xs
xsm
sm
md
lg

“เทิดภูมิ” จวกหุ่นเชิด! เมินเสียงคนอีสาน ร่วมมือลาวผุดเขื่อนกั้นนำโขง

เผยแพร่:   โดย: MGR Online

นายเทิดภูมิ ใจดี อดีตผู้นำแรงงาน
“เทิดภูมิ ใจดี” จวกหุ่นเชิด! กระสันร่วมมือลาวสร้างเขื่อนกั้นแม่น้ำโขงโดยไม่สนใจผลกระทบกับคนอีสาน ลั่นถึงเวลาภาคประชาชนมีส่วนร่วมเปลี่ยนแปลงการเมืองในประเทศ ชู 75 วันพันธมิตรฯ สร้างปรากฏการณ์ให้ประชาชนตื่นตัว

 คลิกที่นี่ เพื่อฟัง นายเทิดภูมิ ใจดี ปราศรัย 

วันนี้ (7 ส.ค.) เวลา 00.30 น. นายเทิดภูมิ ใจดี อดีตผู้นำแรงงาน ขึ้นเวทีปราศรัยว่า ไม่มียุคใดที่การเมืองไทยเสื่อมเท่ากับยุคนี้อีกแล้ว ทั้งนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรี รวมถึงประธานสภาผู้แทนราษฎร ภาวะความเป็นผู้นำไม่มี ถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งสักกี่หน หวังลดกระแสความกดดันก็ไม่ทำให้สถานการณ์ดีขึ้น ประชาชนเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย ไม่สนใจกับการเมือง เป็นเหตุการเมืองภาคประชาชนอ่อนแอ นักการเมืองฉวยโอกาสโกงกินบ้านเมือง

ดังนั้น 75 วันในการชุมนุมของพันธมิตรฯ เกิดเป็นปรากฏการณ์สร้างความตื่นตัวให้กับภาคประชาชน การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในแต่ละครั้ง ภาคประชาชนถือเป็นส่วนสำคัญ ในแต่ประเทศที่มีประวัติศาสตร์การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองระบุชัดเจนว่า ประชาชนมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลง วันนี้ถึงเวลาที่ภาคประชาชนต้องตื่นตัว ไม่มีใครกล้าลุกขึ้นมาสกัดกั้นภาคประชาชนได้ ยุคสมัยของการเปลี่ยนแปลงมาถึงแล้ว

“เวลานี้การเมืองแบ่งออกเป็นสองขั้วอย่างชัดเจน คือ ถูกกับผิด และก็ดีกับชั่ว ใครจะเลือกยืนอยู่ข้างใด ก็ให้ออกตัวเลือกกันไปข้างนึง ถ้าไม่มีการเคลื่อนไหวก็จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง สิ่งใหม่จะแทนสิ่งเก่าไม่ได้ พันธมิตรฯ ได้สะสมคุณภาพมาจนถึงวันนี้ ก็เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การเมืองต้องเดินไปสู่สิ่งที่ถูกต้อง” อดีตผู้นำแรงงานกล่าว

นอกจากนี้ นายเทิดภูมิยังกล่าวกรณีที่รัฐบาลให้ความสนใจเรื่องการสร้างเขื่อนบ้านกุ่ม ที่บริเวณ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ตรงกับแขวงจำปาสักของลาว โดยปราศจากการรับรู้ของสาธารณชนไทยและลาวที่อาศัยอยู่ริมสองฝั่งโขง ที่สำคัญโครงการ เขื่อนบ้านกุ่ม ที่รัฐบาลใช้ชื่อว่าเป็นเพียงฝายกั้นน้ำ แท้จริงแล้ว คือ โครงการสร้างเขื่อนขนาดกำลังผลิต 1,800 เมกะวัตต์ มูลค่าการลงทุน 9 หมื่นล้านบาท ถูกเสนอคู่กับ เขื่อนปากชม (หรือเขื่อนผามองในอดีต) มีกำลังผลิต 1,100 เมกะวัตต์ มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท เขื่อนขนาดใหญ่ทั้งสองตัวนี้จะกั้นแม่น้ำโขงสายหลัก รวมกำลังผลิตของสองเขื่อน 2,900 เมกะวัตต์ มีมูลค่าสูงถึง 1.4 แสนล้านบาท

รัฐบาลไทยใช้โครงการเขื่อนเป็นเงื่อนไขผูกพันความสัมพันธ์กับประเทศลาว อย่างไรก็ตาม ในขณะที่ไทยเล่นบท ผู้กระหายไฟฟ้าและส่งเสริมให้ลาวรับบทเป็นแบตเตอรี่ของภูมิภาค ได้ละเลยการพิจารณาประเด็นสำคัญๆ หลายประการ รวมทั้งคำถามใหญ่ที่ว่า เขื่อนขนาดมหึมาทั้งสองนี้ จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อระบบนิเวศ พันธุ์ปลา และชีวิตของประชาชนทั้งสองประเทศเพียงใด ราคาลงทุนมหาศาลที่ต้องจ่าย ทรัพยากรสิ่งแวดล้อมที่ต้องสูญสิ้นไป จะคุ้มค่าสมราคาคุยจริงหรือไม่
กำลังโหลดความคิดเห็น