สมาคมนักข่าวฯ จัดราชดำเนินเสวนา “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปกป้องหรือคุกคาม” พร้อมเชิญวิทยากรทั้งตำรวจ-ไอซีที-ตัวแทนพลเมืองเน็ต ร่วมถก ด้าน “สุภิญญา” ยกข้อมูลนักท่องเน็ตถูกรวบตัวผิดกฎหมายเว็บไซต์ ชี้ ลิดรอนสิทธิพื้นฐาน ด้าน “ตำรวจฝ่ายตรวจสอบเว็บหมิ่น” แจงทุกกรณีที่ถูกจับกุมมีความผิดชัด โพสต์ข้อความหมิ่นประมาทใส่ร้าย ยันก่อนจับกุมขอความเห็นศาลทุกราย เผย จับตา 5 เว็บไซต์เข้าข่ายหมิ่น เล็งปิดอีก 2 เว็บปล่อยโพสต์ใส่ร้ายตรงไปตรงมา
วันนี้ (27 มี.ค.) ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน สมาคมนักข่าวฯ จัดเสวนา “ราชดำเนินเสวนา” ในหัวข้อ “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปกป้องหรือคุกคาม” ซึ่งจัดโดย สมาคมนักข่าวฯและสถาบันอิศรา โดยมีวิทยากรทั้งจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมเสวนา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสวนาครั้งนี้ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ประสานเครือข่ายพลเมืองเน็ต หนึ่งในวิทยากรที่ร่วมเสวนา ได้นำข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีภายใต้ พ.ร.บ.ดังกล่าว ว่าด้วยเรื่องความมั่นคงของรัฐภายหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 โดยมีทั้งหมด 5 กรณี
โดย นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า กรณีที่ 1.ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งใช้นามแฝงว่า “พระยาพิชัย” อาชีพดูแลเว็บเป็นชายอายุประมาณ 30 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าจับกุมตัวเมื่อวันที่ 24 ส.ค.ด้วยความผิดตามมาตรา 14(1) และ (2) ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว และถูกฝากขังเป็นระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์ จากนั้นได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2552 ด้วยวงเงิน 1 แสนบาท ส่วนกรณีที่ 2 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผู้มีนามแฝงว่า “ท่อนจัน” อาชีพอิสระ และเป็นบล็อกเกอร์ผู้หญิงอายุ 37 ปี ถูกจับกุมตัวในวันเดียวกันกับพระยาพิชัย และถูกฝากขัง จากนั้นได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2552 ด้วยวงเงิน 1 แสนบาท
“อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 รายถูกฝากขังที่เรือนจำพิเศษคลองเปรม โดยที่สังคมไม่ได้รับรู้ และไม่ได้รับการประกันตัว จนกระทั่งมีกระแสข่าวจากสื่อมวลชนถึงกรณีดังกล่าว จึงทำให้เกิดกระแสเคลื่อนไหวจากองค์กรสิทธิมนุษยชนใน และต่างประเทศ จากนั้นทั้ง 2 คนก็ได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 1 แสนบาท โดยศาลอาญามีคำสั่งให้ทั้งสองมารายงานตัวที่ศาลอีกครั้งในวันที่ 12 ต.ค.2552 ซึ่งทั้งสองคดีนี้ไม่ปรากฏว่าทางอัยการได้สั่งฟ้อง ทั้งนี้ อายุของคดีดังกล่าวมีอายุความ 10 ปี” น.ส.สุภิญญา กล่าว
น.ส.สุภิญญา กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ 3 นายสุวิชา ท่าค้อ อายุ 35 ปี อาชีพวิศวกร ถูกตำรวจจับกุมขณะที่กำลังเดินซื้อของในจังหวัดนครพนม พร้อมกับถูกบุกค้นบ้านในกรุงเทพฯที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ในวันที่ 14 ม.ค.2552 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ข้อหาทำผิด พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14(1) และ (2) และมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดย นายสุวิชา ถูกตำรวจตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสต์คลิปในเว็บไซต์ You Tube โดยบุคคลที่ใช้ชื่อว่า “Thaiman 8” ซึ่ง นายสุวิชา ได้ยื่นขอประกันตัวสองครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธทั้งสองครั้ง ปัจจุบันยังคงถูกฝากขังที่เรือนจำพิเศษคลองเปรม
กรณีที่ 4 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ผู้หญิงอายุประมาณ 25 ปี ซึ่งถูกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของนามแฝง “Buffalo Boy” ถูกจับกุมช่วงวันที่ 30 ม.ค.2552 สืบเนื่องจากข้อความที่ถูกโพสต์ในเว็บบอร์ดประชาไท หลังจากถูกฝากขังได้สักระยะ จึงได้มีการขอประกันตัวออกไปด้วยวงเงิน 2 ล้านบาท ปัจจุบันไม่มีใครทราบรายละเอียดของผู้ถูกดำเนินคดีรายนี้
และกรณีที่ 5 นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผอ.และผู้ดูแลเว็บบอร์ดของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท ถูกจับกุม และบุกค้นสำนักงานโดยกองปราบปราม เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.2552 ตามความผิดในมาตรา 14 และ 15 ของ พ.ร.บ.คอมฯ เนื่องด้วยข้อกล่าวหาว่า ได้ดำเนินการปล่อยให้ข้อความของ Buffalo Boy ซึ่งถูกนำมาโพสต์โดยใช้ชื่อว่า Bento ในพื้นที่เว็บบอร์ดเป็นระยะเวลากว่า 20 วัน ก่อนที่จะลบข้อความออก
“น.ส.จีรนุช ได้รับการประกันตัวออกไปในวันเดียวกันด้วยหลักประกัน 7 หมื่นบาท ถือว่าคดีของ น.ส.จีรนุช เป็นรายเดียวที่ได้รับการประกันตัวในวันที่ถูกจับกุม ในขณะที่รายอื่นโดนฝากขังเป็นระยะเวลาหลายอาทิตย์ หรือหลายเดือน” น.ส.สุภิญญา กล่าว
ด้าน พ.ต.อ.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองผู้บังคับการศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวชี้แจงว่า ตนเรียนว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายนี้ เพื่อปกป้องผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มาตรา 9-14 มุ่งกระทำต่อระบบ ทั้งนี้ สามารถมองเรื่องนี้สองบริบท คือ 1.เรามองว่าคอมพ์เป็นเป้าหมายของการกระทำผิด ดังนั้น คดีพวกนี้จึงมีค่อนข้างน้อยที่ทำกับระบบจริง บริบทที่สอง คือมักจะใช้คอมพ์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด
“ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้พิจารณาถึงผลกระทบต่อผู้ใช้ และผู้ออกกฎหมายมุ่งปกป้องผู้ที่ใช้ในทางที่ดี และปกป้องคนดี จะสังเกตว่า ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับเสรีภาพต้องใช้คำสั่งของศาลเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นการยึด การปิดกั้น ต้องโดยรับอนุมัติจากศาล โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะนำพยานหลักฐานไปชี้แจงต่อศาล” พ.ต.อ.พิสิษฐ์ กล่าว
พ.ต.อ.พิสิษฐ์ กล่าวถึงเรื่องของการออกคำสั่งและขอหมายจับจากศาลอีกว่า ในกรณีคำสั่งอันนั้นจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้คอมพ์ตรง ที่ต้องมีพยานหลักฐาน และต้องปราศจากข้อสงสัยศาลจึงจะมีคำสั่ง ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องชี้แจงว่าการกระทำนั้นอยู่ในอำนาจที่พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องต่อศาลได้ ส่วนการแพร่ภาพลามกตามมาตรา 14 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจขอศาล และชี้แจง ถ้าวับๆ แวมๆ ก็ไม่เข้า ต้องไปเปิดให้ศาลดูว่าสามารถเข้าถึงได้ ถ้าเชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยก็จะมีคำสั่ง ส่วนการขอหมายมีหมายค้น หมายจับ อันนี้ต้องมีพยานหลักฐาน ส่วนที่ยังไม่มีความผิดว่าผู้นั้นกระทำความผิด เพียงแค่เชื่อว่าศาลก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานในการที่จะตรวจค้น ยึดอายัดและออกหมาย โดยผู้ถูกกล่าวหาสามารถพิสูจน์ความผิดตามรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายไทยเป็นระบบของการกล่าวหา ถามว่า การขอทั้งคำสั่งและหมายมีการปฏิเสธไหม ก็มีมากในกรณีทีคุณไม่สามารถนำเสนอต่อศาล แต่มีเหตุคลุมเครือศาลก็ให้รวบรวมพยานหลักฐานมาเพิ่ม ดังนั้น เจตนารมณ์ของศาลจะเป็นการคานอำนาจไม่ให้พิจารณาโดยลำพัง ซึ่งเป็นกติกาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ
อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.พิสิษฐ์ กล่าวยอมรับว่า กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีความสมบูรณ์แบบ ขอเรียนว่า ในการดำเนินการใช้มาสองปีก็ยังจะต้องมีการเปลี่ยนและปรับค่อนข้างมาก ส่วนกรณีที่สื่อมองว่าคุกคาม ถ้ามองจากสื่อจะมองว่า ใช้ พ.ร.บ คุกคาม ขอเรียนว่า รายชื่อที่ นางสาวสุภิญญา ระบุมานั้น พวกนี้เป็นพวกที่มีการกระทำผิดโดยชัดเจนในคดีความมั่นคงแห่งรัฐ การดำเนินการกับบุคคลเหล่านี้ การโพสต์ข้อความเราต้องยอมรับว่าในอินเทอร์เน็ตมีจำนวนมาก
“ดังนั้น คนเหล่านี้มีคำพูดตรงไปตรงมา ไม่ต้องตีความ ฉะนั้น ในส่วนของ สตช.เรามีระดับในการดำเนินการ คือ 1.ผิดชัดเจนไม่ต้องตีความ เพราะระบุชัดเจนตรงไปตรงมา ทั้งภาพและเหตุการณ์ ต้องดำเนินคดี ต้องปิดกั้น 2.พวกที่ใช้คำพูดเฉียดไปเฉียดมา อันนี้ถือว่าเบาๆ จะเป็นการขอความร่วมมือให้เว็บมาสเตอร์ลบออก จะมีการประสานทางโทรศัพท์หรือหนังสือ เราไม่ได้ทำตามกฎหมายเป๊ะๆ เลย เพราะเราคำนึงถึงหลายอย่าง อย่างไรก็ตา มกรณีของเว็บประชาไท มีคนร้องเรียนจำนวนมากว่ามีข้อความไม่เหมาะสม และข้อความก็ค้างในเว็บนานถึง 4 เดือน
พ.ต.อ.พิสิษฐ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีเว็บถึง 4-5 เว็บที่ต้องมีการจับตาเป็นพิเศษ เพราะมีบางเว็บ 90% ของผู้แสดงความคิดเห็นกระทบสถาบันของชาติ โดยในหน้าที่ของตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และอีกหน้าที่ก็เป็นพลเมืองของประเทศไทย ซึ่งตนสงสัยว่า ทำไมเว็บอื่นถึงมีความหลากหลาย แต่ทำไมเว็บนี้เปิดไปหน้าเว็บ 90% มีแต่เรื่องอย่างนั้น อย่างไรก็ตามในไม่ช้านี้จะมีการดำเนินการปิดเว็บลักษณะดังกล่าว 2-3 เว็บ แต่ไม่สามารบอกได้ว่าเป็นเว็บอะไร แต่ยืนยันว่า เว็บเหล่านั้นมีการโพสต์ข้อความตรงไปตรงมาไม่ต้องตีความ
ขณะที่ นางอังสุมาล ศุนาลัย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่าไอซีทีมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ แต่มีขีดจำกัดเพราะต้องยอมรับสังคมไทยเรื่องการซุบซิบนินทากันมาก แต่ไม่แสดงตัวเพื่อรับผิดชอบว่าพูดอะไรลงไป ซึ่งขณะนี้เข้าสู่โลกของความรับผิดชอบแล้ว แต่การปิดกั้นมีการส่งเรื่องถึงศาล อะไรที่คลุมเครือเราไม่ส่ง เพราะเรามองอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะเรามีหน้าที่ส่งเสริมไม่ใช่ต้องการให้เลิกกิจการ ฉะนั้นสิ่งที่ไม่ดีเราจะพยายามจะปิดและสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา
“เราอาจจะดูแลไม่ทั่วถึงเราก็แจ้งไปทางท่านก็กรุณาช่วยด้วย เราก็พยายามหาวิธีการลดความเสียหายที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด ถามว่าทำไมเราถึงทำงานช้า บางคนเสียหายก็บอกว่าเร็วเกินไป ดังนั้นจึงอยากให้มีการร่วมมือ เพราะเยาวชนจะเกิดมาในสังคมอย่างไรถ้ามีแต่การมอมเมา” รองปลัดไอซีที กล่าว
วันนี้ (27 มี.ค.) ที่ห้องประชุมอิศรา อมันตกุล สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ถนนสามเสน สมาคมนักข่าวฯ จัดเสวนา “ราชดำเนินเสวนา” ในหัวข้อ “พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ปกป้องหรือคุกคาม” ซึ่งจัดโดย สมาคมนักข่าวฯและสถาบันอิศรา โดยมีวิทยากรทั้งจากหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง นักวิชาการ และตัวแทนภาคประชาชนเข้าร่วมเสวนา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการเสวนาครั้งนี้ นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ ผู้ประสานเครือข่ายพลเมืองเน็ต หนึ่งในวิทยากรที่ร่วมเสวนา ได้นำข้อมูลผู้ถูกดำเนินคดีภายใต้ พ.ร.บ.ดังกล่าว ว่าด้วยเรื่องความมั่นคงของรัฐภายหลังกฎหมายมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2550 โดยมีทั้งหมด 5 กรณี
โดย นางสาวสุภิญญา กล่าวว่า กรณีที่ 1.ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตซึ่งใช้นามแฝงว่า “พระยาพิชัย” อาชีพดูแลเว็บเป็นชายอายุประมาณ 30 ปี ถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจบุกเข้าจับกุมตัวเมื่อวันที่ 24 ส.ค.ด้วยความผิดตามมาตรา 14(1) และ (2) ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว และถูกฝากขังเป็นระยะเวลากว่า 2 สัปดาห์ จากนั้นได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 6 ก.พ.2552 ด้วยวงเงิน 1 แสนบาท ส่วนกรณีที่ 2 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตผู้มีนามแฝงว่า “ท่อนจัน” อาชีพอิสระ และเป็นบล็อกเกอร์ผู้หญิงอายุ 37 ปี ถูกจับกุมตัวในวันเดียวกันกับพระยาพิชัย และถูกฝากขัง จากนั้นได้รับการประกันตัวเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2552 ด้วยวงเงิน 1 แสนบาท
“อย่างไรก็ตาม ทั้ง 2 รายถูกฝากขังที่เรือนจำพิเศษคลองเปรม โดยที่สังคมไม่ได้รับรู้ และไม่ได้รับการประกันตัว จนกระทั่งมีกระแสข่าวจากสื่อมวลชนถึงกรณีดังกล่าว จึงทำให้เกิดกระแสเคลื่อนไหวจากองค์กรสิทธิมนุษยชนใน และต่างประเทศ จากนั้นทั้ง 2 คนก็ได้รับการประกันตัวด้วยวงเงิน 1 แสนบาท โดยศาลอาญามีคำสั่งให้ทั้งสองมารายงานตัวที่ศาลอีกครั้งในวันที่ 12 ต.ค.2552 ซึ่งทั้งสองคดีนี้ไม่ปรากฏว่าทางอัยการได้สั่งฟ้อง ทั้งนี้ อายุของคดีดังกล่าวมีอายุความ 10 ปี” น.ส.สุภิญญา กล่าว
น.ส.สุภิญญา กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่ 3 นายสุวิชา ท่าค้อ อายุ 35 ปี อาชีพวิศวกร ถูกตำรวจจับกุมขณะที่กำลังเดินซื้อของในจังหวัดนครพนม พร้อมกับถูกบุกค้นบ้านในกรุงเทพฯที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้งาน ในวันที่ 14 ม.ค.2552 โดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ DSI ข้อหาทำผิด พ.ร.บ.คอมฯ มาตรา 14(1) และ (2) และมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญาว่าด้วยการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดย นายสุวิชา ถูกตำรวจตั้งข้อกล่าวหาว่าเป็นผู้โพสต์คลิปในเว็บไซต์ You Tube โดยบุคคลที่ใช้ชื่อว่า “Thaiman 8” ซึ่ง นายสุวิชา ได้ยื่นขอประกันตัวสองครั้ง แต่ได้รับการปฏิเสธทั้งสองครั้ง ปัจจุบันยังคงถูกฝากขังที่เรือนจำพิเศษคลองเปรม
กรณีที่ 4 ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ผู้หญิงอายุประมาณ 25 ปี ซึ่งถูกล่าวหาว่าเป็นเจ้าของนามแฝง “Buffalo Boy” ถูกจับกุมช่วงวันที่ 30 ม.ค.2552 สืบเนื่องจากข้อความที่ถูกโพสต์ในเว็บบอร์ดประชาไท หลังจากถูกฝากขังได้สักระยะ จึงได้มีการขอประกันตัวออกไปด้วยวงเงิน 2 ล้านบาท ปัจจุบันไม่มีใครทราบรายละเอียดของผู้ถูกดำเนินคดีรายนี้
และกรณีที่ 5 นางสาวจีรนุช เปรมชัยพร ผอ.และผู้ดูแลเว็บบอร์ดของหนังสือพิมพ์ออนไลน์ประชาไท ถูกจับกุม และบุกค้นสำนักงานโดยกองปราบปราม เมื่อวันศุกร์ที่ 6 มี.ค.2552 ตามความผิดในมาตรา 14 และ 15 ของ พ.ร.บ.คอมฯ เนื่องด้วยข้อกล่าวหาว่า ได้ดำเนินการปล่อยให้ข้อความของ Buffalo Boy ซึ่งถูกนำมาโพสต์โดยใช้ชื่อว่า Bento ในพื้นที่เว็บบอร์ดเป็นระยะเวลากว่า 20 วัน ก่อนที่จะลบข้อความออก
“น.ส.จีรนุช ได้รับการประกันตัวออกไปในวันเดียวกันด้วยหลักประกัน 7 หมื่นบาท ถือว่าคดีของ น.ส.จีรนุช เป็นรายเดียวที่ได้รับการประกันตัวในวันที่ถูกจับกุม ในขณะที่รายอื่นโดนฝากขังเป็นระยะเวลาหลายอาทิตย์ หรือหลายเดือน” น.ส.สุภิญญา กล่าว
ด้าน พ.ต.อ.พิสิษฐ์ เปาอินทร์ รองผู้บังคับการศูนย์ตรวจสอบและวิเคราะห์การกระทำผิดทางเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ (สตช.) กล่าวชี้แจงว่า ตนเรียนว่า เจตนารมณ์ของกฎหมายนี้ เพื่อปกป้องผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะสังเกตได้ว่า มาตรา 9-14 มุ่งกระทำต่อระบบ ทั้งนี้ สามารถมองเรื่องนี้สองบริบท คือ 1.เรามองว่าคอมพ์เป็นเป้าหมายของการกระทำผิด ดังนั้น คดีพวกนี้จึงมีค่อนข้างน้อยที่ทำกับระบบจริง บริบทที่สอง คือมักจะใช้คอมพ์เป็นเครื่องมือในการกระทำผิด
“ซึ่งกฎหมายฉบับนี้ได้พิจารณาถึงผลกระทบต่อผู้ใช้ และผู้ออกกฎหมายมุ่งปกป้องผู้ที่ใช้ในทางที่ดี และปกป้องคนดี จะสังเกตว่า ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับเสรีภาพต้องใช้คำสั่งของศาลเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็นการค้นการยึด การปิดกั้น ต้องโดยรับอนุมัติจากศาล โดยพนักงานเจ้าหน้าที่จะนำพยานหลักฐานไปชี้แจงต่อศาล” พ.ต.อ.พิสิษฐ์ กล่าว
พ.ต.อ.พิสิษฐ์ กล่าวถึงเรื่องของการออกคำสั่งและขอหมายจับจากศาลอีกว่า ในกรณีคำสั่งอันนั้นจะมีผลกระทบต่อผู้ใช้คอมพ์ตรง ที่ต้องมีพยานหลักฐาน และต้องปราศจากข้อสงสัยศาลจึงจะมีคำสั่ง ทั้งนี้ พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องชี้แจงว่าการกระทำนั้นอยู่ในอำนาจที่พนักงานเจ้าหน้าที่ร้องต่อศาลได้ ส่วนการแพร่ภาพลามกตามมาตรา 14 พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจขอศาล และชี้แจง ถ้าวับๆ แวมๆ ก็ไม่เข้า ต้องไปเปิดให้ศาลดูว่าสามารถเข้าถึงได้ ถ้าเชื่อโดยไม่มีข้อสงสัยก็จะมีคำสั่ง ส่วนการขอหมายมีหมายค้น หมายจับ อันนี้ต้องมีพยานหลักฐาน ส่วนที่ยังไม่มีความผิดว่าผู้นั้นกระทำความผิด เพียงแค่เชื่อว่าศาลก็ให้อำนาจเจ้าพนักงานในการที่จะตรวจค้น ยึดอายัดและออกหมาย โดยผู้ถูกกล่าวหาสามารถพิสูจน์ความผิดตามรัฐธรรมนูญ เพราะกฎหมายไทยเป็นระบบของการกล่าวหา ถามว่า การขอทั้งคำสั่งและหมายมีการปฏิเสธไหม ก็มีมากในกรณีทีคุณไม่สามารถนำเสนอต่อศาล แต่มีเหตุคลุมเครือศาลก็ให้รวบรวมพยานหลักฐานมาเพิ่ม ดังนั้น เจตนารมณ์ของศาลจะเป็นการคานอำนาจไม่ให้พิจารณาโดยลำพัง ซึ่งเป็นกติกาสากลที่ทั่วโลกยอมรับ
อย่างไรก็ตาม พ.ต.อ.พิสิษฐ์ กล่าวยอมรับว่า กฎหมายดังกล่าวยังไม่มีความสมบูรณ์แบบ ขอเรียนว่า ในการดำเนินการใช้มาสองปีก็ยังจะต้องมีการเปลี่ยนและปรับค่อนข้างมาก ส่วนกรณีที่สื่อมองว่าคุกคาม ถ้ามองจากสื่อจะมองว่า ใช้ พ.ร.บ คุกคาม ขอเรียนว่า รายชื่อที่ นางสาวสุภิญญา ระบุมานั้น พวกนี้เป็นพวกที่มีการกระทำผิดโดยชัดเจนในคดีความมั่นคงแห่งรัฐ การดำเนินการกับบุคคลเหล่านี้ การโพสต์ข้อความเราต้องยอมรับว่าในอินเทอร์เน็ตมีจำนวนมาก
“ดังนั้น คนเหล่านี้มีคำพูดตรงไปตรงมา ไม่ต้องตีความ ฉะนั้น ในส่วนของ สตช.เรามีระดับในการดำเนินการ คือ 1.ผิดชัดเจนไม่ต้องตีความ เพราะระบุชัดเจนตรงไปตรงมา ทั้งภาพและเหตุการณ์ ต้องดำเนินคดี ต้องปิดกั้น 2.พวกที่ใช้คำพูดเฉียดไปเฉียดมา อันนี้ถือว่าเบาๆ จะเป็นการขอความร่วมมือให้เว็บมาสเตอร์ลบออก จะมีการประสานทางโทรศัพท์หรือหนังสือ เราไม่ได้ทำตามกฎหมายเป๊ะๆ เลย เพราะเราคำนึงถึงหลายอย่าง อย่างไรก็ตา มกรณีของเว็บประชาไท มีคนร้องเรียนจำนวนมากว่ามีข้อความไม่เหมาะสม และข้อความก็ค้างในเว็บนานถึง 4 เดือน
พ.ต.อ.พิสิษฐ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม ขณะนี้มีเว็บถึง 4-5 เว็บที่ต้องมีการจับตาเป็นพิเศษ เพราะมีบางเว็บ 90% ของผู้แสดงความคิดเห็นกระทบสถาบันของชาติ โดยในหน้าที่ของตนเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ และอีกหน้าที่ก็เป็นพลเมืองของประเทศไทย ซึ่งตนสงสัยว่า ทำไมเว็บอื่นถึงมีความหลากหลาย แต่ทำไมเว็บนี้เปิดไปหน้าเว็บ 90% มีแต่เรื่องอย่างนั้น อย่างไรก็ตามในไม่ช้านี้จะมีการดำเนินการปิดเว็บลักษณะดังกล่าว 2-3 เว็บ แต่ไม่สามารบอกได้ว่าเป็นเว็บอะไร แต่ยืนยันว่า เว็บเหล่านั้นมีการโพสต์ข้อความตรงไปตรงมาไม่ต้องตีความ
ขณะที่ นางอังสุมาล ศุนาลัย รองปลัดกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กล่าวว่าไอซีทีมีหน้าที่ส่งเสริมสนับสนุนในการใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อให้เกิดประโยชน์ของการนำไปใช้ แต่มีขีดจำกัดเพราะต้องยอมรับสังคมไทยเรื่องการซุบซิบนินทากันมาก แต่ไม่แสดงตัวเพื่อรับผิดชอบว่าพูดอะไรลงไป ซึ่งขณะนี้เข้าสู่โลกของความรับผิดชอบแล้ว แต่การปิดกั้นมีการส่งเรื่องถึงศาล อะไรที่คลุมเครือเราไม่ส่ง เพราะเรามองอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะเรามีหน้าที่ส่งเสริมไม่ใช่ต้องการให้เลิกกิจการ ฉะนั้นสิ่งที่ไม่ดีเราจะพยายามจะปิดและสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมา
“เราอาจจะดูแลไม่ทั่วถึงเราก็แจ้งไปทางท่านก็กรุณาช่วยด้วย เราก็พยายามหาวิธีการลดความเสียหายที่เกิดขึ้นให้มากที่สุด ถามว่าทำไมเราถึงทำงานช้า บางคนเสียหายก็บอกว่าเร็วเกินไป ดังนั้นจึงอยากให้มีการร่วมมือ เพราะเยาวชนจะเกิดมาในสังคมอย่างไรถ้ามีแต่การมอมเมา” รองปลัดไอซีที กล่าว