(โดย ดร. ธารากร วุฒิสถิรกูล นายกสมาคมการค้าการลงทุนเส้นทางสายไหมไทยจีน)
ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง นิยามคำว่า “ประชาธิปไตย” ในการประชุมสภาผู้แทนประชาชนแห่งชาติจีน ที่จัดขึ้นโดยคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน โดยให้คำอธิบายโดยย่อว่า ระบบประชาธิปไตยควรเป็นของประชาชนเป็นเจ้าของประเทศ และตอบสนองความต้องการของประชาชน ประเทศเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ควรให้ประชาชนประเทศนั้นเป็นผู้ตัดสิน ไม่ควรให้คนส่วนน้อยในสังคมโลกมาตัดสิน ภาคปฏิบัติของประชาธิปไตยนั้น มีหลากหลายรูปแบบ ไม่สามารถไปด้วยรูปแบบเดียวกันหมด
อันที่จริงแล้วคำว่าประชาธิปไตยเป็นอุดมการณ์ทางการเมือง มีประวัติยาวนานมาแล้ว เริ่มปรากฏขึ้นในประเทศกรีกสมัยโบราณ ช่วงศตวรรษที่ 5 ก่อนคริสตกาล ซึ่งไม่ใช่คำใหม่และไม่ได้อย่างตามหลายคนเข้าใจว่ามาจากสหรัฐอเมริกา รูปแบบการปกครองแต่ละประเทศ ขึ้นอยู่กับจารีตประเพณีที่มีอัตลักษณ์ทางสังคมวัฒนธรรมของแต่ละประเทศนั้นๆ รูปแบบส่วนใหญ่ที่ยังดำรงอยู่ตอนนี้มีหลากหลายรูปแบบ อาทิ รูปแบบการปกครองราชาธิปไตย สมบูรณาญาสิทธิราชย์ ประชาธิปไตยแบบมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นพระประมุข ธนาธิปไตย คณาธิปไตย เผด็จการ สังคมนิยม ฯลฯ
รูปแบบการปกครองเอง ไม่มีความผิดถูก รูปแบบใดก็ตามหากเหมาะสมกับสังคมของรัฐนั้นๆ ก็ถือว่าเป็นรูปแบบการปกครองที่เอื้ออำนวยการพัฒนาและวิวัฒนาการของประเทศเพื่อให้ประชาชนอยู่ดีกินดี
แม้แต่หลักประชาธิปไตยเอง ก็มีหลายรูปแบบ ซึ่งสามารถแบ่งด้วยประชาธิปไตยทางตรงหรือประชาธิปไตยแบบมีผู้แทน
ประชาธิปไตยทางตรงหมายความถึงพลเมืองทุกคนมีสิทธิพิจารณา ซึ่งมีข้อจำกัดพอสมควร ประชาชนมีการศึกษาหรือฐานะต่างกันไม่มากและการย้ายถิ่นฐานน้อย
ส่วนประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนหมายความว่า ประชาชนใช้สิทธิผ่านตัวแทนที่มาจากระบบเลือกตั้ง ประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเองก็มีหลากหลายรูปแบบ อย่างเช่น การปกครองแบบรวมศูนย์อำนาจ ซึ่งรวมถึงรูปแบบพรรคเดียว รูปแบบสองพรรค รูปแบบหลายพรรค รูปแบบสองสภา รูปแบบสภาเดียว รูปแบบฝ่ายการบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายตุลาการรวมศูนย์อำนาจหรือแยกอำนาจการ แต่ทั้งหมดนี้ก็เป็นรูปแบบของประชาธิปไตยของประเทศนั้น
สหรัฐอเมริกาได้สร้างแนวคิดประชาธิปไตยของตนเอง ที่เอามาให้ชาติอื่นนำมาเป็นระบบการปกครองการเมืองและสังคม ภายหลังสงครามโลกที่ 2 สหรัฐอเมริกาใช้ระบบประชาธิปไตยของตนยัดเยียดให้ชาติอื่น เลียนแบบ และนำไปใช้บริหารประเทศ เป็นอเมริกันโมเดล (American Model) เป้าหมายคือให้ประเทศอื่นๆ เชื่อว่า ระบบประชาธิปไตยแบบอเมริกาเหนือกว่า และเอาแนวประชาธิปไตยของอเมริกาเป็นมาตรฐานของประชาธิปไตยมาเป็นหลัก จึงทำให้อเมริกาเป็นเจ้าของวาทกรรมในทางด้านนิยามศัพท์คำว่าประชาธิปไตย
เมื่อเราศึกษาระบบประชาธิปไตยแบบอเมริกัน เราจึงเห็นขัดว่า สหรัฐฯ ไม่ใช่อุตมรัฐ การการเหยียดสีผิวและอคติกับคนต่างชาติพันธุ์ไม่เคยหายไป ตั้งแต่สงครามอเมริกันกับอินเดียนแดง ที่เป็นชาติพันธุ์พื้นเมืองในสมัยก่อน เพื่อที่ยึดการเป็นเจ้าของพื้นที่ดินในอเมริกา จนถึงเหตุการณ์เสียชีวิตของ จอร์จ ฟลอยด์ (George Floyd) การต่อสู้การเหยียดสีผิวตั้งแต่ มาร์ติน ลูเทอร์ คิง จูเนียร์ จนถึง Black Lives Matter ก็ไม่เคยหยุดมีเหตุ ทำให้เราเริ่มสงสัยว่าประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนในอเมริกามีอยู่จริงหรือ ระบบประชาธิปไตยที่อ้างไม่ได้ทำเพื่อประชาชนกลุ่มใหญ่และปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคมทำให้ประชากรในประเทศไม่เท่าเทียมกันเกิดช่อว่างปัญหาทางสังคมทวีคูณขึ้นทุกวัน
ถ้าเรามองไปวงกว้าง การทำสงครามที่ประเทศอิรัก ใช้โดรนฆ่าประชาชนผู้บริสุทธิ์ที่อัฟกานิสถาน และความไม่ร่วมมือกับ WHO เพื่อป้องการการระบาดของโควิด-19 และการกักตุนวัคซีนนั้นก็ทำให้เราเห็นว่าระบบประชาธิปไตยของสหรัฐฯนั้น ไม่ได้คำนึงถึงสิทธิประโยชน์ของประชากรโลกอยู่แล้ว ซึ่งสหรัฐฯ ตัวเองก็พูดชัดเจนว่า America First ชาตินิยมและบรรษัทนิยมเป็นจุดสิ้นสุดของระบบประชาธิปไตยสหรัฐฯ
ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ของจีน ได้นิยามศัพท์ใหม่คำว่าประชาธิปไตย ทำให้เราทราบว่า การตีความของคำว่าประชาธิปไตยอีกครั้ง ระบบประชาธิปไตยสร้างด้วยอำนาจอธิปไตยของประชาชน ซึ่งประชาชนมีส่วนร่วมในฐานะเป็นเจ้าของประเทศ แบบประชาธิปไตยสังคมนิยมอัตลักษณ์จีน เป็นการปฏิบัติครั้งสำคัญของแนวคิดประชาธิปไตย และแนวคิดประชาคมแห่งโชคชะตาร่วมกันก็ทำให้เราเห็นว่า แนวคิดประชาธิปไตยควรแก้ปัญหา ไม่ควรเป็นปัจจัยที่ทำให้มีปัญหา ระบบประชาธิปไตยควรเป็นพื้นที่เจรจาพูดคุยและเป็นกลไกที่รักษาสันติภาพ และประชาธิปไตยไม่ควรจำกัดด้วยประเทศ หรือเพื่อผลประโยชน์ของประเทศใดประเทศหนึ่ง แต่ควรดำเนินแบบคำนึงถึงการพัฒนาและผลประโยชน์ของมนุษยชาติเป็นสำคัญ