xs
xsm
sm
md
lg

"ปานเทพ" ชำแหละทุนปิโตรเคมีมีส่วนสร้าง PM2.5 - "ไวรัสโคโรนา" กลายเป็นธุรกิจหาผลประโยชน์

เผยแพร่:   โดย: ผู้จัดการออนไลน์



"ปานเทพ" ชี้นโยบายเปลี่ยนรถเมล์จากใช้ดีเซลเป็น NGV ต้องหยุดขยายเพิ่ม เหตุอุตสาหกรรมปิโตรเคมีแย่งใช้จนทำราคาแพง เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้ PM2.5 พุ่ง ทั้งที่เห็นได้ชัดตอนเริ่มนโยบาย ฝุ่นใน กทม.ลดลงเป็นปีแรก ตั้งข้อสงสัย "ไวรัสโคโรนา" ส่อถูกใช้หาผลประโยชน์ เมื่อบริษัทยาหุ้นพุ่งทันทีที่ประกาศผลิตวัคซีน



วันที่ 28 ม.ค. 63 นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ คณบดีสถาบันแพทย์แผนบูรณาการและเวชศาสตร์ชะลอวัย มหาวิทยาลังรังสิต ร่วมสนทนาในรายการ "คนเคาะข่าว" ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง "นิวส์วัน" ในหัวข้อ "เมื่อไวรัสกลายเป็นธุรกิจ ? เมื่อ PM2.5 คือขยะจากกลุ่มทุน"

โดยนายปานเทพ กล่าวว่า ปัญหาฝุ่น PM 2.5 ในกรุงเทพฯ จากงานวิจัยสรุปว่าอันดับหนึ่งเกิดจากการใช้ดีเซล รองลงมาเกิดจากการเผาไหม้ ซึ่งมาจากการผัดทอดอาหารด้วยการเผาไหม้ถ่านในที่แจ้ง ยังไม่นับรวมการก่อสร้างที่ช่วงหลังมีการทุ่มงบฯมหาศาลเพื่อพัฒนาการแก้ปัญหาจราจร

นายปานเทพ กล่าวอีกว่า ปัญหาหลักจากดีเซล น่าสนใจเมื่อปี 2546 - 2547 เกิดเรื่องสำคัญ 2 เรื่อง คือ 2546 เกิดการระบาดของโรคซาร์ส กับอีกเรื่องที่ไทย คือเกิดฝุ่น PM 2.5 ลดลงเป็นปีแรก ซึ่งพบว่าการที่ฝุ่นลดลงเป็นครั้งแรก เนื่องจากกรุงเทพฯมีนโยบายเปลี่ยนรถเมล์จากดีเซลเป็น NGV สะท้อนให้เห็นว่าการเลือกแหล่งพลังงานสำคัญอย่างยิ่ง

แล้วทำไมถึงไม่ส่งเสริมรถเมล์ทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์ให้ใช้ NGV เพราะว่าหลังจากนั้นไม่นาน กลุ่มอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขอใช้ก๊าซก่อนภาคขนส่งและครัวเรือน ทำให้ก๊าซขาดแคลน จึงต้องนำเข้า ทำให้ราคาแพงขึ้น เลยไม่ส่งเสริม NGV ต่อ มีการพูดกันว่าเท่ากับเอาก๊าซมูลค่าดังเพชรไปเผาทิ้ง ปล่อยให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีนำไปใช้ มูลค่าจะได้เพิ่มหลายเท่าทวีคูณ หลังจากนั้นรถเมล์ก็มี NGV แค่เท่าที่มี ไม่มีใครขยายผลเพิ่มขึ้น ฝ่ายรัฐเลือกพัฒนาเศรษฐกิจมากกว่าความปลอดภัยชีวิตของมนุษย์

นายปานเทพ กล่าวต่ออีกว่า ถ้าก๊าซหุงต้มถูกลง การเผาไหม้ถ่านก็จะลดลงเช่นกัน ซึ่งจะถูกลงได้ก็มาจากนโยบายการประมูลแหล่งก๊าซ ถ้าเป็นแบบแบ่งปันผลผลิตเราจะสามารถกำหนดราคาก๊าซให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศได้ จะเห็นว่าแค่ราคาก๊าซถูกลงเรื่องเดียว สามารถแก้ได้ 2 เรื่องเลย

นายปานเทพ กล่าวว่า ส่วนเรื่องไวรัสโคโรนา เมื่อปี 2547 เกิดโรคซาร์สแรงกว่าตายมากกว่าอีก แต่จีนไม่เคยปิดเมือง แต่โคโรนาถึงขั้นปิดเมืองอู่ฮั่น น่าสนใจว่าความรุนแรงน้อยกว่าซาร์สแต่ทำไมถึงเข้มข้นมากกว่า นั่นเพราะสะท้อนว่าปัจจุบันจีนกำลังจะก้าวขึ้นเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจและจะแซงอเมริกาในอนาคต

จึงมีความสนใจว่าอาจมีเบื้องหลังสงครามระหว่างจีนกับอเมริกา ซึ่งมันมีสิทธิบัตร 1 ชิ้นของอเมริกา จดไวรัสโคโรนาไว้เมื่อปี 2015 ครั้งนั้นทำให้หวาดระแวงกันว่าจะมีขบวนการทำธุรกิจต่อเนื่องจากธุรกิจไวรัสหรือเปล่า วันนี้มีการพูดถึงบริษัทยา เริ่มสงสัยว่าเป็นสงครามของมหาอำนาจหรือเปล่า แต่อเมริกาออกมาปฏิเสธแล้วว่าที่จดสิทธิบัตรเป็นคนละสายพันธุ์กับที่ระบาดในจีนขณะนี้

อาจมีคนได้ประโยชน์จากการระบาดไวรัส ปรากฎว่าเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มี 3 บริษัท ประกาศจะทำวัคซีนแก้ไวรัสโคโรนาที่เกิดขึ้นที่จีน 1.ชื่อบริษัท Inovio Pharmaceuticals ที่เกิดขึ้นที่ออสเตรเลีย ปรากฎว่าตลาดหุ้นในออสเตรเลียกับบริษัทนี้ วันจันทร์เพิ่มขึ้น 40 เปอร์เซ็นต์ ถ้านับตั้งแต่เกิดเหตุถึงวันพฤหัสฯ หุ้นเพิ่มขึ้น 55 เปอร์เซ็นต์ กับข่าวชิ้นนี้ชิ้นเดียว ทำไมผู้ถือหุ้นจึงเชื่อว่าบริษัทสามารถผลิตวัคซีนได้มากที่สุด แรงบันดาลใจเกิดจากอะไร และทำไมคนเชื่อมั่นว่าจะผลิตออกมาได้อย่างรวดเร็ว

ส่วนอีก 2 บริษัทหุ้นขึ้นปกติ คือบริษัท Novavax Inc. วันจันทร์หุ้นขึ้น 19 เปอร์เซ็นต์ วันพฤหัสฯขึ้นไป 22 เปอร์เซ็นต์ บริษัทสุดท้ายคือ Moderna Inc. วันจันทร์หุ้นขึ้น 9 เปอร์เซ็นต์ วันพฤหัสขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์

การลงทุนมีงบประมาณมาช่วยเหลือ 11 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตัวเลขที่เป็นงบประมาณไม่ได้มากกับการพัฒนายา แต่แปลว่ามันมีความหวัง เชื่อว่าลงทุนขนาดนี้จะได้ ไม่มีใครกล้าลงทุนถ้าไม่รู้ว่าผลลัพธ์จะเป็นอย่างไร แต่แปลว่าธุรกิจนี้มันมีธุรกิจไวรัสและยาต้านควบคู่กัน ไม่แปลกที่คนจะสงสัยทฤษฎีสมรู้ร่วมคิด

นายปานเทพ กล่าวอีกว่า จีนต้องแสดงภาวะความเป็นผู้นำสูงสุด เพื่อแสดงให้เห็นว่าสามารถจัดการได้ทุกกรณี ไม่มีใครสามารถมาบั่นทอนเศรษฐกิจได้

การปิดเมือง เท่ากับยึดทุกประเทศเป็นตัวประกัน ถ้าคิดว่าจะทำให้กระทบเศรษฐกิจจีน ก็จะรู้ว่ามันกระทบหมดทุกประเทศ เพราะการท่องเที่ยวในหลายประเทศต้องพึ่งพาชาวจีน

นายปานเทพ ยังกล่าวอีกว่า แต่ไทยอยู่ในภาวะโรคไม่ร้ายแรง ตนเชื่อมั่นแพทย์ไทย กระทรวงสาธารณสุข แต่ไม่เชื่อว่าจะจัดการได้ทั้งหมด เพราะไวรัสมีระยะฟักตัว 14 วัน ไม่สามารถเห็นไข้ได้ที่สนามบิน


กำลังโหลดความคิดเห็น