xs
xsm
sm
md
lg

มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (SMU) รุกขยายเครือข่ายระดับภูมิภาค เปิดตัวศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งใหม่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (SMU) รุกขยายเครือข่ายระดับภูมิภาค เปิดตัวศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งใหม่ที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย ศูนย์ SMU Overseas Centre Bangkok ถือเป็นศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศในเอเชียแห่งที่สองของมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ ในแผนเครือข่ายแบ่งปันความรู้ทั่วภูมิภาคเอเชียชูบทบาท SMU ขึ้นแท่นประตูความรู้แห่งเอเชีย


กรุงเทพฯ ประเทศไทย, 27 ตุลาคม 2566 - มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ (SMU) ประกาศก้าวพันธกิจสำคัญ พร้อมสานต่อความร่วมมือแบ่งปันความรู้ระดับภูมิภาคกับการเปิดตัวศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งที่สองของ SMU ในเอเชียที่กรุงเทพฯ ประเทศไทย


ศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศของมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ในประเทศไทย หรือ Overseas Centre Bangkok (OCB)จะทำหน้าที่ขับเคลื่อน อำนวยความสะดวกและประสานความร่วมมือด้านต่าง ๆ ในประเทศไทยให้กับมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ ยกระดับความเชี่ยวชาญและบริการของมหาวิทยาลัย ขยายเครือข่ายท้องถิ่น และสร้างโอกาสให้กับความร่วมมือใหม่ ๆ ระหว่างมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์และสถาบันการศึกษาและองค์กรต่าง ๆ ในไทย นอกจากนี้ ศูนย์ OCB จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลางให้กับภาคส่วนที่สนใจ ทั้งองค์กรธุรกิจ สถาบันการศึกษา และนิสิตนักศึกษา เกี่ยวกับโปรแกรมและหลักสูตรการเรียนการสอนต่าง ๆ ที่มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์นำเสนอกลยุทธ์ความร่วมมือครั้งสำคัญนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิสัยทัศน์ Vision 2025 ของมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ที่มุ่งมั่นต่อยอดและขยายเครือข่ายความรู้ให้เติบโตไปทั่วเอเชีย แบ่งปันความรู้ความเข้าใจเชิงลึกด้านเศรษฐกิจ ระบบการปกครองและสังคมท้องถิ่นในเอเชีย ซึ่งมีส่วนช่วยส่งเสริมการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจทั่วทั้งภูมิภาค โดยเป็นการเปิดตัวต่อเนื่องจากศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งแรกในเอเชียของ SMU ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย เมื่อปี 2565 ที่ผ่านมา โดย SMU วางแผนที่จะขยายเครือข่ายระดับภูมิภาคอย่างต่อเนื่องโดยเตรียมเปิดตัวศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งที่สามในเอเชียที่กรุงโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนาม ในเร็ว ๆ นี้ เพื่อสานต่อแผนยุทธศาสตร์ “การขับเคลื่อนการเติบโตในภูมิภาคเอเชีย” (Growth in Asia)


ศาสตราจารย์ลิลี่ คง (Lily Kong) อธิการบดีมหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ กล่าวว่า “การเลือกประเทศไทยเป็นที่ตั้งศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งที่สองในเอเชียของ SMU มาจากทั้งความมุ่งมั่นตั้งใจและความร่วมมืออันแข็งแกร่งของมหาวิทยาลัยและพันธมิตรต่าง ๆ ของเราในไทย ประเทศไทยเป็นตลาดเศรษฐกิจสำคัญของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเป็นผู้เล่นสำคัญที่กำลังเติบโตและมีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทางอนาคตของเอเชียโดยรวมทั้งหมด เราเชื่ออย่างยิ่งว่าการตั้งศูนย์การศึกษาต่อของ SMU ในไทยจะช่วยให้เรามีส่วนช่วยขับเคลื่อนแวดวงงานวิจัยและเสริมระดับความรู้ความเชี่ยวชาญในสาขาวิชาสำคัญในปัจจุบัน อาทิ ความยั่งยืนและการเปลี่ยนแปลงสู่ดิจิทัล นอกจากนี้ วิสัยทัศน์ของเรายังสอดคล้องกับเป้าหมายของประเทศไทยในการก้าวสู่อนาคตที่ยั่งยืนและขับเคลื่อนด้วยความรู้ SMU มุ่งมั่นด้านพันธกิจในการสร้างการเปลี่ยนแปลงที่มีความหมายแก่สังคมและเศรษฐกิจในเอเชียผ่านการศึกษา การวิจัย และนวัตกรรม และมีศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งใหม่ของเราในประเทศไทยเป็นเครื่องยืนยันถึงความมุ่งมั่นของเราในการอุทิศเพื่อการแบ่งปันความรู้และสร้างสรรค์การเปลี่ยนแปลงเชิงบวกเพื่อสังคมคุณภาพในภูมิภาคที่เต็มไปด้วยพลวัตนี้”

ประเทศไทยกำลังเติบโตอย่างมากด้วยเศรษฐกิจดิจิทัลที่มูลค่าการตลาดแตะพุ่งสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาทในปี 2565 ที่ผ่านมา ตามข้อมูลของสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล ทำให้เกิดความต้องการแรงงานที่มีทักษะด้านดิจิทัลมากขึ้นและเร่งด่วน นอกจากนี้ ประเทศไทยยังตระหนักถึงความสำคัญของประเด็นเรื่องความยั่งยืนและเป้าหมายในการพัฒนาเศรษฐกิจให้เติบโตไปพร้อมกัน SMU ตั้งใจที่จะลดช่องว่างด้านทักษะแรงงานเหล่านี้พร้อมส่งเสริมการพัฒนาด้านความยั่งยืนไปพร้อมกันผ่านความรู้ความเชี่ยวชาญและหลักสูตรการเรียนการสอนเฉพาะทางของ SMU ศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศแห่งใหม่ของ SMU ในกรุงเทพฯ จะกลายเป็น “ประตูแห่งความรู้” ที่ช่วยผลักดันการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจของไทย พร้อมสานความสัมพันธ์ระหว่างไทยและสิงคโปร์ให้มีความแน่นแฟ้นมากยิ่งขึ้นด้วย


เพื่อทำหน้าที่ดังกล่าว SMU และศูนย์การศึกษาต่อต่างประเทศในกรุงเทพฯ จะทำงานร่วมกับพันธมิตรท้องถิ่นในไทยในแวดวงการศึกษาและธุรกิจเพื่อการพัฒนาทักษะแรงงานให้กับประเทศ พร้อมแลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้และความเชี่ยวชาญระหว่างกัน ศูนย์ OCB จะให้ความสำคัญกับการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษา การศึกษาแบบทดลอง กิจกรรมความรู้เชิงผู้นำธุรกิจ คอร์สเรียนพัฒนาเพื่อการบริหาร หลักสูตรการเรียนการสอนประกาศนียบัตรบัณฑิตและคอร์สการศึกษาสำหรับผู้ใหญ่ ซึ่งช่วยส่งเสริมการแลกเปลี่ยนความรู้และความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โดยศูนย์ OCB จะทำหน้าที่เป็นเหมือน “สถานทูต” ของ SMU ในไทย เพื่อเป็นสื่อกลางและประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับคุณค่า ฐานความรู้ วัฒนธรรม และความสนใจอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องในภูมิภาคเอเชียที่ SMU ตั้งใจถ่ายทอดให้แก่ผู้ที่สนใจ


นอกจากการประกาศเปิดตัวศูนย์ OCB ในไทย ยังมีการจัดกิจกรรมเสวนาอภิปรายระหว่างบุคลากรของ SMU กับบรรดาผู้นำองค์กรธุรกิจจากธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (SMU-Bangkok Bank Industry Leaders Dialogue) ขึ้น เพื่อเน้นย้ำถึงความสำคัญของปัญญาประดิษฐ์หรือ AI ในยุคดิจิทัลและผลกระทบที่สำคัญต่อธุรกิจในภูมิภาคเอเชีย โดยผู้ร่วมเสวนาในครั้งนี้ได้แก่ รองศาสตราจารย์ เจอโรลด์ โซห์ (Jerrold Soh) รองศาสตราจารย์สาขาวิชานิติศาสตร์ และรองผู้อำนวยการศูนย์กำกับดูแลด้านกฎหมายคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์ ร่วมด้วยคุณเหวิง วันยี (Weng Wanyi) ผู้อำนวยการของสำนักงานเพื่อรัฐอัจฉริยะและรัฐบาลดิจิทัลของสิงคโปร์ (SNDGO) ดร. พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และ นายแพทย์ศุภชัย ปาจริยานนท์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร RISE Corporate Innovation Powerhouse โดยมีผู้ดำเนินรายการคือ ศาสตราจารย์ซุน ซุน ลิม (Sun Sun Lim) รองประธานฝ่ายความร่วมมือและการมีส่วนร่วม มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์

ผู้เชี่ยวชาญเหล่านี้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกที่มีประโยชน์เกี่ยวกับบทบาทความสำคัญของ AI ในอนาคต ซึ่งสามารถสร้างการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในธุรกิจ ตั้งแต่การเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการทำงาน ไปจนถึงการปรับปรุงบริการให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพิ่มความง่ายในการคิดและการสร้างต้นแบบ อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลอาจก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างมาก จึงจำเป็นที่องค์กรต่าง ๆ จะต้องมีความพร้อมที่จะสนับสนุนพนักงานของตนเพื่อเตรียมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังเกิดขึ้น นอกจากนี้ ยังได้หารือถึงวิธีที่องค์กรต่าง ๆ สามารถใช้ประโยชน์จากการนำ AI มาใช้เพื่อจัดการกับความท้าทายที่เกิดขึ้นใหม่ กิจกรรมเสวนาดังกล่าวสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของศูนย์ OCB ในการมุ่งมั่นตอบสนองความต้องการทักษะแรงงานในยุคดิจิทัลที่เปลี่ยนแปลงไป


ศูนย์ OCB จะได้รับการบริหารจัดการโดยนางสาวเซลีน กวอก (Celine Kuok) ผู้อำนวยการศูนย์ฯ ซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี 2560 มีประสบการณ์ความเชี่ยวชาญที่หลากหลายและมีเครือข่ายพันธมิตรที่แข็งแกร่งในภาคการศึกษาระดับอุดมศึกษา ประกอบกับภูมิหลังที่กว้างขวางของเธอในการพัฒนาโปรแกรมความเป็นผู้นำและความเฉียบแหลมด้านการบริหารธุรกิจ คุณเซลีนจึงพร้อมผลักดันภารกิจของศูนย์ OCB สู่การสร้างผลกระทบเชิงบวกต่อชุมชนท้องถิ่นและภูมิภาคโดยรวม "ดิฉันรู้สึกเป็นเกียรติที่ได้เป็นผู้นำภารกิจของศูนย์ OCB ในการส่งเสริมการแบ่งปันความรู้เชิงเปลี่ยนแปลงในประเทศไทย ซึ่งมีส่วนช่วยในการเติบโตทางเศรษฐกิจ" นางสาวเซลีน ผู้อำนวยการศูนย์ SMU Overseas Centre กรุงเทพฯ กล่าว “เป้าหมายของเราคือการจัดเตรียมความรู้และทักษะให้กับบุคคลเพื่อการเติบโตในภูมิทัศน์ที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบัน และเสริมสร้างศักยภาพให้กับชุมชนและภาคส่วนต่าง ๆ ในประเทศไทยผ่านความร่วมมือด้านการศึกษาและเชิงกลยุทธ์”

การจัดตั้งศูนย์ OCB ยังได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการบริหารของ SMU อย่างเต็มกำลัง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คุณปณต สิริวัฒนภักดี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท Frasers Property Limited และทีมงาน ได้ให้คำแนะนำและแนวทางอันทรงคุณค่าเพื่อช่วยในการก่อตั้งศูนย์ OCB ครั้งนี้ด้วย


มหาวิทยาลัยการจัดการสิงคโปร์หรือ SMU มีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดและยาวนานกับพันธมิตรท้องถิ่นในประเทศไทยผ่านทางสภาที่ปรึกษาความร่วมมือนานาชาติ (International Advisory Council) ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 2561 มีสมาชิกประกอบด้วยองค์กรชั้นนำของไทย เช่น ธนาคารกรุงเทพ กลุ่มบริษัทเซ็นทรัลฯ และดุสิต อินเตอร์เนชั่นแนล นอกจากนี้ ปัจจุบัน SMU มีความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำของไทย 4 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) ความร่วมมืออันยาวนานของ SMU กับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งแต่ปี 2544 จะมีการยกระดับยุทธศาสตร์ในวันที่ 27 ตุลาคม 2566 นี้ ในฐานะมหาวิทยาลัยพันธมิตรเชิงกลยุทธ์ โดย SMU และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะเริ่มขยายขอบเขตความร่วมมืออย่างลึกซึ้งและกว้างขวาง โดยเฉพาะในสาขาวิชาสำคัญ ได้แก่ การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัล การดำรงชีวิตที่ยั่งยืน และนวัตกรรมและการเป็นผู้ประกอบการ ความร่วมมือเชิงกลยุทธ์นี้เป็นการต่อยอดความร่วมมือที่มีอยู่ซึ่งครอบคลุมโปรแกรมนักศึกษาและวิชาการ โดยใช้ประโยชน์จากจุดแข็งอันเป็นเอกลักษณ์ของ SMU และความมุ่งมั่นร่วมกันในฐานะมหาวิทยาลัยชั้นนำของทั้งสองประเทศเพื่อการเปลี่ยนแปลงการศึกษาและการวิจัยที่มีผลกระทบและรับมือกับความท้าทายทางสังคม

SMU ยังร่วมกับพันธมิตรในไทยเหล่านี้ ในการดำเนินโครงการการศึกษา พัฒนาวิชาชีพ และการศึกษาที่ต่อเนื่อง รวมถึงภารกิจการศึกษาระดับคณะและภาควิชา การวิจัยร่วมกัน และได้พัฒนาหลักสูตรร่วม SMU-X ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นหลักสูตรเชิงประสบการณ์ที่นักศึกษาร่วมมือกับภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นจริง มีทุนการศึกษาและทุนสนับสนุนหลายทุนสำหรับนักศึกษา SMU จากประเทศไทย ซึ่งรวมถึงทุนการศึกษาธนาคารกรุงเทพ ทุนการศึกษา Ian R. Taylor Asia และทุนการศึกษา Mochtar Riady อีกด้วย


กำลังโหลดความคิดเห็น