ภายหลังจาก กทม.สรุปการตรวจหาเชื้อโควิด-19 เชิงรุกในชุมชนคลองเตย ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย.เป็นต้นมา มีการ SWAB ไปจำนวนไม่น้อยกว่า 16,131 ราย ผลติดเชื้อ 477 ราย คิดเป็น 5.10% โดยยังอยู่ระหว่างการรอผลตรวจอีกไม่น้อยกว่า 6,784 ราย สะท้อนภาพของสถานการณ์ในชุมชนคลองเตยที่ยังไม่สามารถไว้วางใจได้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์ “นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ” หรือ ‘ครูประทีป’ ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการมูลนิธิดวงประทีป เจ้าของรางวัลแมกไซไซ ผู้ทำงานช่วยเหลือผู้คนในชุมชนแออัดคลองเตยมาต่อเนื่องยาวนาน ทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาในชุมชนแออัด การแก้ไขปัญหายาเสพติด การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาครอบครัว จึงไม่น่าแปลกใจว่า นับแต่เกิดวิกฤติโควิด ครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปได้ออกเยี่ยมเยือนผู้คนตามบ้านเรือนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ขวัญและกำลังใจในการต่อสู้กับสภาวะปัญหา แม้แต่ในวิกฤติโควิด-19 ระลอกสาม ที่คลองเคยกลายเป็นคลัสเตอร์แหล่งใหม่ ก็เช่นกัน
ครูประทีปให้สัมภาษณ์ผู้จัดการออนไลน์ถึงประเด็นที่ห่วงกังวล ความไม่เข้าใจของคนในสังคมที่มีต่อคนในชุมชนแออัด รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังไม่อาจวางใจได้ อีกทั้งสิ่งของจำเป็นที่ต้องการสำหรับผู้คนในชุมชน โดยเอ่ยถึงสถานการณ์ในชุมชนคลองเตยวันนี้ว่า รถที่เข้ามาทำ Swab (สวอบ) มาตรวจหาเชื้อ ก็นับเป็นตัวเลขที่รู้สึกยินดีที่ตรวจแล้วมีผู้ติดเชื้อที่น้อย ไม่ได้สูงเหมือนอย่างช่วง ตอนแรก ๆ
“ตัวเลขน้อยลง แต่เราก็ยังไม่ทราบ เพราะคนที่ตรวจไปแล้ว และมีแสดงอาการก็มีหลายราย ตอนนี้ก็ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ”
เมื่อถามว่าในฐานะมูลนิธิดวงประทีป มีบทบาทเยียวยา ช่วยเหลือคนในชุมชนคลองเตยอย่างไรบ้าง
ครูประทีป ตอบว่า เราก็พยายามทำให้ครบวงจรของการที่จะหยุดเชื้อของการแพร่ระบาด โดยการที่ถ้าหากว่าทราบว่าบ้านไหนที่ติดเชื้อและมีการรับตัวไปแล้ว เราก็เข้าไปฉีดพ่นยาในบ้าน และเสร็จแล้ว หากมีคนที่ยังอยู่ในบ้าน เรานำเอาอาหารไปให้ ไปให้กำลังใจ แล้วตอนนี้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ให้ยืมเครื่องฆ่าเชื้อ เราก็นำไปใช้ให้กับบ้านต่าง ๆ แล้วก็มีถุงยังชีพที่ใคร ๆ เอามาให้ เราก็นำเอาไปให้คนในชุมชน เราก็พยายามบูรณาการให้ครบวงจรที่จะช่วยหยุดการขยายตัวของการติดเชื้อ แพร่เชื้อ
>>> วอนคนในสังคมเข้าใจคน ‘คลองเตย’
เมื่อถามว่ามีสิ่งใดที่กังวลเป็นพิเศษ ครูประทีปกล่าวว่า “ปัจจุบัน มีปัญหาเกิดขึ้นว่า ผู้ประกอบการบางคนกลัวมากจนขาดสติ คือให้คนที่มาจากคลองเตยหยุดงาน หรือให้ออกจากงาน ก็สร้างความเดือดร้อน คนก็ไม่มีงาน จนก็จนอยู่แล้ว ลำบากก็ลำบากอยู่แล้ว ก็ต้องมาโดนให้หยุดงาน โดนรังเกียจ มีข่าวออกไปว่าคนคลองเตยไปทำงานเป็นแกร็บเป็นคนส่งอาหาร มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าอย่าซื้อ ก็ยิ่งแย่ไปกันใหญ่ เพราะมันเหมือนกับทำให้คนที่จะมีงานทำ ประกอบอาชีพได้กลายเป็น ไม่มีอาชีพ ก็อยากจะวิงวอนน่ะค่ะ เรารู้ว่าคนกลัวโรค ก็อย่าให้ความกลัวมาทำให้ขาดสติเกิดอคติ แล้วก็รังเกียจเดียดฉันท์ มันจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นที่ไม่ดีตามมา”
>>> ยาสามัญประจำบ้าน สิ่งที่ขาดไม่ได้
เมื่อถามว่ามีความช่วยเหลืออะไรที่ครูประทีปเห็นว่าต้องการ ในชุมชน
ครูประทีปตอบว่าตอบ ตอนนี้เราก็อยากได้พวกยาสามัญประจำบ้าน ยาธาตุน้ำขาวยาปวดท้องหรือยาแก้ท้องเสีย แล้วก็พวก พาราเซ็ตตามอล ยาทาแผล ที่คิดว่ามันจำเป็น ในการดำรงชีวิตของเขาในช่วงนี้ที่คิดว่าจำเป็นต้องใช้
>>> วอนเข้าใจผู้ติดเชื้อ ขอความเมตตา ก้าวผ่านวิกฤติ
เมื่อถามว่า ในคลองเตยมีทั้งสิ้นกี่ชุมชน ครูประทีปตอบว่ามี 43 ชุมชน ถามว่า อาจมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้น เนื่องจากมีตัวเลขขออกมาว่า ว่ามี 3 ชุมชน อาทิชุมชน 70 ไร่ ที่ตรวจพบผู้ป่วยใหม่ รวมถึงตัวเลขที่ กทม. ตรวจเชิงรุกพบ ตัวเลขพวกนี้ อยากฝากอะไรถึงคนในสังคมไหม
ครูประทีปตอบว่า “ก็คงไม่มีใครที่อยากจะติดเชื้อ ไม่มีใครอยากจะถูกรังเกียจนะคะ อย่างที่เรียนว่า อย่าให้ความกลัว มาทำให้ความเมตตา ที่เป็นคุณสมบัติของคนไทย ที่มีความเอื้อเฟื้อ ถูกทำลายวัฒนธรรมที่ดีงามเหล่านี้ไป ขอให้เราช่วยเหลือผู้คน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราก็จะก้าวผ่านสิ่งเหล่านี้ ก้าวผ่านภาวะวิกฤตินี้ได้อย่างงดงาม แล้วคนก็จะมีกำลังใจในการต่อสู้ เพราะว่าชีวิตของคน กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ”
>>> ผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ทองหล่อ รู้สึกเสียใจ
เมื่อถามว่ามีข้อเท็จจริงที่สื่อนำเสนอ คือกรณีที่มีพนักงานที่คลองเตย ทำงานที่ทองหล่อ แล้วเป็นผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ทองหล่อ ครูประทีปได้ฟังข่าวนี้แล้วรู้สึกยังอย่างบ้าง
ครูประทีปตอบว่า “ก็ได้เจอกับคนที่เขาทำงานน่ะค่ะ คนที่เขาทำงานแล้วก็ติดเชื้อคนนี้เขาก็เสียใจ ว่าเหมือนกับมาทำให้เกิดปัญหาต่อสังคม โดยที่เขาก็ไม่รู้ตัวว่าเขาติดเชื้ออยู่ เราก็เข้าใจน่ะค่ะ ว่าสิ่งเหล่านี้ มันบั่นทอน ไม่มีใครอยากเป็น แต่มันก็เป็นบทเรียนของสังคมไทย ว่าต้องทำให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียน ที่เราจะต้องพัฒนา ทั้งเรื่องความคิดจิตใจ และการดูแลสุขภาพให้ดี”
>>> เยี่ยมเยือนผู้คน ให้กำลังใจชาวชุมชนคลองเตย
เมื่อถามว่าในแต่ละวัน ครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปต้องทำอะไรบ้างในชุมชนคลองเตย
ครูประทีปตอบว่า “เราต้องการให้กำลังใจกับคนที่เขากำลังทุกข์โศกอยู่ เมื่อมีคนที่บ้านติดเชื้อ ต้องถูกแยกตัวออกไป บ้านถูกรังเกียจ ครูประทีปก็อยากทำให้เพื่อนบ้านได้มีความรู้สึกว่า ครูประทีปก็ไม่ได้รังเกียจ ไม่ได้กลัว แต่ครูก็ใส่แมสก์ ใส่ถุงมือ มีสเปรย์ฉีดฆ่าเชื้อ แล้วก็ไปคุยกับเขา เอาของไปให้เขา ให้กำลังใจว่าสู้ ๆ นะ ทุกคนขอให้กำลังใจและห่วงใย ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอ หมั่นล้าง มือ ใส่แมสก์ตลอดเวลา ทำที่บ้านให้สะอาด ก็ให้กำลังใจน่ะค่ะ แล้วก็ลดความรังเกียจเดียดฉันท์ลง” ครูประทีปกล่าวว่าทำแบบนี้มาตั้งแต่ โควิดระลอกแรก
>>> โควิด-19 ระลอกสามรุนแรงกว่าระลอกแรก
เมื่อถามว่า โควิด ระลอกแรก กระทั่งในระลอกสาม ต่างกันอย่างไรในสายตาของครูประทีป
ครูประทีปตอบว่า ระลอกสามมีความรุนแรง และรวดเร็วกว่าระลอกแรก เพราะระลอกแรก มันเป็นเรื่องที่เกิดในสนามมวย
“พวกโปรโมเตอร์ในสลัมที่พาเด็กไปชกแล้วติดมาก็มี แล้วก็มีคนเสียชีวิตไปคนหนึ่ง แล้วมันก็ไม่ได้แพร่อะไรเข้ามามาก แต่ครั้งนี้ มันมีสองปัจจัยหลัก ที่เป็นส่วนที่ทำให้การแพร่เชื้อเป็นไปอย่างกว้างขวางและรุนแรง ประการที่ 1 คือ ผู้ที่ไปทำงาน แถบสุขุมวิท ตรงนี้เป็นจำนวนเยอะ แล้วอีกประการหนึ่งคือเรื่องของสงกรานต์ที่ผ่านมา มีเล่นน้ำกัน ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้รวดเร็ว”
เมื่อถามว่า สงกรานต์ในชุมชนคลองเตยมีการเล่นนน้ำงั้นหรือ
ครูประทีปตอบว่า “ก็เล่นบ้าง ไม่มาก”
เมื่อถามว่า ในสถานการณ์ตอนนี้ ประเมินว่าควบคุมได้หรือยัง
ครูประทีปตอบว่า “ยังค่ะ เรายังไม่มั่นใจ”
>>> ต้องนำผู้ติดเชื้อส่งโรงพยาบาลได้รวดเร็ว
ถามว่า ต้องระดับไหน ตัวชี้วัดคืออะไร จึงจะประเมินว่าปลอดภัยแล้ว
“ตัวชี้วัดก็คือการนำผู้ติดเชื้อสู่โรงพยาบาลได้รวดเร็ว เพราะตอนนี้ การกักตัวในชุมชน คนที่ป่วย คนที่ไปโรงพยาบาลก็ถูกปล่อยตัวมาเร็วยิ่งขึ้น ไม่ถึง 10 วันก็ออกมาแล้ว พอหมดอาการอะไรต่าง ๆ ก็ออกมาแล้ว แล้วมากักตัวเองที่บ้าน แล้วเราไม่รู้ว่า การมากักตัวเองที่บ้านมันจะมีอะไรเกิดขึ้นอีกหรือเปล่า แล้วก็การรับผู้ป่วย ยังเป็นกังวล ว่าน่าจะต้องทำให้เร็วขึ้นกว่านี้”
ครูประทีประบุถึงสถานการณ์และการรับมือที่ยังน่าห่วงกังวลในชุมชนคลองเตย วันนี้
เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้จัดการออนไลน์ สัมภาษณ์ “นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ” หรือ ‘ครูประทีป’ ผู้ก่อตั้งและเลขาธิการมูลนิธิดวงประทีป เจ้าของรางวัลแมกไซไซ ผู้ทำงานช่วยเหลือผู้คนในชุมชนแออัดคลองเตยมาต่อเนื่องยาวนาน ทั้งการให้ความช่วยเหลือด้านการศึกษาในชุมชนแออัด การแก้ไขปัญหายาเสพติด การช่วยเหลือเด็กที่มีปัญหาครอบครัว จึงไม่น่าแปลกใจว่า นับแต่เกิดวิกฤติโควิด ครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปได้ออกเยี่ยมเยือนผู้คนตามบ้านเรือนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ขวัญและกำลังใจในการต่อสู้กับสภาวะปัญหา แม้แต่ในวิกฤติโควิด-19 ระลอกสาม ที่คลองเคยกลายเป็นคลัสเตอร์แหล่งใหม่ ก็เช่นกัน
ครูประทีปให้สัมภาษณ์ผู้จัดการออนไลน์ถึงประเด็นที่ห่วงกังวล ความไม่เข้าใจของคนในสังคมที่มีต่อคนในชุมชนแออัด รวมถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่ยังไม่อาจวางใจได้ อีกทั้งสิ่งของจำเป็นที่ต้องการสำหรับผู้คนในชุมชน โดยเอ่ยถึงสถานการณ์ในชุมชนคลองเตยวันนี้ว่า รถที่เข้ามาทำ Swab (สวอบ) มาตรวจหาเชื้อ ก็นับเป็นตัวเลขที่รู้สึกยินดีที่ตรวจแล้วมีผู้ติดเชื้อที่น้อย ไม่ได้สูงเหมือนอย่างช่วง ตอนแรก ๆ
“ตัวเลขน้อยลง แต่เราก็ยังไม่ทราบ เพราะคนที่ตรวจไปแล้ว และมีแสดงอาการก็มีหลายราย ตอนนี้ก็ยังอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่น่าไว้วางใจ”
เมื่อถามว่าในฐานะมูลนิธิดวงประทีป มีบทบาทเยียวยา ช่วยเหลือคนในชุมชนคลองเตยอย่างไรบ้าง
ครูประทีป ตอบว่า เราก็พยายามทำให้ครบวงจรของการที่จะหยุดเชื้อของการแพร่ระบาด โดยการที่ถ้าหากว่าทราบว่าบ้านไหนที่ติดเชื้อและมีการรับตัวไปแล้ว เราก็เข้าไปฉีดพ่นยาในบ้าน และเสร็จแล้ว หากมีคนที่ยังอยู่ในบ้าน เรานำเอาอาหารไปให้ ไปให้กำลังใจ แล้วตอนนี้ ทางจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ให้ยืมเครื่องฆ่าเชื้อ เราก็นำไปใช้ให้กับบ้านต่าง ๆ แล้วก็มีถุงยังชีพที่ใคร ๆ เอามาให้ เราก็นำเอาไปให้คนในชุมชน เราก็พยายามบูรณาการให้ครบวงจรที่จะช่วยหยุดการขยายตัวของการติดเชื้อ แพร่เชื้อ
>>> วอนคนในสังคมเข้าใจคน ‘คลองเตย’
เมื่อถามว่ามีสิ่งใดที่กังวลเป็นพิเศษ ครูประทีปกล่าวว่า “ปัจจุบัน มีปัญหาเกิดขึ้นว่า ผู้ประกอบการบางคนกลัวมากจนขาดสติ คือให้คนที่มาจากคลองเตยหยุดงาน หรือให้ออกจากงาน ก็สร้างความเดือดร้อน คนก็ไม่มีงาน จนก็จนอยู่แล้ว ลำบากก็ลำบากอยู่แล้ว ก็ต้องมาโดนให้หยุดงาน โดนรังเกียจ มีข่าวออกไปว่าคนคลองเตยไปทำงานเป็นแกร็บเป็นคนส่งอาหาร มีการเผยแพร่ข้อมูลว่าอย่าซื้อ ก็ยิ่งแย่ไปกันใหญ่ เพราะมันเหมือนกับทำให้คนที่จะมีงานทำ ประกอบอาชีพได้กลายเป็น ไม่มีอาชีพ ก็อยากจะวิงวอนน่ะค่ะ เรารู้ว่าคนกลัวโรค ก็อย่าให้ความกลัวมาทำให้ขาดสติเกิดอคติ แล้วก็รังเกียจเดียดฉันท์ มันจะก่อให้เกิดปัญหาอื่นที่ไม่ดีตามมา”
>>> ยาสามัญประจำบ้าน สิ่งที่ขาดไม่ได้
เมื่อถามว่ามีความช่วยเหลืออะไรที่ครูประทีปเห็นว่าต้องการ ในชุมชน
ครูประทีปตอบว่าตอบ ตอนนี้เราก็อยากได้พวกยาสามัญประจำบ้าน ยาธาตุน้ำขาวยาปวดท้องหรือยาแก้ท้องเสีย แล้วก็พวก พาราเซ็ตตามอล ยาทาแผล ที่คิดว่ามันจำเป็น ในการดำรงชีวิตของเขาในช่วงนี้ที่คิดว่าจำเป็นต้องใช้
>>> วอนเข้าใจผู้ติดเชื้อ ขอความเมตตา ก้าวผ่านวิกฤติ
เมื่อถามว่า ในคลองเตยมีทั้งสิ้นกี่ชุมชน ครูประทีปตอบว่ามี 43 ชุมชน ถามว่า อาจมีความไม่เข้าใจเกิดขึ้น เนื่องจากมีตัวเลขขออกมาว่า ว่ามี 3 ชุมชน อาทิชุมชน 70 ไร่ ที่ตรวจพบผู้ป่วยใหม่ รวมถึงตัวเลขที่ กทม. ตรวจเชิงรุกพบ ตัวเลขพวกนี้ อยากฝากอะไรถึงคนในสังคมไหม
ครูประทีปตอบว่า “ก็คงไม่มีใครที่อยากจะติดเชื้อ ไม่มีใครอยากจะถูกรังเกียจนะคะ อย่างที่เรียนว่า อย่าให้ความกลัว มาทำให้ความเมตตา ที่เป็นคุณสมบัติของคนไทย ที่มีความเอื้อเฟื้อ ถูกทำลายวัฒนธรรมที่ดีงามเหล่านี้ไป ขอให้เราช่วยเหลือผู้คน ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เราก็จะก้าวผ่านสิ่งเหล่านี้ ก้าวผ่านภาวะวิกฤตินี้ได้อย่างงดงาม แล้วคนก็จะมีกำลังใจในการต่อสู้ เพราะว่าชีวิตของคน กำลังใจเป็นสิ่งสำคัญ”
>>> ผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ทองหล่อ รู้สึกเสียใจ
เมื่อถามว่ามีข้อเท็จจริงที่สื่อนำเสนอ คือกรณีที่มีพนักงานที่คลองเตย ทำงานที่ทองหล่อ แล้วเป็นผู้ติดเชื้อจากคลัสเตอร์ทองหล่อ ครูประทีปได้ฟังข่าวนี้แล้วรู้สึกยังอย่างบ้าง
ครูประทีปตอบว่า “ก็ได้เจอกับคนที่เขาทำงานน่ะค่ะ คนที่เขาทำงานแล้วก็ติดเชื้อคนนี้เขาก็เสียใจ ว่าเหมือนกับมาทำให้เกิดปัญหาต่อสังคม โดยที่เขาก็ไม่รู้ตัวว่าเขาติดเชื้ออยู่ เราก็เข้าใจน่ะค่ะ ว่าสิ่งเหล่านี้ มันบั่นทอน ไม่มีใครอยากเป็น แต่มันก็เป็นบทเรียนของสังคมไทย ว่าต้องทำให้เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นบทเรียน ที่เราจะต้องพัฒนา ทั้งเรื่องความคิดจิตใจ และการดูแลสุขภาพให้ดี”
>>> เยี่ยมเยือนผู้คน ให้กำลังใจชาวชุมชนคลองเตย
เมื่อถามว่าในแต่ละวัน ครูประทีปและมูลนิธิดวงประทีปต้องทำอะไรบ้างในชุมชนคลองเตย
ครูประทีปตอบว่า “เราต้องการให้กำลังใจกับคนที่เขากำลังทุกข์โศกอยู่ เมื่อมีคนที่บ้านติดเชื้อ ต้องถูกแยกตัวออกไป บ้านถูกรังเกียจ ครูประทีปก็อยากทำให้เพื่อนบ้านได้มีความรู้สึกว่า ครูประทีปก็ไม่ได้รังเกียจ ไม่ได้กลัว แต่ครูก็ใส่แมสก์ ใส่ถุงมือ มีสเปรย์ฉีดฆ่าเชื้อ แล้วก็ไปคุยกับเขา เอาของไปให้เขา ให้กำลังใจว่าสู้ ๆ นะ ทุกคนขอให้กำลังใจและห่วงใย ขอให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของหมอ หมั่นล้าง มือ ใส่แมสก์ตลอดเวลา ทำที่บ้านให้สะอาด ก็ให้กำลังใจน่ะค่ะ แล้วก็ลดความรังเกียจเดียดฉันท์ลง” ครูประทีปกล่าวว่าทำแบบนี้มาตั้งแต่ โควิดระลอกแรก
>>> โควิด-19 ระลอกสามรุนแรงกว่าระลอกแรก
เมื่อถามว่า โควิด ระลอกแรก กระทั่งในระลอกสาม ต่างกันอย่างไรในสายตาของครูประทีป
ครูประทีปตอบว่า ระลอกสามมีความรุนแรง และรวดเร็วกว่าระลอกแรก เพราะระลอกแรก มันเป็นเรื่องที่เกิดในสนามมวย
“พวกโปรโมเตอร์ในสลัมที่พาเด็กไปชกแล้วติดมาก็มี แล้วก็มีคนเสียชีวิตไปคนหนึ่ง แล้วมันก็ไม่ได้แพร่อะไรเข้ามามาก แต่ครั้งนี้ มันมีสองปัจจัยหลัก ที่เป็นส่วนที่ทำให้การแพร่เชื้อเป็นไปอย่างกว้างขวางและรุนแรง ประการที่ 1 คือ ผู้ที่ไปทำงาน แถบสุขุมวิท ตรงนี้เป็นจำนวนเยอะ แล้วอีกประการหนึ่งคือเรื่องของสงกรานต์ที่ผ่านมา มีเล่นน้ำกัน ก็มีส่วนที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดได้รวดเร็ว”
เมื่อถามว่า สงกรานต์ในชุมชนคลองเตยมีการเล่นนน้ำงั้นหรือ
ครูประทีปตอบว่า “ก็เล่นบ้าง ไม่มาก”
เมื่อถามว่า ในสถานการณ์ตอนนี้ ประเมินว่าควบคุมได้หรือยัง
ครูประทีปตอบว่า “ยังค่ะ เรายังไม่มั่นใจ”
>>> ต้องนำผู้ติดเชื้อส่งโรงพยาบาลได้รวดเร็ว
ถามว่า ต้องระดับไหน ตัวชี้วัดคืออะไร จึงจะประเมินว่าปลอดภัยแล้ว
“ตัวชี้วัดก็คือการนำผู้ติดเชื้อสู่โรงพยาบาลได้รวดเร็ว เพราะตอนนี้ การกักตัวในชุมชน คนที่ป่วย คนที่ไปโรงพยาบาลก็ถูกปล่อยตัวมาเร็วยิ่งขึ้น ไม่ถึง 10 วันก็ออกมาแล้ว พอหมดอาการอะไรต่าง ๆ ก็ออกมาแล้ว แล้วมากักตัวเองที่บ้าน แล้วเราไม่รู้ว่า การมากักตัวเองที่บ้านมันจะมีอะไรเกิดขึ้นอีกหรือเปล่า แล้วก็การรับผู้ป่วย ยังเป็นกังวล ว่าน่าจะต้องทำให้เร็วขึ้นกว่านี้”
ครูประทีประบุถึงสถานการณ์และการรับมือที่ยังน่าห่วงกังวลในชุมชนคลองเตย วันนี้