คณาจารย์จากรั้วมหาวิทยาลัยทั่วราชอาณาจักร ออกแถลงการณ์คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 237 หวังลบล้างมลทิน ชี้เป็นการทำลายระบบนิติศาสตร์ไทยอย่างสิ้นเชิง
วันนี้ (2 เม.ย.)คณาจารย์นิติศาสตร์ออกแถลงการณ์ค้านแก้รัฐธรรมนูญมาตรา 237 ระบุขัดหลักนิศาสตร์และนิติธรรมการปกครองของประเทศประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สุโขทัยธรรมาธิราช,แม่ฟ้าหลวง,มหาวิทยาลัยรังสิต ,มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล,มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุลิต มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยสยาม ได้ร่วมออกแถลงการณ์เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 237 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า คณาจารย์นิติศาสตร์ไม่ได้คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ที่ต้องออกมาคัดค้านการแก้มาตรา 237 เพราะสามารถกระทำโดยสมาชิกสภาผู้แทน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ระบุว่า การแก้รัฐธรรมนูญต้องกระทำด้วยความซื่อสัตย์และไม่ขัดแย้งหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลประโยชน์ของตนเอง
“การแก้ที่ผ่ายการเมืองมีส่วนได้ส่วนเสียจะทำให้ระบบนิติธรรมไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมไทย ซึ่งเราไม่ควรสร้างธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง เพราะหากแก้มาตรา 237 จะกระทบต่อระบบกฎหมายไทยทั้งระบบ เพราะต่อไปใครจะแก้กฎหมายอะไรก็ได้ เพื่อให้ตัวเองพ้นผิด ซึ่งจะว่าไปแล้วการที่เสนอมา 5 มาตราก็เป็นการใช้หลักการตลาดเพื่อหวังที่จะต่อรอง แต่ความจริงต้องการเพียงมาตรา 237 มาตราเดียวเท่านั้น ” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
ศ.ดร. สมคิด กล่าวว่า หากยังมีความพยายามที่จะแก้มาตรานี้อีกต้องตอบคำถามให้ได้ว่าทำเพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์ เพราะการที่จะทำเพื่อคนคนเดียวหรือกลุ่มบางกลุ่มเพื่อให้ตัวเองพ้นผิดจะทำให้ระบบกฎหมายพังทลาย การสอนนิติศาสตร์จะล้มเหลว ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2550 มาตามกติกา เพราะฉะนั้นการที่จะแก้ก็ต้องทำตามกติกาที่สำคัญความมั่นคงของรัฐบาลและความมั่นคงของประเทศเป็นคนละเรื่องกัน
เมื่อถามว่าฝ่ายพรรคการเมืองอ้างว่าการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คนที่ผ่านมา มีธงในการยุบพรรคชัดเจน ศ.ดร. สมคิด กล่าวว่า ความรู้สึกไม่ใช่ความเป็นจริง คำถามคือกรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 พรรคทำผิดหรือไม่ ต้องชัดเจนว่าหลักการประเทศอยู่ตรงไหน และตุลาการรัฐธรรมนูญ 4 คนเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยหรือไม่ ส่วนมาตรา 309 พรรคการเมืองมีสิทธิแก้อยู่แล้วแต่ขึ้นอยู่กับว่าคนในสังคมจะเห็นด้วยหรือไม่เพราะยังไม่กระทบกับระบบกฎหมายไทยโดยตรง อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าเจตนารมณ์ที่เขาต้องการแก้มาตรานี้ก็เพื่อต้องการให้ยกเลิกคำสั่งและประกาศคปค.บางฉบับ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมและการยกเลิกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ(คตส.)
ผ.ศ.ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่มีใครคัดค้าน หากต้องการแก้ไขเพื่อส่วนรวม ซึ่งการแก้มาตรา 237 ต้องดูว่าแก้เพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มคนหรือพรรคการเมืองที่กำลังประสบปัญหาอยู่ ถ้าทำเพื่อผลประโยชน์ของคนที่กำลังทำผิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ การที่พรรคการเมืองแก้ไขกฎหมายที่ฝ่าฝืนและขัดต่อหลักนิติธรรมเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยที่บอกว่าคมช.เคยทำไม่ถูกต้องและเป็นเผด็จการหากพรรคการเมืองมาทำแบบนี้เสียเองมันก็ไม่ต่างกัน
คณาจารย์นิติศาสตร์ 41 คนจาก 9 มหาวิทยาลัยประกอบด้วย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,สุโขทัยธรรมาธิราช,แม่ฟ้าหลวง,มหาวิทยาลัยรังสิต ,มหาวิทยาลัยวงศ์ชวลิตกุล,มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุลิต มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยสยาม ได้ร่วมออกแถลงการณ์เรื่อง การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 237 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550
ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า คณาจารย์นิติศาสตร์ไม่ได้คัดค้านการแก้รัฐธรรมนูญ แต่ที่ต้องออกมาคัดค้านการแก้มาตรา 237 เพราะสามารถกระทำโดยสมาชิกสภาผู้แทน ซึ่งตามรัฐธรรมนูญมาตรา 122 ระบุว่า การแก้รัฐธรรมนูญต้องกระทำด้วยความซื่อสัตย์และไม่ขัดแย้งหรือมีส่วนได้ส่วนเสียต่อผลประโยชน์ของตนเอง
“การแก้ที่ผ่ายการเมืองมีส่วนได้ส่วนเสียจะทำให้ระบบนิติธรรมไม่สามารถดำรงอยู่ได้ในสังคมไทย ซึ่งเราไม่ควรสร้างธรรมเนียมที่ไม่ถูกต้อง เพราะหากแก้มาตรา 237 จะกระทบต่อระบบกฎหมายไทยทั้งระบบ เพราะต่อไปใครจะแก้กฎหมายอะไรก็ได้ เพื่อให้ตัวเองพ้นผิด ซึ่งจะว่าไปแล้วการที่เสนอมา 5 มาตราก็เป็นการใช้หลักการตลาดเพื่อหวังที่จะต่อรอง แต่ความจริงต้องการเพียงมาตรา 237 มาตราเดียวเท่านั้น ” ศ.ดร.สมคิด กล่าว
ศ.ดร. สมคิด กล่าวว่า หากยังมีความพยายามที่จะแก้มาตรานี้อีกต้องตอบคำถามให้ได้ว่าทำเพื่ออะไร ใครได้ประโยชน์ เพราะการที่จะทำเพื่อคนคนเดียวหรือกลุ่มบางกลุ่มเพื่อให้ตัวเองพ้นผิดจะทำให้ระบบกฎหมายพังทลาย การสอนนิติศาสตร์จะล้มเหลว ทั้งนี้รัฐธรรมนูญ 2550 มาตามกติกา เพราะฉะนั้นการที่จะแก้ก็ต้องทำตามกติกาที่สำคัญความมั่นคงของรัฐบาลและความมั่นคงของประเทศเป็นคนละเรื่องกัน
เมื่อถามว่าฝ่ายพรรคการเมืองอ้างว่าการแต่งตั้งตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ 4 คนที่ผ่านมา มีธงในการยุบพรรคชัดเจน ศ.ดร. สมคิด กล่าวว่า ความรู้สึกไม่ใช่ความเป็นจริง คำถามคือกรรมการบริหารพรรคทั้ง 3 พรรคทำผิดหรือไม่ ต้องชัดเจนว่าหลักการประเทศอยู่ตรงไหน และตุลาการรัฐธรรมนูญ 4 คนเป็นที่ยอมรับของสังคมไทยหรือไม่ ส่วนมาตรา 309 พรรคการเมืองมีสิทธิแก้อยู่แล้วแต่ขึ้นอยู่กับว่าคนในสังคมจะเห็นด้วยหรือไม่เพราะยังไม่กระทบกับระบบกฎหมายไทยโดยตรง อย่างไรก็ตามส่วนตัวมองว่าเจตนารมณ์ที่เขาต้องการแก้มาตรานี้ก็เพื่อต้องการให้ยกเลิกคำสั่งและประกาศคปค.บางฉบับ โดยเฉพาะเรื่องเกี่ยวกับการนิรโทษกรรมและการยกเลิกคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อรัฐ(คตส.)
ผ.ศ.ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย คณบดีคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่มีใครคัดค้าน หากต้องการแก้ไขเพื่อส่วนรวม ซึ่งการแก้มาตรา 237 ต้องดูว่าแก้เพื่อประโยชน์ของประชาชนหรือเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มคนหรือพรรคการเมืองที่กำลังประสบปัญหาอยู่ ถ้าทำเพื่อผลประโยชน์ของคนที่กำลังทำผิดเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ การที่พรรคการเมืองแก้ไขกฎหมายที่ฝ่าฝืนและขัดต่อหลักนิติธรรมเป็นการทำลายระบอบประชาธิปไตยที่บอกว่าคมช.เคยทำไม่ถูกต้องและเป็นเผด็จการหากพรรคการเมืองมาทำแบบนี้เสียเองมันก็ไม่ต่างกัน
ตามที่มีข่าวเป็นการทั่วไปว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่สังกัดพรรคการเมืองหลายพรรคตระเตรียมที่จะมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 นั้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ดังมีรายชื่อท้ายนี้ (จำนวน 26 คนจากมหาวิทยาลัยรัฐและเอกชนรวม 6 แห่ง) มีความเห็นดังต่อไปนี้ 1.มาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บัญญัติว่า “ผู้สมัครรับเลือกตั้งผู้ใดกระทำการ ก่อ หรือสนับสนุนให้ผู้อื่นกระทำการอันเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาหรือระเบียบหรือประกาศของคณะกรรมการการเลือกตั้ง ซึ่งมีผลทำให้การเลือกตั้งมิได้เป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรมให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของบุคคลดังกล่าวตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา ถ้าการกระทำของบุคคลตามวรรคหนึ่ง ปรากฏหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าหัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารของพรรคการเมืองผู้ใดมีส่วนรู้เห็นหรือปล่อยปละละเลย หรือทราบถึงการกระทำนั้นแล้วมิได้ยับยั้งหรือแก้ไขเพื่อให้การเลือกตั้งเป็นไปโดยสุจริตและเที่ยงธรรม ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำการเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญนี้ตามมาตรา 68 และในกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมืองนั้น ให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองดังกล่าวมีกำหนดเวลาห้าปีนับแต่วันที่มีคำสั่งให้ยุบพรรคการเมือง” บทบัญญัติดังกล่าวข้างต้นได้รับการบัญญัติขึ้นใหม่โดยอาศัย “ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นในประเทศไทย” ที่เป็นปัญหาอยู่จริงที่พรรคการเมืองทั้งหลายมักปฏิเสธความรับผิดจากการดำเนินงานของหัวหน้าพรรคและกรรมการพรรคที่ไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย การยอมให้พรรคการเมืองปฏิเสธความรับผิดโดยอ้างว่าพรรคการเมืองเป็น “สถาบัน” มิได้ร่วมกระทำผิดกับ “คนในพรรค” ย่อมทำให้การเมืองไทยวนเวียนอยู่กับการทุจริตอย่างไม่มีหนทางแก้ไข หลักการให้หน่วยงานต้องรับผิดร่วมกับบุคคลในหน่วยงานนั้นตามที่บัญญัติในมาตรา 237 นี้ ความจริงมิใช่เรื่องใหม่เพราะในระบบกฎหมายไทยก็มีบทบัญญัติในเรื่องนี้หลายประการ เช่น ในมาตรา 425 ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บัญญัติว่า “นายจ้างต้องร่วมกันรับผิดกับลูกจ้างในผลแห่งละเมิดซึ่งลูกจ้างได้กระทำไปในทางการที่จ้าง” เมื่อลูกจ้างไปทำละเมิดผู้อื่น นายจ้างจะปฏิเสธว่าตนเองไม่ได้กระทำละเมิดจึงไม่ต้องรับผิดก็ไม่ได้ หรือในกรณีพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542 มาตรา 9 ก็บัญญัติว่า “ในกรณีที่กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้เป็นไปเพื่อประโยชน์ของนิติบุคคล ให้ถือว่าหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารหรือผู้มีอำนาจในการดำเนินงานในกิจการของนิติบุคคลนั้นหรือผู้ซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของนิติบุคคลในเรื่องนั้น เป็นตัวการร่วมในการกระทำความผิดด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็นในการกระทำความผิดนั้น” 2.บทบัญญัติมาตรา 237 ดังกล่าวข้างต้นอาจจะได้รับการประเมินจากคนบางกลุ่มว่า เป็นการให้ยาแรงเกินขนาดก็ได้ จึงมีผู้พยายามแก้ไขมาตราดังกล่าวข้างต้น ซึ่งในทางทฤษฎีกฎหมายรัฐธรรมนูญ คณาจารย์นิติศาสตร์ก็เชื่อว่า รัฐธรรมนูญทุกฉบับสามารถแก้ได้ โดยมาตรา 291 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ก็บัญญัติกระบวนการแก้ไขไว้โดยชัดแจ้งว่า “การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้ (1) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐจะเสนอมิได้ (2)ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณาเป็นสามวาระ (3)การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (4)การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วยการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ (5)เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป (6)การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา (7)เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา 150 และมาตรา 151 มาใช้บังคับโดยอนุโลม” การแก้ไขรัฐธรรมนูญจึงไม่ใช่สิ่งผิดปรกติที่ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ 3.แต่การแก้ไขก็มิใช่สามารถทำได้ตาม “อำเภอใจ” ทุกอย่างโดยอ้างความชอบธรรมจากการมีเสียงข้างมากของสภา ทั้งนี้เพราะความชอบธรรมมิได้เกิดจากการมีเสียงข้างมากในสภาเท่านั้น แต่ยังหมายถึงเสียงข้างมากในสภาที่สอดคล้องกับความถูกต้องตามหลักนิติธรรมของประเทศที่ปกครองในระบบประชาธิปไตยด้วย คงไม่มีใครปฏิเสธว่ารัฐธรรมนูญหรือกฎหมายย่อมแก้ไขได้ แต่การแก้ไขต้องกระทำ “ก่อน” ที่จะมีการกระทำผิดรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายขึ้น หากประเทศสามารถเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายได้หลังจากการกระทำผิดแล้ว หลักเรื่องความถูกผิด หลักเรื่องการปกครองโดยกฎหมาย หลักนิติธรรมที่ใช้ในการปกครองประเทศก็จะพังทลายอย่างไม่เป็นท่า ใครจะรับประกันว่าถ้าพรรค ถ้าพวก ของผู้มีอำนาจ กระทำผิดกฎหมาย เขาเหล่านั้นจะไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อให้ตัวเองหลุดพ้นจากความรับผิด หรือหลักกฎหมายของบ้านนี้เมืองนี้คือ ถ้าพรรค ถ้าพวกทำผิดก็จะแก้กฎหมายไม่ให้ผิด แต่ถ้าประชาชนทำผิดก็ต้องรับผิดตามกฎหมายไปมาตรฐานความถูกผิดจะอยู่ที่ไหน การแก้ไขมาตรา 237 เมื่อมีการกระทำผิดแล้ว จึงทำลายระบบนิติศาสตร์ของประเทศลงอย่างสิ้นเชิง ซึ่งคณาจารย์นิติศาสตร์เห็นว่าไม่ควรมีการกระทำหรือสนับสนุนให้กระทำดังกล่าวอย่างยิ่ง 4.การปรับปรุงเปลี่ยนแปลงทั้งหลายย่อมสามารถทำได้แต่ไม่ควรทำโดยผู้มีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น หลักการนี้เป็นหลักการทั่วไปที่พัฒนามาจากการคัดค้านฝ่ายตุลาการดังบัญญัติไว้ในมาตรา 11 (1) แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ที่บัญญัติว่า “เมื่อคดีถึงศาล ผู้พิพากษาคนหนึ่งคนใดในศาลนั้นอาจถูกคัดค้านได้ ในเหตุใดเหตุหนึ่งดังต่อไปนี้ (1) ถ้าผู้พิพากษานั้นมีผลประโยชน์ได้เสียเกี่ยวข้องอยู่ในคดีนั้น...” หลักการนี้ต่อมาขยายมาสู่การดำเนินงานของฝ่ายบริหารดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 ว่า “เจ้าหน้าที่ดังต่อไปนี้จะทำการพิจารณาทางปกครองไม่ได้ (1)เป็นคู่กรณีเอง (2)เป็นคู่หมั้นหรือคู่สมรสของคู่กรณี (3)เป็นญาติของคู่กรณี คือ เป็นบุพการีหรือผู้สืบสันดานไม่ว่าชั้นใดๆ หรือเป็นพี่น้องหรือลูกพี่ลูกน้องนับได้เพียงภายในสามชั้น หรือเป็นญาติเกี่ยวพันทางแต่งงานนับได้เพียงสองชั้น (4)เป็นหรือเคยเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมหรือผู้พิทักษ์หรือผู้แทนหรือตัวแทนของคู่กรณี (5)เป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ หรือเป็นนายจ้างของคู่กรณี (6)กรณีอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง” และในท้ายที่สุดได้ขยายมาสู่ฝ่ายนิติบัญญัติดังจะเห็นได้จากมาตรา 122 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ที่บัญญัติว่า “สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาย่อมเป็นผู้แทนปวงชนชาวไทยโดยไม่อยู่ในความผูกมัดแห่งอาณัติ มอบหมายหรือความครอบงำใดๆ และต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพื่อประโยชน์ส่วนรวมของปวงชนชาวไทย โดยปราศจากการขัดกันแห่งผลประโยชน์” การแก้ไขมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญของสมาชิกรัฐสภาจึงเป็นการดำเนินการที่มีการ “ขัดกันแห่งผลประโยชน์” โดยชัดแจ้งและย่อมเป็นกรณีที่ถือว่าสมาชิกรัฐสภาเหล่านั้น “ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ” อันจะนำไปสู่การถอดถอนออกจากตำแหน่งได้ตามมาตรา 270 ของรัฐธรรมนูญ 5.คณาจารย์นิติศาสตร์เห็นว่า การแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นสิ่งที่ควรสนับสนุนหากการแก้ไขเพิ่มเติมดังกล่าวมิใช่เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือกลุ่มของตนแต่เป็นการแก้ไขเพื่อประโยชน์ของสังคมและของประเทศ ทั้งนี้สมาชิกรัฐสภาย่อมสามารถแสดงให้สังคมเชื่อได้ว่าการแก้ไขเพิ่มเติมเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของสังคมและของประเทศ หากสมาชิกรัฐสภาจะแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติของมาตรา 237 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยให้มีผลบังคับใช้กับความผิดที่เกิดจากการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นหลังจากประกาศใช้มาตรา 237 ที่แก้ไขเพิ่มเติมแล้วเท่านั้นการให้บทบัญญัติมาตรา 237 มีผลบังคับใช้ทันทีเพื่อให้เกิดผลประโยชน์แก่บุคคลหรือพรรคการเมืองที่มีมลทินจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจยอมรับได้ 6.คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ที่มีรายชื่อท้ายนี้ขอยืนยันว่า เราไม่ประสงค์จะฝักใฝ่ในทางการเมืองหรือก่อให้เกิดผลได้เสียกับใครโดยเฉพาะเราไม่ได้คัดค้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่มีเหตุมีผล เราเชื่อว่า สมาชิกรัฐสภาที่เข้าสู่ตำแหน่งตามวิถีระบอบประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันจะไม่ดำเนินการใด ๆ ที่ไม่เป็นไปตามหลักนิติธรรมซึ่งเป็นเสาหลักของการปกครองในระบอบประชาธิปไตยตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 3 วรรคสอง แต่หากด้วยเหตุผลไม่ว่าประการใด ทำให้สมาชิกรัฐสภากระทำการในสิ่งที่มิได้เป็นไปตามหลักนิติธรรมตามที่กล่าวมาข้างต้นเสียแล้ว ประเทศไทยก็คงไม่สามารถอ้างตนได้ว่าเป็นประเทศประชาธิปไตยที่ทัดเทียมกับนานาอารยประเทศได้ นอกจากนี้ ยังเท่ากับสมาชิกของรัฐสภากระทำการในสิ่งที่ตนได้ประณามในรอบปีที่ผ่านมาและทำลายระบอบประชาธิปไตยที่ตนเพรียกหามาโดยตลอด คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศ.ดร.สมคิด เลิศไพฑูรย์ คณบดี ศ. ดร.ไพโรจน์ กัมพูสิริ รศ. ดร. อุดม รัฐอมฤต รศ. ดร. ทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ์ ผศ.ดร.สมเกียรติ วรปัญญาอนันต์ รศ.ดร.วิจิตรา วิเชียรชม ผศ.ดร.วีรวัฒน์ จันทโชติ ผศ.ดร.กิตติศักดิ์ ปรกติ ดร.เอกบุญ วงศ์สวัสดิ์กุล คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผศ.ธิติพันธ์ เชื้อบุญชัย คณบดี ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ สาขานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช อาจารย์ เธียรชัย ณ นคร ประธานสาขานิติศาสตร์ อาจารย์ คมสันต์ โพธิ์คง คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม ดร.เจษฎ์ โทณะวณิก อดีตคณบดี คณะนิติศาตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ อาจารย์ ศรุต จุ๋ยมณี รองคณบดี อาจารย์รพีพรรณ อัตนะ อาจารย์จิรานันท์ ชูชีพ อาจารย์ หทัยกาญจน์ กำเนิดเพชร อาจารย์กรรภัทร ชิตวงศ์ อาจารย์กรกฎ ทองขะโชค อาจารย์ หทัยกาญจน์ กำเนิดเพชร อาจารย์กรรภัทร ชิตวงศ์ อาจารย์กรกฎ ทองขะโชค อาจารย์ ธนากร โกมลวนิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต อาจารย์นิดาวรรณ เพราะสุนทร รองคณบดี อาจารย์ ชาญชัย ดิเรกคุณาธรณ์ รองคณบดี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง อาจารย์ นิรมัย พิศแข มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต อาจารย์โชคดี นพวรรณ อาจารย์กิตติพงศ์ กมลธรรมวงศ์ นักวิชาการอิสระด้านนิติศาสตร์ |