ปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า หรือโควิด-19 ยังคงคร่าชีวิตผู้คนจำนวนมาก ผู้ที่เรียกว่าอยู่ ‘ด่านหน้า’ คือ บุคลากรทางการแพทย์ ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุขในทุกแขนงล้วนตกอยู่ในความเสี่ยง
ด้วยความห่วงใยที่มีต่อบุคลากรทางการแพทย์ ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท T-NET ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ผู้เชียวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และทีมงานจึงได้คิดค้นนวัตกรรมหุ่นยนต์ Covid Killer หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโควิด-19 ด้วยรังสียูวี ที่ขับเคลื่อนด้วยการบังคับ ไม่ต่างจากอุปกรณ์บังคับวิทยุ เพื่อเข้าถึงพื้นที่ที่คนไม่อาจเข้าถึงได้ อีกทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีฉีดยา พ่นละออง ที่ทำให้เชื้อไวรัสฟุ้งกระจาย เพื่อลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญ
ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ ให้สัมภาษณ์ ผู้จัดการออนไลน์ ถึงความเป็นมาของหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์
>>> จากตู้อบ UV สู่ Covid Killer
ดร.โกเมน กล่าวว่า โดยปกติแล้ว บ.ทีเน็ต ทำเรื่อง IT SECURITY รวมถึงวิจัยพัฒนา โดยทำงานวิจัยมาไม่น้อยกว่า 10 ปี
“เมื่อเกิดมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เราก็เริ่มทำหลาย ๆ เรื่อง ตั้งแต่ปีที่แล้ว เราก็เอาหลอดยูวี มาทำตู้อบยูวี แบบ DIY ที่เอาหลอดยูวีใส่เข้าไปแล้วใส่กระดาษพรีเมี่ยม อลูมิเนียม ฟอยล์ เข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการฉายแสง เพื่อฆ่าเชื้อโรคของหลอดยูวี ตู้อบ ดีไอวาย เราก็ทำเป็นรายแรก ๆ ของประเทศไทย เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรค จากนั้น เราก็พัฒนาเอาหลอดยูวีมาติดกับหุ่นยนต์บังคับ ซึ่งหุ่นยนต์ตัวนี้ ปีที่แล้วมีการนำไปใช้ในที่ต่างๆ ทั้ง โรงพยาบาลที่กรุงเทพ แล้วก็ในโรงพยาบาลหลายแห่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งที่ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี” ดร.โกเมนกล่าวถึงที่มาแรกเริ่มก่อนกำเนิดหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์
>>> จุดเริ่มต้นในการออกแบบ
เมื่อถามถึงจุดเริ่มต้นในการออกแบบ ดร.โกเมนตอบว่า จริงๆ แล้ว หุ่นยนต์ที่ฆ่าเชื้อโควิดก็มีหลาย ๆ หน่วยงานที่ทำ แต่ว่าในส่วนของทีเน็ตนั้น นับแต่ ประมาณต้นปีที่แล้ว หลังจากทำตู้อบยูวีแล้ว เราก็คิดว่า ตู้อบยูวีเป็นสิ่งที่ใช้ตามจุด ในบ้าน ขณะที่ในพื้นที่สาธารณะ หลาย ๆ แห่ง กระทรวงสาธารณสุข ก็เคยมีประกาศว่า ในบางพื้นที่สาธารณะบางจุด ไม่เหมาะกับการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ เพราะจะทำให้ตัวของไวรัสกระจาย เพราะฉะนั้น ในหลายพื้นที่ ที่ใช้การฉีดพ่น ก็มีข้อจำกัด ดังนั้น การใช้แสงยูวี ก็เป็นแสงในการฆ่าเชื้อ เป็นรังสีในการฆ่าเชื้อได้
“แต่ตัวรังสีก็มีข้อจำกัดถ้ารังสี เข้าตานาน ๆ ก็ส่งผลกระทบให้เป็นต้อกระจกในอนาคต หรือว่า รังสียูวี หากโดนในระยะนานๆ ก็อาจเป็นมะเร็งที่ผิวหนัง เราต้องให้ความระมัดระวัง แต่ว่าเนื่องจากหุ่นยนต์เราดีไซน์มาเพื่อแสงที่เป็นทิศทาง เช่น ส่องไปข้างหน้า ดังนั้น เวลาใช้งาน ถ้าผู้บังคับอยู่ข้างหลังหุ่นยนต์ ก็ปลอดภัย แล้วตัวหุ่นยนต์เราก็ใช้เครื่องวัดรังสียูวีว่าออกมาเท่าไหร่ ให้มีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อ ในการนำไปใช้ตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบัน หลาย ๆ โรงพยาบาลก็มีการฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวี แทนการฉีดพ่น แทนการฟุ้งกระจาย”
ดร.โกเมนระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า นับแต่เดือน เม.ย.2563 ถึงปัจจุบันนี้ ผลิตหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์ไปเกือบ 10 กว่าเครื่อง แล้ว ทั้งยืนยันว่าข้อดีของหุ่นยนต์คือ “ตัวอุปกรณ์ทุกอย่างหาได้จากในประเทศ เราดีไซน์ให้ใช้ง่าย บำรุงรักษาง่าย”
เมื่อถามว่า 10 กว่าเครื่องที่ผลิตมา ถูกส่งไปที่ไหนบ้าง ดร.โกเมนตอบว่าส่งไปที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 6-7 เครื่อง ขณะที่ในกรุงเทพฯ ตอนนี้ก็มีโรงพยาบาลเด็ก และโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม
>>> หลักการทำงาน
ดร.โกเมนกล่าวว่า “หลักการก็คือ เราก็นำเอาโมเดลหุ่นยนต์ที่มีมอร์เตอร์ที่สามารถบังคับเคลื่อนที่ได้ แบตเตอรี่ ระบบสำรองไฟ เพื่อให้หลอดยูวีออกรังสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า แสงไฟฟฟ้าคงที่ ทำให้หลอดไฟฟ้าของเราเปิดมาแล้วแสงส่องสว่าง มีรังสียูวีคงที่ เพื่อทำให้การฆ่าเชื้อโควิดมีประสิทธิภาพ” ดร.โกเมนระบุ และกล่าวว่าหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์ มีขนาดสูงประมาณหนึ่งเมตร ความกว้างประมาณ 60 ซม.
“ไม่ใช่หุ่นตัวเล็ก ๆ หลอดไฟที่ใช้ก็ความเข้มสูง ตอนนี้เราก็มีทำร่วมกับหลาย โรงพยาบาล” ดร.โกเมนระบุ ขณะที่ต้นทุนในการผลิต ดร.โกเมนระบุว่าหุ่นยนต์โควิด หากนำเข้าจากต่างชาติ มีราคาตัวละไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้าน ถึงสองล้านบ้าน แต่เป็นของทีเน็ต ราคาต่ำกว่านั้นหลายเท่า
“และการที่ผลิตได้ภายในประเทศทำให้เราพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องไปพึ่งเทคโนโลยีต่างประเทศ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเราทำจากวัสดุที่หาได้ในประเทศ ทำให้การดูแลรักษาทำได้ง่าย เช่นการเปลี่ยนหลอด เราก็หาได้ในเมืองไทย โดยไม่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาดูแล” ดร.โกเมนระบุ
>>> อานุภาพของหลอด UV ในหุ่นยนต์
ดร.โกเมนกล่าวว่า “ตัวหุ่นยนต์ของเรา จะไม่เหมือนกับหุ่นยนต์ที่อื่นใช้ หุ่นของเรามีการส่องไฟไปข้างหน้าและส่องลงพื้นได้ด้วย หลักการของเราคือเป็นหุ่นยนต์บังคับ ส่องไฟไปข้างหน้า เพื่อฆ่าเชื้อ และบังคับทิศทางได้ แล้วก็เรามองว่า เชื้อโควิดส่วนใหญ่ ตกลงบนพื้นผิว เราก็ให้ความสำคัญกับการส่องไฟลงบนพื้นและข้างหน้า จะเห็นว่าหุ่นยนต์เราก็มีการออกแบบ สำรองไฟให้ใช้ได้ ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง”
ดร.โกเมนระบุ และกล่าวเพิ่มเติมว่า ปกติหลักการใช้รังสียูวีขึ้นอยู่กับระยะห่างจากจุดที่ใช้ในการฉายแสง รวมถึงระยะเวลา และจำนวนวัตต์ที่เราใช้ “ซึ่งเครื่องที่เราใช้คือ 400-600 วัตต์ ก็เหมาะกับการนำหุ่นเข้าไปใช้ฆ่าเชื้อตามทางเดิน ฆ่าเชื้อที่โรงพยาบาลสนาม หรือพื้นที่ต่างๆ ที่มีความเสี่ยงกับโควิด หรืออย่างเช่นห้องผู้ป่วย ที่เราต้องการทำความสะอาด ก่อนที่พนักงาน ใส่ชุด PPE เข้าไป เราก็สามารถนำหุ่นเข้าไปฆ่าเชื้อโรคก่อนที่คนจะเข้าไป เพื่อความปลอดภัย”
ดร.โกเมนกล่าวว่า ในเบื้องต้น หุ่นยนต์ใช้คนบังคับ แต่จริง ๆ แล้ว ก็สามารถที่จะทำให้มันเคลื่อนไหวเองได้ด้วย แต่กลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่ใช้แบบบังคับจะทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่า เป็นหุ่นยนต์บังคับ กึ่ง ๆ เหมือนอุปกรณ์บังคับวิทยุ ใช้ง่ายกว่า
เมื่อเป็นหลอดรังสียูวี เมื่อรังสีไปโดนเชื้อไวรัส ก็ทำให้โครงสร้างโมเลกุลของเชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลง ทำให้เชื้อไวรัสตาย เหล่านี้คือประโยชน์ของเครื่องโควิด คิลเลอร์
เมื่อถามว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีเสียงตอบรับอย่างไรบ้าง และใช้เวลาในการผลิตต่อเครื่อง นานแค่ไหน
ดร.โกเมนตอบว่า หากมีอุปกรณ์ครบ เครื่องหนึ่งก็ใช้เวลาผลิตไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ที่ผ่านมา มีโรงพยาบาลใช้กันเยอะ “เพราะว่า มันมีหลายเรื่องที่เขาเป็นห่วง เช่น การฆ่าเชื้อในห้องผ่าตัด ถ้าให้คนเข้าไปทำความสะอาด เช็ด ถู ก็ทำได้ช้า คนที่เข้าไปก็ต้องใส่ชุด PPE เพราะฉะนั้น การที่มีหุ่นยนต์ เข้าไปในที่ที่มนุย์มีความเสี่ยงก่อน ก็จะช่วยทำให้คนที่เข้าไปทำความสะอาดเก็บตกทีหลัง มีความมั่นใจยิ่งขึ้น”
>>> อนาคต อาจผลิต ‘แบ็คแพ็ค กระเป๋าหิ้ว เป้สนามยูวี’
เมื่อถามว่ามีอะไรอีกบ้าง ที่จะผลิตออกมาอีกเกี่ยวกับการใช้รังสียูวีฆ่าเชื้อโควิด
ดร.โกเมนตอบว่า “ตอนนี้ก็มีเทคโนโลยีหลาย ๆ ตัว ที่ทดลองใช้ หลังจากการใช้งานในปัจจุบัน เราใช้เป็นหุ่นยนต์ อีกอันที่เรากำลังทดลองทำคือกระเป๋าหิ้ว ที่เราสามารถถือเข้าไป เพื่อเข้าไปในที่ที่ไม่สามารถส่งหุ่นยนต์เข้าไปได้ เพราะหลอดยูวีก็มีหลายประเภท แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องน้ำหนัก พลังงาน ตอนนี้เราก็อยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา และเรากำลังร่วมวิจัยการผลิตรังสียูวีที่ใช้กับหลอดแอลอีดีได้ เพื่อให้มีน้ำหนักเบา ใช้พลังงานน้อย แต่มีกำลังวัตต์เยอะ แต่คงไม่ถึงขนาดเหมือนกระเป๋าหิ้ว เพราะยังต้องใช้แบตเตอรี่ มีการฆ่าเชื้อที่ต้องคำนวณระยะเวลา ทิศทาง เพื่อให้ผู้ที่เดินถือ วางใจและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ ตอนนี้คุณหมอ และพยาบาลทำงานหนัก เราในฐานะเอ็นจิเนียริ่ง ก็ต้องหาวิธีที่จะไปช่วยหรือว่าลดความเสี่ยงให้กับคุณหมอและพยาบาลที่อยู่ในแนวหน้า”
ดร.โกเมนระบุ และกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า มีแนวโน้มพัฒนาโควิดคิลเลอร์เป็นแบบเป้สนาม “เป็นอุปกรณ์เป้สนาม และมีอุปกรณ์ฆ่าเชื้อยูวี นี่เป็นสิ่งที่เราจะทำ เพราะเราพบข้อจำกัดที่หุ่นยนต์ เข้าไปในพื้นที่ไม่ได้ เราก็นึกถึงอุปกรณ์ที่นำเป้สนามไปฉายส่อง”
เมื่อถามถึงอายุการใช้งานหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์ ดร.โกเมนตอบว่า อายุการใช้งานหลอดยูวีประมาณ ปี 1 แต่ในบางกรณี เช่นที่ รพ. เด็ก ใช้งานหนักมาก แต่ก็ใช้งานมาได้มากกว่า 1ปีแล้ว ส่วนวิธีเปลี่ยนหลอดก็ถอดประกอบง่าย
นอกจากนี้ ดร.โกเมนระบุด้วยว่าอยู่ระหว่างร่วมพันธมิตรกับโรงพยาบาลต่างๆ ว่าต้องการหุ่นยนต์กี่เครื่อง ที่ไหนบ้าง
“เนื่องจากโรงพยาบาลเหล่านั้น ไม่สามารถจะใช้วิธีฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อได้ เพราะจะฟุ้งกระจาย การฆ่าเชื้อด้วยยูวีคือคำตอบเดียว ในที่ที่การฉีดพ่นมีความเสี่ยง”
เมื่อถามว่า มีแนวโน้มที่จะพัฒนาหุ่นยนต์โควิดคิลเลอร์ หรืออุปกรณ์ฆ่าเชื้อโควิดในรูปแบบใหม่ ๆ อย่างไรอย่างไรต่อไปอีกหรือไม่
“ถ้าผู้ใช้อยากให้ทำหุ่นยนต์เป็นระบบอัตโนมัติ เราก็สามารถทำให้มันเป็นอัตโนมัติได้ ให้เดินตามเส้นทาง เช่น ทางเดินในโรงพยาบาล ต่อไปหลังจากนั้น หลังจากเป็นหุ่นยนต์แล้ว เราก็จะทำเป็นเป้สนาม หรือแบ็คแพ็ค เป็นกระเป๋าที่ถือหิ้ว อาจจะทดลองอีกประมาณ 3-4 เดือน”
ดร.โกเมนระบุทิ้งท้ายถึงการผลิตนวัตกรรมสำคัญใหม่ๆที่ช่วยกำจัด ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้คน และได้ผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม
ด้วยความห่วงใยที่มีต่อบุคลากรทางการแพทย์ ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ กรรมการผู้จัดการบริษัท T-NET ภายใต้การกำกับดูแลของศูนย์เทคโนโลยีอิเล็คทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ผู้เชียวชาญด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสารสนเทศ และทีมงานจึงได้คิดค้นนวัตกรรมหุ่นยนต์ Covid Killer หุ่นยนต์ฆ่าเชื้อโควิด-19 ด้วยรังสียูวี ที่ขับเคลื่อนด้วยการบังคับ ไม่ต่างจากอุปกรณ์บังคับวิทยุ เพื่อเข้าถึงพื้นที่ที่คนไม่อาจเข้าถึงได้ อีกทั้งยังเป็นการฆ่าเชื้อโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีฉีดยา พ่นละออง ที่ทำให้เชื้อไวรัสฟุ้งกระจาย เพื่อลดความเสี่ยงได้อย่างมีนัยสำคัญ
ดร.โกเมน พิบูลย์โรจน์ ให้สัมภาษณ์ ผู้จัดการออนไลน์ ถึงความเป็นมาของหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์
>>> จากตู้อบ UV สู่ Covid Killer
ดร.โกเมน กล่าวว่า โดยปกติแล้ว บ.ทีเน็ต ทำเรื่อง IT SECURITY รวมถึงวิจัยพัฒนา โดยทำงานวิจัยมาไม่น้อยกว่า 10 ปี
“เมื่อเกิดมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เราก็เริ่มทำหลาย ๆ เรื่อง ตั้งแต่ปีที่แล้ว เราก็เอาหลอดยูวี มาทำตู้อบยูวี แบบ DIY ที่เอาหลอดยูวีใส่เข้าไปแล้วใส่กระดาษพรีเมี่ยม อลูมิเนียม ฟอยล์ เข้าไปเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการฉายแสง เพื่อฆ่าเชื้อโรคของหลอดยูวี ตู้อบ ดีไอวาย เราก็ทำเป็นรายแรก ๆ ของประเทศไทย เพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อโรค จากนั้น เราก็พัฒนาเอาหลอดยูวีมาติดกับหุ่นยนต์บังคับ ซึ่งหุ่นยนต์ตัวนี้ ปีที่แล้วมีการนำไปใช้ในที่ต่างๆ ทั้ง โรงพยาบาลที่กรุงเทพ แล้วก็ในโรงพยาบาลหลายแห่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ทั้งที่ ยะลา นราธิวาส ปัตตานี” ดร.โกเมนกล่าวถึงที่มาแรกเริ่มก่อนกำเนิดหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์
>>> จุดเริ่มต้นในการออกแบบ
เมื่อถามถึงจุดเริ่มต้นในการออกแบบ ดร.โกเมนตอบว่า จริงๆ แล้ว หุ่นยนต์ที่ฆ่าเชื้อโควิดก็มีหลาย ๆ หน่วยงานที่ทำ แต่ว่าในส่วนของทีเน็ตนั้น นับแต่ ประมาณต้นปีที่แล้ว หลังจากทำตู้อบยูวีแล้ว เราก็คิดว่า ตู้อบยูวีเป็นสิ่งที่ใช้ตามจุด ในบ้าน ขณะที่ในพื้นที่สาธารณะ หลาย ๆ แห่ง กระทรวงสาธารณสุข ก็เคยมีประกาศว่า ในบางพื้นที่สาธารณะบางจุด ไม่เหมาะกับการฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อ เพราะจะทำให้ตัวของไวรัสกระจาย เพราะฉะนั้น ในหลายพื้นที่ ที่ใช้การฉีดพ่น ก็มีข้อจำกัด ดังนั้น การใช้แสงยูวี ก็เป็นแสงในการฆ่าเชื้อ เป็นรังสีในการฆ่าเชื้อได้
“แต่ตัวรังสีก็มีข้อจำกัดถ้ารังสี เข้าตานาน ๆ ก็ส่งผลกระทบให้เป็นต้อกระจกในอนาคต หรือว่า รังสียูวี หากโดนในระยะนานๆ ก็อาจเป็นมะเร็งที่ผิวหนัง เราต้องให้ความระมัดระวัง แต่ว่าเนื่องจากหุ่นยนต์เราดีไซน์มาเพื่อแสงที่เป็นทิศทาง เช่น ส่องไปข้างหน้า ดังนั้น เวลาใช้งาน ถ้าผู้บังคับอยู่ข้างหลังหุ่นยนต์ ก็ปลอดภัย แล้วตัวหุ่นยนต์เราก็ใช้เครื่องวัดรังสียูวีว่าออกมาเท่าไหร่ ให้มีประโยชน์ในการฆ่าเชื้อ ในการนำไปใช้ตามสถานที่ต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบัน หลาย ๆ โรงพยาบาลก็มีการฆ่าเชื้อด้วยรังสียูวี แทนการฉีดพ่น แทนการฟุ้งกระจาย”
ดร.โกเมนระบุและกล่าวเพิ่มเติมว่า นับแต่เดือน เม.ย.2563 ถึงปัจจุบันนี้ ผลิตหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์ไปเกือบ 10 กว่าเครื่อง แล้ว ทั้งยืนยันว่าข้อดีของหุ่นยนต์คือ “ตัวอุปกรณ์ทุกอย่างหาได้จากในประเทศ เราดีไซน์ให้ใช้ง่าย บำรุงรักษาง่าย”
เมื่อถามว่า 10 กว่าเครื่องที่ผลิตมา ถูกส่งไปที่ไหนบ้าง ดร.โกเมนตอบว่าส่งไปที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ประมาณ 6-7 เครื่อง ขณะที่ในกรุงเทพฯ ตอนนี้ก็มีโรงพยาบาลเด็ก และโรงพยาบาลอื่น ๆ ที่ไม่ประสงค์จะเอ่ยนาม
>>> หลักการทำงาน
ดร.โกเมนกล่าวว่า “หลักการก็คือ เราก็นำเอาโมเดลหุ่นยนต์ที่มีมอร์เตอร์ที่สามารถบังคับเคลื่อนที่ได้ แบตเตอรี่ ระบบสำรองไฟ เพื่อให้หลอดยูวีออกรังสีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เรียกว่า แสงไฟฟฟ้าคงที่ ทำให้หลอดไฟฟ้าของเราเปิดมาแล้วแสงส่องสว่าง มีรังสียูวีคงที่ เพื่อทำให้การฆ่าเชื้อโควิดมีประสิทธิภาพ” ดร.โกเมนระบุ และกล่าวว่าหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์ มีขนาดสูงประมาณหนึ่งเมตร ความกว้างประมาณ 60 ซม.
“ไม่ใช่หุ่นตัวเล็ก ๆ หลอดไฟที่ใช้ก็ความเข้มสูง ตอนนี้เราก็มีทำร่วมกับหลาย โรงพยาบาล” ดร.โกเมนระบุ ขณะที่ต้นทุนในการผลิต ดร.โกเมนระบุว่าหุ่นยนต์โควิด หากนำเข้าจากต่างชาติ มีราคาตัวละไม่ต่ำกว่าหนึ่งล้าน ถึงสองล้านบ้าน แต่เป็นของทีเน็ต ราคาต่ำกว่านั้นหลายเท่า
“และการที่ผลิตได้ภายในประเทศทำให้เราพึ่งตนเองได้ ไม่ต้องไปพึ่งเทคโนโลยีต่างประเทศ แต่ที่สำคัญที่สุดก็คือเราทำจากวัสดุที่หาได้ในประเทศ ทำให้การดูแลรักษาทำได้ง่าย เช่นการเปลี่ยนหลอด เราก็หาได้ในเมืองไทย โดยไม่ต้องให้ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศเข้ามาดูแล” ดร.โกเมนระบุ
>>> อานุภาพของหลอด UV ในหุ่นยนต์
ดร.โกเมนกล่าวว่า “ตัวหุ่นยนต์ของเรา จะไม่เหมือนกับหุ่นยนต์ที่อื่นใช้ หุ่นของเรามีการส่องไฟไปข้างหน้าและส่องลงพื้นได้ด้วย หลักการของเราคือเป็นหุ่นยนต์บังคับ ส่องไฟไปข้างหน้า เพื่อฆ่าเชื้อ และบังคับทิศทางได้ แล้วก็เรามองว่า เชื้อโควิดส่วนใหญ่ ตกลงบนพื้นผิว เราก็ให้ความสำคัญกับการส่องไฟลงบนพื้นและข้างหน้า จะเห็นว่าหุ่นยนต์เราก็มีการออกแบบ สำรองไฟให้ใช้ได้ ไม่ต่ำกว่า 2 ชั่วโมง”
ดร.โกเมนระบุ และกล่าวเพิ่มเติมว่า ปกติหลักการใช้รังสียูวีขึ้นอยู่กับระยะห่างจากจุดที่ใช้ในการฉายแสง รวมถึงระยะเวลา และจำนวนวัตต์ที่เราใช้ “ซึ่งเครื่องที่เราใช้คือ 400-600 วัตต์ ก็เหมาะกับการนำหุ่นเข้าไปใช้ฆ่าเชื้อตามทางเดิน ฆ่าเชื้อที่โรงพยาบาลสนาม หรือพื้นที่ต่างๆ ที่มีความเสี่ยงกับโควิด หรืออย่างเช่นห้องผู้ป่วย ที่เราต้องการทำความสะอาด ก่อนที่พนักงาน ใส่ชุด PPE เข้าไป เราก็สามารถนำหุ่นเข้าไปฆ่าเชื้อโรคก่อนที่คนจะเข้าไป เพื่อความปลอดภัย”
ดร.โกเมนกล่าวว่า ในเบื้องต้น หุ่นยนต์ใช้คนบังคับ แต่จริง ๆ แล้ว ก็สามารถที่จะทำให้มันเคลื่อนไหวเองได้ด้วย แต่กลุ่มผู้ใช้งานส่วนใหญ่ใช้แบบบังคับจะทำให้ใช้งานได้ง่ายกว่า เป็นหุ่นยนต์บังคับ กึ่ง ๆ เหมือนอุปกรณ์บังคับวิทยุ ใช้ง่ายกว่า
เมื่อเป็นหลอดรังสียูวี เมื่อรังสีไปโดนเชื้อไวรัส ก็ทำให้โครงสร้างโมเลกุลของเชื้อไวรัสเปลี่ยนแปลง ทำให้เชื้อไวรัสตาย เหล่านี้คือประโยชน์ของเครื่องโควิด คิลเลอร์
เมื่อถามว่า ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา มีเสียงตอบรับอย่างไรบ้าง และใช้เวลาในการผลิตต่อเครื่อง นานแค่ไหน
ดร.โกเมนตอบว่า หากมีอุปกรณ์ครบ เครื่องหนึ่งก็ใช้เวลาผลิตไม่ถึงหนึ่งสัปดาห์ ที่ผ่านมา มีโรงพยาบาลใช้กันเยอะ “เพราะว่า มันมีหลายเรื่องที่เขาเป็นห่วง เช่น การฆ่าเชื้อในห้องผ่าตัด ถ้าให้คนเข้าไปทำความสะอาด เช็ด ถู ก็ทำได้ช้า คนที่เข้าไปก็ต้องใส่ชุด PPE เพราะฉะนั้น การที่มีหุ่นยนต์ เข้าไปในที่ที่มนุย์มีความเสี่ยงก่อน ก็จะช่วยทำให้คนที่เข้าไปทำความสะอาดเก็บตกทีหลัง มีความมั่นใจยิ่งขึ้น”
>>> อนาคต อาจผลิต ‘แบ็คแพ็ค กระเป๋าหิ้ว เป้สนามยูวี’
เมื่อถามว่ามีอะไรอีกบ้าง ที่จะผลิตออกมาอีกเกี่ยวกับการใช้รังสียูวีฆ่าเชื้อโควิด
ดร.โกเมนตอบว่า “ตอนนี้ก็มีเทคโนโลยีหลาย ๆ ตัว ที่ทดลองใช้ หลังจากการใช้งานในปัจจุบัน เราใช้เป็นหุ่นยนต์ อีกอันที่เรากำลังทดลองทำคือกระเป๋าหิ้ว ที่เราสามารถถือเข้าไป เพื่อเข้าไปในที่ที่ไม่สามารถส่งหุ่นยนต์เข้าไปได้ เพราะหลอดยูวีก็มีหลายประเภท แต่ก็ยังมีข้อจำกัดเรื่องน้ำหนัก พลังงาน ตอนนี้เราก็อยู่ในขั้นตอนของการพัฒนา และเรากำลังร่วมวิจัยการผลิตรังสียูวีที่ใช้กับหลอดแอลอีดีได้ เพื่อให้มีน้ำหนักเบา ใช้พลังงานน้อย แต่มีกำลังวัตต์เยอะ แต่คงไม่ถึงขนาดเหมือนกระเป๋าหิ้ว เพราะยังต้องใช้แบตเตอรี่ มีการฆ่าเชื้อที่ต้องคำนวณระยะเวลา ทิศทาง เพื่อให้ผู้ที่เดินถือ วางใจและปลอดภัยสำหรับผู้ใช้ ตอนนี้คุณหมอ และพยาบาลทำงานหนัก เราในฐานะเอ็นจิเนียริ่ง ก็ต้องหาวิธีที่จะไปช่วยหรือว่าลดความเสี่ยงให้กับคุณหมอและพยาบาลที่อยู่ในแนวหน้า”
ดร.โกเมนระบุ และกล่าวเพิ่มเติมด้วยว่า มีแนวโน้มพัฒนาโควิดคิลเลอร์เป็นแบบเป้สนาม “เป็นอุปกรณ์เป้สนาม และมีอุปกรณ์ฆ่าเชื้อยูวี นี่เป็นสิ่งที่เราจะทำ เพราะเราพบข้อจำกัดที่หุ่นยนต์ เข้าไปในพื้นที่ไม่ได้ เราก็นึกถึงอุปกรณ์ที่นำเป้สนามไปฉายส่อง”
เมื่อถามถึงอายุการใช้งานหุ่นยนต์โควิด คิลเลอร์ ดร.โกเมนตอบว่า อายุการใช้งานหลอดยูวีประมาณ ปี 1 แต่ในบางกรณี เช่นที่ รพ. เด็ก ใช้งานหนักมาก แต่ก็ใช้งานมาได้มากกว่า 1ปีแล้ว ส่วนวิธีเปลี่ยนหลอดก็ถอดประกอบง่าย
นอกจากนี้ ดร.โกเมนระบุด้วยว่าอยู่ระหว่างร่วมพันธมิตรกับโรงพยาบาลต่างๆ ว่าต้องการหุ่นยนต์กี่เครื่อง ที่ไหนบ้าง
“เนื่องจากโรงพยาบาลเหล่านั้น ไม่สามารถจะใช้วิธีฉีดพ่นยาฆ่าเชื้อได้ เพราะจะฟุ้งกระจาย การฆ่าเชื้อด้วยยูวีคือคำตอบเดียว ในที่ที่การฉีดพ่นมีความเสี่ยง”
เมื่อถามว่า มีแนวโน้มที่จะพัฒนาหุ่นยนต์โควิดคิลเลอร์ หรืออุปกรณ์ฆ่าเชื้อโควิดในรูปแบบใหม่ ๆ อย่างไรอย่างไรต่อไปอีกหรือไม่
“ถ้าผู้ใช้อยากให้ทำหุ่นยนต์เป็นระบบอัตโนมัติ เราก็สามารถทำให้มันเป็นอัตโนมัติได้ ให้เดินตามเส้นทาง เช่น ทางเดินในโรงพยาบาล ต่อไปหลังจากนั้น หลังจากเป็นหุ่นยนต์แล้ว เราก็จะทำเป็นเป้สนาม หรือแบ็คแพ็ค เป็นกระเป๋าที่ถือหิ้ว อาจจะทดลองอีกประมาณ 3-4 เดือน”
ดร.โกเมนระบุทิ้งท้ายถึงการผลิตนวัตกรรมสำคัญใหม่ๆที่ช่วยกำจัด ฆ่าเชื้อโควิด-19 ได้โดยไม่เป็นอันตรายต่อผู้คน และได้ผลอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม