มติศาลปกครองกลาง พิพากษายกฟ้อง “อดีต ผอ.องค์การป่าไม้” ร้อง “ปลัด” และพวก มีมติเลิกจ้าง ระงับการทำหน้าที่ ศาลชี้ไม่ผิด เหตุทำตามหน้าที่ พบขณะผู้ร้องปฏิบัติหน้าที่ไม่ปฏิบัติตามมติ ทำสัญญาซื้อขายไม้สักสวนป่ากับบริษัทเอกชนต่ำกว่าราคา
วันนี้ (10 ก.พ.) ที่ศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ ตุลาการศาลปกครองกลาง โดย นายเดช เอี่ยมยิ้ม ตุลาการเจ้าของสำนวนได้พิพากษายกฟ้อง คดีที่ นายชนัตร เลาหะวัฒนะ อดีตผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ยื่นฟ้องปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ประธานกรรมการบริหารกิจการ อ.อ.ป., คณะกรรมการบริหาร อ.อ.ป.และ อ.อ.ป. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-4 เรื่องออกคำสั่งและมติเลิกจ้างผู้ฟ้องโดยมิชอบ และมีคำสั่งให้รอง ผอ. อ.อ.ป.รักษาการในตำแหน่งแทน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยคดีนี้ผู้ฟ้อง ระบุว่า ผู้ฟ้องดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 498/2544 ลงวันที่ 31 ต.ค.44 โดยได้รับการคัดสรรตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2543 และได้ทำสัญญาจ้างบริหารกิจการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค.2544 - 21 ต.ค.2548 ระหว่างผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งหน้าที่ตามนโยบายอย่างเคร่งครัด แต่มีกลุ่มผู้เสียประโยชน์กลั่นแกล้งจนถึงมีการสอบสวนข้อเท็จจริงในการขายไม้สักสวนป่า เพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ และมีการสรุปผลข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ถูกระงับการรับผิดชอบงานในหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การป่าไม้
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์ข้อกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ประกอบข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า กรณีที่ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานกรรมการบริหารกิจการ อ.อ.ป.มีคำสั่งระงับการรับผิดชอบงานในหน้าที่ผู้อำนวยการ อ.อ.ป.เนื่องจากพบว่า ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาจ้างที่ต้องบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ โดยผู้ฟ้องทำให้ อ.อ.ป.ได้รับความเสียหายจากการทำสัญญาซื้อขายไม้สักสวนป่า กับบริษัท ทรอปปิเคิล ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้อง ไม่ได้กระทบต่อเงินเดือน หรือค่าตอบแทนตามสัญญา ดังนั้น ผู้ฟ้องจึงไม่ได้รับเดือดร้อนเสียหาย ซึ่งไม่สามารถยื่นฟ้องเกี่ยวกับคำสั่งนี้ดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเท็จจริงวินิจฉัยได้ว่า ผู้ฟ้องทำให้ อ.อ.ป.เสียประโยชน์จากการขายไม้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่กำหนดใหม่ รวมถึงไม่ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อนทำสัญญา มติเลิกจ้างผู้ฟ้องตามสัญญาจ้าง ดังนั้น จึงเป็นการใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องโดยชอบแล้ว และเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว ผู้ฟ้องจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทน รวมถึงค่าตอบแทนผันแปรรายปีอีกด้วย จึงพิพากษายกฟ้อง
วันนี้ (10 ก.พ.) ที่ศาลปกครอง ถ.แจ้งวัฒนะ ตุลาการศาลปกครองกลาง โดย นายเดช เอี่ยมยิ้ม ตุลาการเจ้าของสำนวนได้พิพากษายกฟ้อง คดีที่ นายชนัตร เลาหะวัฒนะ อดีตผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ (อ.อ.ป.) ยื่นฟ้องปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, ประธานกรรมการบริหารกิจการ อ.อ.ป., คณะกรรมการบริหาร อ.อ.ป.และ อ.อ.ป. เป็นผู้ถูกฟ้องคดีที่ 1-4 เรื่องออกคำสั่งและมติเลิกจ้างผู้ฟ้องโดยมิชอบ และมีคำสั่งให้รอง ผอ. อ.อ.ป.รักษาการในตำแหน่งแทน โดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย
โดยคดีนี้ผู้ฟ้อง ระบุว่า ผู้ฟ้องดำรงตำแหน่งเป็นผู้อำนวยการองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ตามคำสั่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 498/2544 ลงวันที่ 31 ต.ค.44 โดยได้รับการคัดสรรตาม พ.ร.บ.คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับสำหรับกรรมการและพนักงานรัฐวิสาหกิจ (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2543 และได้ทำสัญญาจ้างบริหารกิจการของผู้ถูกฟ้องคดีที่ 4 ตั้งแต่วันที่ 22 ต.ค.2544 - 21 ต.ค.2548 ระหว่างผู้ฟ้องคดีดำรงตำแหน่งหน้าที่ตามนโยบายอย่างเคร่งครัด แต่มีกลุ่มผู้เสียประโยชน์กลั่นแกล้งจนถึงมีการสอบสวนข้อเท็จจริงในการขายไม้สักสวนป่า เพื่อการส่งออกไปต่างประเทศ และมีการสรุปผลข้อเท็จจริงที่เป็นเท็จ ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ถูกระงับการรับผิดชอบงานในหน้าที่ผู้อำนวยการองค์การป่าไม้
ทั้งนี้ ศาลพิเคราะห์ข้อกฎหมาย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง ประกอบข้อเท็จจริงแล้ว เห็นว่า กรณีที่ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานกรรมการบริหารกิจการ อ.อ.ป.มีคำสั่งระงับการรับผิดชอบงานในหน้าที่ผู้อำนวยการ อ.อ.ป.เนื่องจากพบว่า ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขสัญญาจ้างที่ต้องบริหารงานอย่างมีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติตามมติของคณะกรรมการ โดยผู้ฟ้องทำให้ อ.อ.ป.ได้รับความเสียหายจากการทำสัญญาซื้อขายไม้สักสวนป่า กับบริษัท ทรอปปิเคิล ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น ศาลเห็นว่า คำสั่งดังกล่าวของผู้ถูกฟ้อง ไม่ได้กระทบต่อเงินเดือน หรือค่าตอบแทนตามสัญญา ดังนั้น ผู้ฟ้องจึงไม่ได้รับเดือดร้อนเสียหาย ซึ่งไม่สามารถยื่นฟ้องเกี่ยวกับคำสั่งนี้ดังกล่าวได้ และเมื่อข้อเท็จจริงวินิจฉัยได้ว่า ผู้ฟ้องทำให้ อ.อ.ป.เสียประโยชน์จากการขายไม้ในราคาที่ต่ำกว่าราคาที่กำหนดใหม่ รวมถึงไม่ขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการก่อนทำสัญญา มติเลิกจ้างผู้ฟ้องตามสัญญาจ้าง ดังนั้น จึงเป็นการใช้อำนาจของผู้ถูกฟ้องโดยชอบแล้ว และเมื่อสัญญาจ้างสิ้นสุดลงแล้ว ผู้ฟ้องจึงไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย หรือค่าสินไหมทดแทน รวมถึงค่าตอบแทนผันแปรรายปีอีกด้วย จึงพิพากษายกฟ้อง