เลขาฯ กมธ.พิทักษ์สถาบัน จี้รัฐบาลเร่งจัดการเสื้อแดงหมิ่นสถาบัน ต้องการโค่นล้มระบอบอำมาตยาธิปไตย หวังสถาปนาระบอบใหม่แทน ชี้ การเรียกร้องให้องคมนตรีลาออก บ่งบอกนัยก้าวล่วงพระราชอัธยาศัย
วันนี้ (7 เม.ย.) พล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามมาตรการการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการอื่นในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา และ นายคำนูณ สิทธิสมาน เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามมาตรการการบังคับใช้กฎหมาย ร่วมกันแถลงข่าวถึงข้อห่วงใยที่มีการแสดงออกของกลุ่มบุคคลที่ไม่เคารพต่อสถาบัน
โดย พล.อ.อ.ณพฤษภ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีกลุ่มบุคคลที่มีการแสดงออกโดยไม่ยำเกรงต่อสถาบันเพิ่มขึ้น ซึ่งตนรู้สึกไม่สบายใจ ว่า เหตุใดถึงมีกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ซึ่งการออกมาชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ยืนยันว่า จะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็ยังมีพฤติกรรมที่ล่วงละเมิดต่อสถาบัน แม้แต่แกนนำที่ปราศรัยบนเวที และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมส่อว่าละเมิดหมิ่นแคลนสถาบัน ถึงแม้จะไม่พูดโดยตรงก็มีความพยายามที่จะพาดพิงคนของพ่อแม่ของเรา แสดงให้เห็นว่า มีเป้าหมายที่อยากจะทำให้พ่อแม่ของเราเดือดร้อน ตนจึงอยากขอร้องให้ผู้ที่ชุมนุมและผู้ที่รักสันติให้เตือนตัวเอง ว่า ยังทำบาปต่อประเทศชาติไม่พอหรือ จึงได้ขาดสติรับเอาสิ่งที่ทำให้คนทั้งประเทศฟุ้งซ่าน ตนจึงอยากเตือนว่าอย่าหลงเชื่อคนเพียงไม่กี่คน และอยากจะวิงวอนให้ทุกฝ่ายที่จาบจ้วงสถาบัน อย่าได้ท้าทายต่อจิตวิญญาณของชาวไทย
ด้าน นายคำนูณ กล่าวว่า จากการทำงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา ที่ตั้งขึ้นโดยมติที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2552 แม้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ก็มีข้อมูลที่ยืนยันได้ในระดับสำคัญว่า ประการที่หนึ่ง มีคณะบุคคลจำนวนหนึ่ง แม้จะไม่มากนัก ที่มีอุดมการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พยายามนำเสนอแนวคิดระบอบประชาธิปไตยของปวงมหาประชาชนขึ้นมา มีเป้าหมายสร้างกระแสลดทอนพระราชอำนาจอันมีมาตามนิติราชประเพณีและรัฐธรรมนูญ บางคนในคณะบุคคลดังกล่าวได้ฝังตัวเข้าไปทำงานในพรรคการเมืองบางพรรค และเข้าไปมีบทบาทในกลุ่มประชาชนที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชุดนี้มาตั้งแต่ปี 2550 ภายใต้ข้อเรียกร้องต้องการระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง และโค่นล้มระบอบอำมาตยาธิปไตย หลักฐานที่พอจะยืนยันเป็นรูปธรรมได้ในเบื้องต้นคือ บุคคลที่ได้ร่วมเคลื่อนไหวในขบวนนี้ ต้องคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยบางบุคคลได้กระทำความผิดบนเวทีปราศรัยของกลุ่มประชาชนที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชุดนี้ ผู้ต้องหาเหล่านี้มีบ้างที่หนีคดี มีบ้างที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี และมีบ้างที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้ว
ประการที่สอง การวิพากษ์วิจารณ์องคมนตรี แม้จะเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่การเคลื่อนไหวกดดันให้องคมนตรีบางท่านลาออก เป็นการไม่เหมาะสม ไม่บังควร เพราะหมิ่นเหม่กับการละเมิดพระราชอำนาจ เนื่องจากการแต่งตั้งองคมนตรีและการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งนั้น รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ประการที่สาม คณะกรรมาธิการเคารพในหลักการเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการชุมนุมโดยสันติและปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 แต่ก็เห็นว่าเสรีภาพดังกล่าวมีข้อจำกัดตรงที่จะต้องไม่เป็นไปเพื่อการทำลายระบอบหรือทำลายรัฐธรรมนูญนั้นเอง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ถือเป็นหลักการเดียวกับรัฐธรรมนูญของนานาอารยะประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และหลักการนี้บัญญัติไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 แล้ว
ประการที่สี่ คณะกรรมาธิการเห็นว่า รัฐบาลและกองทัพต้องทำหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ด้วยการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยวิธีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และชี้แจงความจริงตอบโต้ความเท็จผ่านสื่อ ทั้งสื่อของรัฐ สื่อของกองทัพ และสื่อของภาคเอกชน โดยยึดหลักใช้ความจริงล้างความเท็จ ใช้ความสว่างไล่ความมืด
วันนี้ (7 เม.ย.) พล.อ.อ.ณพฤษภ์ มัณฑะจิตร ประธานคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามมาตรการการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการอื่นในการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา และ นายคำนูณ สิทธิสมาน เลขานุการคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามมาตรการการบังคับใช้กฎหมาย ร่วมกันแถลงข่าวถึงข้อห่วงใยที่มีการแสดงออกของกลุ่มบุคคลที่ไม่เคารพต่อสถาบัน
โดย พล.อ.อ.ณพฤษภ์ กล่าวว่า ขณะนี้มีกลุ่มบุคคลที่มีการแสดงออกโดยไม่ยำเกรงต่อสถาบันเพิ่มขึ้น ซึ่งตนรู้สึกไม่สบายใจ ว่า เหตุใดถึงมีกลุ่มคนที่มีพฤติกรรมเช่นนี้ ซึ่งการออกมาชุมนุมประท้วงของกลุ่มคนเสื้อแดง ที่ยืนยันว่า จะเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ก็ยังมีพฤติกรรมที่ล่วงละเมิดต่อสถาบัน แม้แต่แกนนำที่ปราศรัยบนเวที และ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ก็มีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีพฤติกรรมส่อว่าละเมิดหมิ่นแคลนสถาบัน ถึงแม้จะไม่พูดโดยตรงก็มีความพยายามที่จะพาดพิงคนของพ่อแม่ของเรา แสดงให้เห็นว่า มีเป้าหมายที่อยากจะทำให้พ่อแม่ของเราเดือดร้อน ตนจึงอยากขอร้องให้ผู้ที่ชุมนุมและผู้ที่รักสันติให้เตือนตัวเอง ว่า ยังทำบาปต่อประเทศชาติไม่พอหรือ จึงได้ขาดสติรับเอาสิ่งที่ทำให้คนทั้งประเทศฟุ้งซ่าน ตนจึงอยากเตือนว่าอย่าหลงเชื่อคนเพียงไม่กี่คน และอยากจะวิงวอนให้ทุกฝ่ายที่จาบจ้วงสถาบัน อย่าได้ท้าทายต่อจิตวิญญาณของชาวไทย
ด้าน นายคำนูณ กล่าวว่า จากการทำงานของคณะกรรมาธิการวิสามัญศึกษาติดตามการบังคับใช้กฎหมายและมาตรการเกี่ยวกับการพิทักษ์สถาบันพระมหากษัตริย์ วุฒิสภา ที่ตั้งขึ้นโดยมติที่ประชุมวุฒิสภา เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2552 แม้จะยังไม่เสร็จสมบูรณ์ แต่ก็มีข้อมูลที่ยืนยันได้ในระดับสำคัญว่า ประการที่หนึ่ง มีคณะบุคคลจำนวนหนึ่ง แม้จะไม่มากนัก ที่มีอุดมการณ์เป็นปฏิปักษ์ต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ และระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข พยายามนำเสนอแนวคิดระบอบประชาธิปไตยของปวงมหาประชาชนขึ้นมา มีเป้าหมายสร้างกระแสลดทอนพระราชอำนาจอันมีมาตามนิติราชประเพณีและรัฐธรรมนูญ บางคนในคณะบุคคลดังกล่าวได้ฝังตัวเข้าไปทำงานในพรรคการเมืองบางพรรค และเข้าไปมีบทบาทในกลุ่มประชาชนที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชุดนี้มาตั้งแต่ปี 2550 ภายใต้ข้อเรียกร้องต้องการระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง และโค่นล้มระบอบอำมาตยาธิปไตย หลักฐานที่พอจะยืนยันเป็นรูปธรรมได้ในเบื้องต้นคือ บุคคลที่ได้ร่วมเคลื่อนไหวในขบวนนี้ ต้องคดีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 โดยบางบุคคลได้กระทำความผิดบนเวทีปราศรัยของกลุ่มประชาชนที่เคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาลชุดนี้ ผู้ต้องหาเหล่านี้มีบ้างที่หนีคดี มีบ้างที่อยู่ระหว่างการดำเนินคดี และมีบ้างที่ศาลมีคำพิพากษาลงโทษแล้ว
ประการที่สอง การวิพากษ์วิจารณ์องคมนตรี แม้จะเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น แต่การเคลื่อนไหวกดดันให้องคมนตรีบางท่านลาออก เป็นการไม่เหมาะสม ไม่บังควร เพราะหมิ่นเหม่กับการละเมิดพระราชอำนาจ เนื่องจากการแต่งตั้งองคมนตรีและการให้องคมนตรีพ้นจากตำแหน่งนั้น รัฐธรรมนูญกำหนดให้เป็นไปตามพระราชอัธยาศัย
ประการที่สาม คณะกรรมาธิการเคารพในหลักการเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น และการชุมนุมโดยสันติและปราศจากอาวุธ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 63 แต่ก็เห็นว่าเสรีภาพดังกล่าวมีข้อจำกัดตรงที่จะต้องไม่เป็นไปเพื่อการทำลายระบอบหรือทำลายรัฐธรรมนูญนั้นเอง ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 68 ถือเป็นหลักการเดียวกับรัฐธรรมนูญของนานาอารยะประเทศประชาธิปไตยทั้งหลายตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา และหลักการนี้บัญญัติไว้ตั้งแต่รัฐธรรมนูญ 2540 แล้ว
ประการที่สี่ คณะกรรมาธิการเห็นว่า รัฐบาลและกองทัพต้องทำหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญมาตรา 77 ด้วยการปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ โดยวิธีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด และชี้แจงความจริงตอบโต้ความเท็จผ่านสื่อ ทั้งสื่อของรัฐ สื่อของกองทัพ และสื่อของภาคเอกชน โดยยึดหลักใช้ความจริงล้างความเท็จ ใช้ความสว่างไล่ความมืด