xs
xsm
sm
md
lg

ศศินทร์อุ่นเครื่องรับสัปดาห์ผู้ประกอบการ “Sasin IEW” ชูเวทีแข่งขันและการประชุมสุดยอดระดับโลกครั้งแรกในเอเชีย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



13 มิถุนายน 2567, กรุงเทพมหานคร - สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจ ศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดแถลงข่าวสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024: Sasin IEW พร้อมเวทีแสดงวิสัยทัศน์จาก 4 ผู้เชี่ยวชาญ ชูกิจกรรมหลักระดับโลกในงาน ทั้งเวทีแข่งขันด้านธุรกิจระดับนิสิตนักศึกษา เสวนา และการประชุมวิชาการนานาชาติด้านการเป็นผู้ประกอบ GCEC “New Frontier: Bangkok Summit 2024” ที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นครั้งแรกในทวีปเอเชีย กิจกรรมทั้งหมดนี้จะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 19-23 มิถุนายน 2567

นายดิเบียนดู โบส (Dibyendu Bose) รองผู้อำนวยการฝ่ายยุทธศาสตร์นวัตกรรมและการพัฒนาของสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ ให้เกียรติกล่าวเปิดงานแถลงข่าวในครั้งนี้ว่า “Sasin IEW เป็นการรวมตัวกันของผู้ประกอบการ นักลงทุน นักวิชาการ ผู้กำหนดนโยบายและประชาชานทั่วไปที่ต้องการผลักดันนวัตกรรมและการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนสำหรับทุกคน” ขณะที่ นายลาร์ส สเวนสัน (Lars Svensson) ผู้บริหารศูนย์จัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการแห่งศศินทร์ เสริมว่า “เป้าหมายของ Sasin IEW คือการจุดประกายหารือพหุภาคีว่าด้วยบทบาทของผู้ประกอบการในการขับเคลื่อนผลกระทบเชิงบวก นี่เป็นครั้งแรกที่เราผสานกิจกรรมหลัก 3 อย่างด้านการเป็นผู้ประกอบการเข้าไว้ด้วยกันภายใต้ปรัชญาของความยั่งยืน” นอกจากนี้ยังมีการประกาศความร่วมมือระหว่างศศินทร์กับ The Global Consortium of Entrepreneurship Centers (GCEC) และโรงเรียนมีชัยพัฒนา

ครึ่งหลังของงานแถลงข่าวเป็นการเปิดเสวนาอุ่นเครื่องรับสัปดาห์ Sasin IEW โดยผู้เชี่ยวชาญ 6 ท่านในหัวข้อ “Thailand Showcase” ประกอบด้วย นายลาร์ส สเวนสัน (Lars Svensson) จากสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์
รองศาสตราจารย์ เภสัชกรหญิง ดร.จิตติมา ลัคนากุล ผู้รักษาการผู้ช่วยอธิการบดีด้านวิรัชกิจ นวัตกรรม และพันธกิจสากล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนวรรณ สำลีรัตน์ คาร์ราเวย์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ประจำศูนย์ยูนุสเซ็นเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย นายสุกิจ อุทินทุ ผู้อำนวยการคนแรกขององค์กรรัฐมนตรีศึกษาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ว่าด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อความยั่งยืน (SEAMEO SEPS) และคอลัมนิสต์ด้านความยั่งยืนของหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ นายวสุ ศรีวิภา หัวหน้าหน่วยวิเคราะห์ผลกระทบของสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ และรองประธาน UN PRME Chapter ASEAN + Chapter และนางสาวแพร ภิรมย์ ที่ปรึกษาศูนย์จัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์

​สำหรับกิจกรรมหลักสามอย่างในสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024: Sasin IEW ที่จะเกิดขึ้นระหว่าง 19-23 มิถุนายน 2567 ประกอบด้วย 1) การประชุม GCEC ครั้งแรกในทวีปเอเชีย ในหัวข้อ “New Frontier: Bangkok Summit 2024” สะท้อนความคิด “Inclusive Entrepreneurship Driving Impact” 2) การแข่งขัน Bangkok Business Challenge 2024 (BBC 2024) ซึ่งเป็นการแข่งขันสตาร์ทอัพระดับนิสิตนักศึกษาระดับโลกที่จัดโดย สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ และเป็นการแข่งขันสตาร์ทอัพระดับนิสิตนักศึกษาระดับโลกที่จัดโดยสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ และเป็นการแข่งขันโครงการธุรกิจที่จัดต่อเนื่องกันยาวนานที่สุดในเอเชีย 3) การแข่งขัน Family Enterprise Case Competition - Asia Pacific 2024 (FECC-AP 2024) เพื่อเฟ้นหากลุ่มนิสิตนักศึกษาที่ตีโจทย์ธุรกิจครอบครัวได้ยอดเยี่ยมและวิเคราะห์กลยุทธ์ได้ดีที่สุด ผู้ชนะจะได้เข้าร่วมการแข่งขันแผนธุรกิจระดับโลก ที่สหรัฐอเมริกา ในเดือนมกราคมปีหน้า โดยศศินทร์ซึ่งครองตำแหน่งแชมป์โลกในปัจจุบันได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันนี้เป็นครั้งแรกในเอเชีย

​นอกจากนี้ การประชุม GCEC ยังมีการจัดเสวนาอีก 3 หัวข้อ ให้เข้าร่วมฟังตลอดทั้งสัปดาห์ เวทีเสวนาแรก “Driving Inclusive Entrepreneurship Ecosystems for Impact: Journey to Success” เป็นการสำรวจกลยุทธ์ความร่วมมือและความก้าวหน้าล่าสุดเกี่ยวกับระบบนิเวศนวัตกรรมสำหรับสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการทั้งในประเทศและภูมิภาค ผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วยตัวแทนจาก Knowledge Exchange for Innovation (KX) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี, CWU STeP จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ CU Innovation Hub จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมด้วยสมาคมธุรกิจเพื่อสังคม สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ และสถาบัน Aspen Network of Development Entrepreneurs (ANDE)

​เวทีที่สอง คือ “Navigating the Startup Path to Success: Insights from Investors and Enablers for Impact Entrepreneurs” ที่จะเจาะลึกความท้าทายและจุดประกายแนวทางระดมทุนสำหรับสตาร์ทอัพและวิสาหกิจเพื่อสังคม เปิดพื้นที่ในการสร้างเครือข่ายให้กับสตาร์ทอัพน้องใหม่ พบปะนักลงทุนร่วมฟังความเห็นของผู้ร่วมเสวนาจากหลากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นผู้ประกอบการด้านสังคมและการเกษตร โค้ชธุรกิจสมาคมค้าสตาร์ทอัพไทย ศูนย์ Yunus Center AIT นักลงทุนอิสระ (angel investor) และสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA)

​และปิดท้ายด้วยเวที “Redefining Values for Impact Entrepreneurship with the Sufficiency Economy Philosophy (SEP)” ดำเนินรายการโดย นายวสุ ศรีวิภา หัวหน้าหน่วยวิเคราะห์ผลกระทบแห่งสถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ และรองประธาน UN PRME Chapter ASEAN + Chapter ร่วมเสวนาโดย นายสุกิจ อุทินทุ อดีตผู้อำนวยการคนแรกของ SEAMEO SEPS และคอลัมนิสต์ของเดลินิวส์ และ มร.สตีฟ ยัง ประธานร่วมกิตติมศักดิ์ ของศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการแห่งศศินทร์ การอภิปรายจะว่าด้วยแนวทางบูรณาการปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อส่งเสริมการเติบโตของผู้ประกอบการอย่างสมดุลและครอบคลุม และสร้างผลกระทบเชิงบวกให้มากขึ้นในคราวเดียวกัน

​สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมงานสัปดาห์ผู้ประกอบการ Sasin Impact Entrepreneurship Week 2024 (Sasin IEW) สามารถติดต่อขอลงทะเบียนร่วมงานและเข้าชมกิจกรรมหลักสามอย่าง 1) การแข่งขันแผนธุรกิจสตาร์ทอัพ Bangkok Business Challenge: BBC 2) การแข่งขันแก้ปัญหากรณีศึกษาธุรกิจครอบครัว Family Enterprise Case Competition - Asia Pacific 2024: FECC และ 3) การประชุมสุดยอด GCEC New Frontier: Bangkok Summit 2024 ได้ที่ ศูนย์บริหารจัดการความยั่งยืนและส่งเสริมผู้ประกอบการ สถาบันบัณฑิตฯ ศศินทร์ โทร. 0-22218-4078 อีเมล: sasinsec@sasin.edu และสามารถติดตามกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆ ได้ที่ www.facebook.com/sasinschoolofmanagement
















กำลังโหลดความคิดเห็น