คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ประกอบด้วย นายวรเจตน์ ภาคีรัตน์ นายประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช นายฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล นายปิยบุตร แสงกนกกุล นายธีระ สุธีวรางกูร ได้ร่วมกันออกแถลงการณ์เรื่อง “การตีความกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ” โดยมีใจความสรุปว่า ตามที่ปรากฏข้อถกเถียงเกี่ยวกับการตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 237 ว่า กรณีที่กรรมการบริหารพรรคการเมืองกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งและถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง การกระทำของกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น จะส่งผลให้ต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองดังกล่าว และต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งกรรมการบริหารพรรคคนอื่นที่ไม่ได้รู้เห็นเป็นใจกับการกระทำความผิดนั้นด้วยหรือไม่นั้น คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ฯ เห็นว่า เรื่องดังกล่าวเป็นปัญหาที่เกี่ยวกับการตีความรัฐธรรมนูญ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย และอาจก่อให้เกิดวิกฤตทางการเมืองตามมาได้
แถลงการณ์ระบุอีกว่า "พรรคการเมืองนับเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุดสถาบันหนึ่งในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน การรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพอันจะขาดเสียมิได้ ตามหลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปในนานาอารยประเทศ การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือเป็นกรณีที่เห็นได้ว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปแล้วเท่านั้น เพราะการยุบพรรคการเมืองนอกจากจะทำลายสถาบันทางการเมืองลงแล้ว ยังมีผลเป็นการทำลายเสรีภาพในการรวมตัวกัน เพื่อสร้างเจตจำนงทางการเมืองของราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอีกด้วย การตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง จึงไม่สามารถทำได้โดยการอ่านกฎหมายแบบยึดติดกับถ้อยคำเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงหลักการอันเป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนสิทธิทางการเมืองของปัจเจกบุคคลประกอบด้วยเสมอ"
แถลงการณ์ระบุต่อว่า "ในการตีความกฎหมาย นอกจากจะต้องพิจารณาถ้อยคำ บริบททางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ในขณะร่างกฎหมายนั้นแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและในหลายกรณีอาจสำคัญยิ่งกว่า คือ การพิจารณาระบบกฎหมายทั้งระบบ พิจารณาหลักเกณฑ์อันเป็นเสาหลักที่ยึดโยงระบบกฎหมายนั้นไว้ ตลอดจนพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของบทกฎหมายบทนั้น หลักเกณฑ์การตีความดังกล่าวมานี้เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เกิดการตีความกฎหมายที่ส่งผลอันประหลาดและขัดกับสำนึกในเรื่องความยุติธรรม”
“การตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง หากตีความตามถ้อยคำหรือตีความตามความประสงค์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน เท่ากับว่าการกระทำความผิดของบุคคลเพียงคนเดียวย่อมนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่ประกอบไปด้วยสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนมากได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการยุบพรรคการเมืองแล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด ถึงแม้บุคคลดังกล่าวจะไม่ได้มีส่วนผิดในการกระทำนั้น เท่ากับตีความกฎหมายเอาผิดบุคคล ซึ่งไม่ได้กระทำความผิดซึ่งขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง การตีความกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ย่อมฝืนต่อสามัญสำนึกของวิญญูชนทั่วไป และเท่ากับทำให้กฎเกณฑ์ทางกฎหมายในประเทศไทยย้อนยุคกลับไปเหมือนกับกฎเกณฑ์การประหารชีวิตญาติพี่น้องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด อันเป็นการฝืนพัฒนาการทางกฎหมายของโลกและจะทำให้สถานะทางกฎหมายของประเทศตกต่ำลงในสายตาของนานาอารยประเทศด้วย”
แถลงการณ์ยังได้ติติงการใช้คำว่า “ให้ถือว่า” ในตัวบทกฎหมายว่า ไม่เปิดช่องให้ผู้ใช้กฎหมายสามารถตีความกฎหมายเป็นอย่างอื่นได้ ซึ่งเท่ากับผู้ร่างกฎหมายทำตัวเป็นผู้พิพากษาเสียเอง อย่างมาตรา 309 เป็นตัวอย่างของความไร้เหตุผลในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติ “ให้ถือว่า” การกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าการกระทำนั้นจริงๆ แล้วชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญหรือไม่ เท่ากับบัญญัติให้การกระทำในอนาคตพ้นไปจากเสียการตรวจสอบในทางตุลาการ ซึ่งขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจอย่างเห็นได้ชัด
แถลงการณ์ ระบุด้วยว่า "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะองค์กรที่ริเริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมือง ย่อมมีดุลพินิจที่จะพิจารณาได้ว่า การกระทำของบุคคลหรือของพรรคการเมืองนั้นถึงขนาดที่สมควรจะต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองหรือไม่ และหากเป็นกรณีที่ กกต.ได้ใช้ดุลพินิจริเริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมืองแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีดุลพินิจในการวินิจฉัยในทำนองเดียวกัน การออกแบบกลไกในลักษณะเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างมาก และเมื่อการใช้อำนาจดังกล่าวส่วนหนึ่งปราศจากการตรวจสอบในทางตุลาการ เช่น การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ปัญหามาตรฐานของการวินิจฉัยและความเสมอภาคในการใช้กฎหมาย ตลอดจนความเป็นธรรมต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนั้น กลไกดังกล่าวนี้จะเป็นกลไกที่กระทบกับประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และสร้างปัญหาทั้งทางการเมืองและกฎหมายให้กับประเทศ"
แถลงการณ์ ย้ำว่า "การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ถือว่าการกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยที่หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นรู้เห็นแล้วปล่อยปละละเลยเป็นการกระทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และจะต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองนั้น เป็นการบัญญัติรัฐธรรมนูญจำกัดตัดทอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรกว่าเหตุ จึงขัดกับหลักประชาธิปไตยและหลักการประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคล"
“การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 บรรดาบุคคลที่เข้าไปมีส่วนยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น แม้บางท่านจะมีความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง แต่จากวิกฤตการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2549 เป็นต้นมา ทำให้บุคคลเหล่านั้นกลายเป็นฝักฝ่ายทางการเมืองทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับหลักการที่ควรจะเป็นหลายมาตรา ดังนั้นการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งฉบับจึงเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำโดยเร็ว"
แถลงการณ์ ย้ำในตอนท้ายว่า "การกล่าวอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการออกเสียงประชามติ จึงไม่ควรแก้ไขหรือยังไม่ควรแก้ไขนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่จงใจละเลยบริบทของการออกเสียงประชามติที่ประชาชนจำนวนมากถูกบีบบังคับโดยเทคนิคทางกฎหมายให้ต้องยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน เพื่อให้ประเทศพ้นจากสภาวะของรัฐบาลที่เป็นผลพวงจากการยึดอำนาจ และละเลยข้อเท็จจริงที่ว่ามีประชาชนออกเสียงไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้กว่าสิบล้านเสียง"
ทั้งนี้ ขอยืนยัน คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ฯ ไม่ประสงค์จะฝักใฝ่ทางการเมือง แต่สาเหตุที่ออกแถลงการณ์ฉบับนี้ เพราะต้องการให้การปกครองประเทศเป็นไปตามหลักวิชา และมุ่งหวังให้การแก้ปัญหาทางการเมืองและกฎหมายดำเนินไปอย่างสันติและถูกต้องเป็นธรรมอย่างแท้จริง ซึ่ง ส.ส. และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่จะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง
แถลงการณ์ระบุอีกว่า "พรรคการเมืองนับเป็นสถาบันทางการเมืองที่สำคัญที่สุดสถาบันหนึ่งในการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน การรวมตัวกันจัดตั้งพรรคการเมืองเป็นเสรีภาพอันจะขาดเสียมิได้ ตามหลักกฎหมายที่ยอมรับนับถือกันทั่วไปในนานาอารยประเทศ การยุบพรรคการเมืองจะกระทำได้ก็ต่อเมื่อเหตุอันจำเป็นที่จะต้องรักษาไว้ซึ่งการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือเป็นกรณีที่เห็นได้ว่าพรรคการเมืองนั้นไม่ดำเนินกิจกรรมทางการเมืองต่อไปแล้วเท่านั้น เพราะการยุบพรรคการเมืองนอกจากจะทำลายสถาบันทางการเมืองลงแล้ว ยังมีผลเป็นการทำลายเสรีภาพในการรวมตัวกัน เพื่อสร้างเจตจำนงทางการเมืองของราษฎรซึ่งเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอีกด้วย การตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง จึงไม่สามารถทำได้โดยการอ่านกฎหมายแบบยึดติดกับถ้อยคำเท่านั้น แต่จะต้องคำนึงถึงหลักการอันเป็นรากฐานของการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ตลอดจนสิทธิทางการเมืองของปัจเจกบุคคลประกอบด้วยเสมอ"
แถลงการณ์ระบุต่อว่า "ในการตีความกฎหมาย นอกจากจะต้องพิจารณาถ้อยคำ บริบททางประวัติศาสตร์ สังคม เศรษฐกิจ วัฒนธรรม ในขณะร่างกฎหมายนั้นแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันและในหลายกรณีอาจสำคัญยิ่งกว่า คือ การพิจารณาระบบกฎหมายทั้งระบบ พิจารณาหลักเกณฑ์อันเป็นเสาหลักที่ยึดโยงระบบกฎหมายนั้นไว้ ตลอดจนพิจารณาจากวัตถุประสงค์ของบทกฎหมายบทนั้น หลักเกณฑ์การตีความดังกล่าวมานี้เป็นเครื่องป้องกันไม่ให้เกิดการตีความกฎหมายที่ส่งผลอันประหลาดและขัดกับสำนึกในเรื่องความยุติธรรม”
“การตีความกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการยุบพรรคการเมือง หากตีความตามถ้อยคำหรือตีความตามความประสงค์ของผู้ร่างรัฐธรรมนูญบางท่าน เท่ากับว่าการกระทำความผิดของบุคคลเพียงคนเดียวย่อมนำไปสู่การยุบพรรคการเมืองที่ประกอบไปด้วยสมาชิกพรรคการเมืองจำนวนมากได้ ยิ่งไปกว่านั้นเมื่อมีการยุบพรรคการเมืองแล้ว จะต้องเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมืองทั้งหมด ถึงแม้บุคคลดังกล่าวจะไม่ได้มีส่วนผิดในการกระทำนั้น เท่ากับตีความกฎหมายเอาผิดบุคคล ซึ่งไม่ได้กระทำความผิดซึ่งขัดต่อหลักการคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอย่างรุนแรง การตีความกฎหมายในลักษณะเช่นนี้ย่อมฝืนต่อสามัญสำนึกของวิญญูชนทั่วไป และเท่ากับทำให้กฎเกณฑ์ทางกฎหมายในประเทศไทยย้อนยุคกลับไปเหมือนกับกฎเกณฑ์การประหารชีวิตญาติพี่น้องที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิด อันเป็นการฝืนพัฒนาการทางกฎหมายของโลกและจะทำให้สถานะทางกฎหมายของประเทศตกต่ำลงในสายตาของนานาอารยประเทศด้วย”
แถลงการณ์ยังได้ติติงการใช้คำว่า “ให้ถือว่า” ในตัวบทกฎหมายว่า ไม่เปิดช่องให้ผู้ใช้กฎหมายสามารถตีความกฎหมายเป็นอย่างอื่นได้ ซึ่งเท่ากับผู้ร่างกฎหมายทำตัวเป็นผู้พิพากษาเสียเอง อย่างมาตรา 309 เป็นตัวอย่างของความไร้เหตุผลในเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญบัญญัติ “ให้ถือว่า” การกระทำที่เกี่ยวเนื่องกับการใดๆ ที่ได้รับรองไว้ในรัฐธรรมนูญชั่วคราว ไม่ว่าก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญ ทั้งๆ ที่ยังไม่รู้ว่าการกระทำนั้นจริงๆ แล้วชอบด้วยกฎหมายและรัฐธรรมนูญหรือไม่ เท่ากับบัญญัติให้การกระทำในอนาคตพ้นไปจากเสียการตรวจสอบในทางตุลาการ ซึ่งขัดกับหลักการแบ่งแยกอำนาจอย่างเห็นได้ชัด
แถลงการณ์ ระบุด้วยว่า "คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ในฐานะองค์กรที่ริเริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมือง ย่อมมีดุลพินิจที่จะพิจารณาได้ว่า การกระทำของบุคคลหรือของพรรคการเมืองนั้นถึงขนาดที่สมควรจะต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองหรือไม่ และหากเป็นกรณีที่ กกต.ได้ใช้ดุลพินิจริเริ่มกระบวนการยุบพรรคการเมืองแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญย่อมมีดุลพินิจในการวินิจฉัยในทำนองเดียวกัน การออกแบบกลไกในลักษณะเช่นนี้เป็นการมอบอำนาจให้กับคณะกรรมการการเลือกตั้งอย่างมาก และเมื่อการใช้อำนาจดังกล่าวส่วนหนึ่งปราศจากการตรวจสอบในทางตุลาการ เช่น การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งก่อนประกาศผลการเลือกตั้ง ผลที่เกิดขึ้นตามมาก็คือ ปัญหามาตรฐานของการวินิจฉัยและความเสมอภาคในการใช้กฎหมาย ตลอดจนความเป็นธรรมต่อบุคคลที่ได้รับผลกระทบจากมาตรการนั้น กลไกดังกล่าวนี้จะเป็นกลไกที่กระทบกับประสิทธิภาพในการบริหารราชการแผ่นดิน และสร้างปัญหาทั้งทางการเมืองและกฎหมายให้กับประเทศ"
แถลงการณ์ ย้ำว่า "การที่รัฐธรรมนูญบัญญัติให้ถือว่าการกระทำความผิดตามกฎหมายเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้ง โดยที่หัวหน้าพรรคการเมืองหรือกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้นรู้เห็นแล้วปล่อยปละละเลยเป็นการกระทำ เพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองประเทศ โดยวิธีการซึ่งไม่ได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ และจะต้องดำเนินการยุบพรรคการเมืองนั้น เป็นการบัญญัติรัฐธรรมนูญจำกัดตัดทอนสิทธิและเสรีภาพของบุคคลเกินสมควรกว่าเหตุ จึงขัดกับหลักประชาธิปไตยและหลักการประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคล"
“การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่มีผลใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันนี้ ปฏิเสธไม่ได้ว่าเป็นผลจากการทำรัฐประหารเมื่อวันที่ 19 ก.ย. 2549 บรรดาบุคคลที่เข้าไปมีส่วนยกร่างรัฐธรรมนูญนั้น แม้บางท่านจะมีความปรารถนาดีต่อบ้านเมือง แต่จากวิกฤตการเมืองไทยตั้งแต่ พ.ศ.2549 เป็นต้นมา ทำให้บุคคลเหล่านั้นกลายเป็นฝักฝ่ายทางการเมืองทั้งโดยเปิดเผยและไม่เปิดเผย ทั้งโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงมีบทบัญญัติที่ไม่สอดคล้องกับหลักการที่ควรจะเป็นหลายมาตรา ดังนั้นการดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนี้ไม่ว่าจะบางส่วนหรือทั้งฉบับจึงเป็นสิ่งที่จะต้องกระทำโดยเร็ว"
แถลงการณ์ ย้ำในตอนท้ายว่า "การกล่าวอ้างว่ารัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการออกเสียงประชามติ จึงไม่ควรแก้ไขหรือยังไม่ควรแก้ไขนั้น เป็นการกล่าวอ้างที่จงใจละเลยบริบทของการออกเสียงประชามติที่ประชาชนจำนวนมากถูกบีบบังคับโดยเทคนิคทางกฎหมายให้ต้องยอมรับรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไปก่อน เพื่อให้ประเทศพ้นจากสภาวะของรัฐบาลที่เป็นผลพวงจากการยึดอำนาจ และละเลยข้อเท็จจริงที่ว่ามีประชาชนออกเสียงไม่เห็นด้วยกับรัฐธรรมนูญฉบับนี้กว่าสิบล้านเสียง"
ทั้งนี้ ขอยืนยัน คณาจารย์คณะนิติศาสตร์ฯ ไม่ประสงค์จะฝักใฝ่ทางการเมือง แต่สาเหตุที่ออกแถลงการณ์ฉบับนี้ เพราะต้องการให้การปกครองประเทศเป็นไปตามหลักวิชา และมุ่งหวังให้การแก้ปัญหาทางการเมืองและกฎหมายดำเนินไปอย่างสันติและถูกต้องเป็นธรรมอย่างแท้จริง ซึ่ง ส.ส. และ ส.ว.ที่มาจากการเลือกตั้งมีความชอบธรรมในทางประชาธิปไตยที่จะดำเนินการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้เป็นไปตามหลักการที่ถูกต้อง