วานนี้ ( 4 ก.พ.) นายพีรพล ไตรทศาวิทย์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ได้ยื่นฟ้องคณะรัฐมนตรี ( ครม.) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอให้
1. มีคำสั่งเพิกถอนมติ ครม. ที่เห็นชอบให้ตนต้องพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย และไปปฏิบัติหน้าที่สำนักนายกรัฐมนตรี
2. เพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 17/2552 ที่สั่งให้ตนมาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยขาดจากอัตราเงินเดือนจากสังกัดเดิม
3. เพิกถอนมติแต่งตั้งครม. ที่แต่งตั้งนายวิชัย ศรีขวัญ ไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมกับขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ก่อนมีคำพิพากษาโดยมีคำสั่งให้นายกฯ และรองนายกฯ ชะลอการดำเนินการใดๆ เพื่อให้ตนพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทยคนใหม่ได้สมบูรณ์ไว้ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า การที่นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนรับฟังได้ว่า เหตุที่ให้ตนย้ายออกจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ก็เพื่อให้เกิดความสบายใจในการบริหารราชการของรัฐบาล แปลความได้ว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องการแต่งตั้ง ผู้ที่จะตอบสนองเป้าหมายทางการเมืองให้รัฐบาลมากกว่าตน ให้มาดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งการที่นายกฯและรองนายกฯ มุ่งหมายให้ข้าราชการปฏิบัติตัวดังกล่าวเป็นการขัดจริยธรรมของข้าราชการการเมือง และการมุ่งหวังให้ตนหรือบุคคลใดตอบสนองด้านการเมืองเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ตามอำเภอใจ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 74 ,178 ,193, 266 และระเบียนสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 ประกอบกับ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ว่าได้รับการร้องขอจากนายกฯและรองนายกฯ ให้เสนอแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย ไปยังรองนายกฯ โดยไม่ทราบเหตุผลของการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ แต่ส่วนตัวไม่ได้มีเหตุขัดข้องใดๆ กับตน แต่ต้องดำเนินการตามการสั่งการของนายกฯ จึงเห็นได้ว่านายกฯ และรองนายกฯ จงใจใช้อำนาจหน้าที่สั่งการให้ตนไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกฯ ก็เพื่อให้มีการดำเนินการเสนอแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทยใหม่ อันแสดงให้ถึงเจตนาไม่สุจริต ใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบ เป็นการใช้กฎหมาย เพื่อจุดมุ่งหมายส่วนตัว อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อจริยธรรมการบริหารข้าราชการการเมือง และเป็นการกระทำอันมิบังควร เมื่อพิจารณาถึงพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และการให้พ้นจากตำแหน่งราชการของพระมหากษัตริย์
"การที่นายกฯ เสนอต่อ ครม. จนมีมติตามที่เสนอ จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่สุจริต ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย บิดเบือนการใช้อำนาจ และเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบ อีกทั้งปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแทนตน ตามการเสนอของนายกฯ และนายสุเทพ เป็นชาวจ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวกันกับนายสุเทพ จึงเห็นว่าการออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการใช้สถานะ ตำแหน่งทางราชการบริหาร ก้าวก่ายแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพรรคพวก หรือของพรรคการเมือง ในการโยกย้ายแต่งตั้ง หรือให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการ อันเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตัว กับผลประโยชน์ของรัฐ ใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบ ไม่สุจริต เลือกปฏิบัติ และไม่เป็นธรรมต่อตน" คำฟ้องระบุ
ดังนั้นพฤติกรรมของนายกฯ และรองนายกฯ ทำให้ตนได้รับความเดือดร้อน เสียหาย เพราะต้องพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยโดยไม่ถูกต้อง ได้รับการดูถูกจากสังคมที่ย่อมเข้าใจว่าตนไม่เหมาะสมการดำรงตำแหน่งดังกล่าว สร้างความเสื่อมเสียต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง ที่สั่งสมมาตลอดชีวิตข้าราชการจนเป็นที่ยอมรับจากวงการต่างๆ และเพื่อให้ศาลปกครองได้ตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองที่ไม่ชอบในลักษณะนี้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคตตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลปกครอง ที่มุ่งให้การบริหารราชการแผ่นดินถูกต้องชอบธรรม จึงขอให้ศาลพิจารณา และมีคำสั่งเพิกถอนตามที่ร้องขอ
นายพีรพล กล่าวภายหลังยื่นคำร้องว่า ตนมายื่นเรื่องขอความเป็นธรรม เพราะเห็นว่า ศาลปกครองเกิดมาเพื่อให้การบริหารบ้านเมือง ต้องยึดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งการฟ้องครั้งนี้ถือเป็นกรณีหนึ่งที่จะสร้างบรรทัดฐานให้กับข้าราชการทุกระดับชั้น โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หากศาลมีคำวินิจฉัยว่า การสั่งย้ายครั้งนี้มิชอบ ต่อไปก็จะทำให้ข้าราชการไม่กล้าทำอะไรตามใจในสิ่งที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งยังทำให้ฝ่ายการเมืองต้องคิดก่อนว่า หากจะทำอะไรต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ นอกจากนี้ยังทำให้ข้าราชการไม่รู้สึกว่า ถ้าตัวเองไม่ทำตามที่เขาสั่ง ก็ต้องถูกย้ายไป ซึ่งหากอย่างนั้นมันง่ายเกินไป สำหรับข้าราชการที่เป็นข้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากต่อสู้ไม่ชนะในทางคดีความ จะเข้าไปต่อสู้ทางการเมืองหรือไม่ นายพีรพล กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ได้คิดอะไร ตอนนี้ขอดูคำสั่งจากศาลปกครองก่อน
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 17.00 น. นายฤทัย หงส์สิริ อธิบดีศาลปกครองกลางได้มอบหมายให้คณะตุลาการศาลปกครองกลาง องค์คณะที่ 15 มีนายจรวย หนูคง เป็นตุลาการเจ้าของสำนวน ไต่สวนฉุกเฉินตามคำร้องขอทันที
ภายหลังการไต่สวนฉุกเฉิน ซึ่งใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง นายพีรพล ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สอบปากคำเบื้องต้น เพื่อนำเสนอต่อองค์คณะ ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะต้องเรียกคู่กรณีมาสอบปากคำด้วยหรือไม่ แต่คาดว่าภายใน 2-3 วัน คงทราบว่า ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองตามที่ร้องขอหรือไม่
**ก.พ.ค.รับร้องทุกข์ขรก.ถูกรังแก
ในวันเดียวกันนี้ ดร.จรวยพร ธรณินทร์ โฆษกคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมเพื่อปกป้องความเป็นธรรมของข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ค.) แถลงภายหลังการประชุมว่า คณะกรรมการฯ จะมีการประชุมทุกวันพุธ เพื่อพิจารณาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องอุธรณ์ของข้าราชการพลเรือนที่ยื่นเรื่องร้องทุกข์ ทั้งนี้ขั้นตอนการร้องทุกข์และยื่นอุธรณ์ ผู้ร้องสามารถส่งเรื่องมายังคณะกรรมการ ก.พ.ค.ได้ เมื่อตัวเองรับทราบคำสั่งภายใน30 วัน ซึ่งการพิจารณาจะแยกออกเป็น 2 กรณี ในกรณีอุทธรณ์ ถือเป็นเรื่องหนัก เป็นการถูกลงโทษทางวินัย มีทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง และเพื่อให้ความเป็นธรรม ทางคณะกรรมการได้กำหนดระยะเวลาในการไต่สวนไว้ 120 วัน หากยังไม่เสร็จสามารถขยายระยะเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 วัน สรุปแล้วต้องทำให้เสร็จภาย 240 วัน หรือ 8 เดือน นับจากวันที่ยื่นเรื่อง
อย่างไรก็ตาม หลังการวินิฉัยหากผู้ยื่นอุทธรณ์ไม่พอใจ สามารถร้องต่อศาลปกครองสูงสุดได้ ทันทีภายใน 90 วัน โดยไม่ต้องไปเริ่มที่ศาลชั้นต้น
ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ จะต้องยื่นเรื่องภายใน 30 วัน คณะกรรมการจะใช้เวลาในการพิจารณาภายใน 90 วัน และสามารถขยายเวลาได้ แต่ไม่ได้ล็อกช่วงเวลาในการขยาย ซึ่งในเรื่องการร้องทุกข์หากผู้ร้องไม่พอใจผลการวินิจฉัย สามารถส่งเรื่องฟ้องศาลปกครองชั้นต้นได้ ทั้งนี้หากผู้ร้องเห็นว่าตัวคณะกรรมการคนใดอาจจะไม่ให้ความเป็นธรรม สามารถขอเปลี่ยนตัวคณะกรรมการได้ หรือคณะกรรมการขอถอดตัวออกได้ เพื่อความยุติธรรมกับทุกฝ่าย
ดร.จรวยพร กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องมีคณะกรรมการ ก.พ.ค. เพราะต้องการให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกร้อง และต้องการให้เห็นว่าคณะกรรมการปลอดจากการเมือง ซึ่งดูได้จากการที่คณะกรรมการแต่ละคน ถูกสรรหามาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ไม่สามารถต่ออายุได้ การทำงานใช้ระบบไต่สวนเหมือนศาลปกครองชั้นต้น การพิจารณาจะตัดสินเสมอด้านทุกกระทรวง และใช้กติกาเดียวกัน แตกต่างจากการไต่สวนของอ.ก.พ. กระทรวงที่มีอยู่เดิม
ส่วนความเป็นมาของ ก.พ.ค.นั้นได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมาตั้งวันที่ 30 ต.ค.51 ทางคณะกรรมการได้ออกกฎระเบียบและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว 7 ฉบับ ซึ่งจะต้องมีทั้งหมด 14 ฉบับ คาดว่าในปีนี้ จะสามารถออกได้ครบ
ส่วนการับเรื่องร้องทุกข์และเรื่องอุทธรณ์ ขณะนี้มีเข้ามาทั้งหมด 33 เรื่อง เป็นเรื่องอุทธรณ์ 7 เรื่อง ร้องทุกข์ 5 เรื่อง รวม 12 เรื่อง ส่วนอีก 21 เรื่อง ไม่สามารถที่จะรับวินิจฉัยได้ เพราะไม้เข้าหลักเกณฑ์ของก.พ.ค. เพราะเป็นลุกจ้างประจำ ซึ่งต้องไปร้องที่อธิบดีของแต่ละกระทรวง ทาง ก.พ.ค.จะรับเรื่องเฉพาะผู้ร้องที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งตั้งแต่ ระดับปลัด รัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก.พ.ค.จะทำให้ผู้ร้องมั่นใจได้อย่างไรว่า ก.พ.ค.ปลอดจากการเมือง ดร.จรวยพร กล่าวว่า ก.พ.ค.เป็นองค์กรอิสระ คล้ายกับ ป.ป.ช.และมีความเป็นมืออาชีพ เงินเดือนเทียบเท่าตุลาการศาลปกครองชั้นต้น วิธีการทำงานใช้มาตรฐานเดียวกัน รับประกันหลักความเป็นธรรม เพราะมีกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้อย่างชัดเจน ถ้าไม่พอใจก็สามารถไปฟ้องศาลปกครองสูงสุดได้
ในส่วนของการอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ สามารถไปร้องได้ที่ศาลปกครองชั้นต้น หลักการวินิจฉัย จะใช้หลักการไต่สวน ฟังคู่ความ ให้สิทธิ์จ้างทนายความมาดำเนินการได้
เมื่อถามว่า อำนาจของก.พ.ค. มีมากน้อยเพียงใด ดร.จรวยพร กล่าวว่า สามารถยกเลิกคำสั่งที่เห็นว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ร้องได้ โดยจะส่งเรื่องไปยังหน่วยงานต้นสังกัดที่ออกคำสั่งให้ปฎิบัติตาม ภายใน 30 วัน หากไม่ปฎิบัติตาม ถือว่าละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ เข้าข่ายผิดระเบียบวินัย
เมื่อถามว่า กรณีของนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ถ้ามีการมายื่นเรื่องกับ ก.พ.ค. แล้วมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถกลับไปดำรงตำแหน่งเดิมได้หรือไม่ ดร.จรวยพร กล่าวว่า นายพีรพล สามารถมายื่นเรื่องอุทธรณ์ ต่อคณะกรรการก.พ.ค.ได้ เพราะอยู่ในอำนาจ ส่วนการคืนตำแหน่งได้หรือไม่นั้น ต้องรอผลการไต่สวนก่อน ซึ่งคณะกรรมการ ไม่อยากชี้โพรงอะไรในตอนนี้ เพราะขณะนี้นายพีรพล ยังไม่ได้มายื่นเรื่องอุทธรณ์
1. มีคำสั่งเพิกถอนมติ ครม. ที่เห็นชอบให้ตนต้องพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย และไปปฏิบัติหน้าที่สำนักนายกรัฐมนตรี
2. เพิกถอนคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 17/2552 ที่สั่งให้ตนมาปฏิบัติราชการที่สำนักนายกรัฐมนตรี โดยขาดจากอัตราเงินเดือนจากสังกัดเดิม
3. เพิกถอนมติแต่งตั้งครม. ที่แต่งตั้งนายวิชัย ศรีขวัญ ไปดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย พร้อมกับขอให้ศาลไต่สวนฉุกเฉิน เพื่อกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราว ก่อนมีคำพิพากษาโดยมีคำสั่งให้นายกฯ และรองนายกฯ ชะลอการดำเนินการใดๆ เพื่อให้ตนพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย และแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทยคนใหม่ได้สมบูรณ์ไว้ก่อนที่ศาลจะมีคำพิพากษา
ทั้งนี้ คำฟ้องระบุว่า การที่นายกรัฐมนตรี และรองนายกรัฐมนตรี ได้ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนรับฟังได้ว่า เหตุที่ให้ตนย้ายออกจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทย ก็เพื่อให้เกิดความสบายใจในการบริหารราชการของรัฐบาล แปลความได้ว่า ผู้ให้สัมภาษณ์ต้องการแต่งตั้ง ผู้ที่จะตอบสนองเป้าหมายทางการเมืองให้รัฐบาลมากกว่าตน ให้มาดำรงตำแหน่งแทน ซึ่งการที่นายกฯและรองนายกฯ มุ่งหมายให้ข้าราชการปฏิบัติตัวดังกล่าวเป็นการขัดจริยธรรมของข้าราชการการเมือง และการมุ่งหวังให้ตนหรือบุคคลใดตอบสนองด้านการเมืองเป็นการกระทำที่ไม่ชอบ เป็นการใช้อำนาจหน้าที่ตามอำเภอใจ ขัดต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 74 ,178 ,193, 266 และระเบียนสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2551 ประกอบกับ นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล รมว.มหาดไทย ให้สัมภาษณ์ว่าได้รับการร้องขอจากนายกฯและรองนายกฯ ให้เสนอแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทย ไปยังรองนายกฯ โดยไม่ทราบเหตุผลของการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ แต่ส่วนตัวไม่ได้มีเหตุขัดข้องใดๆ กับตน แต่ต้องดำเนินการตามการสั่งการของนายกฯ จึงเห็นได้ว่านายกฯ และรองนายกฯ จงใจใช้อำนาจหน้าที่สั่งการให้ตนไปปฏิบัติราชการที่สำนักนายกฯ ก็เพื่อให้มีการดำเนินการเสนอแต่งตั้งปลัดกระทรวงมหาดไทยใหม่ อันแสดงให้ถึงเจตนาไม่สุจริต ใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบ เป็นการใช้กฎหมาย เพื่อจุดมุ่งหมายส่วนตัว อันเป็นการกระทำที่กระทบต่อจริยธรรมการบริหารข้าราชการการเมือง และเป็นการกระทำอันมิบังควร เมื่อพิจารณาถึงพระราชอำนาจในการแต่งตั้ง และการให้พ้นจากตำแหน่งราชการของพระมหากษัตริย์
"การที่นายกฯ เสนอต่อ ครม. จนมีมติตามที่เสนอ จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่โดยไม่สุจริต ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย บิดเบือนการใช้อำนาจ และเป็นการใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบ อีกทั้งปรากฏว่า ผู้ที่ได้รับตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยแทนตน ตามการเสนอของนายกฯ และนายสุเทพ เป็นชาวจ.สุราษฎร์ธานี ซึ่งเป็นจังหวัดเดียวกันกับนายสุเทพ จึงเห็นว่าการออกคำสั่งดังกล่าวเป็นการใช้สถานะ ตำแหน่งทางราชการบริหาร ก้าวก่ายแทรกแซงเพื่อประโยชน์ของตนเองหรือพรรคพวก หรือของพรรคการเมือง ในการโยกย้ายแต่งตั้ง หรือให้พ้นจากตำแหน่งของข้าราชการ อันเป็นการกระทำที่ขัดกันแห่งผลประโยชน์ส่วนตัว กับผลประโยชน์ของรัฐ ใช้ดุลยพินิจที่ไม่ชอบ ไม่สุจริต เลือกปฏิบัติ และไม่เป็นธรรมต่อตน" คำฟ้องระบุ
ดังนั้นพฤติกรรมของนายกฯ และรองนายกฯ ทำให้ตนได้รับความเดือดร้อน เสียหาย เพราะต้องพ้นจากตำแหน่งปลัดกระทรวงมหาดไทยโดยไม่ถูกต้อง ได้รับการดูถูกจากสังคมที่ย่อมเข้าใจว่าตนไม่เหมาะสมการดำรงตำแหน่งดังกล่าว สร้างความเสื่อมเสียต่อเกียรติยศ ชื่อเสียง ที่สั่งสมมาตลอดชีวิตข้าราชการจนเป็นที่ยอมรับจากวงการต่างๆ และเพื่อให้ศาลปกครองได้ตรวจสอบการกระทำของฝ่ายปกครองที่ไม่ชอบในลักษณะนี้ เพื่อเป็นบรรทัดฐานที่ไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคตตามเจตนารมณ์ของการจัดตั้งศาลปกครอง ที่มุ่งให้การบริหารราชการแผ่นดินถูกต้องชอบธรรม จึงขอให้ศาลพิจารณา และมีคำสั่งเพิกถอนตามที่ร้องขอ
นายพีรพล กล่าวภายหลังยื่นคำร้องว่า ตนมายื่นเรื่องขอความเป็นธรรม เพราะเห็นว่า ศาลปกครองเกิดมาเพื่อให้การบริหารบ้านเมือง ต้องยึดหลักธรรมาภิบาล ซึ่งการฟ้องครั้งนี้ถือเป็นกรณีหนึ่งที่จะสร้างบรรทัดฐานให้กับข้าราชการทุกระดับชั้น โดยเฉพาะข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ หากศาลมีคำวินิจฉัยว่า การสั่งย้ายครั้งนี้มิชอบ ต่อไปก็จะทำให้ข้าราชการไม่กล้าทำอะไรตามใจในสิ่งที่ไม่เหมาะสม อีกทั้งยังทำให้ฝ่ายการเมืองต้องคิดก่อนว่า หากจะทำอะไรต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ นอกจากนี้ยังทำให้ข้าราชการไม่รู้สึกว่า ถ้าตัวเองไม่ทำตามที่เขาสั่ง ก็ต้องถูกย้ายไป ซึ่งหากอย่างนั้นมันง่ายเกินไป สำหรับข้าราชการที่เป็นข้าของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากต่อสู้ไม่ชนะในทางคดีความ จะเข้าไปต่อสู้ทางการเมืองหรือไม่ นายพีรพล กล่าวว่าขณะนี้ยังไม่ได้คิดอะไร ตอนนี้ขอดูคำสั่งจากศาลปกครองก่อน
ทั้งนี้ เมื่อเวลา 17.00 น. นายฤทัย หงส์สิริ อธิบดีศาลปกครองกลางได้มอบหมายให้คณะตุลาการศาลปกครองกลาง องค์คณะที่ 15 มีนายจรวย หนูคง เป็นตุลาการเจ้าของสำนวน ไต่สวนฉุกเฉินตามคำร้องขอทันที
ภายหลังการไต่สวนฉุกเฉิน ซึ่งใช้เวลาประมาณครึ่งชั่วโมง นายพีรพล ได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่า ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สอบปากคำเบื้องต้น เพื่อนำเสนอต่อองค์คณะ ซึ่งยังไม่แน่ว่าจะต้องเรียกคู่กรณีมาสอบปากคำด้วยหรือไม่ แต่คาดว่าภายใน 2-3 วัน คงทราบว่า ศาลจะมีคำสั่งคุ้มครองตามที่ร้องขอหรือไม่
**ก.พ.ค.รับร้องทุกข์ขรก.ถูกรังแก
ในวันเดียวกันนี้ ดร.จรวยพร ธรณินทร์ โฆษกคณะกรรมการพิทักษ์ระบบคุณธรรมเพื่อปกป้องความเป็นธรรมของข้าราชการพลเรือน (ก.พ.ค.) แถลงภายหลังการประชุมว่า คณะกรรมการฯ จะมีการประชุมทุกวันพุธ เพื่อพิจารณาเรื่องร้องทุกข์และเรื่องอุธรณ์ของข้าราชการพลเรือนที่ยื่นเรื่องร้องทุกข์ ทั้งนี้ขั้นตอนการร้องทุกข์และยื่นอุธรณ์ ผู้ร้องสามารถส่งเรื่องมายังคณะกรรมการ ก.พ.ค.ได้ เมื่อตัวเองรับทราบคำสั่งภายใน30 วัน ซึ่งการพิจารณาจะแยกออกเป็น 2 กรณี ในกรณีอุทธรณ์ ถือเป็นเรื่องหนัก เป็นการถูกลงโทษทางวินัย มีทั้งร้ายแรงและไม่ร้ายแรง และเพื่อให้ความเป็นธรรม ทางคณะกรรมการได้กำหนดระยะเวลาในการไต่สวนไว้ 120 วัน หากยังไม่เสร็จสามารถขยายระยะเวลาได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 60 วัน สรุปแล้วต้องทำให้เสร็จภาย 240 วัน หรือ 8 เดือน นับจากวันที่ยื่นเรื่อง
อย่างไรก็ตาม หลังการวินิฉัยหากผู้ยื่นอุทธรณ์ไม่พอใจ สามารถร้องต่อศาลปกครองสูงสุดได้ ทันทีภายใน 90 วัน โดยไม่ต้องไปเริ่มที่ศาลชั้นต้น
ส่วนเรื่องการร้องทุกข์ จะต้องยื่นเรื่องภายใน 30 วัน คณะกรรมการจะใช้เวลาในการพิจารณาภายใน 90 วัน และสามารถขยายเวลาได้ แต่ไม่ได้ล็อกช่วงเวลาในการขยาย ซึ่งในเรื่องการร้องทุกข์หากผู้ร้องไม่พอใจผลการวินิจฉัย สามารถส่งเรื่องฟ้องศาลปกครองชั้นต้นได้ ทั้งนี้หากผู้ร้องเห็นว่าตัวคณะกรรมการคนใดอาจจะไม่ให้ความเป็นธรรม สามารถขอเปลี่ยนตัวคณะกรรมการได้ หรือคณะกรรมการขอถอดตัวออกได้ เพื่อความยุติธรรมกับทุกฝ่าย
ดร.จรวยพร กล่าวว่า เหตุผลที่ต้องมีคณะกรรมการ ก.พ.ค. เพราะต้องการให้ความเป็นธรรมกับผู้ถูกร้อง และต้องการให้เห็นว่าคณะกรรมการปลอดจากการเมือง ซึ่งดูได้จากการที่คณะกรรมการแต่ละคน ถูกสรรหามาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะกรรมการมีวาระในการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ไม่สามารถต่ออายุได้ การทำงานใช้ระบบไต่สวนเหมือนศาลปกครองชั้นต้น การพิจารณาจะตัดสินเสมอด้านทุกกระทรวง และใช้กติกาเดียวกัน แตกต่างจากการไต่สวนของอ.ก.พ. กระทรวงที่มีอยู่เดิม
ส่วนความเป็นมาของ ก.พ.ค.นั้นได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งมาตั้งวันที่ 30 ต.ค.51 ทางคณะกรรมการได้ออกกฎระเบียบและประกาศใช้ในราชกิจจานุเบกษาไปแล้ว 7 ฉบับ ซึ่งจะต้องมีทั้งหมด 14 ฉบับ คาดว่าในปีนี้ จะสามารถออกได้ครบ
ส่วนการับเรื่องร้องทุกข์และเรื่องอุทธรณ์ ขณะนี้มีเข้ามาทั้งหมด 33 เรื่อง เป็นเรื่องอุทธรณ์ 7 เรื่อง ร้องทุกข์ 5 เรื่อง รวม 12 เรื่อง ส่วนอีก 21 เรื่อง ไม่สามารถที่จะรับวินิจฉัยได้ เพราะไม้เข้าหลักเกณฑ์ของก.พ.ค. เพราะเป็นลุกจ้างประจำ ซึ่งต้องไปร้องที่อธิบดีของแต่ละกระทรวง ทาง ก.พ.ค.จะรับเรื่องเฉพาะผู้ร้องที่ได้รับผลกระทบจากคำสั่งตั้งแต่ ระดับปลัด รัฐมนตรี และนายกรัฐมนตรี เท่านั้น
ผู้สื่อข่าวถามว่า ก.พ.ค.จะทำให้ผู้ร้องมั่นใจได้อย่างไรว่า ก.พ.ค.ปลอดจากการเมือง ดร.จรวยพร กล่าวว่า ก.พ.ค.เป็นองค์กรอิสระ คล้ายกับ ป.ป.ช.และมีความเป็นมืออาชีพ เงินเดือนเทียบเท่าตุลาการศาลปกครองชั้นต้น วิธีการทำงานใช้มาตรฐานเดียวกัน รับประกันหลักความเป็นธรรม เพราะมีกำหนดระยะเวลาการพิจารณาไว้อย่างชัดเจน ถ้าไม่พอใจก็สามารถไปฟ้องศาลปกครองสูงสุดได้
ในส่วนของการอุทธรณ์ และการร้องทุกข์ สามารถไปร้องได้ที่ศาลปกครองชั้นต้น หลักการวินิจฉัย จะใช้หลักการไต่สวน ฟังคู่ความ ให้สิทธิ์จ้างทนายความมาดำเนินการได้
เมื่อถามว่า อำนาจของก.พ.ค. มีมากน้อยเพียงใด ดร.จรวยพร กล่าวว่า สามารถยกเลิกคำสั่งที่เห็นว่าไม่เป็นธรรมกับผู้ร้องได้ โดยจะส่งเรื่องไปยังหน่วยงานต้นสังกัดที่ออกคำสั่งให้ปฎิบัติตาม ภายใน 30 วัน หากไม่ปฎิบัติตาม ถือว่าละเว้นการปฎิบัติหน้าที่ เข้าข่ายผิดระเบียบวินัย
เมื่อถามว่า กรณีของนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ อดีตปลัดกระทรวงมหาดไทย ถ้ามีการมายื่นเรื่องกับ ก.พ.ค. แล้วมีคำวินิจฉัยว่า ไม่ได้รับความเป็นธรรม สามารถกลับไปดำรงตำแหน่งเดิมได้หรือไม่ ดร.จรวยพร กล่าวว่า นายพีรพล สามารถมายื่นเรื่องอุทธรณ์ ต่อคณะกรรการก.พ.ค.ได้ เพราะอยู่ในอำนาจ ส่วนการคืนตำแหน่งได้หรือไม่นั้น ต้องรอผลการไต่สวนก่อน ซึ่งคณะกรรมการ ไม่อยากชี้โพรงอะไรในตอนนี้ เพราะขณะนี้นายพีรพล ยังไม่ได้มายื่นเรื่องอุทธรณ์