xs
xsm
sm
md
lg

หมอเสียงแตก! ปมเหมาะสมหรือไม่แพทย์แทรกแซงเมื่อคนไข้ขอทำแท้ง

เผยแพร่:   ปรับปรุง:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



อดีตนายกแพทยสภา ออกมาโพสต์ข้อความแนะนำแพทย์ควรหาทางเปลี่ยนใจคนไข้หญิงสาวที่มีความคิดทำแท้ง หลังพบมีไม่น้อยที่เชื่อหมอแล้วเปลี่ยนใจตั้งครรภ์ ด้าน นพ.ธนาคาร สาระคำ แพทย์ประจำโรงพยาบาลพุทธชินราช เห็นแย้ง แพทย์ไม่ควรแทรกแซงความคิดของคนไข้

จากกรณีเมื่อวันที่ 2 ก.พ. รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า สืบเนื่องจากสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา ได้ผ่านร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ. ... เกี่ยวกับความผิดฐานทำให้แท้งลูก หรือ “กฎหมายทำแท้ง” เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติฉบับดังกล่าว มีข้อสังเกตเพิ่มเติม ทางสภาผู้แทนราษฎร จึงเสนอ ครม.เพื่อพิจารณา ซึ่งวันนี้ ครม.ได้รับทราบข้อสังเกตและเห็นชอบให้ดำเนินการ มีสาระสำคัญดังนี้

1. เพิ่มเติมเหตุผลประกอบร่างพระราชบัญญัติให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น 2. ให้แพทยสภาปรับปรุงข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยหลักเกณฑ์การปฏิบัติเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ทางการแพทย์ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหามาตรา 301 และมาตรา 305 โดยเร่งด่วน

3. ให้กระทรวงสาธารณสุขกำหนดมาตรการการบริการให้กับผู้หญิงที่มารับบริการ โดยให้ศูนย์บริการภาครัฐทุกแห่งจัดให้มีบริการปรึกษาทางเลือกและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ การยุติการตั้งครรภ์อย่างทั่วถึง รวมทั้งจัดให้มีศูนย์บริการในโรงพยาบาลของรัฐอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสุขภาพอนามัยเจริญพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับการยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

4. จัดสรรงบประมาณสนับสนุนช่วยเหลือดูแลผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่พร้อมและกำหนดให้มีการติดตามประเมินผลการทำงานทุกปี โดยเสนอต่อกรรมการที่กระทรวงสาธารณสุขจัดตั้งขึ้น และกำหนดมาตรการควบคุมการจำหน่ายยาที่ผิดกฎหมายที่จะนำมาใช้ในการทำแท้งเองหรือการทำแท้งเถื่อน และดำเนินการกับหมอเถื่อนหรือคลินิกถึงอย่างจริงจัง

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 ก.พ. อดีตนายกแพทยสภา นายแพทย์ อำนาจ กุสลานันท์ ได้โพสต์ ข้อความลงเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยเป็นการแนะนำแพทย์รุ่นน้องในการให้คำปรึกษาหญิงสาวที่มีความต้องการทำแท้ง โดยได้ระบุข้อความว่า

“ในการประชุมคณะกรรมการแพทยสภาเมื่อวานนี้ ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงสาธารณสุขที่เข้าประชุมแทนปลัดสธ.ได้ตอบคำถามผมพร้อมยืนยันในที่ประชุม ว่า

“ทุกๆ ท่านมีสิทธิ์ที่จะทำแท้งหรือไม่ก็ได้” โดยท่านและกรรมการแพทยสภาซึ่งรวมทั้งผมด้วยมีความเห็นว่าควร “ให้คำแนะนำ” กับหญิงที่มาขอทำแท้ง ผมมีความเห็นส่วนตัวสำหรับน้องๆ ที่อยู่หน้างาน ว่าควรปฏิบัติดังนี้ครับ

“ให้คำปรึกษาอย่างอบอุ่นกับหญิงนั้น พร้อมกับช่วยหาทางออก” โดยให้กลับไปคิดและทบทวนดูใหม่ เพราะมีไม่น้อยที่เชื่อหมอแล้วเปลี่ยนใจตั้งครรภ์ ต่อมาได้ลูกที่น่ารัก กลับมาขอบคุณในภายหลังทำให้สุขใจทั้งแม่และหมอ แต่ถ้าหากหญิงนั้นยังยืนยัน “ขอยุติการตั้งครรภ์” ควรดำเนินการต่อดังนี้ แพทย์ที่ไม่อยากทำควรให้คำแนะนำโดยติดต่อ 1663 ถ้ามีปัญหาประสานโดยตรงกับผู้บริหาร สธ.ได้เลย เพราะเมื่อหญิงตัดสินใจเด็ดขาดแล้วแพทย์มีหน้าที่ต้องช่วยประสานงานให้ยุติการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการทำแท้งกับหมอเถื่อนซึ่งอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของผู้ป่วยได้
ส่วนแพทย์ที่พร้อมทำขอให้ดำเนินการด้วยความรอบคอบตามกรอบของ ป.อ.มาตรา 305

เพราะฉะนั้นอาจเป็นความผิดตาม มาตรา 302 ได้ เรื่องนี้มีความละเอียดอ่อนมาก เพราะมีผลกระทบต่อทั้งมารดาและทารกในครรภ์ ดังนั้น ผมจึงขอให้น้องๆ ทำงานด้วยความมีเมตตาต่อผู้ป่วย แล้วน้องๆจะได้บุญกุศล ทำให้ชีวิตมีความสุขและเจริญรุ่งเรืองครับ

ด้วยความรักและปรารถนาดีจากใจจริง
ศ.คลินิกเกียรติคุณ นพ.อำนาจ กุสลานันท์
อดีตนายกแพทยสภา”

อย่างไรก็ตาม ปรากฏว่า นพ. ธนาคาร สาระคำ แพทย์ประจำโรงพยาบาลพุทธชินราช ได้ออกมาโพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊กส่วนตัว “Tanakarn Sarakam” ไม่เห็นด้วย กับโพสต์ ของ นพ.อำนาจ กุสลานันท์ โดยให้เหตุผลว่า เหตุผลที่อาจารย์อ้าง คือ “เพราะมีไม่น้อยที่เชื่อหมอแล้วเปลี่ยนใจตั้งครรภ์ ต่อมาได้ลูกที่น่ารัก กลับมาขอบคุณในภายหลังทำให้สุขใจทั้งแม่และหมอ”
อ่านแล้วก็ตลก

วิธีคิดแบบนี้มันมีฐานจากความเชื่อว่าการที่เขาตัดสินใจมาปรึกษายุติการตั้งครรภ์ คือ ความคิดที่ยังไม่ถี่ถ้วน หมอต้องโปรดสัตว์ก่อน ต้องช่วยหาทางออกอื่นก่อน เผื่อจะเชื่อหมอ เพราะหมอคิดดีกว่า ทำไมไม่คิดว่าการที่คนคนหนึ่งจะแบกมดลูกมาหาหมอ เขาอาจจะนอนเอาตีนก่ายหน้าผากคิดมาเป็นเดือนแล้ว คุยกันในครอบครัวแล้ว ตีกับศีลธรรมในใจตัวเองเสร็จแล้ว ถึงมาหาหมอ หมออย่าคิดว่าตัวเองรู้ดีกว่าคนไข้ หมออย่าคิดว่าวิจารณญาณของตัวดีกว่าคนไข้

สิ่งที่หมอควรถามตัวเองก่อนให้ชัด คือ ที่หมอหวังให้คนไข้เปลี่ยนใจ เป็นเพราะตัวหมอเองหรือเปล่าที่เกิด cognitive dissonance รับไม่ได้ที่ตัวเองจะต้องตัดสินใจส่งต่อหรือลงมือทำแท้งให้ใคร

ถ้าจะรู้ความต้องการคนไข้ ควรตั้งต้นจากการ “ฟัง” คนไข้ก่อน ไม่ใช่แนะนำ หรือให้คำปรึกษา และอย่าเริ่มต้นด้วยความคิดว่าจะทำยังไงให้คนไข้ไม่ทำแท้ง

ปัญหาแบบนี้เกิดขึ้นบ่อย เมื่อหมอใช้ความเชื่อตัวเอง และเชื่อในวิจารณญาณหรือประสบการณ์ของตัวเองมากกว่าของคนไข้
ที่เห็นประจำคือหมอพยายามกล่อมให้คนไข้ที่มีปัญหาความรุนแรงในครอบครัว ว่าให้เห็นแก่ลูก แล้วโยนเขากลับเข้าสู่วงจรอุบาทว์ เพียงเพราะหมอจะได้สบายใจว่า ฉันได้พูดให้คนไม่เลิกกัน



กำลังโหลดความคิดเห็น