูญบางมาตราในอนาคต 2.ควรมีหน่วยงานดำเนินการเผยแพร่ความรู้ด้านประชาธิปไตยผ่านระบบการศึกษา 3.อาจนำไปสู่การแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 291 โดยตั้ง ส.ส.ร.3 และตั้งสภาปฏิรูปการเมืองที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เพื่อปฏิรูปครั้งใหญ่ในอนาคต
นอกจากนี้ ยังมีการอภิปรายประเด็นโครงสร้างทางสังคมการเมืองและเศรษฐกิจ โดยนายอนุสรณ์ ธรรมใจ อนุกรรมการ ในส่วนพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า เป้าหมายคือต้องหาแนวทางที่ทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนอย่างแท้จริง นักการเมืองมีคุณภาพ การเมืองภาคประชาชนเข้มแข็ง องค์กรอิสระไม่โดนแทรกแซงและถูกตรวจสอบได้ เพราะปัจจุบันกรณียุบพรรค ถ้าเป็นอย่างที่ นายศักดิ์ เตชาชาญ อดีตตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ออกมาพูด แสดงว่า ประเทศไม่มีระบบนิติรัฐ กระบวนการยุติธรรมเชื่อไม่ได้ เพราะมีใบสั่ง ฉะนั้นถ้าจะทำให้ประเทศเป็นนิติรัฐ รัฐธรรมนูญต้องฉีกไม่ได้ ตนอยากให้ในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของสสร.3 จะต้องเน้นหนักให้ประชาชนมีส่วนร่วม ที่สำคัญจะต้องป้องกันไม่ให้มีการฉีกทิ้งได้ง่าย อาจจะต้องเขียนไว้หนึ่งมาตราเลยว่าใครก็ตามจะทำการรัฐประหารยึดอำนาจไม่ได้
นายอนุสรณ์ กล่าวด้วยว่า การทำให้พรรคการเมืองเข้มแข็ง เช่น การบริจาคเงินแก่พรรคสามารถหักภาษีได้ เพื่อให้พรรคเป็นของประชาชนมากขึ้น บริจาคเปิดเผยเพื่อไม่มีปัญหาการเมืองของกลุ่มทุน และกิจกรรมการเมืองของพรรคเช่น การระดมทุน รัฐต้องลดภาษี และรัฐอุดหนุนการทำกิจกรรม ระบบสวัสดิการของนักการเมืองต้องเหมาะสมกว่านี้ ต้องมีเบี้ยบำเหน็จบำนาญ และควรมีศาลเลือกตั้ง สมัยคมช.ที่มีการตัดสิทธิ์นักการเมืองถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างแรง ส่วนประเด็นการซื้อเสียง การคอร์รัปชันวนไปถึงรัฐประหารเป็นวงจรอุบาทว์
ด้าน นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ส.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะอนุกรรมการ กล่าวว่า ตนคิดว่าเนื้อหาของรัฐธรรมนูญปี 50 ไม่ได้มีปัญหาทั้งหมด ดังนั้นการที่จะโละรัฐธรรมนูญปี 50 ทิ้งนั้นตนไม่ด้วย แต่เนื้อส่วนไหนมาตราไหนที่เป็นปัญหาก็สามารถแก้ไขได้
นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย อนุกรรมการ กล่าวว่า กรณียุบพรรค 3 พรรค มีการให้แถลงปิดคดีตอนเช้า บ่ายก็ตัดสิน แสดงว่า มีการเตรียมตัดสินไว้ล่วงหน้าแล้ว ซึ่งตนได้ถามผู้ใหญ่ในห้องตัดสินวันนั้นก็ยอมรับว่า ใช่ ทั้งนี้เมื่อหันมาดูปัญหา ตนเห็นว่า เกิดจากโครงสร้างในรัฐธรรมนูญที่ออกแบบมาให้รัฐบาลอ่อนแอ ให้องค์กรอิสระมีอำนาจทำลายล้าง
ขณะที่ นายสุเทพ เจตนาการณ์กุล อนุกรรมการ กล่าวว่า กระบวนการได้มาซึ่งองค์กรอิสระต้องดูว่าเหมาะสมแล้วหรือยัง สมัยอยู่ศาลฎีกา ศาลนำคนๆหนึ่งมาแนะนำ สุดท้ายที่ประชุมใหญ่ศาลฎีกาก็เลือกคนๆ นั้น จึงไม่ค่อยยุติธรรมกับคนที่ไม่ได้ไปแนะนำตัว ดังนั้น ตนจึงคิดว่าการสรรหาคนเข้าองค์กรอิสระ มีความรอบคอบแล้วหรือยัง