“ธีระชัย” ชี้ เงินกู้ 4 แสนล้าน ไม่พอใช้ฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด-19 เตือนรัฐบาลต้องใช้ให้คุ้มค่าที่สุด เน้นชุมชนยืนบนขาตัวเองให้ได้ ที่สำคัญ อย่าให้เงินรั่วไหล
วันที่ 25 พ.ค. 63 นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ร่วมสนทนาในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ช่อง “นิวส์วัน” ในหัวข้อ “เงินกู้ 4 แสนล้าน กับการฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19”
โดย นายธีระชัย กล่าวว่า เงินกู้เพื่อฟื้นเศรษฐกิจหลังโควิด 4 แสนล้าน ไม่พอด้วยซ้ำ โควิดจะเปลี่ยนแลนด์สเคปในเชิงเศรษฐกิจไปอย่างที่มนุษย์คาดไม่ถึง ประชาชนรายย่อย และระดับล่าง รวมทั้งคนรุ่นใหม่ จะประสบปัญหาหนักขึ้น ความขัดแย้งทางการเมืองจะเปลี่ยนโฉมหน้า จากลักษณะระนาบ แบบเสื้อแดง เสื้อเหลือง ไปเป็นลักษณะแนวดิ่ง คือ ระหว่างคนหมดหวังในอนาคต กับคนที่กุมอำนาจ และคนที่ยังอยู่สบาย ซึ่งแบบนี้น่ากลัว
นายธีระชัย กล่าวอีกว่า การใช้เงินในส่วนของการเยียวยา 6 แสนล้าน โจทย์มันชัดว่าประคองให้คนอยู่ได้ แต่ไม่มีรัฐบาลไหนประคองให้คนอยู่ได้ไปตลอดอีกหลายปี เพราะว่ารัฐบาลไม่รู้เอาเงินจากที่ไหนมา ฉะนั้น สิ่งที่ต้องทำ คือ การใช้เงินนอกเหนือจากการเยียวยา ในการหันทิศทางรัฐนาวาให้ถูกทิศ ที่เราจะมีจุดแข่งขันที่เด่นกว่าประเทศอื่น มองไปในอนาคต ตรงนี้ที่เราจะใช้ 4 แสนล้าน แล้วสำคัญมาก ต้องคิดให้ดี
อดีต รมว.คลัง กล่าวต่อว่า เทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้ง ต่างกันมาก ตอนต้มยำกุ้ง ตะวันตก ซึ่งเป็นหัวขบวนยังดี ส่วนวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เอเชียก็ยังแข็ง แต่โควิด-19 ตะวันตกกำลังวุ่นวาย แล้วยังมาพร้อมกับสงครามการค้าระหว่างจีน-อเมริกา ซึ่งจะทำให้ขบวนการค้าขายถอยหลัง โลกาภิวัตน์ติดลบ โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจแบบเดิม บางอย่างใช้ไม่ได้ต้องเปลี่ยนไป มันต้องคิดใหม่ทำใหม่ เหมือนเปิดศักราชใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจไทยเลย
เมื่อถามว่า 4 แสนล้าน ภายใต้รัฐนาวาแบบนี้ จะไหวหรือ นายธีระชัย กล่าวว่า ไม่ได้เรื่อง เพราะ 4 แสนล้านไม่พอ โจทย์ที่ต้องทำเยอะ และวิธีก็ผิด
ตามที่สภาพัฒน์เขียนไว้ เชิงทฤษฎีใช้ได้ เรื่องพลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ, ฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน, สร้างความมั่นคง ยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน อันนี้ตรงกับที่ตนเคยเขียนไว้ และเคยเสนอรัฐบาลแล้ว แต่ตลอด 6 ปีไม่เคยทำ แต่ตอนนี้เพราะโควิดจึงได้ทำ ถือว่ายังดี สิ่งที่ต้องคิดหนักๆ เลย คือไม่ใช่ทำไปโดยทฤษฎีแบบราชการ แต่ต้องทำให้ประเทศมองหาความสามารถ จุดเด่นของเราให้ได้
นายธีระชัย กล่าวว่า การใช้เงิน 6 แสนล้าน ไม่งอกเงย สังคมรับได้ หลังจากนี้ ก็เก็บภาษีมาเพื่อใช้คืน แต่ 4 แสนล้าน ถ้าใช้ไม่ดี เกิดปัญหา ตนว่าไม่พอ มันต้อง 4 ล้านล้าน ลักษณะการใช้ ต้องใช้แล้วให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิต ให้เกิดการเติบโตของจีดีพี แล้วทฤษฎีทางเสรษฐศาสตร์จะไปรอด การเติบโตของจีดีพี ต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่รัฐจ่ายสำหรับเงินกู้ เป็นหลักการสำคัญเลย ถ้าเป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องกังวลเรื่องการชำระหนี้เงินกู้ เพราะจีดีพีโตขึ้นไปเรื่อยๆ หนี้เงินกู้เท่าเดิม สัดส่วนหนี้เงินกู้ต่อจีดีพีก็จะค่อยๆ ลดลง ถ้าหากปีหน้ารัฐบาลรัดเข็มขัด เก็บภาษีมากมาย มันจะมีผลในการหดตัวของเศรษฐกิจ ทำนโยบายการคลังแบบหดตัว มันก็ยิ่งทำให้เศรษฐกิจไม่เดินใหญ่ เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ อย่าเพิ่งรีบขึ้นภาษีอย่างรวดเร็ว อาจเน้นเก็บภาษีไปที่คนรวยมากขึ้นหน่อย แต่อย่าเพิ่งไปเพิ่มภาระภาษีให้คนชั้นกลาง และชั้นล่าง เน้นการลงทุนให้ดี อย่าให้มีรั่วไหล
การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชน รัฐบาลต้องไม่ชี้นำ แต่ให้ชาวบ้านหาจุดเด่นของตัวเอง ถึงจะมีต่อยอดจาก 4 แสนล้าน แล้วนี่คือเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริง คนยืนบนขาตัวเองได้ ให้โอกาสแต่ละชุมชนมีมากขึ้น ต่อยอดไปได้เรื่อยๆ อย่างนี้อัดเงินเท่าไหร่ก็คุ้ม และควบคุมอย่าให้ตกหล่น ตรงนี้น่าห่วงที่สุด เพราะมีช่องทางให้การเมืองเข้าไปหาผลประโยชน์ได้
คำต่อคำ : เงินกู้ 4 แสนล้าน กับการฟื้นฟูประเทศหลังโควิด-19
เติมศักดิ์- สวัสดีครับ ขอต้นรับเข้าสู่รายการคนเคาะข่าว วันจันทร์ที่ 25 พฤษภาคม 2563 ก่อนที่สภาผู้แทนราษฎร จะได้มีการพิจารณาพระราชกำหนดเงินกู้ 1 ล้านล้าน ซึ่งใน 4 แสนล้าน คือว่าในเรื่องของการฟื้นฟูเศรษฐกิจนะครับ เรามาสนทนากัน เรามาวิเคราะห์ว่ากันว่าเงินกู้ 4 แสนล้าน ผู้พัน สัมพันธ์กับอนาคตสังคมไทย เศรษฐกิจไทย หลังวิกฤตโควิด-19 มากน้อยแค่ไหน เราจะใช้เงิน 4 แสนล้าน ยังไง ในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้ตรงกับโจทย์ของเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นหลังวิกฤตโควิด-19 วันนี้เราคุยกับอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง คุณธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล สวัสดีครับคุณธีระชัย ครับ
ธีระชัย- สวัสดีครับ
เติมศักดิ์- เงินกู้ 1 ล้านล้าน อย่างที่อาจารย์เคยเล่าให้ฟังว่าใน 1 ล้านล้าน 6 แสนล้าน คือการเยียวยา 4 แสนล้าน บางคนบอกว่า โห นี่ เช็กเปล่า มันเกี่ยวข้องกับการฟื้นฟูจะถูกกำหนดโดยฝ่ายรัฐฐะ และมันเป็นเงินนอกงบประมาณ ใช่ไหมครับ อาจารย์คิดว่าเราจะใช้เงินกู้ 4 แสนล้าน ในการฟื้นฟู เศรษฐกิจยังไงให้มันตรงกับโจทย์ของเศรษฐกิจหลังโควิด-19 อาจารย์ครับ เชิญครับ
ธีระชัย- ต้องเข้าใจโจทย์เศรษฐกิจหลังโควิดก่อนนะครับ แล้วถ้าเห็นอย่างนั้นแล้ว จะเข้าใจได้เลยว่า วงเงิน 4 แสนล้าน ไม่พอด้วยซ้ำ คือโควิด-19 เนี่ย มันจะเปลี่ยนสิ่งที่ผมใช้คำว่า Landscape ในเชิงเศรษฐกิจเนี่ย ไปอย่างที่คนคาดไม่ถึง แล้วมันจะทำให้ประชาชนรายย่อย ประชาชนระดับล่าง รวมทั้งคนรุ่นใหม่ประสบปัญหา อย่างมากกว่าที่คิด ปัญหาความเหลื่อมล้ำ ซึ่งมีมาตั้งแต่ในอดีต มันจะหนักขึ้นไปอีก มันจะทำให้ความขัดแย้งทางการเมืองเนี่ย เปลี่ยนโฉมหน้า จากเดิมเนี่ยมันเป็นความขัดแย้งในระดับ ระดับที่เขาเรียกระนาบ มันเป็นความขัดแย้งระหว่างเสื้อเหลืองกับเสื้อแดง ย้อนไปหลายๆ ปีในอดีต แล้วก็มาล่าสุดเป็นความขัดแย้งระหว่างคนที่สนับสนุนคุณทักษิณ กับเปรียบเทียบคนที่สนับสนุนฝั่งพลเอกประยุทธ์ มันเป็นลักษณะของแนวระนาบ มันกำลังจะกลายไปเป็นความขัดแย้งแนวดิ่ง ระหว่างคนที่หมดหวัง หมดหวังในอนาคตเนื่องจาก สืบเนื่องมาจากวิกฤตโควิด เนี่ยนะครับ กับคนที่คุมอำนาจ คนที่ยังอยู่สบาย ลักษณะอย่างเนี่ย น่ากลัว และเริ่มต้นก่อนว่า ทำไมผมถึงบอกว่าวิกฤตโควิดมันเปลี่ยน Landscape ในเชิงเศรษฐกิจที่มากนะครับ
เติมศักดิ์- ครับ
ธีระชัย- ประการแรกเลยนั้น เราจะไม่สามารถพึ่งพา ไอ้รถ หัวรถจักรที่เป็นประเทศตะวันตก ได้มากเท่าเดิม ประการที่สอง การเปลี่ยนความอ่อนแอภายในประเทศของเรา ก็จะทำให้เกิดปัญหา เริ่มต้นตรงนี้กลับไปนิดหนึ่งว่า ไอ้ เดิมเนี่ยนะครับ ประเทศที่จะเป็น ประเทศนำหัวรถจักรเนี่ย ที่จะพาประเทศอื่นๆ นะครับ ฟื้นขึ้นมาเนี่ย ก็มักจะเป็นประเทศตะวันตก โดยเฉพาะสหรัฐฯ ผมอยากให้ดูตัวเลขนี้จะเห็น นี่เป็นกราฟของสัดส่วนหนี้ของภาคเอกชน หนี้ภาคเอกชน หมายความว่า หนี้ของบริษัทและหนี้ของครัวเรือน เนี่ยรวมกันแล้วเขาเทียบกับ GDP คือเทียบกับรายได้ ก็หมายความว่ามีหนี้มาก ตัวเลข สัดส่วนตัวเลขก็จะสูงเทียบกับรายได้ เราก็ต้องเข้าใจนะครับ เวลามันมีหนี้มากเกินไป ก็รายได้มันจะเอามาชำระหนี้เยอะขึ้น ก็จะไม่ค่อยดี ตัวเลขที่สูงขึ้นไป แสดงอาการของฟองสบู่ ท่านเติมศักดิ์ มองตรงนี้นะครับ มันคือสูงขึ้นไปมาก ในช่วงที่เป็นสีเขียวเนี่ย คือปี 1930 มหาวิกฤตที่เกิดขึ้นทั่วโลก แล้วก็ลามมาประเทศไทย ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ต้องไม่ลืมตรงนี้ เราดูนั้น มันเป็น Cycle อันแรก ในตอนนั้นมันขึ้นไป 145 เปอร์เซ็นต์ หลังจากนั้น มันไต่ขึ้นไปอีกครั้งนึงเนี่ย คือมันปรับลดลงมา คือพูดง่ายๆ ว่า หนี้เยอะเกินไป ก็มีการฟ้องคดี มีการ บริษัทก็ล้มละลายไปนะครับ จัดปรับโครงสร้าง จนกระทั่งลดลงมาเหลือระดับ 40 เปอร์เซ็นต์ เนี่ย แต่หลังจากนั้นมันไต่ขึ้นไปอีก มันไต่ขึ้นไปขึ้นมา คือหลังจากสงครามโลกครั้งที่นี่ 2 ยุติ แล้วมันไต่ขนาดนี้ มันไต่แบบกู่ไม่กลับ ขึ้นไปเนี่ยนะครับ ไปฟองสบู่แตกครั้งที่ 2 คือเมื่อไหร่ ถ้าดูตรงนี้ก็คือ แฮมเบอร์เกอร์
เติมศักดิ์- 2008
ธีระชัย- 2008 นี่คือวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ แล้วมันขึ้นไปในระดับที่สูงกว่า สูงกว่ามหาวิกฤตปี 1930 เสียอีก กำลังจะชี้อย่างนี้ครับ ว่าหลังจาก ฟองสบู่แตกในวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ เนี่ย การดำเนินนโยบายของสหรัฐฯ ในการแก้ปัญหาตรงนั้น แทนที่จะบังคับให้บริษัทต้องลดหนี้นะครับ ปรับโครงสร้าง
หนี้นะครับ ล้มละลายไป คือใครอ่อนแอก็ปิดไป ใครอยู่ได้แข็งแรงก็ปรับตัว ไม่ อัดเงินเนี่ยประคอง ก็เลย เดี๋ยวกลับไปชาร์ตเดิมอีกนิดหนึ่งนะครับ จะเห็นได้เลยนะครับ ว่าไอ้สัดส่วนหนี้หลังจากแฮมเบอร์เกอร์ ฟองสบู่แตก ลดลงมานิดเดียวครับ เพราะฉะนั้นถามว่าทุกวันนี้ที่เราเข้าไป เข้ามาสู่วิกฤตโควิด เนี่ยนะครับ สัดส่วนนี้เป็นยังไง สูงพอๆ กับฟองสบู่เต่งสูงสุดในช่วงปี 1930
เติมศักดิ์- The Great Depression
ธีระชัย- อันนี้ เป็นจุดเปราะบางที่อันตรายมาก บอกว่าเราจะพึ่งอเมริกา ไม่ได้ อเมริกาขณะนี้ สิ่งที่เขาทำ นี่คือธนาคารกลางอัดเงินแทบทุกวันเลยนะครับ เพื่อที่จะประคองฟองสบู่ไม่ให้แตก แต่ว่าเวลามีหนี้เกินกว่ารายได้ แล้วเราต้องนึกนะครับว่ารายได้ ขณะนี้มันหดลง หลายธุรกิจรายได้มันหดลง มันจะทำให้เขาประคองหนี้ไม่ได้ แล้วมันจะนำไปสู่ในสิ่งที่เขาเรียกว่า Default คือการผิดนัดชำระหนี้ แล้วก็ล้มละลาย ปิดกิจการกำลังเกิดในสหรัฐฯ เพราะฉะนั้นเนี่ย วิกฤตในสหรัฐฯ ที่ผมมองดูมันอาจจะมาปีหน้านะ รุนแรง แล้วในกราฟถัดไปจะเห็นครับ ว่าปัญหาเดียวกันนะครับเกิดขึ้นในยุโรปเช่นกัน มีตัวเลขกราฟของ ฝรั่งเศส ของอังกฤษ และก็ของเยอรมัน ก็จะเห็นนะว่าครับ สัดส่วนหนี้ของรายได้เนี่ย ไต่ไปในลักษณะเดียวกัน เพราะฉะนั้นเนี่ย สิ่งแรกที่เราต้องคำนึง เราจะหวังประเทศตะวันตก เนี่ยนะครับ เป็นหัวรถจักรกในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจเหมือนเดิมไม่ได้ ที่นี้ พอกลับมาในประเทศเรา เราก็มีจุดอ่อน ไอ้ตอนที่ก่อนหน้าที่โควิดจะมา จุดอ่อนตรงนั้นก็คือว่า รัฐบาลปล่อยให้เงินทุลนไหลเข้าเข้ามา เข้ามาลงทุนในตลาดตราสารหนี้เยอะมาก เข้ามามาซะจนเงินบาทแข็ง แต่ว่าเข้ามามากก็เลยเปิดช่องให้คนออกตราสารหนี้เนี่ย แล้วก็เอาเงินได้ ได้ดอกเบี้ยถูกเนี่ย เอาไปใช้ มันก็จะมีบางกลุ่ม เช่น การบินไทย เช่น บริษัทอสังหาริมทรัพย์ แล้วก็สถาบันการเงิน พวกนี้มันทำให้เกิดลักษณะของเหตุการณ์คล้ายๆ กันก็คือ Over debt คือมีหนี้เกินอยู่นะครับ เพราะฉะนั้นเนี่ยมันมีจุดอ่อน จุดเปราะบางเนี่ย อยู่ในเศรษฐกิจไทยอยู่แล้ว บางธุรกิจบางอย่างมันจะต้องใช้เวลาอีกนานกว่าจะฟื้นคืน ไม่ว่าจะเป็นท่องเที่ยว ไม่ว่าจะเป็นอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งบางส่วนนั้นความต้องการมันก็จะลดลงเพราะ Work From Home บ้าง เพราะว่าท่องเที่ยว ร้านที่เป็นแฟชั่นหรูๆ สำหรับนักท่องเที่ยว มันก็จะลดลง แล้วก็ที่สำคัญนี้คือ พวกร้านค้าปลีก มันก็จะกลายเป็นพวกร้านค้าปลีกจำนวนไม่น้อย อาจจะไม่กลับมา ในสหรัฐฯ เนี่ยนะครับ เขาเซอร์เวย์ ปรากฏว่าเขา บอกว่าร้านค้าปลีก เขาประเมินตัวเองที่บอกว่า อาจจะอยู่ได้ไม่เกิน 3 เดือน หรือ 6 เดือนเนี่ย ครึ่งนึง ครึ่งนึงของร้านค้าปลีกขนาดเล็ก ของไทยยังไม่เห็นมีตัวเลขที่เซอร์เวย์ แต่ว่าตรงนี้เนี่ย ถ้าร้านค้าปลีกไม่มา ไอ้มอลล์นี่ก็จะว่าง รายได้มันก็ไม่พอที่จะไปชำระหนี้แบงก์ ลองนึกถึงตรงนั้นอีกว่า ขณะนี้เนี่ยระบบแบงก์ของเราก็เกิดมีปัญหา เพราะว่าที่ผ่านมานั้นเนี่ย ไอ้การบูม ไอ้เศรษฐกิจในรัฐบาลของท่านพลเอกประยุทธ์เนี่ย โดยใช้โครงการที่กระตุ้นอุปโภคบริโภค ชิมชอปใช้ ชอปช่วยชาติ อะไรเนี่ยนะ มันกระตุ้นให้มีการสร้างหนี้ครัวเรือน ล่าสุดนี่ประมาณเทียบกับรายได้นะครับ เทียบกับ GDP ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ และผมเช็กข้อมูลมาแล้วเนี่ย ไอ้กลุ่มที่มีสัดส่วนหนี้เทียบกับรายได้สูงพอสมควร อาจจะเรียกว่าสูงที่สุดคือกลุ่มที่เขาเรียกว่า Gen Y คืออายุประมาณ 25-40 รายได้ไม่เกิน 15,000 บาทต่อเดือน พวกนี้กำลังจะมีปัญหา เพราะว่าบางคนมันอยู่ในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว บางคนอยู่ในอุตสาหกรรมการบิน บางคนอยู่ในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กำลังจะมีปัญหา แบงก์เนี่ยเวลานี้เราจะเห็นได้เลยว่า เขาระมัดระวังตัวมาก เพราะว่าลำพังลูกหนี้เดิม เขาก็กลัวว่าจะเป็น NBL ตัวเลขล่าสุดเนี่ยครับ พระราชกำหนด แบงก์ชาติที่ขอให้รัฐบาล แบงก์ชาติจะตั้งวงเงินเขาไว้ให้คู่กับ SME เนี่ย 5 แสนล้าน จนถึงบัดนี้เนี่ย กลางเดือนพฤษภา
เติมศักดิ์- ปรากฏว่า
ธีระชัย- ปรากฏว่าให้กู้ให้ได้แค่ 5 หมื่น SME ที่กู้ออกไปได้เนี่ยได้แค่ประมาณ 3 หมื่นราย จาก SME ที่มีเป็นแสนๆ รายเนี่ยนะ เห็นได้ชัดเลยว่าแบงก์ระวังตัวในเรื่องของความเสี่ยงมาก เพราะฉะนั้นกระบวนการตรงนี้นะครับ กำลังจะชี้ให้เห็นเลยว่าโมเดลในการพัฒนาเศรษฐกิจซึ่งเราใช้กันมาเดิมๆ เนี่ย มันกำลังจะไปไม่ได้ จุดแรกเลยในบางส่วนไปได้ อย่างเช่น ท่องเที่ยว การบิน มันก็ต้องใช้เวลาในการกลับฟื้นขึ้นมา ไออาต้า (IATA) คือองค์กรการบินระหว่างประเทศ ประเมินไว้ที่จะช่วยการเดินทางทางเครื่องบินจะกลับมาเหมือนเดิม 3 ปี ท่องเที่ยวมันก็ต้องใช้เวลาไม่น้อยกว่านั้น เพราะเวลานี้ท่องเที่ยวที่กลับคืนมาระหว่างเอเชียด้วยกัน เพราะคนเอเชียตอนนี้คงไม่อยากไปยุโรปเดี๋ยวโดนตี แต่ว่าท่องเที่ยวเอเชียด้วยกัน มันจะเน้น 3 ดาว โรงแรม 4 ดาว 5 ดาว ที่เราบอกว่าเราจะทำเวิลด์เน็ทเซ็นเตอร์ หรือรีไทร์เม้นท์โฮม ซึ่งต่างชาติอยากจะมา มันต้องใช้เวลาพอสมควร กว่าพวกนี้มันจะเดินหน้าได้ ตรงนี้เป็นเรื่องที่ดี แต่ว่ามันต้องใช้เวลาพอสมควร เพราะฉะนั้นโมเดลตรงนี้มันก็สะดุดแล้ว โมเดลเดิมที่เราใช้อีกประการหนึ่งคือเราใช้ เราเรียกเป็นส่วนหนึ่งห่วงโซ่อุปทาน ซัพพลายเชน คืออันนี้ใช้มาเป็น 30 ปีแล้ว คือพูดง่ายๆ ประเทศในเอเชียแต่ละประเทศ ผลิตนู้นผลิตนี้ แล้วอันนี้ก็รวมไปประเทศนี้ ไปประกอบเป็นชิ้นส่วนที่มันใหญ่ขึ้นมา แล้วก็ไปประกอบเป็นชิ้นส่วนใหญ่ขึ้นมาอีกหน่อย แล้วไปประกอบ สุดท้ายอาจจะไปประกอบที่จีน เป็นไอโฟนอะไรอย่างนี้ โมเดลนี้กำลังจะมีปัญหา ส่วนหนึ่งนี้คือสหรัฐฯ มีปัญหาในการสงครามการค้ากับจีน แล้วเพิ่งเริ่มต้น ต่อไปจะรุนแรงขึ้น รุนแรงขึ้นส่วนหนึ่งมาจากโควิด-19 ซึ่งสหรัฐฯ ก็กล่าวหาว่าจีนเป็นต้นตอ ส่วนหนึ่งก็เพื่อผลประโยชน์ในทางการเมืองแต่อีกส่วนหนึ่งสหรัฐฯ เขาจะไม่อยากให้จีนแซงหน้ารวดเร็วเกินไป เพราะฉะนั้นในส่วนนี้มันจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสหรัฐ กับจีนกระทบ การลงทุนส่วนหนึ่งคงจะย้ายออกจากจีนอาจจะมาที่อาเซียน เพื่อที่จะหลบสงครามการค้า ตรงนี้จะเป็นโอกาส แต่ที่ย้ายออกมามันจะเป็นเทคโนโลยีไม่ใช่ไฮเอนด์ ไม่ใช่แบบไทยแลนด์ 4.0 ที่เราตั้งความหวังไว้แบบเดียวกับ EEC อะไรต่างๆ
เติมศักดิ์- อย่างนี้ EEC ก็ไม่แย่เลยเหรอ
ธีระชัย- EEC มันดูแล้วจะไปยาก มันจะไปยากเพราะว่าเราบอกว่า EEC สำเร็จโรงงานที่ผลิต การผลิตเขาก็ต้องใช้เทคโนโลยีสูง เป็นลักษณะที่เขาใช้คำว่า โรบอทส์แต็ก คือใช้หุ่นยนต์ในการผลิตอะไรต่างๆ เวลานี้ธุรกิจในสหรัฐฯ ในประเทศตะวันตก เขาจะเน้นความเหนียวแน่น ถ้าเกิดมีการล็อกดาวน์อีกในอนาคตเนี่ยนะครับ การผลิตบางส่วนมันจะอยู่ภายในประเทศที่ใกล้เคียงมากกว่า เพราะฉะนั้นต้นทุนที่ต่ำที่ผลิตในระยะทางไกล เขาอาจจะยอมต้นทุนที่สูงกว่าที่ผลิตในระยะไกล เพราะฉะนั้นโมเดลเดิมที่เราใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจอาจจะใช้ไม่ได้ จะต้องเปลี่ยนแปลงพอสมควร เพราะฉะนั้นการใช้เงินในส่วนของ เยียวยาอันนั้นมันชัดเจน โจทย์ชัดว่าอันนี้ประคองให้คนอยู่ได้ 6 แสนล้าน แต่เราต้องเข้าใจนะ ไม่มีรัฐบาลไหนประคองให้คนอยู่ได้ไปตลอดๆ อีกหลายปี เพราะว่ารัฐบาลเอาเงินมาอย่างนี้ ไม่รู้ว่าเอาเงินจากที่ไหนมา เราจะพิมพ์เงินออกมาใช้แบบนั้นได้บ้างไหม ประเทศก็ล้มละลาย เงินก็เฟ้อไปหมด เพราะฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำการใช้เงินนอกเหนือจากเรื่องของการเยียวยาในการหันทิศทางรัฐนาวาที่ถูกทิศ ให้เรามีจุดแข่งขันที่เด่นกว่าประเทศอื่น ตรงนี่แหล่ะที่เราจะใช้ 4 แสนล้าน แล้วผมคิดว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ต้องคิดให้ดี
เติมศักดิ์- อาจารย์ครับ ขอภาพอีกนิดนึง ถ้าเทียบกับวิกฤตต้มยำกุ้ง ตอนนั้นภูมิทัศน์หลังจากต้มยำกุ้งกับภูมิทัศน์หลังโควิดมันก็มีความต่างกันอยู่ใช่ไหมครับ
ธีระชัย- ต่างกันอยู่มากเลย คือต้มยำกุ้งเราแย่ แต่ประเทศตะวันตกยังเข้มแข็ง หัวขบวนยังดี เพราะฉะนั้นเราแค่ปล่อยให้เงินบาทอ่อน การค้าขายแบบเดิมก็ฟื้นเลย การส่งออกของเราก็กลับมาทันที
เติมศักดิ์- โจทย์ยากกว่าเยอะเลยนะครับ
ธีระชัย- แล้วหนี้ที่เรามีพอปรับโครงสร้างหนี้ไปเราก็เคลียร์ได้ แม้แต่วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์เราออกมาเป็น มีโปรแกรม มีอาซาว่า แต่อย่าลืมว่าตอนนั้นเอเชียแข็ง ถึงแม้ว่าอเมริกาอ่อน ยุโรปอ่อน เอเชียแข็ง กำลังการกินการใช้มันก็ยังไปได้ วิกฤตโควิดเที่ยวนี้ยุโรป ตะวันตก อย่างที่ผมชี้ให้เห็นเมื่อกี้กำลังจะวุ่นวายและมันมาพร้อมกับสงครามการค้าที่มหาอำนาจอันดับสองจะแซงอันดับหนึ่ง แล้วอันดับหนึ่งก็กำลังเตะตัดขา เขาจะไม่ยอมให้แซง มันจะกลายเป็นว่าเขาจะกีดกันทุกวิถีทาง โดยเฉพาะในเรื่อง 5G เพราะเขากลัว 5G เทคโนโลยีที่ก้าวหน้าที่สุดในเรื่อง 5G อยู่ที่จีน ไม่น่าเชื่อ เพราะอะไร รัฐบาลจีนยอมให้เอาความถี่ที่สูงเป็นพิเศษเป็นระดับหมื่นๆ ให้เอกชนเอาไปพัฒนา มันก็เลยทำให้เรื่อง 5G ในจีนมันก้าวหน้าได้เร็ว ความถี่ระดับนี้ในตะวันตกยังอยู่ในมือกลาโหมนะส่วนใหญ่ เพราะว่าจะทำอะไรเป็นลักษณะที่ต้องการเริสบอลอย่างเร็ว อย่างเช่น รถที่ขับเอง พอมันขับไปมันก็จะส่งสัญญาณสิ่งที่มันจะนั้น แล้วมันจะต้องกลับคืนมาหา
เติมศักดิ์- สิ่งที่กีดขวางอยู่
ธีระชัย- สิ่งที่จะต้องโต้ตอบกลับมานะครับ จะต้องเร็วมาก แล้วเร็วได้อย่างนั้นต้องใช้คลื่นความถี่สูงเป็นพิเศษ เพราะฉะนั้นตอนนี้จีนล้ำหน้า สหรัฐฯ ก็ยอมไม่ได้ เพราะผมเดานะเขาคงมองว่าในอนาคตหัวรบมันต้องมีชิป ยุทโธปกรณ์ต่างๆ มันก็มีชิป แล้วก็คุยกันแล้วบอกกันว่าตรงนี้ฉันกำลังไปตรงนี้ ผมเดาว่าอย่างนั้นนะ เพราะฉะนั้นสหรัฐฯ ก็คงจะยอมให้ระบบ 5G ของเขามีจีนแฝงอยู่แม้แต่นิดเดียวเขาก็ยอมไม่ได้ ขณะเดียวกันเขาก็ต้องการเตะตัดขาไม่ให้ 5G ของจีนก้าวเข้าไปในยุโรป ในประเทศพันธมิตร บางประเทศอย่างออสเตรเลียรีบกระโดดเข้าใส่ แต่ไปแล้วมันจะมีปัญหาเดิม พูดเท่าไรๆ ก็ไม่มีใครอยากจะตามสหรัฐฯ ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็นเยอรมัน เวลานี้สหรัฐฯ ไปอีกขั้นหนึ่งแล้ว กลายเป็นว่าหัวเว่ย 5G เขา หัวสมองจะต้องอาศัยชิป ชิปแบบไฮเอนด์จากสหรัฐฯ เวลานี้มีการแบนไม่ให้ขายชิปอันนี้ให้กับหัวเว่ย อันนี้เตะตัดขาได้เรื่องนะ แล้วก็ไม่ใช่อย่างนั้นอย่างเดียว หัวเว่ยคนที่ซัปพลายชิปสองส่วนก็คือมาจากไต้หวันกับเกาหลี สหรัฐฯ ก็เตรียมจะบีบแบบเดียวกัน เรื่องลักษณะของการบีบอย่างนี้มันจะทำให้การทะเลาะกันระหว่างสหรัฐฯ กับจีนในช่วงอนาคตข้างหน้าจะรุนแรงมากขึ้น แล้วมันจะแสดงออกมาในจังหวะนี้ที่เกิดปัญหาที่ฮ่องกง
เติมศักดิ์- ที่ฮ่องกงที่เกิดขึ้นตอนนี้เกี่ยวอะไรกับสงครามนี้ไหมครับอาจารย์
ธีระชัย- มันเกี่ยวแน่นอน เหมือนกับว่าเปิดประตูให้ไปสู่สงครามได้ง่ายขึ้น เพราะว่าฮ่องกง ความที่จีนถึงจุดหนึ่งเขารู้ ยังไงจีนก็ปล่อยไม่ได้ ในที่สุดจีนก็เลยเตรียมเวลานี้ที่จะออกกฎหมาย ใช่ไหมครับ
เติมศักดิ์- กฎหมายความมั่นคง
ธีระชัย- กฎหมายความมั่นคงกว่าจะมีผลก็เดือนกรกฎาคม ก็จริงนะ แต่วันนี้คนฮ่องกงรู้แล้วจากนี้ไปฮ่องกงเหมือนกับลงบันไดเลื่อนขาลง ก็ลงไปแล้วมันจะสู่อ้อมกอดของจีน มันจะกลายเป็นแค่เมืองหนึ่งของจีนไปในอนาคต เพราะฉะนั้นขณะนี้คนฮ่องกงก็จะดิ้นรน แล้วมันก็จะเกิดความไม่สงบ มันจะเกิดการประท้วง มันจะออกมาเป็นยังไงก็ตาม ก่อนหน้านี้ก็เคยเห็นว่าสหรัฐฯ อยู่ดีๆ ก็ออกกฎหมายภายในสหรัฐฯ เพื่อที่จะอ้างถึงฮ่องกง มีที่ไหน อยู่ดีๆ ประเทศหนึ่งออกกฎหมายแล้วบอกว่าเหตุการณ์ที่เกิดในประเทศนั้น เขามีสิทธิที่จะแสดงอาการอะไรบ้างอย่าง เขาทำได้ เพราะว่าเขาสหรัฐฯ ทำได้ เพราะสหรัฐฯ เป็นฝ่ายซื้อ เพราะฉะนั้นถ้าเขาตีความว่านี่เป็นการฝ่าฝืนหลักการมนุษยธรรม โดยจีนในฮ่องกงบีบในการซื้อ มันก็จะเป็นข้ออ้าง ทั้งหมดนี้ขบวนการในการค้าขายที่เราเรียกว่าโลกาภิวัฒน์ ซึ่งมีอยู่เดิมมันกำลังถอยหลัง โลกาภิวัฒน์ติดลบ โมเดลการพัฒนาเศรษฐกิจเดิมมันอาจจะใช้ไม่ได้เลย บางอย่างต้องเปลี่ยนไป มันต้องคิดใหม่ทำใหม่
เติมศักดิ์- มันซับซ้อนกว่าเยอะเลยนะ
ธีระชัย- มันเป็นเหมือนเปิดยุคใหม่ เปิดศักราชใหม่ ขึ้นบทใหม่ของการพัฒนาเศรษฐกิจไทย
เติมศักดิ์- แล้วอย่างนี้ 4 แสนล้านภายใต้รัฐนาวา บรรยากาศของรัฐนาวาแบบนี้นะอาจารย์ มันจะไหวหรอ
ธีระชัย- ไม่ได้เรื่อง ผมดูแล้วไม่ได้เรื่อง หนึ่งไม่พอ เพราะว่าโจทย์ที่ต้องทำมันเยอะ แล้วสอง วิธีทำมันก็ผิด
เติมศักดิ์- ล่าสุด มีเอกสารจากทางสภาพัฒน์ สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ แนวทางการเสนอโครงการภายใต้กรอบนโยบายการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ อันนี้ออกมาเหมือนเช้า อาจารย์วิจารณ์หน่อยครับว่า มันตอบหรือว่ามันตรงสิ่งที่เราพูดกันเมื่อกี้ไหม ว่าโจทย์หลังโควิด-19 ภูมิทัศน์ของโลกเป็นอย่างนี้ แล้วของเราจะทำประมาณนี้
ธีระชัย - ตัวที่สำคัญคือ 4 แสนล้านตรงนี้ ซึ่งสภาพัฒน์เขาก็เขียนเอาไว้ในเชิงทฤษฎีใช้ได้นะ คือทำให้พลิกฟื้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ฟื้นฟูเศรษฐกิจท้องถิ่นและชุมชน สร้างความมั่นคงยกระดับโครงสร้างพื้นฐานอะไรต่างๆ อันนี้ตรงกับที่ผมเคยเขียนหนังสือไว้ เคยให้ดูแล้วใช่ไหมครับ ไทยแลนด์รีเซต ที่ผมแนะในนั้นว่าควรจะต้องมีการลงทุนโดยภาครัฐ ไมโครอินฟาสเจ็กเตอร์ โครงสร้างพื้นฐานระดับจิ๋ว ในแต่ละชุมชน ตรงนี้ผมไม่แน่ใจว่าอย่างไรแต่ว่าตรงกับแนวคิดนี้ เป็นแนวคิดที่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ ตลอดหกปีไม่เคยทำผมแนะนำไปสองครั้งทางการ เป็นรายลักษณ์อักษร ก็ไม่ทำแต่ตอนนี้มาทำก็ไม่เป็นไรยังดี
เติมศักดิ์ - เพราะโควิด-19 แท้ๆ เลย
ธีระชัย - ถือว่ายังดี แต่ว่าจุดหลักคืออย่างนี้ครับสิ่งที่ต้องคิดหนักๆเลย คือเราไม่ใช่ว่าทำไปแบบทฤษฎีโดยข้าราชการสิ่งที่เราต้องทำคือเราต้องทำให้ประเทศมองหาความสามารถจุดเด็น ของเราให้ได้ อย่างกรณีของการบินไทย พอมันมีโลว์คอสมามันหาจุดเด่นไม่เจอเพราะการแข่งขันที่มาจากโลว์คอส ถามว่าการบินไทยจะแข่งอย่างไร หาจุดเด่นไม่เจอ บางอย่างมันมีจุดเด่นมันมาจาก เทคโนโลยี ก็คือใช้หัวอย่าง ไอโฟน ทำไมออกมาไม่รู้กี่รุ่นตั้งกี่รุ่นแล้วก็มีคู่แข่งขึ้นมาตั้งเยอะ แต่ก็ยังมีสาวกยึดมั่นใน iPhone ทำไมรถเบนซ์ราคาแพงขึ้นไปเท่าไหร่ยัง ก็ยังมีคนที่จะยึดมั่นในรถเบนซ์ เพราะว่าการออกแบบความสามารถในการผลิต ที่มันมีความแม่นยำสูง มันก็เลยทำให้คงทน ก็เลยทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องยนต์มันแน่นอนตรงนี้มันเป็นจุดเด่นของเขา เพราะฉะนั้นต้องกลับมาถามก่อนว่าจุดเด่นของไทยมันอยู่ตรงไหน
เติมศักดิ์ - ระเบียบสำนักนายกฯ ก็คือคล้ายๆกับตัวกลั่นกรองหรือเปล่าครับอาจารย์ครับ
ธีระชัย - ใช่ ปัญหาคืออย่างนี้ครับเราเห็นขั้นตอนที่เป็นกล่องของการทำงานเราจะเห็นเลยว่านี่มันเป็นการทำงานสไตล์ราชการอันบนนี่แหละครับจะมองเห็นเลยว่านี่มันเป็นการทำงานสไตล์ราชการเปิดรับโปรเจ็คไอเดียหลังจากนั้นก็เชิญประชุมหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำข้อเสนอผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ตรงนี้ชัดเจนผ่านกระบวนการในราชการแต่ละกระทรวง รัฐมนตรีมีสิทธิ์มีเสียงที่จะเซย์เยส เซย์โน หลังจากนั้นถึงไปเสนอ
เติมศักดิ์ - อาจารย์กำลังจะบอกว่านี่มันคือขั้นตอนแบบราชการ
ธีระชัย - ดูตรงนี้ กล่องแรกเปิดรับโปรเจ็คไอเดียกล่องที่สองเชิญประชุมหารือหลังจากนั้นมากล่องที่สามหน่วยงานจะส่งข้อเสนอโดยผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าของสังกัดคนที่คุมสวิตช์คือรัฐมนตรี แต่ละกระทรวง หลังจากนั้นถึงจะไปถึง สศช. สภาพัฒน์ พิจารณา แล้วถึงจะไปเสนอคณะอนุกรรมการ อนุกรรมการแล้วถึงจะไปเสนอคณะกรรมการกลั่นกรองที่อยู่ข้างบน นี่แหละครับคือลักษณะของการทำงานที่ผมว่าไม่ตอบสนองโจทย์หลังโควิด-19 คืออย่างนี้ครับการใช้เงินในลักษณะอย่างนี้ คือพูดง่ายๆการใช้เงิน 6 แสน มันไม่งอกเงยมันเอาไปแล้วคนก็เอาไปกินไปใช้แล้วมันก็หมดไปซึ่งตรงนั้นสังคมรับได้และเราต้องทำอย่างไร เราต้องเก็บภาษีมาเพื่อจะใช้คืนตรงนี้สังคมรับได้
เติมศักดิ์ - แต่ 4 แสนล้าน
ธีระชัย - แต่ 4 แสนล้าน ถ้าใช้ไม่ดีมันเกิดปัญหาเพราะว่า 4 แสนล้านจริงๆแล้ว ผมว่าไม่พอมันต้องเป็น 4 ล้านๆ แล้วลักษณะของการใช้คือต้องอย่างนี้ครับ ใช้แล้วตรงนี้ไม่ใช่ใช้แล้วหายไปเลยใช้แล้วต้องทำให้มันเกิดประสิทธิภาพในการผลิต คือมันต้องไปทำให้เกิดการเติบโตของจีดีพีแล้วหลักทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ก็คือว่าจะไปรอดการเติบโตของจีดีพีต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่รัฐจ่ายสำหรับเงินกู้ อันนี้เป็นหลักการสำคัญเลย เพราะฉะนั้นเนี่ยอัตราการเจริญเติบโตอัตราการขยายตัวของจีดีพีที่ใช้เงินกูเข้ามาอัตราการขยายตัวต้องสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยที่เราจ่ายเงินกู้ถ้าเป็นอย่างนี้ไปเรื่อยๆ ก็ไม่ต้องไปกังวลเรื่องการชำระหนี้เงินกู้เพราะว่าจีดีพีก็จะโตขึ้นไปเรื่อยแล้วหนี้เงินกู้มันเท่าเดิมสัดส่วนหนี้เงินกู้ต่อจีดีพีมันก็จะค่อยๆลดลง นี่เป็นวิธีเดียวเพราะว่าถ้าหากว่าปีหน้า 2-3 ปีข้างหน้า รัฐบาลจะรัดเข็มขัดเก็บภาษีมากมายมันจะมีผลเป็นการหดตัวคือทำนโยบายการคลังแบบหดตัวมันก็กลายเป็นเศรษฐกิจยิ่งไม่เดินใหญ่เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำคือไปข้างหน้าอย่าพึ่งไปรีบขึ้นภาษี อย่างรวดเร็วอาจจะจัดโครงสร้างการเอาภาษีอาจารย์เน้นไปที่คนรวยมากขึ้นหน่อยเน้นไปที่ทรัพย์สินมากหน่อยแต่ยังไม่ต้องรีบไปขึ้น VAT อย่างนี้เป็นต้น อย่าพึ่งไปรีบสร้างภาระภาษีให้แก่คนชั้นกลางชั้นล่างเน้นการลงทุนให้ดีอย่าให้มีรั่วไหลอย่าให้มีการทำผลประโยชน์ที่เป็นโครงการที่รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นคนชี้นำ สมัยก่อนคือนักการเมืองเอาโครงการไปเสนอชุมชนอยากให้เป็นแบบนั้นมาทางโครงการมาพร้อมซัพพลายเออร์ ต้องไม่มีแบบนี้
เติมศักดิ์ - แบบตั้งแท่นมาจากข้างบน
ธีระชัย - ปัญหาคือพอเรามีโครงการที่ต้องใช้เงินแบบนี้ระบบการเมืองไทยมันจะเอื้ออำนวยโดยระบบข้าราชการ ให้ภาคการเมือง เป็นคนชี้นำถึงได้มีหน่วยงานจัดส่งข้อเสนอโดยผ่านความเห็นชอบของรัฐมนตรีเจ้าสังกัด ก็หมายถึงหน่วยงานแต่ละกระทรวงนี่คือวิธีพาประเทศลงเหววิธีการที่ผมเสนอในหนังสือคือให้ชุมชนเป็นคนตัดสิน
เติมศักดิ์ - ของอาจารย์ก็คือจากข้างล่างขึ้นมา
ธีระชัย - Bottom-up นี่มัน Top-Down ต้อง Bottom-Up แล้วให้คนที่มีสิทธิ์เห็นชอบ ต้องเป็นระดับล่างแล้วประชุมชุมชนให้เค้าไปคิดให้เขาไปคิดว่าพลวัตของโลกในอนาคตมันเปลี่ยนไปเยอะเดิมเราหวังว่าจะมีนักลงทุนจากต่างประเทศมันอาจจะมาแต่มันอาจจะเป็นชาตินี้แทนชาตินี้ไม่มาแล้วมันจะเป็นลักษณะอุตสากรรมแบบนี้แทนแล้ว แบบนั้นไม่มาแล้ว ท่องเที่ยวจะมาเหมือนกันแต่มันต้องอีกพักนึงเราจะปรับท่องเที่ยวเป็นพรีเมี่ยมเลยดีไหม เน้นเข้ามาแล้วเรียกว่ากรุงเทพเป็นศูนย์ร้านอาหารมิชลินเลย คือพูดง่ายๆวางแผนอะไรต่างๆ แต่คนคิดมันต้องเป็นชุมชน คนคิดแต่ละคนที่เขาอยู่ในแต่ละละแวก แล้วเขาก็ต้องมานั่งถามตัวเองเราต้องท้าให้เขาคิดหนักๆ และไปปรึกษาหารือกันเองว่าคุณคิดว่าในบริบทพลวัตโลกที่เปลี่ยนแปลงอย่างนี้คุณจะยืนตรงไหน คุณจะยืนในส่วนของเกษตรไหมหรือคุณจะยืนในส่วน ท่องเที่ยว ต่างคนต่างคิดคิดแล้วค่อยให้ออกมาเขียนออกมาว่าคุณจำเป็นต้องใช้เงินจากรัฐบาลไปสนับสนุน หรือไม่ในแต่ละโครงการเรียงลำดับมาเลยอันดับที่หนึ่งอันดับที่สองอันดับที่สาม ใช้เงินเท่าไหร่แล้วค่อยเอามาดูคือให้เป็น Bottom-up ขึ้นมา แล้วรัฐบาลก็คือจัดเงินลงเอาอันดับหนึ่งของทุกชุมชนก่อนอันนั้นคือชุมชนชนบทแล้วเราค่อยมาคิดว่าชุมชนในเมืองจะออกอย่างไรอันนี้ก็อีกแนวหนึ่งชุมชนในเมืองคงไม่ได้เน้นในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐานเท่ากับเน้นโอกาสคนที่จะคิดในเชิงเหมือนกับรับจ้างทำอะไรที่มันพลิกแพลงมันต้องจัดกระบวนการทำงานให้ออกมาเน้นให้คนคิดเองไม่ใช่บอกรัฐบาลบอกปีนี้มะพร้าวราคาดีก็เฮไปปลูก ปีนี้ยังราคาดีก็เฮไปปลูกต่อไปนี้ต้องเลิกแล้วบอกว่าไม่ใช่รัฐบาลเป็นคนชี้นำประชาชนนี่แหละต้องเก่งเองแล้วต้องกลับไปถามตัวเองว่าชุมชนเราความสามารถที่มาตั้งแต่สมัยปู่ สมัยพ่อ มันอยู่ตรงไหนที่ตั้งของเรามีจุดเด็นตรงไหนอะไรอย่างไร ต่างคนต่างคิดแหวกแนวนั่นแหละมันถึงจะออกมาลง 4 แสนมันถึงจะออกมาเป็น 5 แสน ในอนาคต
เติมศักดิ์ - ต้องมีการต่อยอด
ธีระชัย - ต้องต่อยอด และทำอย่างนี้นี่คือเศรษฐกิจพอเพียงอย่างแท้จริงเพราะว่าทำไปแล้วคนมันยืนบนขาตัวเองได้ หลักก็คือทำให้มันมีโอกาสมากขึ้นโอกาสดีขึ้นในแต่ละชุมชนโอกาสนั้นอาจจะมาจากขายของได้มาขึ้น หรือ ต้นทุนค่าใช้จ่ายลดลงหรือการฝึกอบรมการศึกษามันง่ายขึ้นการใช้อินเตอร์เน็ตไม่รู้แต่ละชุมชนต้องคิดเองแล้วออกมาในแนวที่ว่าไปแล้วยืนบนขาของตัวเองเราให้ไป 4 แสน คุณต้องให้มันออกมาเป็น 5 แสน 6 แสน แล้วต่อยอดไปเรื่อยเรื่อยอย่างนี้อัดเท่าไหร่ก็คุ้มแล้วต้องคุมอย่างเดียวคืออย่าให้มันตกหล่น
เติมศักดิ์ - ซึ่งน่าห่วงมาก
ธีระชัย - ตรงนี้น่าห่วงที่สุด (มีต่อ...)