“ปัญหา “หนี้” มันใหญ่มันใหญ่มาก! ผมว่าใครเห็นมุมไหน? ช่วยมุมนั้น แบงก์ชาติเห็นมุมหนึ่งก็ช่วยมุมหนึ่ง สถาบันการเงินเห็นมุมหนึ่งเขาก็ช่วยมุมหนึ่ง ภาคเอกชนเห็นมุมหนึ่ง รัฐเห็นมุมหนึ่ง ใครเห็นมุมไหนผมว่าก็ช่วยกัน ไม่ใช่ว่าทำทุกอย่างเป็นไปไม่ได้เราไม่ได้มีกำลังหรือว่าความสามารถที่จะไปจัดการทั้งหมดได้อยู่แล้ว เราทำในส่วนนี้”
อนุตม์ กรกำแหง หรือทนายแชมป์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท “เจ-ราจา” ธุรกิจเพื่อสังคม จำกัด บอกกับเราว่า มันมีปัญหาเยอะมากในระดับประเทศ ซึ่ง “ปัญหาหนี้” เป็นปัญหาใหญ่ ใหญ่แบบ น่าจะใหญ่เกือบจะใหญ่ที่สุดรองจาก Climate Change หรือปัญหาสิ่งแวดล้อมเพราะว่า มันกระทบกับคนส่วนมากโดยตรงและก็ประเทศเราเป็นประเทศที่มีอัตรา “หนี้สินครัวเรือน” ถ้าในเอเชียนี่เราก็เป็นอันดับ 2 รองลงมาจากเกาหลีใต้ หรือตอนนี้เราก็เป็น “อันดับ7” ของโลกซึ่งก็เป็นปัญหาใหญ่เรื่องของหนี้สินครัวเรือน มันเลยเป็นจุดเริ่มต้นว่าวันนี้เราในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ถ้าเราอยากจะทำธุรกิจเพื่อสังคมสักอย่างหนึ่งเราจะเลือกอะไร “ด้วยความที่ผมมาทางสายกฎหมาย และก็มีโอกาสได้เข้าไปทำงานในส่วนของบริษัทที่ทำเรื่องการติดตามหนี้มันก็เรียกว่าได้มีความรู้และก็ได้ประสบการณ์จากส่วนนั้นมา ก็เลยเห็นว่าเรื่องนี้น่าจะควรจะเอามาจับเพื่อจะสร้าง Business Model หนึ่งขึ้นมา เป็นการช่วยเหลือลูกหนี้ให้เขาแก้ปัญหาหนี้ในส่วนนี้ให้ได้”
“เจ-ราจา” ธุรกิจเพื่อสังคม เป็นตัวแทนของคนที่มีปัญหา “หนี้”
เรามีหลายเคส ที่ต่อให้ลูกหนี้เสียชีวิตไปแล้วแน่นอนตามกฎหมาย แม้จะไม่ได้บอกว่าหนี้เป็นมรดก แต่เวลามรดกมันมีทั้งส่วนที่เป็นทรัพย์สินและก็หนี้สินที่มันตกไปถึงทายาท เราเจอเคสที่ทายาทก็ต้องมานั่งจ่ายหนี้ มาจ่ายหนี้ให้ก็มี ซึ่งต้องบอกว่ากฎหมายบอกว่า “มรดก” ที่เรารับ รับผิดไม่เกินหนี้ คือถ้ามีทรัพย์สินมา 100 มีหนี้มา 80 ยังไงก็ต้องจ่าย 80 รับได้แค่ 20 จะเป็นอย่างนี้ แต่ว่าพอมีการติดตามบางครั้งเราไม่รู้ว่าเขาได้มรดกเท่าไหร่ แต่ลูกหนี้ส่วนใหญ่ทายาทเขาก็หาเงินมาปิด มันอาจจะด้วยหลาย ๆ เหตุผลเพราะฉะนั้นมันก็ อยู่อย่างนี้! หนีไม่พ้น สู้แก้ปัญหา/ตัดไป “แล้วยังไม่รวมถึงเจอหนี้ ผมเจออย่างเช่นล่าสุดเคสเกือบ 20 ปี สิบกว่าปีครับก็ยังเอามาฟ้องศาล คืออายุความมันอาจจะ 2 ปี 5 ปี 10 ปี แล้วแต่ลักษณะหนี้ แต่ว่า “เจ้าหนี้” ย่อมเข้าใจว่ากระบวนการมันมี กระบวนการขายหนี้ ให้กับบริษัทบริหารสินทรัพย์หรือบริษัททั่วไปที่มาซื้อ ซึ่งเขาซื้อหนี้ไปเนี่ยบางที่เอาหนี้พวกนี้ไปฟ้องคดี แล้วลูกหนี้ไม่ไปศาล แม้หนี้จะขาดอายุความแล้ว ศาลก็ต้องตัดสินให้ชำระหนี้ ก็ไม่จบอยู่ดี มันก็วนอยู่อย่างนี้ครับ”
ทำไมต้องเจรจาก่อน ช่วยแก้ปัญหาเรื่องหนี้อย่างไรบ้าง?
การกู้ยืมเงินและอัตราดอกเบี้ยที่เรียกเก็บได้ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ตอนนี้อัตราดอกเบี้ยก็คือกู้ยืมเงิน ไม่เกินร้อยละ 15 ต่อปี(หรือไม่เกิน 15% ต่อปี) ก็คือเกณฑ์จะคิดตามนี้ “เงินกู้” ไม่เกินนี้ ไม่ผิดกฎหมาย ส่วนผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่น ๆ ที่แบงก์ชาติอนุญาตก็จะมีเปลี่ยนแปลงไปที่เป็นเงินกู้ เช่น ฟิโก้ไฟแนนซ์ นาโนไฟแนนซ์ อาจจะไป 33% หรือ 36% เขาก็ว่าไป บัตรเครดิต ไม่ใช่เงินกู้ มันเป็นสินเชื่อมาเพื่อทดลองจ่าย มันก็จะเป็น 16% 18% แล้วแต่ บัตรกดเงินสด อนุญาตให้สินเชื่อส่วนบุคคล 25% อย่างนี้ ก็จะมีแต่ละหลาย ๆ ผลิตภัณฑ์ แต่ว่าพอไป “นอกระบบ” ดอกเบี้ย 20% ต่อเดือนซึ่งมันเยอะมาก! อันนี้ก็คือผิดกฎหมายแน่นอน“เท่าที่จากประสบการณ์ที่ผมไปนั่งคุยไปให้ความรู้กับ กลุ่มแม่บ้านของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งครับและก็ เขามีหนี้นอกระบบกันแบบ 70-80% ถามว่ามันเกิดดอก 20% ต่อเดือน แล้วเขาก็จะยึดบัตร ATM เลยพอเงินเดือนออกมา เขาจะกดเงินเดือนมาหักหนี้ก่อนแล้วกลายเป็นว่า เราต้องไปขอเงินเขาใช้เพราะเขายึดเอทีเอ็มไป ถามว่าปัญหามันเกิดจากการ ถามว่าทำไมพี่ต้องไปกู้หรือไปอะไรตรงนี้ มันเกิดจากส่วนหนึ่งผมว่ามันเรื่องความรู้ ความรู้คือมันไม่มีการวางแผน”
"เจ-ราจา” เป็นธุรกิจเพื่อสังคม คือ SE : Social Enterprise ซึ่งไม่ใช่ธุรกิจปกติ ธุรกิจปกติคือธุรกิจแสวงหากำไรเป็นเป้าหมายสูงสุด ความเป็น SE มันจะทำเรื่องอะไรดี“คือต้องบอกว่า “เจ-ราจา” มันเกิดจากเราไปเข้าร่วมในโครงการของตลาดหลักทรัพย์
“SET Social Impact GYM” แล้วก็ไปพูดคุยเพื่อจะหาโมเดลซึ่งผมต้องการที่จะเปลี่ยนจากกิจกรรม CSR ในบริษัทที่ทำอยู่เกี่ยวกับเรื่องการแก้ไขปัญหาหนี้ ให้มันเป็นธุรกิจขึ้นมาซิว่า ธุรกิจแก้ไขปัญหาหนี้มันทำได้ไหม? ทำไมทุกทีมันจะต้องมีแต่แค่ไปจัดอบรมให้ความรู้ให้คำปรึกษา แล้วมันคือเป็นแค่ CSR มันเป็นแค่กิจกรรม แต่ผมอยากเปลี่ยนกิจกรรมให้มันเป็น “กิจการ” ทำยังไงให้มันเป็นธุรกิจ ที่มันสามารถเลี้ยงตัวเองได้โดยที่ไม่ต้องไปพึ่งงบจากบริษัทแม่ ก็เลยเป็นที่มาที่หา Business Model แล้วก็ออกแบบให้มันกลายเป็น J-Raja ขึ้นมา พอดีว่าเรายังไม่สามารถใช้คำว่า “วิสาหกิจเพื่อสังคม” ได้เพราะตอนนี้มันต้องรอจดครบ 1 ปีก่อน เราก็เลยเป็นธุรกิจเพื่อสังคมตัวหนึ่งที่ ต้องการมีรายได้ให้มันเลี้ยงตัวเองได้ และก็แก้ปัญหาสังคมไปในพร้อม ๆ กัน”
ผ่อนหนักให้เป็นเบาได้
หนี้ มี 2 แบบ หนี้มีหลักประกัน กับ หนี้ไม่มีหลักประกัน แบบมีหลักประกันอย่างเช่น บ้าน รถ เป็นหนี้รถ ผ่อนไม่ไหว อาจจะเรียกคืนรถได้ เขาเรียกว่าคืนโดยสมัครใจเลยแต่ว่าก็ต้องไม่ค้างค่างวด อย่างนี้มันก็จะมีแนวทางที่จะให้หนี้มันจบได้ ส่วนบ้านเป็นที่อยู่อาศัยก็ต้องมาดูอีกว่า บ้านก็เกิดโดนยึดขายบ้านมันจะกระทบหรือเปล่า จะจัดการอย่างไร เราอาจจะขายบ้านได้เหมือนหลาย ๆ เคสที่เขาขายบ้านกันเพราะอย่างน้อยมันมีหลักประกัน มีมูลค่าอันนี้มันก็ยังมีวิธีแก้แบบหนึ่ง แต่หนี้บัตรเครดิต เป็นหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน นั่นหมายความว่าเราต้องหาเงินอย่างเดียวแล้ว “ดอกเบี้ย” มันก็ถูกเดินไปแล้ว นั่นคือปลายทางของกระบวนการก็คือ การถูกบังคับคดี อาจจะเป็นการถูกอายัดเงินเดือน หรือยึดทรัพย์สิน เพราะฉะนั้นอันนี้มันคือสิ่งที่ต้องทราบผล เพียงแต่ว่าการแก้ปัญหามันต้องมาดูเรื่องเวลา
“เขาเนี่ยมาให้ “เจ-ราจา” ช่วยคุยกับเจ้าหนี้ให้ เพราะว่าหนึ่งเขาประสงค์อยากจะแก้ปัญหาเรื่องนี้ คือความตั้งใจการแก้ปัญหามันสำคัญสุด พอเขาตั้งใจแล้วอยากจะแก้มันแต่ว่าเขาไม่อยากติดต่อเจ้าหนี้เอง เพราะอย่างที่เราทราบว่าอย่างปัจจุบันนี้เวลาสถาบันการเงินเป็น NPL แล้วเขาก็จะจ้างบริษัทติดตามหนี้ใช่มั้ยครับ หรือว่ามี Call Center ขององค์กรเขาติดตามหนี้ บางทีเขาไม่ได้อยากคุยกับคนทวงถามหนี้เขาอยากให้ช่วยคุยหน่อย อีกอย่างหนึ่งคือพอเขาไม่ได้รู้กฎหมาย หมายถึงตัวลูกหนี้ทั่ว ๆ ไปไม่รู้กฎหมายเขาก็ไม่เข้าใจว่า พูดอะไรมาเขาไม่เข้าใจ” ก็จะมีการมอบอำนาจมาให้ถูกต้อง เราก็จะติดต่อไปที่เจ้าหนี้เพื่อสอบถามสถานะปัจจุบันก่อนว่า หนี้บัตรนี้ บัญชีนี้ ปัจจุบันมีหนี้ค้างเงินต้นเท่าไร ดอกเบี้ยเท่าไร สถานะทางกฎหมายเป็นอย่างไร“พอเราทราบข้อมูลแล้วเนี่ย ผมก็จะมาสรุปเพื่อจะเขียนด้วยภาษาให้มันง่ายนะครับ เพื่อแจ้งให้ทางลูกหนี้ทราบ แล้วก็สอบถามทั้งเรื่อง ส่วนลด มีไหม? ระยะเวลาในการผ่อนชำระเป็นอย่างไรอย่างเงี้ยครับ มีเงื่อนไขอะไรได้บ้างถ้าจะผ่อน 2 งวด 3 งวด 1 ปี คือเราคุยเพื่อหา Solution ให้เยอะที่สุดแล้วเอาโซลูชั่นนี้มา ให้ลูกหนี้เขาตัดสินใจว่าแบบไหนคือสิ่งที่เขาทำไหว มันเลยไม่ใช่ว่าเราไปคุยจบแล้ว มันไม่ได้คุยครั้งเดียวแล้วมันจะง่ายอย่างนั้น มันต้องเอาโซลูชั่นมาแนวทางมาให้มากที่สุด แล้วก็ลูกหนี้มาพิจารณาประกอบเพราะเขาจะรู้ว่า เขามีกำลังในการที่จะจัดการหนี้ไหวแค่ไหน”
คือถ้าโดนฟ้อง อันดับแรกจะอธิบาย “ข้อกฎหมาย” กระบวนการทางกฎหมายให้เขาเข้าใจก่อนว่า การฟ้องคดีแล้วมันจะมีผลอะไรต่อไปบ้าง หนึ่งแน่นอนเมื่อศาลตัดสินมาก็จะต้องรับผิดชอบ เงินต้น ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียมศาล ค่าทนายความที่ศาลสั่งให้ชำระ แล้วมัน “ดอกเบี้ย” ก็จะถูกเดินไปเรื่อย ๆ และก็จะมีกระบวนการบังคับคดีตามมา อันนี้คือสิ่งที่จะเกิดขึ้น ให้เขาเข้าใจก่อนว่าผลลัพธ์เป็นอย่างไร“พี่ต้องตัดสินใจว่าหนึ่งพี่มองว่าอยากจะจัดการมันไหม? แน่นอนแบงก์ส่วนใหญ่เขาก็จะให้ผ่อนได้หรือปิดบัญชีได้ ก็มีแค่ 2 วิธี ไม่ผ่อนก็จ่ายเงินก้อนใช่มั้ยครับ ถ้าเขาบอกโอเคเขาอยากรู้เงื่อนไขให้เราดำเนินการให้ เราก็ติดต่อพูดคุยให้”หรือแม้แต่ฟ้องไปแล้วจะต้องขึ้นศาลยังไง มันมีเงื่อนไขในการชำระหนี้อย่างไรบ้างเขาก็จะให้มา เราก็มาคุยกับลูกหนี้เพื่อให้ลูกหนี้เขารับทราบ แล้วเราก็จะมีบริการที่เป็น “ตัวแทน” คือถ้ามันตกลงได้ลูกหนี้ไม่จำเป็นต้องไปศาลเอง มอบอำนาจให้กับเราแล้วเราก็ไปดำเนินการทำสัญญาประนีประนอมยอมความที่ศาลให้
ตอนนี้ Products หรือการให้บริการของ “เจ-ราจา” จะมีหลัก ๆ 5 ส่วน คือ ส่วนแรกก็คือ เรื่องของการเป็นตัวแทนในการเจรจาหนี้เลย ตามชื่อ “เจ-ราจา” บริการที่สองคือเรื่อง การตรวจสุขภาพหนี้ เราก็จะมีข้อมูลให้ลูกหนี้กรอก กรอกข้อมูลทุกอย่างมันก็จะประเมินออกมาเป็น ผลตรวจสุขภาพ เหมือนตรวจสุขภาพร่างกาย มันจะบอกให้เห็นว่า หนึ่งวันนี้ภาระหนี้ต่อรายได้คุณ เกินเกณฑ์มาตรฐานไหม? หรือคุณเริ่มอยู่ในเกณฑ์ที่จะต้องระมัดระวังแล้ว หรือแม้แต่ค่าใช้จ่ายบางอย่างมันเริ่มสูงเกินไปไหม ยกตัวอย่างเป็นต้น แล้วเราก็สามารถจะทำอย่างนี้เพื่อให้คุณชี้วัดตัวเองทุก ๆ ไตรมาสก็ได้ ทุก 6 เดือนหรือทุก 1 ปี เหมือนตรวจสุขภาพร่างกาย เพื่อประเมินการเงินตัวเองจะได้รู้ อันที่3 คือเรื่องของการเป็นตัวแทนไปศาล หรือไปกรมบังคับคดี กรณีที่ลูกหนี้เขาไม่สะดวกไปดำเนินการเอง คือต้องเข้าใจว่ากระบวนการทางกฎหมายเวลายื่นฟ้องคดี เขาจะฟ้องตามภูมิลำเนาของลูกหนี้ ซึ่งบางคนอยู่ต่างจังหวัดก็ต้องเสียค่ารถ ต้องลางาน เสียเวลา จะไปทำเรื่องผ่อนหรือจะไปชำระเพื่อให้มีการถอนฟ้องหรือถอนการบังคับคดี เราก็จะประสานตรงนั้นให้ ส่วนบริการที่ 4 ก็จะเป็นการจัดอบรมอันนี้ส่วนใหญ่ก็จะเป็นนายจ้างที่ใช้ส่วนนี้เพราะว่าอยากให้เราเข้าไปช่วยเหลือลูกจ้างในองค์กรว่ามีปัญหาอย่างไรบ้าง เนื้อหาในการอบมรมก็จะมีก็จะเน้นแต่เรื่อง “หนี้” ปัญหาหนี้ ที่มาหนี้ มาหาแนวทางกันมาดูแผนในการแก้หนี้ รวมถึงการให้คำปรึกษาส่วนบุคคล เหล่านี้เป็นต้น
จ่ายเพียง 1,000 บาท เป็นค่าดำเนินงานการเจรจาต่อ 1 บัญชีหนี้!
มันมีเซอร์วิสที่เราเขียนเอาไว้ก็คือ 1,000 บาทต่อ1 บัญชีของสถาบันการเงินซึ่งเราคุยให้ “ก็ 1,000 บาทแล้วก็เราจะดูแลให้ 2 เดือน ระยะเวลา 2 เดือน เพราะว่ามันต้องพูดคุยเจรจากว่าจะหาข้อสรุปได้ 1,000 บาทก็จะผมว่า ระยะเวลา 2 เดือนเป็นระยะเวลาที่น่าจะพอดีกับการที่จะได้ แนวทางที่ชัดเจนให้ไปตัดสินใจได้ครับ” ซึ่งราคานี้เราใช้อยู่จริง ๆ ก็มันเป็นธุรกิจเพื่อสังคมด้วย เราไม่ได้เอากำไรสูงสุด เราไม่ได้เอาเงินเป็นที่ตั้ง เรามองเรื่องประโยชน์ที่มันจะเกิดแต่ว่าการคิดรายได้มันก็ควรจะเหมาะพอที่เราเห็นว่า มันเหมาะสม แล้วเราก็อยู่เลี้ยงตัวเองได้ผมว่ามันก็Win เพราะว่าอย่าลืมว่าเรา คนที่ใช้บริการเรา คือ ลูกหนี้ คือพื้นฐานเขาก็ไม่ได้มีเงินมาก
ทนายแชมป์-อนุตม์ กรกำแหง จากบริษัท “เจ-ราจา” ธุรกิจเพื่อสังคม จำกัด ยังบอกด้วย หนี้ประเทศเรามันเยอะมาก แล้วสิ่งหนึ่งที่สำคัญสุดที่ทุกคนอาจจะไม่เคยคิดเลยว่า “หนี้” มันเหมือน “ต้นไม้” มันจะโตขึ้น โตขึ้นเรื่อย ๆ แล้วมันจะเป็นไม้เลื้อยหรือไม้ใหญ่ด้วยจะไม่ใช่เป็นไม้เล็ก เพราะว่าด้วย “ดอกเบี้ย” มันเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพราะฉะนั้นมันไม่ควรปล่อย!
สามารถรับชมเนื้อหาฉบับเต็มได้ในรายการ “ชีวิตใหม่” ทางยูทูบช่อง SMEs Manager หรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม J-Raja ธุรกิจเพื่อสังคม ทุกช่องทางการติดต่อ LINE OA : https://lin.ee/RdUIV1N เว็บไซต์ https://j-raja.com/ หรือโทร. 066-109-6854
คลิก Like เพื่อมาเป็นแฟนเพจของหน้า "SMEsผู้จัดการ" รับข่าวสารในแวดวงธุรกิจเอสเอ็มอีที่สมบูรณ์แบบที่สุด