อนุกรรมการแก้ รธน.เสียงส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญในประเด็นที่มาของ ส.ส. โดย ส.ส.เขตให้กลับมาเป็นแบบเขตเดียว เบอร์เดียว และ ส.ส.สัดส่วนให้เป็นแบบบัญชีรายชื่อ 100 คน ซึ่งเป็นรูปแบบที่ใช้ในรัฐธรรมนูญฉบับปี 2540
วันนี้ (13 พ.ค.) ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้หารือกันต่อในช่วงบ่าย ในประเด็นการเลือกตั้ง ส.ส.ตามที่พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคเพื่อไทยเสนอ โดยตัวแทนทั้ง 3 พรรคเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ควรที่จะมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนให้การเลือกตั้งเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวน 400 คนตามรัฐธรรมนูญปี 2540 แทนการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่ เพราะเขตใหญ่จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีเงิน มีอำนาจ และมีระบบหัวคะแนนสามารถเข้ามาเป็น ส.ส.ได้มากกว่าผู้สมัครที่เป็นคนดี มีความรู้ ส่วน ส.ส.แบบสัดส่วนนั้นควรที่จะปรับให้เป็นแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คนตามเดิม
ขณะที่ตัวแทนจากพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคประชาธิปัตย์ เห็นไปในทิศทางเดียวกันโดยให้คงเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วนตามเดิมของรัฐธรรมนูญ 2550 ไว้ ซึ่งนายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ให้เหตุผลว่าเนื่องจากระบบการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่จะทำให้การซื้อเสียงสามารถทำได้ยากขึ้น และทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกผู้สมัครที่มีความรู้แต่ไม่มีเงิน ส่วนเขตเล็กนั้นหากใครมีอิทธิพลสามารถยึดพื้นที่ตรงนั้นไม่ว่าคนคนนั้นจะทำดีทำชั่วก็จะได้รับเลือกอยู่ตลอด ทั้งนี้ การเสนอความคิดเห็นครั้งนี้ไม่ได้เป็นมติของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นความเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
ด้าน นายศุภชัย กล่าวว่า นายกฯ บอกให้ทุกพรรคสรุปประเด็น แต่พรรคประชาธิปัตย์เองกลับมีแต่ความเห็นส่วนตัวของตัวแทน ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ควรจะกลับไปคุยถึงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ก่อนไม่ใช่ตัวแทนพรรคบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัว แล้วพรรคประชาธิปัตย์ก็มาบอกทีหลังว่าไม่ใช่ความเห็นของพรรค อยากขอให้ถอดหัวโขน ถอดหน้ากากออกก่อน เพื่อแสดงความจริงใจต่อกัน ซึ่งนายนิพนธ์ได้ชี้แจงว่า เรื่องรัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะมายึกยักกัน ตนไม่มองประโยชน์ของใครหรือของพรรคไหนทั้งสิ้น เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กำหนดอนาคตของประเทศ ซึ่งไม่ใช่ว่าพรรคประชาธิปัตย์เล่นเล่ห์เล่นเหลี่ยมอะไร แต่พรรคให้ตัวแทนใช้สิทธิ์ได้อย่างเปิดเผยและเต็มที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการถกเกียงนานกว่า 4 ชั่วโมงครึ่ง ที่ประชุมจึงได้นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 14 พ.ค. เวลา 09.30 น. โดยจะเป็นการพิจารณาในมาตรา 68 และมาตรา 237ประเด็นการยุบพรรคการเมือง
วันนี้ (13 พ.ค.) ที่ประชุมคณะอนุกรรมการพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องได้หารือกันต่อในช่วงบ่าย ในประเด็นการเลือกตั้ง ส.ส.ตามที่พรรคภูมิใจไทย พรรคชาติไทยพัฒนา และพรรคเพื่อไทยเสนอ โดยตัวแทนทั้ง 3 พรรคเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า ควรที่จะมีการแก้ไขปรับเปลี่ยนให้การเลือกตั้งเป็นแบบเขตเดียวเบอร์เดียว จำนวน 400 คนตามรัฐธรรมนูญปี 2540 แทนการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่ เพราะเขตใหญ่จะเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่มีเงิน มีอำนาจ และมีระบบหัวคะแนนสามารถเข้ามาเป็น ส.ส.ได้มากกว่าผู้สมัครที่เป็นคนดี มีความรู้ ส่วน ส.ส.แบบสัดส่วนนั้นควรที่จะปรับให้เป็นแบบบัญชีรายชื่อจำนวน 100 คนตามเดิม
ขณะที่ตัวแทนจากพรรครวมใจไทยชาติพัฒนา และพรรคประชาธิปัตย์ เห็นไปในทิศทางเดียวกันโดยให้คงเขตเลือกตั้งและแบบสัดส่วนตามเดิมของรัฐธรรมนูญ 2550 ไว้ ซึ่งนายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์ ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ ให้เหตุผลว่าเนื่องจากระบบการเลือกตั้งแบบเขตใหญ่จะทำให้การซื้อเสียงสามารถทำได้ยากขึ้น และทำให้ประชาชนมีโอกาสเลือกผู้สมัครที่มีความรู้แต่ไม่มีเงิน ส่วนเขตเล็กนั้นหากใครมีอิทธิพลสามารถยึดพื้นที่ตรงนั้นไม่ว่าคนคนนั้นจะทำดีทำชั่วก็จะได้รับเลือกอยู่ตลอด ทั้งนี้ การเสนอความคิดเห็นครั้งนี้ไม่ได้เป็นมติของพรรคประชาธิปัตย์ แต่เป็นความเห็นส่วนตัวจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
ด้าน นายศุภชัย กล่าวว่า นายกฯ บอกให้ทุกพรรคสรุปประเด็น แต่พรรคประชาธิปัตย์เองกลับมีแต่ความเห็นส่วนตัวของตัวแทน ดังนั้น พรรคประชาธิปัตย์ควรจะกลับไปคุยถึงจุดยืนของพรรคประชาธิปัตย์ก่อนไม่ใช่ตัวแทนพรรคบอกว่าเป็นความเห็นส่วนตัว แล้วพรรคประชาธิปัตย์ก็มาบอกทีหลังว่าไม่ใช่ความเห็นของพรรค อยากขอให้ถอดหัวโขน ถอดหน้ากากออกก่อน เพื่อแสดงความจริงใจต่อกัน ซึ่งนายนิพนธ์ได้ชี้แจงว่า เรื่องรัฐธรรมนูญนั้นไม่ใช่เรื่องที่จะมายึกยักกัน ตนไม่มองประโยชน์ของใครหรือของพรรคไหนทั้งสิ้น เพราะรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด กำหนดอนาคตของประเทศ ซึ่งไม่ใช่ว่าพรรคประชาธิปัตย์เล่นเล่ห์เล่นเหลี่ยมอะไร แต่พรรคให้ตัวแทนใช้สิทธิ์ได้อย่างเปิดเผยและเต็มที่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการถกเกียงนานกว่า 4 ชั่วโมงครึ่ง ที่ประชุมจึงได้นัดประชุมอีกครั้งในวันที่ 14 พ.ค. เวลา 09.30 น. โดยจะเป็นการพิจารณาในมาตรา 68 และมาตรา 237ประเด็นการยุบพรรคการเมือง