อนุปฏิรูปฯ เสนอลดอำนาจ กกต.ให้ กกต.ส่งคดีทุจริตเลือกตั้งให้ศาลจาก 1 ปีเหลือ 6 เดือน พร้อมให้ศาลตัดสินใบเหลือง-แดง ด้าน “คณิน” เสนอปฏิรูปการเมือง เปิดให้การเมืองภาคประชาชนเสนอ กม.แก้ไข รธน.ต่อสภา ดัดหลังสภาไม่โหวตรับ กม.ประชาชน ส่งให้ประชาชนลงประชามติ
วันนี้ (20 พ.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเมือง มีนายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา ประธานคณะอนุกรรมการฯ เป็นประธานการประชุม พิจารณากรอบและแนวทางการปฏิรูปการเมือง โดยที่ประชุมได้พิจารณากรอบอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งที่ประชุมมีมติให้อำนาจในการวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของ ส.ส.และส.ว.ควรเป็นอำนาจของศาลในการตัดสินทั้งก่อนวันเลือกตั้งและหลังวันเลือกตั้ง จากเดิมเป็นของ กกต. และให้ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งโดยเร็วหากพบการทุจริต กกต.ควรยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ผู้ถูกร้องมีโอกาสพิสูจน์ข้อเท็จจริงในศาล
นายคณิน บุญสุวรรณ กรรมการฯ กล่าวว่า ตนเห็นว่า กกต.จะต้องเร่งส่งฟ้องศาลเมื่อพบว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งของ ส.ส.และส.ว. เพราะบทเรียนที่ผ่านมาการทำงานของ กกต.ค่อนข้างล่าช้า เพราะรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ กกต.ดำเนินการส่งฟ้องศาลภายใน 1 ปี แต่ศาลจะใช้ระยะเวลาในการวินิจฉัยเท่าใดไม่มีใครทราบ จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของ กกต.เพื่อให้ กกต.ได้มีเวลาที่จะไปทำงานอย่างอื่น ไม่ใช่เฉพาะการจัดการเลือกตั้งเท่านั้น ที่ผ่านมา กกต.ไม่ได้พัฒนาการทำงาน การเผยแพร่กิจกรรมประชาธิปไตย มัวแต่ไปสืบสวน สอบสวนการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ กกต.มีอำนาจมากขึ้น ตนขอเสนอว่า กกต.และศาลจะต้องจบการทำงานภายใน 90-180 วัน หรือ 6 เดือน ทั้งการส่งฟ้องของกกต.และการพิจารณาของศาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรอบเวลาการดำเนินการคดีทุจริตเลือกตั้ง โดยให้ระยะเวลา กกต.ในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีทุจริต จนกระทั่งส่งฟ้องศาล เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวถือว่านานเกินไปและเกิดความเสียหายต่อประเทศ ซึ่งอนุกรรมการหลายคนเห็นว่า ควรจะกำหนดกรอบเวลาการทำงานของ กกต.และศาลด้วย เพื่อให้คดีจบโดยเร็ว แต่นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย อนุกรรมการไม่เห็นด้วยที่จะไปกำหนดระยะเวลาการตัดสินของศาล เพราะกระบวนการที่ล่าช้าเนื่องมาจากพิจารณาสืบสวนสอบสวนของ กกต. ในที่สุดที่ประชุมได้มีมติพิจารณา กกต.ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง ส่วนการตัดสินของศาลให้เป็นอำนาจของศาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้อภิปรายในประเด็นว่าจะให้ศาลใดเป็นผู้พิจารณาคดีการทุจริต ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นที่หลากหลาย โดยนายสุเทพ เจตนาการณ์กุล อนุกรรมการ ผู้พิพากษาอาวุโส กล่าวว่า ขณะนี้ผู้พิพากษาก็มีการพิจารณาคดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งตนเห็นว่าควรมีศาลชำนาญพิเศษ เพราะคดีเลือกตั้งมีทั่วประเทศ ซึ่งเป็นทั้งคดีอาญา และเป็นความรับผิดทางการเมือง ซึ่งแยกไม่ออก เพราะข้อเท็จเป็นเรื่องเดียว เสนอว่าเพื่อความยุติธรรม ควรให้ศาลภูมิภาคท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาก่อน ขณะที่นายนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ว.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแย้งว่า คดีเลือกตั้งมีประมาณ 3,000 คดี ซึ่งก็ได้มีการพิจารณาตามกระบวนการตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา หากจะมีการตั้งศาลใหม่ก็จะมีความยุ่งยากมากขึ้น ในที่สุดที่ประชุมได้มีมติให้คดีทุจริตไปสู่ศาลยุติธรรมแผนกคดีเลือกตั้ง
นายคณินกล่าวว่า หากจะปฏิรูปการเมืองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง หรือองค์กรอิสระ ปฏิรูปการใช้อำนาจ ปฏิรูปการตรวจสอบการใช้อำนาจ เช่น ศาลก็ต้องได้รับการตรวจสอบ ซึ่งการปฏิรูปการเมืองก็หนีไม่พ้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะการให้ประชาชนเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีประชาชนเข้าชื่อ 50,000 ชื่อเสนอกฎหมายเข้ามา รัฐสภาก็รับไว้พิจารณาแต่ก็เป็นแค่พิธีกรรมเท่านั้น เพราะหากสภาไม่ให้ความเห็นร่าง พ.ร.บ.ฉบับประชาชนก็ตกไป หรือแม้เห็นชอบวาระ 1 ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ก็ไม่มีตัวแทนของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้น หากจะให้การเมืองภาคประชาชนเข้ามาก็ต้องรับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ มีตัวแทนประชาชนมาเข้าร่วมเป็น กมธ. แต่เมื่อถึงวาระ 3 สภาไม่ให้ความเห็นชอบ ก็ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวถือว่าเป็นเปิดให้การเมืองภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
“การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นโต้แย้งระหว่างนักการเมืองและประชาชนมาโดยตลอด โดยมีการมองว่า แก้เพื่อประโยชน์ของนักการเมือง หากกระบวนการตรงนี้เกิดขึ้น ปัญหาความโต้แย้งก็จะน้อยลง และจะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น ประเทศไทยเคยทำประชามติมา 2 ครั้ง แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเสียงประมาณไปเปล่าๆ นอกจากนี้ผมยังเห็นว่า ส.ส.ไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง เพื่อให้นักการเมืองมีอิสระเต็มที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพรรค” นายคณิน กล่าว
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณากรอบเวลาการประชุมของอนุกรรมาธิการฯ โดยนายประเสริฐ กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าคณะอนุกรรมาธิการฯจะมีการประชุมวันพุธและวันพฤหัสบดีเวลา 14.00 น.โดยจะมีการนำข้อเสนอของนายคณินมาพิจารณาด้วย และจะมีการสัมมนาวันศุกร์ที่ 29 พ.ค. และในวันจันทร์ที่ 1 มิ.ย.เวลา 13.00 น.จะประมวลประเด็นทั้งหมดเพื่อสรุปเสนอต่อคณะกรรมการประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันอังคารที่ 2 มิ.ย.
วันนี้ (20 พ.ค.) ที่รัฐสภา มีการประชุมคณะอนุกรรมการปฏิรูปการเมือง มีนายประเสริฐ ชิตพงศ์ ส.ว.สงขลา ประธานคณะอนุกรรมการฯ เป็นประธานการประชุม พิจารณากรอบและแนวทางการปฏิรูปการเมือง โดยที่ประชุมได้พิจารณากรอบอำนาจของคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งที่ประชุมมีมติให้อำนาจในการวินิจฉัยให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของ ส.ส.และส.ว.ควรเป็นอำนาจของศาลในการตัดสินทั้งก่อนวันเลือกตั้งและหลังวันเลือกตั้ง จากเดิมเป็นของ กกต. และให้ กกต.ประกาศผลการเลือกตั้งโดยเร็วหากพบการทุจริต กกต.ควรยื่นคำร้องต่อศาลเพื่อให้ผู้ถูกร้องมีโอกาสพิสูจน์ข้อเท็จจริงในศาล
นายคณิน บุญสุวรรณ กรรมการฯ กล่าวว่า ตนเห็นว่า กกต.จะต้องเร่งส่งฟ้องศาลเมื่อพบว่ามีการทุจริตการเลือกตั้งของ ส.ส.และส.ว. เพราะบทเรียนที่ผ่านมาการทำงานของ กกต.ค่อนข้างล่าช้า เพราะรัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ กกต.ดำเนินการส่งฟ้องศาลภายใน 1 ปี แต่ศาลจะใช้ระยะเวลาในการวินิจฉัยเท่าใดไม่มีใครทราบ จำเป็นต้องกำหนดระยะเวลาในการดำเนินการของ กกต.เพื่อให้ กกต.ได้มีเวลาที่จะไปทำงานอย่างอื่น ไม่ใช่เฉพาะการจัดการเลือกตั้งเท่านั้น ที่ผ่านมา กกต.ไม่ได้พัฒนาการทำงาน การเผยแพร่กิจกรรมประชาธิปไตย มัวแต่ไปสืบสวน สอบสวนการทุจริตการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ กกต.มีอำนาจมากขึ้น ตนขอเสนอว่า กกต.และศาลจะต้องจบการทำงานภายใน 90-180 วัน หรือ 6 เดือน ทั้งการส่งฟ้องของกกต.และการพิจารณาของศาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมได้พิจารณากรอบเวลาการดำเนินการคดีทุจริตเลือกตั้ง โดยให้ระยะเวลา กกต.ในการดำเนินการสืบสวนสอบสวนคดีทุจริต จนกระทั่งส่งฟ้องศาล เป็นเวลา 1 ปี ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวถือว่านานเกินไปและเกิดความเสียหายต่อประเทศ ซึ่งอนุกรรมการหลายคนเห็นว่า ควรจะกำหนดกรอบเวลาการทำงานของ กกต.และศาลด้วย เพื่อให้คดีจบโดยเร็ว แต่นายเจริญ จรรย์โกมล ส.ส.ชัยภูมิ พรรคเพื่อไทย อนุกรรมการไม่เห็นด้วยที่จะไปกำหนดระยะเวลาการตัดสินของศาล เพราะกระบวนการที่ล่าช้าเนื่องมาจากพิจารณาสืบสวนสอบสวนของ กกต. ในที่สุดที่ประชุมได้มีมติพิจารณา กกต.ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน นับตั้งแต่วันเลือกตั้ง ส่วนการตัดสินของศาลให้เป็นอำนาจของศาล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นอกจากนี้ที่ประชุมได้อภิปรายในประเด็นว่าจะให้ศาลใดเป็นผู้พิจารณาคดีการทุจริต ซึ่งที่ประชุมมีความเห็นที่หลากหลาย โดยนายสุเทพ เจตนาการณ์กุล อนุกรรมการ ผู้พิพากษาอาวุโส กล่าวว่า ขณะนี้ผู้พิพากษาก็มีการพิจารณาคดีเป็นจำนวนมาก ซึ่งตนเห็นว่าควรมีศาลชำนาญพิเศษ เพราะคดีเลือกตั้งมีทั่วประเทศ ซึ่งเป็นทั้งคดีอาญา และเป็นความรับผิดทางการเมือง ซึ่งแยกไม่ออก เพราะข้อเท็จเป็นเรื่องเดียว เสนอว่าเพื่อความยุติธรรม ควรให้ศาลภูมิภาคท้องถิ่นเป็นผู้พิจารณาก่อน ขณะที่นายนายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ ส.ว.พัทลุง พรรคประชาธิปัตย์ กล่าวแย้งว่า คดีเลือกตั้งมีประมาณ 3,000 คดี ซึ่งก็ได้มีการพิจารณาตามกระบวนการตั้งแต่ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา หากจะมีการตั้งศาลใหม่ก็จะมีความยุ่งยากมากขึ้น ในที่สุดที่ประชุมได้มีมติให้คดีทุจริตไปสู่ศาลยุติธรรมแผนกคดีเลือกตั้ง
นายคณินกล่าวว่า หากจะปฏิรูปการเมืองก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการเข้าสู่อำนาจของนักการเมือง หรือองค์กรอิสระ ปฏิรูปการใช้อำนาจ ปฏิรูปการตรวจสอบการใช้อำนาจ เช่น ศาลก็ต้องได้รับการตรวจสอบ ซึ่งการปฏิรูปการเมืองก็หนีไม่พ้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ และให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม โดยเฉพาะการให้ประชาชนเสนอกฎหมายตามรัฐธรรมนูญมาตรา 291 แม้ว่าที่ผ่านมาจะมีประชาชนเข้าชื่อ 50,000 ชื่อเสนอกฎหมายเข้ามา รัฐสภาก็รับไว้พิจารณาแต่ก็เป็นแค่พิธีกรรมเท่านั้น เพราะหากสภาไม่ให้ความเห็นร่าง พ.ร.บ.ฉบับประชาชนก็ตกไป หรือแม้เห็นชอบวาระ 1 ตั้งคณะกรรมาธิการสามัญ ก็ไม่มีตัวแทนของประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม ดังนั้น หากจะให้การเมืองภาคประชาชนเข้ามาก็ต้องรับร่าง พ.ร.บ.แก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน และให้มีการตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญ มีตัวแทนประชาชนมาเข้าร่วมเป็น กมธ. แต่เมื่อถึงวาระ 3 สภาไม่ให้ความเห็นชอบ ก็ควรให้ประชาชนออกเสียงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวถือว่าเป็นเปิดให้การเมืองภาคประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง
“การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นประเด็นโต้แย้งระหว่างนักการเมืองและประชาชนมาโดยตลอด โดยมีการมองว่า แก้เพื่อประโยชน์ของนักการเมือง หากกระบวนการตรงนี้เกิดขึ้น ปัญหาความโต้แย้งก็จะน้อยลง และจะทำให้การเมืองมีเสถียรภาพมากขึ้น ประเทศไทยเคยทำประชามติมา 2 ครั้ง แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเสียงประมาณไปเปล่าๆ นอกจากนี้ผมยังเห็นว่า ส.ส.ไม่ควรสังกัดพรรคการเมือง เพื่อให้นักการเมืองมีอิสระเต็มที่ไม่ต้องอยู่ภายใต้อำนาจของพรรค” นายคณิน กล่าว
จากนั้นที่ประชุมได้พิจารณากรอบเวลาการประชุมของอนุกรรมาธิการฯ โดยนายประเสริฐ กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าคณะอนุกรรมาธิการฯจะมีการประชุมวันพุธและวันพฤหัสบดีเวลา 14.00 น.โดยจะมีการนำข้อเสนอของนายคณินมาพิจารณาด้วย และจะมีการสัมมนาวันศุกร์ที่ 29 พ.ค. และในวันจันทร์ที่ 1 มิ.ย.เวลา 13.00 น.จะประมวลประเด็นทั้งหมดเพื่อสรุปเสนอต่อคณะกรรมการประธานคณะกรรมการสมานฉันท์เพื่อการปฏิรูปการเมือง และการศึกษาแก้ไขรัฐธรรมนูญในวันอังคารที่ 2 มิ.ย.