1.“โอ๊ค” รอดคดีรับเช็ค 10 ล้านฟอกเงินกู้แบงก์กรุงไทย หลังศาลไร้เสียงข้างมาก ต้องยกฟ้องแทนจำคุก 4 ปี!
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีฟอกเงินทุจริตการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย ให้ธุรกิจเครือกฤษดามหานคร ที่คณะกรรมการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ฟ้องนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายนายทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5, 9 และ 60 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฉบับที่ 5 พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และ 91
คดีนี้ พนักงานอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 10 ต.ค.2561 สรุปว่า หลังนายวิชัย กฤษดาธานนท์ อดีตผู้บริหารกฤษดามหานคร กับพวกร่วมกันกระทำผิดกับอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ในการอนุมัติสินเชื่อโดยมิชอบ ทำให้ธนาคารเสียหาย 10,400 ล้านบาทแล้ว นายวิชัยกับพวกได้ร่วมกันฟอกเงินจากการกระทำผิด ด้วยการนำบริษัท โกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด ที่มีนายรัชฎา บุตรชาย เป็นกรรมการ และอีกบางบริษัท มาใช้ในการรับโอนเงิน แล้วนำเงินนั้นไปซื้อขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นการเปลี่ยนสภาพทรัพย์สิน โดยนายวิชัยได้โอนเงินจากการขายหุ้นนั้น ให้นายพานทองแท้ จำเลย 10 ล้านบาท ซึ่งนายพานทองแท้เป็นเพื่อนกับนายรัชฎา บุตรชายนายวิชัย และบุคคลในครอบครัวทั้งสองมีความรู้จักเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
หลังนายวิชัยสั่งจ่ายเช็คให้นายพานทองแท้ลงวันที่ 17 พ.ค. 2547 ต่อมา วันที่ 18 พ.ค.2547 นายพานทองแท้นำเช็คเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางพลัด จากนั้น 24 พ.ค.2547 นายพานทองแท้ได้ถอนเงิน 10 ล้านดังกล่าวและนำเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาซอยอารีย์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 24 พ.ค.-26 พ.ย.2547 นายพานทองแท้ถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวผ่านเอทีเอ็มรวม 11 ครั้ง ครั้งละ 5,000-20,000 บาท
ต่อมา 14 มิ.ย. 2547 มีเงินเข้าบัญชีดังกล่าว 80,000 บาท หลังจากนั้น 30 พ.ย.2547 นายพานทองแท้ได้ถอนเงิน 8.8 ล้านบาทออกจากบัญชีดังกล่าว และฝากเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารกรุงเทพ สาขาซอยอารีย์ โดยมียอดเงินรวมในบัญชี กว่า 14.7 ล้านบาท ต่อมา 2 ธ.ค.2547 นายพานทองแท้ได้สั่งจ่ายเช็ค 14.7 ล้านบาท จากบัญชีดังกล่าว ขณะที่นายวิชัยกับพวกและอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทยรวม 18 คน ถูกศาลฎีกาแผนกอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุกคดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย คนละ 12-18 ปี เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2558 โดยอัยการได้ยื่นฟ้องนายวิชัย, นายรัชฎา กับพวกอีกรวม 6 คนต่อศาลอาญาคดีทุจริตฯ เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2561 ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงินด้วย
ทั้งนี้ ในชั้นพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตฯ นายพานทองแท้ จำเลย ได้ให้การปฏิเสธสู้คดีว่า ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง พร้อมอ้างว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินที่จะร่วมลงทุนธุรกิจนำเข้ารถซุปเปอร์คาร์กับนายรัชฎา บุตรชายของนายวิชัย โดยนายพานทองแท้ได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี 1 ล้านบาท ซึ่งศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งศาลเห็นว่า เงิน 10 ล้านดังกล่าวเป็นส่วนที่ได้จากการกระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือฉ้อโกง หรือกระทำโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ฯ ไม่ว่าเงินนั้นจะผ่านกระบวนการแปรสภาพมากี่ครั้งกี่หน ก็ยังคงเป็นเงินที่กระทำความผิดฐานฟอกเงินตลอดไป ไม่ใช่เงินบริสุทธิ์ตามที่จำเลยอ้าง ข้อต่อสู้นี้ของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนัก
ส่วนจำเลยกระทำผิดฐานรับโอนเงินที่ได้จากการกระทำผิดมูลฐานหรือไม่นั้น ศาลเห็นว่า ตามกฎหมาย ต้องได้ความชัดเจนว่า ผู้ที่รับโอนเงินมานั้น จะต้องรับทราบว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินส่วนหนึ่งหรือได้มาจากการกระทำความผิดนั้น แต่ข้อเท็จจริงที่ได้ในคดีนี้ มีเพียงความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวของจำเลยกับครอบครัวนายวิชัย ที่จำเลยเป็นบุตรชายนายทักษิณ ชินวัตร และจำเลยมีความสนิทสนมกับนายรัชฎา บุตรชายของนายวิชัยเท่านั้น
ศาลยังระบุอีกว่า เงิน 10 ล้านที่โอนเข้าบัญชีจำเลย อาจจะเกิดจากการอนุมัติสินเชื่อธนาคารกรุงไทย 10,400 ล้านบาท ขณะที่นายทักษิณ บิดาจำเลยเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เจ้าหน้าที่ระบุว่า นายวิชัยจะผิดหรือไม่ ต้องรอผลคำพิพากษา โดยศาลฎีกาฯ พิพากษาคดีนายวิชัยทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทยเมื่อปี 2558 ซึ่งขณะนั้น นายพานทองแท้ จำเลย อายุ 26 ปี เพิ่งจบการศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำเลยจึงย่อมไม่ทราบข้อเท็จจริงว่า เงิน 10 ล้านที่ได้รับโอนจากนายวิชัย ได้มาจากการทำผิด และขณะนั้น จำเลยก็มีทรัพย์สินเป็นหุ้นในบริษัท 4,000 ล้านอยู่ก่อนแล้ว หากเทียบสัดส่วนเงิน 10 ล้านที่โอนเข้าบัญชีจำเลย กับมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ ก็คิดเป็น 0.0025% และเมื่อเทียบกับยอดเงินกู้สินเชื่อที่นายวิชัยได้ไป 10,400 ล้านบาท ก็เพียง 0.001% เท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกัน พฤติการณ์จึงยังฟังไมได้ว่า จำเลยรู้หรือควรรู้ว่า นายวิชัยได้เงินจากการทุจริต เมื่อจำเลยไม่รู้ จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานฟอกเงิน พิพากษายกฟ้อง
ทั้งนี้ หลังศาลอ่านคำพิพากษาแล้ว องค์คณะได้ชี้แจงให้คู่ความรับทราบด้วยว่า คดีนี้ องค์คณะผู้พิพากษามี 2 คน ซึ่งมีความเห็นต่างกันในการตัดสิน คนหนึ่งเห็นควรยกฟ้อง อีกคนเห็นควรจำคุก 4 ปี เมื่อไม่มีเสียงข้างมาก จึงได้นำความเห็นขององค์คณะที่มีผลร้ายน้อยที่สุดกับจำเลยมาเป็นคำตัดสิน คือยกฟ้อง ส่วนความเห็นของอีกองค์คณะที่เห็นแย้งว่า จำเลยมีความผิดควรลงโทษจำคุก 4 ปี จะมีการบันทึกไว้เป็นความเห็นแย้งท้ายคำพิพากษาด้วย หากคู่ความยื่นอุทธรณ์ ความเห็นแย้งนี้ในสำนวนก็จะขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ทราบเช่นกัน
ด้านนายพานทองแท้กล่าวสั้นๆ หลังศาลยกฟ้องว่า “ขอบคุณทุกกำลังใจ วันนี้ได้รับกำลังใจเยอะ” ขณะที่คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มารดา ซึ่งเดินทางมาให้กำลังใจบุตรชายด้วย กล่าวกับสื่อด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า “ขอบคุณค่ะ ก็สบายใจขึ้น”
2.“สุริยะ” อ้าง คกก.วัตถุอันตรายมีมติเอกฉันท์เลื่อนแบนสารพิษ ด้าน “รศ.ภญ.จิราพร” สุดทนขอลาออก พร้อมแฉไม่มีการลงมติ!
เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ได้มีการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีวาระสำคัญคือ การพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่องการยกเลิกใช้สารเคมี 3 ตัว ประกอบด้วย พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2562 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้น ได้มีตัวแทนเกษตรกร และภาคเอกชนประมาณ 30 คน มารอลุ้นผลการประชุม หลังประชุมเคร่งเครียด 4 ชม.นายสุริยะได้แถลงว่า การประชุมครั้งนี้ มีคณะกรรมการวัตถุอันตรายเข้าร่วม 24 คน จาก 29 คน โดยที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์ร่วมกันทั้ง 24 เสียง ให้ออกประกาศกำหนดวัตถุอันตรายพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดยให้กำหนดระยะเวลาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2563 ส่วนวัตถุอันตรายไกลโฟเซต ให้ใช้มาตรการจำกัดการใช้ตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 23 พ.ค.2561 และมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำมาตรการรองรับในการหาสารทดแทนหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมสำหรับวัตถุอันตรายพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส รวมถึงมาตรการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และให้นำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาภายใน 4 เดือน นับจากวันที่มีมติและขอให้รับรองมติในที่ประชุม
นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ระหว่างนี้ ห้ามมีการนำเข้าสารพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส โดยให้ใช้สารคงค้างที่อยู่ในประเทศประมาณ 23,000 ตันไปก่อน ส่วนการจำกัดการใช้ไกลโฟเซต เนื่องจากสารดังกล่าว 161 ประเทศทั่วโลก ยังคงใช้สารตัวนี้อยู่ มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้น และพบว่ายังกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาหารสัตว์ ถ้าห้ามใช้สารตัวนี้ จะไม่สามารถนำเข้าถั่วเหลือง ข้าวสาลี มาจากสหรัฐฯ บราซิล และประเทศอื่นๆ ได้ ก็จะกระทบต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารสัตว์ด้วย
ขณะที่นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เชื่อว่าทุกคนเห็นด้วยกับการยกเลิกสารดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณาแล้ว ถ้ามีการยกเลิกทันที อาจเกิดความโกลาหลได้ เพราะสารพาราควอตมีการใช้มานาน เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้านที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช ซึ่งที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรมีการศึกษาหาสารเคมีทดแทนและที่ไม่ใช่สารเคมีมากว่า 1 ปี แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งหวังว่าผลการศึกษาจะเสร็จทันมติในวันที่ 1 มิ.ย. 2563 ต่อไป
นายอนันต์ กล่าวอีกว่า ในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมี 3 ตัวดังกล่าว ที่กระทรวงเกษตรฯ โดยเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล พร้อมเสนอแนวทางช่วยเหลือ ส่วนงบประมาณที่จะเสนอขอรัฐบาล 3.3 หมื่นล้านนั้น เป็นแค่การคาดการณ์ อาจขอเพิ่มหรือน้อยลงกว่านี้ ต้องรอให้ได้ข้อสรุปทั้งหมดก่อนจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ต่อไป
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเอกฉันท์ยืดเวลาการเลิกใช้พาราควอตและคลอร์ไพรีฟอส และจำกัดการใช้สารไกลโฟเซตแทนการยกเลิกว่า “สธ.ก็สุดซอยแล้ว ท่านมนัญญา ไทยเศรษฐ์ (รมช.เกษตรฯ) ก็สุดซอยแล้ว สิ่งที่เราทำเพื่อปกป้องสุขภาพ รักษาชีวิตของประชาชนแล้ว แต่ทั้งหมดมีกระบวนการ ถ้าหากลงมติแล้ว เราก็ต้องทำตามกฎหมายที่มีมติออกมาโดยคณะกรรมการ...”
ขณะที่เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรง 686 องค์กร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กไบโอไทย หลังทราบผลการประชุมของคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยแสดงความผิดหวังกับมติของคณะกรรมการฯ ที่อนุญาตให้มีการใช้ไกลโฟเซต และยืดเวลาการแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสออกไปอีก 6 เดือน “การตัดสินใจมาจากการผลักดันและสนับสนุนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นการตัดสินใจที่เอื้อประโยชน์ต่อบริษัทสารพิษกำจัดศัตรูพืช โดยผลักภาระความเสี่ยงแก่ประชาชนทั้งประเทศ ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุญาตให้ใช้สารไกลโฟเซต”
ด้าน น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ออกมายืนยันว่า การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายดังกล่าว ไม่ได้มีการโหวต ยังเป็นมติเดิมของวันที่ 22 ต.ค. เพราะการประชุมครั้งนี้ไม่มีการสอบถาม ไม่มีการลงมติเปลี่ยนแปลงผลการประชุม จึงอยากถามว่าเขามาจากประชาธิปไตยหรือไม่
ขณะที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่า มติของคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่ขยายเวลาการแบนสารพิษที่ใช้ในการเกษตร เป็นมติของคณะกรรมการฯ ทั้ง 24 คน แม้จะไม่มีการออกเสียงลงมติ แต่ที่ประชุมได้สอบถามและนำมติของที่ประชุมต่อการขยายเวลาการแบนสารพิษ จากเดิม 1 ธ.ค. ไปเป็น 1 มิ.ย.2563 ขึ้นจอหน้าห้อง และสอบถามว่า มีบุคคลใดคัดค้านหรือไม่ ปรากฏว่าไม่มีบุคคลใดเสนอความเห็นคัดค้าน และว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การหักหลังพรรคภูมิใจไทย พร้อมเชื่อว่า ไม่เป็นรอยร้าวกับพรรคร่วมรัฐบาล
ด้าน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “อัปยศขั้นสูงสุดของประเทศไทย ไกลโฟเซต จำกัดการใช้ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส เลื่อนแบนไป 6 เดือน”
วันต่อมา 29 พ.ย. รศ.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็น 1 ในคณะกรรมการวัตถุอันตราย และได้ร่วมประชุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ขอลาออกจากคณะกรรมการวัตถุอันตราย และขอแย้งการแถลงข่าวของท่านประธานคณะกรรมการฯ ว่า ไม่ได้มีการลงมติอย่างชัดเจนว่าผู้ใดเห็นด้วยหรือไม่ในแต่ละประเด็น แต่เป็นภาวะจำยอมในการรับมติ จึงไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นมติเอกฉันท์ เพราะหากพิจารณาในการอภิปรายจะพบว่า ดิฉันยืนยันชัดเจนมาโดยตลอดในการแบนสารทั้งสาม และยืนยันให้คงมติวันที่ 22 ต.ค. และขอแย้งการแถลงที่ว่า ไกลโฟเซตไม่เป็นอันตราย เพราะกรรมการ รวมทั้งดิฉันได้อภิปรายถึงผลเสียต่อสุขภาพและไม่สามารถจะจัดการความเสี่ยงต่อผู้บริโภค จนพบการปนเปื้อนทั้งในสิ่งแวดล้อม ผัก ผลไม้ และน้ำนมแม่
3.เลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดี “เบญจา” กับพวก ช่วย “โอ๊ค-เอม” ไม่ต้องเสียภาษีซื้อหุ้นชินคอร์ป หลังคนสนิท “หญิงอ้อ” อ้างป่วย!
เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร, น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย, น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย, นายกริช วิปุลานุสาสน์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยานายทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2558 สรุปว่า จำเลยที่ 1-4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อไม่ให้นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ บุตรชายและบุตรสาวนายทักษิณ ชินวัตร ต้องเสียภาษีอากรหรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ จากการที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท ถือได้ว่านายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาท โดยการกระทำดังกล่าวทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย ซึ่งจำเลยทั้งหมดสู้คดี และให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
ต่อมา ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ก.ค.2559 ว่า นางเบญจา, น.ส.จำรัส, น.ส.โมรีรัตน์ และนายกริช จำเลยที่ 1-4 มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายมาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกคนละ 3 ปี ส่วน น.ส.ปราณี คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ มีโทษ 2 ใน 3 ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งหมดแล้ว ไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ ด้านจำเลยที่ 1-5 ยื่นอุทธรณ์ และได้ประกันตัว โดยศาลตีราคาประกันคนละ 3 แสนบาท
ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2560 โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกจำเลยที่ 1-4 คนละ 3 ปี และจำคุกจำเลยที่ 5 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา จากนั้นจำเลยทั้งหมดยื่นฎีกา และได้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์คนละ 5 แสนบาท
ทั้งนี้ เมื่อถึงวันที่ศาลฯ นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา (26 พ.ย.) จำเลยที่ 1-4 และนายประกันเดินทางมาศาล ส่วน น.ส.ปราณี คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 5 ไม่เดินทางมา มีเพียงนายประกันและทนายความ มาศาล พร้อมแถลง ขอศาลเลื่อนนัดอ่านคำพิพากษาฎีกาออกไปก่อน โดยอ้างว่า จำเลยที่ 5 ป่วยกะทันหัน เวียนศีรษะ มีอาการบ้านหมุน อาเจียนรุนแรง อยู่ระหว่างรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า โดยทนายความได้นำใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อศาล ระบุว่า ต้องเข้ารักษาอาการตั้งแต่วันที่ 25-27 พ.ย.นี้
ด้านศาลสอบถามทนายความ ป.ป.ช. ฝ่ายโจทก์แล้ว ไม่คัดค้านคำขอเลื่อน ศาลพิเคราะห์เหตุจำเป็นและใบรับรองแพทย์ที่ยื่นแล้ว น่าเชื่อว่า จำเลยที่ 5 มีอาการป่วยจริง จึงเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาฎีกาออกไปก่อน โดยนัดฟังคำพิพากษาฎีกาอีกครั้งในวันที่ 26 ธ.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
4.“ชัยวัฒน์” กับพวกรอดนอนคุก คดีฆ่าบิลลี่ หลังดีเอสไอยื่นขอถอนประกัน แต่ศาลยกคำร้อง!
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ซึ่งถูกย้ายไปเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปัตตานี หลังตกเป็นผู้ต้องหาคดีร่วมกันฆ่าอำพรางนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ เมื่อปี 2557 ได้เข้ารายงานตัวต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ครั้งที่ 1 พร้อมกับพวกรวม 4 คน หลังครบกำหนดฝากขังครั้งแรก 12 วัน
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ยื่นคำร้องขอถอนประกันและขอให้ศาลฯ เพิ่มเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวนายชัยวัฒน์กับพวก เนื่องจากเห็นว่านายชัยวัฒน์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนโดยอ้างว่า การได้มาซึ่งพยานหลักฐานไม่เป็นความจริงและสร้างพยานหลักฐานเท็จ นอกจากนี้ยังให้สัมภาษณ์ว่าจะไปสาบานตนที่จุดเกิดเหตุ ซึ่งอาจส่งผลให้พยานที่อยู่ในพื้นที่เกิดความสับสน และอาจทำให้พนักงานสอบสวนไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่ ถือได้ว่านายชัยวัฒน์เข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
ด้านนายชัยวัฒน์กับพวกได้ยื่นคัดค้านคำร้องของดีเอสไอต่อศาล โดยอ้างว่า การให้สัมภาษณ์ของตนเป็นเพียงการอธิบายแสดงความเห็นโดยสุจริต อีกทั้งตั้งแต่ผู้ต้องหาทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็ไม่มีใครเข้าไปในพื้นที่ รวมถึงตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบันของผู้ต้องหาทั้งหมดก็ไม่มีอำนาจในการสั่งการดำเนินการใดๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมกันนี้ นายชัยวัฒน์ยังแถลงให้คำมั่นต่อศาลว่า จะไม่เข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุและไม่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับรูปคดี
ด้านศาลพิเคราะห์คำร้องพร้อมข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า ยังไม่พบพฤติการณ์ของนายชัยวัฒน์ ผู้ต้องหาที่ 1 จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และชั้นนี้ ยังไม่มีเหตุอันควรที่จะเพิกถอนประกันหรือการกำหนดเงื่อนไขประกันเพิ่มเติม จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องของดีเอสไอ
หลังศาลยกคำร้องดีเอสไอ นายชัยวัฒน์มีสีหน้ายิ้มแย้ม เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีถูกโยกย้ายไปเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปัตตานี นายชัยวัฒน์ตอบว่า อยู่ที่ไหนก็ได้ เป็นข้าราชการต้องทำงานให้ดีที่สุด ขอให้ชาวปัตตานีได้เห็นการทำงานก่อน จะทำงานให้ดีที่สุด และว่า ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ติดอะไร เพราะจริงๆ แล้ว เป็นข้าราชการ ผู้บริหารสั่งไปไหนก็ต้องไป
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ศาลได้อนุญาตให้นายชัยวัฒน์กับพวกประกันตัว โดยตีราคาประกันคนละ 8 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
5.สลด! ลูกฆ่าหั่นศพแม่แช่ตู้เย็น ก่อนยิงตัวเองดับ คาดผลจากป่วยซึมเศร้า ด้านหมอชี้ ซึมเศร้าส่วนใหญ่ไม่ทำร้ายคนอื่น!
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ตำรวจ สน.ท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม.ได้รับแจ้งมีเหตุฆ่าคนตาย จึงรุดไปตรวจสอบ ที่เกิดเหตุเป็นบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น พบผู้เสียชีวิตคือ น.ส.ยุรีย์ เถาวัลย์ อายุ 42 ปี เจ้าของบ้าน ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับไฟแนนซ์รถยนต์ ถูกฆ่าและหั่นศพ โดยพบอวัยวะส่วนต่างๆ ถูกใส่ไว้ในตู้เย็น ขณะที่อวัยวะบางส่วนถูกทิ้งในชักโครกห้องน้ำ ตำรวจจึงนำส่งสถาบันนิติเวช โรงพยาบาลศิริราช เพื่อชันสูตรอย่างละเอียดต่อไป
สำหรับผู้ต้องสงสัยก่อเหตุฆ่าหั่นศพครั้งนี้ คือ นายศิระ สมเดช อายุ 20 ปี บุตรชายของผู้ตาย ปัจจุบันเรียนอยู่คณะวิศวะคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งนายศิระได้ใช้ปืนขนาด .38 ของตนยิงขมับขวาของตนเอง จนบาดเจ็บสาหัส ก่อนเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
ด้าน น.ส.วรนุช วงษ์ชัย อายุ 35 ปี เพื่อนร่วมงานของ น.ส.ยุรีย์ ผู้ตาย ซึ่งเป็นผู้พบศพคนแรก ให้การว่า ได้ร่วมกับ น.ส.ยุรีย์ทำธุรกิจเกี่ยวกับไฟแนนซ์รถยนต์ และว่า คืนก่อนหน้าวันเกิดเหตุ (24 พ.ย.) ประมาณ 20.00 น. ตนพยายามโทรศัพท์หาผู้ตายหลายครั้ง เพื่อคุยเรื่องธุรกิจ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ช่วงบ่ายวันเกิดเหตุ จึงเดินทางมาหาที่บ้าน “ตอนมาถึงบ้านคนตาย หนูก็เรียก นายศิระก็ไม่ยอมเปิดบ้าน พักใหญ่ๆ นายศิระก็มาเปิดและร้องไห้ว่าแม่หาย ใครไม่รู้ลักแม่ไป เลยบอกใจเย็นๆ เปิดประตูให้พี่ก่อน นายศิระก็เปิด พอเปิดปุ๊บก็โวยวาย ร้องไห้ฟูมฟาย ร้องไห้เหมือนคนสติหลุด ไม่ใช่คนเดิม พร้อมบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้ารู้มั้ย หนูก็ขึ้นไปบนห้อง หนูก็เห็นกระเป๋า น.ส.ยุรีย์ วางอยู่ เอกสารอะไรอยู่ครบ นายศิระกำโทรศัพท์แนบไว้ หนูว่าไม่ใช่แล้ว แล้วปืนอยู่ที่ขา หนูดูที่นอนก็ไม่ได้เก็บ ปกติ น.ส.ยุรีย์เก็บที่นอน หนูว่าต้องอยู่แถวนี้ น.ส.ยุรีย์เหมือนบอกหนูว่ายังอยู่ หนูมั่นใจว่ามันอยู่ แต่ไม่มีชีวิตแล้ว หนูเลยพยายามลงมาจากห้อง นายศิระผลักหนู หนูก็ออกมาอยู่หน้าบ้าน ยืนอยู่เป็นชั่วโมง จนนายศิระเปลี่ยนชุดนักเรียน เอากุญแจรถแม่จะออก หนูก็สวนเข้ามากับพี่ชาย พี่ชายขึ้นไปหาข้างบน หนูลงข้างล่าง เปิดห้องน้ำ เปิดดูตู้ ไม่มี ช็อตสุดท้าย เปิดตู้เย็น แค่นั้นแหละ พอเจอ หนูกรี๋ดแล้ววิ่งออกมาเลย”
ด้าน พล.ต.ต.โชคชัย งามวงศ์ ผบก.น.9 กล่าวว่า บ้านหลังนี้มีแค่ น.ส.ยุรีย์ กับบุตรชายอยู่กันแค่ 2 คน อยู่มานาน 3 ปีแล้ว เนื่องจากแยกทางกับสามี จากการสอบถามญาติๆ ที่เดินทางมาดูศพ ทราบว่า นายศิระป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ต้องรักษาอาการกับแพทย์มาประมาณ 2 ปี ประกอบกับในบ้านที่เกิดเหตุพบยารักษาโรคซึมเศร้า พร้อมด้วยชุดอุปกรณ์มีดทำครัว ซึ่งทำความสะอาดเก็บไว้ในห้องครัวเรียบร้อย หลังจากนี้จะส่งกองพิสูจน์หลักฐานและแพทย์เพื่อตรวจสอบสาเหตุต่อไป
ด้าน นพ.ธรนินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่า เป็นไปได้น้อยมากที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่น กรณีที่เกิดขึ้น ต้องตรวจสอบการรักษาย้อนหลัง แต่การทำร้ายผู้อื่น เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยทางจิตที่มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน หรือมีภาวะติดสุรา หรือได้รับสารเสพติด ไปกระตุ้นประสาท ทำให้เกิดพฤติกรรมทำร้ายผู้อื่น
ขณะที่ป้าของนายศิระ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทุกคนเสียใจ ป้าไม่มีสิทธิที่จะติดใจหรือสงสัยอะไร เพราะไม่ได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ และว่า นายศิระ หรือน้องกายอยู่กับพ่อตั้งแต่เกิดจนอายุ 15 ปี ทางแม่ไม่มีความพร้อม จึงฝากป้าให้ช่วยดูแลน้องกาย เมื่อแม่มีความพร้อม ก็มารับน้องไปดูแลเอง เราก็โอเค เพราะเขาอยู่กับแม่แล้วมีความสุข เราก็ให้ไป ที่บ้านก็รักเขาทั้งคู่ “ขณะนี้ไม่สามารถตอบได้ว่า น้องกายเป็นคนทำหรือไม่ทำ แต่สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยหัวใจคือ น้องกายเป็นเด็กดีมาโดยตลอด และเป็นคนที่เคารพบุพการี”
ด้านนางประยงค์ เถาวัลย์ แม่ของ น.ส.ยุรีย์ กล่าวว่า ตนมีลูกคนเดียว ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้กับครอบครัวตน ยังรู้สึกสะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คิดว่าหลานชายไม่น่าจะเป็นคนก่อเหตุอย่างนี้ได้ ส่วนบทสรุปจะออกมาอย่างไร ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เป็นที่น่าสังเกตว่า คดีนี้ ผู้ที่ติดตามข่าว มีความเห็นแตกออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า นายศิระเป็นคนฆ่าหั่นศพแม่ แต่อีกฝ่ายไม่เชื่อ โดยพยายามจับพิรุธต่างๆ บ้างบอกว่า นายศิระถนัดมือซ้าย ไม่น่าจะใช้มือขวาที่ไม่ถนัดจับปืนยิงขมับขวาของตนเอง บ้างบอกว่า นายศิระรักแม่มาก ไม่น่าจะฆ่าแม่ บ้างบอกว่า น.ส.ยุรีย์ มีความขัดแย้งกับเพื่อนบางคน ฯลฯ
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษาคดีฟอกเงินทุจริตการปล่อยกู้ของธนาคารกรุงไทย ให้ธุรกิจเครือกฤษดามหานคร ที่คณะกรรมการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ฟ้องนายพานทองแท้ ชินวัตร บุตรชายนายทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลย ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงิน และสมคบกันฟอกเงิน ตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ.2542 มาตรา 5, 9 และ 60 และ พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฉบับที่ 5 พ.ศ.2558 มาตรา 10 ประกอบประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 และ 91
คดีนี้ พนักงานอัยการยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 10 ต.ค.2561 สรุปว่า หลังนายวิชัย กฤษดาธานนท์ อดีตผู้บริหารกฤษดามหานคร กับพวกร่วมกันกระทำผิดกับอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทย ในการอนุมัติสินเชื่อโดยมิชอบ ทำให้ธนาคารเสียหาย 10,400 ล้านบาทแล้ว นายวิชัยกับพวกได้ร่วมกันฟอกเงินจากการกระทำผิด ด้วยการนำบริษัท โกลเด้น เทคโนโลยี อินดัสเทรียล พาร์ค จำกัด ที่มีนายรัชฎา บุตรชาย เป็นกรรมการ และอีกบางบริษัท มาใช้ในการรับโอนเงิน แล้วนำเงินนั้นไปซื้อขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) เป็นการเปลี่ยนสภาพทรัพย์สิน โดยนายวิชัยได้โอนเงินจากการขายหุ้นนั้น ให้นายพานทองแท้ จำเลย 10 ล้านบาท ซึ่งนายพานทองแท้เป็นเพื่อนกับนายรัชฎา บุตรชายนายวิชัย และบุคคลในครอบครัวทั้งสองมีความรู้จักเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน
หลังนายวิชัยสั่งจ่ายเช็คให้นายพานทองแท้ลงวันที่ 17 พ.ค. 2547 ต่อมา วันที่ 18 พ.ค.2547 นายพานทองแท้นำเช็คเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาบางพลัด จากนั้น 24 พ.ค.2547 นายพานทองแท้ได้ถอนเงิน 10 ล้านดังกล่าวและนำเข้าบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกรุงเทพ สาขาซอยอารีย์ ทั้งนี้ ระหว่างวันที่ 24 พ.ค.-26 พ.ย.2547 นายพานทองแท้ถอนเงินออกจากบัญชีดังกล่าวผ่านเอทีเอ็มรวม 11 ครั้ง ครั้งละ 5,000-20,000 บาท
ต่อมา 14 มิ.ย. 2547 มีเงินเข้าบัญชีดังกล่าว 80,000 บาท หลังจากนั้น 30 พ.ย.2547 นายพานทองแท้ได้ถอนเงิน 8.8 ล้านบาทออกจากบัญชีดังกล่าว และฝากเข้าบัญชีกระแสรายวัน ธนาคารกรุงเทพ สาขาซอยอารีย์ โดยมียอดเงินรวมในบัญชี กว่า 14.7 ล้านบาท ต่อมา 2 ธ.ค.2547 นายพานทองแท้ได้สั่งจ่ายเช็ค 14.7 ล้านบาท จากบัญชีดังกล่าว ขณะที่นายวิชัยกับพวกและอดีตผู้บริหารธนาคารกรุงไทยรวม 18 คน ถูกศาลฎีกาแผนกอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษาจำคุกคดีทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทย คนละ 12-18 ปี เมื่อวันที่ 26 ส.ค.2558 โดยอัยการได้ยื่นฟ้องนายวิชัย, นายรัชฎา กับพวกอีกรวม 6 คนต่อศาลอาญาคดีทุจริตฯ เมื่อวันที่ 4 ก.ย. 2561 ในความผิดฐานร่วมกันฟอกเงินและสมคบกันฟอกเงินด้วย
ทั้งนี้ ในชั้นพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตฯ นายพานทองแท้ จำเลย ได้ให้การปฏิเสธสู้คดีว่า ไม่ได้กระทำผิดตามฟ้อง พร้อมอ้างว่า เงินดังกล่าวเป็นเงินที่จะร่วมลงทุนธุรกิจนำเข้ารถซุปเปอร์คาร์กับนายรัชฎา บุตรชายของนายวิชัย โดยนายพานทองแท้ได้รับการประกันตัวระหว่างพิจารณาคดี 1 ล้านบาท ซึ่งศาลกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
ด้านศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่า มีปัญหาต้องวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ซึ่งศาลเห็นว่า เงิน 10 ล้านดังกล่าวเป็นส่วนที่ได้จากการกระทำความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน ความผิดเกี่ยวกับการยักยอกหรือฉ้อโกง หรือกระทำโดยทุจริตตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ฯ ไม่ว่าเงินนั้นจะผ่านกระบวนการแปรสภาพมากี่ครั้งกี่หน ก็ยังคงเป็นเงินที่กระทำความผิดฐานฟอกเงินตลอดไป ไม่ใช่เงินบริสุทธิ์ตามที่จำเลยอ้าง ข้อต่อสู้นี้ของจำเลยจึงไม่มีน้ำหนัก
ส่วนจำเลยกระทำผิดฐานรับโอนเงินที่ได้จากการกระทำผิดมูลฐานหรือไม่นั้น ศาลเห็นว่า ตามกฎหมาย ต้องได้ความชัดเจนว่า ผู้ที่รับโอนเงินมานั้น จะต้องรับทราบว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินส่วนหนึ่งหรือได้มาจากการกระทำความผิดนั้น แต่ข้อเท็จจริงที่ได้ในคดีนี้ มีเพียงความสัมพันธ์ระหว่างครอบครัวของจำเลยกับครอบครัวนายวิชัย ที่จำเลยเป็นบุตรชายนายทักษิณ ชินวัตร และจำเลยมีความสนิทสนมกับนายรัชฎา บุตรชายของนายวิชัยเท่านั้น
ศาลยังระบุอีกว่า เงิน 10 ล้านที่โอนเข้าบัญชีจำเลย อาจจะเกิดจากการอนุมัติสินเชื่อธนาคารกรุงไทย 10,400 ล้านบาท ขณะที่นายทักษิณ บิดาจำเลยเป็นนายกรัฐมนตรี แต่เจ้าหน้าที่ระบุว่า นายวิชัยจะผิดหรือไม่ ต้องรอผลคำพิพากษา โดยศาลฎีกาฯ พิพากษาคดีนายวิชัยทุจริตปล่อยกู้ธนาคารกรุงไทยเมื่อปี 2558 ซึ่งขณะนั้น นายพานทองแท้ จำเลย อายุ 26 ปี เพิ่งจบการศึกษาคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จำเลยจึงย่อมไม่ทราบข้อเท็จจริงว่า เงิน 10 ล้านที่ได้รับโอนจากนายวิชัย ได้มาจากการทำผิด และขณะนั้น จำเลยก็มีทรัพย์สินเป็นหุ้นในบริษัท 4,000 ล้านอยู่ก่อนแล้ว หากเทียบสัดส่วนเงิน 10 ล้านที่โอนเข้าบัญชีจำเลย กับมูลค่าหุ้นที่มีอยู่ ก็คิดเป็น 0.0025% และเมื่อเทียบกับยอดเงินกู้สินเชื่อที่นายวิชัยได้ไป 10,400 ล้านบาท ก็เพียง 0.001% เท่านั้น ซึ่งมีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกัน พฤติการณ์จึงยังฟังไมได้ว่า จำเลยรู้หรือควรรู้ว่า นายวิชัยได้เงินจากการทุจริต เมื่อจำเลยไม่รู้ จึงฟังไม่ได้ว่า จำเลยกระทำความผิดฐานฟอกเงิน พิพากษายกฟ้อง
ทั้งนี้ หลังศาลอ่านคำพิพากษาแล้ว องค์คณะได้ชี้แจงให้คู่ความรับทราบด้วยว่า คดีนี้ องค์คณะผู้พิพากษามี 2 คน ซึ่งมีความเห็นต่างกันในการตัดสิน คนหนึ่งเห็นควรยกฟ้อง อีกคนเห็นควรจำคุก 4 ปี เมื่อไม่มีเสียงข้างมาก จึงได้นำความเห็นขององค์คณะที่มีผลร้ายน้อยที่สุดกับจำเลยมาเป็นคำตัดสิน คือยกฟ้อง ส่วนความเห็นของอีกองค์คณะที่เห็นแย้งว่า จำเลยมีความผิดควรลงโทษจำคุก 4 ปี จะมีการบันทึกไว้เป็นความเห็นแย้งท้ายคำพิพากษาด้วย หากคู่ความยื่นอุทธรณ์ ความเห็นแย้งนี้ในสำนวนก็จะขึ้นสู่ศาลอุทธรณ์ทราบเช่นกัน
ด้านนายพานทองแท้กล่าวสั้นๆ หลังศาลยกฟ้องว่า “ขอบคุณทุกกำลังใจ วันนี้ได้รับกำลังใจเยอะ” ขณะที่คุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร มารดา ซึ่งเดินทางมาให้กำลังใจบุตรชายด้วย กล่าวกับสื่อด้วยสีหน้ายิ้มแย้มว่า “ขอบคุณค่ะ ก็สบายใจขึ้น”
2.“สุริยะ” อ้าง คกก.วัตถุอันตรายมีมติเอกฉันท์เลื่อนแบนสารพิษ ด้าน “รศ.ภญ.จิราพร” สุดทนขอลาออก พร้อมแฉไม่มีการลงมติ!
เมื่อวันที่ 27 พ.ย. ได้มีการประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยมีนายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานการประชุม ซึ่งมีวาระสำคัญคือ การพิจารณาทบทวนมติของคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่องการยกเลิกใช้สารเคมี 3 ตัว ประกอบด้วย พาราควอต คลอร์ไพริฟอส และไกลโฟเซต ที่จะมีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.2562 เป็นต้นไป
ทั้งนี้ ก่อนที่การประชุมจะเริ่มขึ้น ได้มีตัวแทนเกษตรกร และภาคเอกชนประมาณ 30 คน มารอลุ้นผลการประชุม หลังประชุมเคร่งเครียด 4 ชม.นายสุริยะได้แถลงว่า การประชุมครั้งนี้ มีคณะกรรมการวัตถุอันตรายเข้าร่วม 24 คน จาก 29 คน โดยที่ประชุมได้มีมติเอกฉันท์ร่วมกันทั้ง 24 เสียง ให้ออกประกาศกำหนดวัตถุอันตรายพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 โดยให้กำหนดระยะเวลาใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย. 2563 ส่วนวัตถุอันตรายไกลโฟเซต ให้ใช้มาตรการจำกัดการใช้ตามมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เมื่อวันที่ 23 พ.ค.2561 และมอบหมายให้กรมวิชาการเกษตรและกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำมาตรการรองรับในการหาสารทดแทนหรือวิธีการอื่นที่เหมาะสมสำหรับวัตถุอันตรายพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส รวมถึงมาตรการลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง และผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน และให้นำเสนอคณะกรรมการวัตถุอันตรายพิจารณาภายใน 4 เดือน นับจากวันที่มีมติและขอให้รับรองมติในที่ประชุม
นายสุริยะ กล่าวอีกว่า ระหว่างนี้ ห้ามมีการนำเข้าสารพาราควอต และคลอร์ไพริฟอส โดยให้ใช้สารคงค้างที่อยู่ในประเทศประมาณ 23,000 ตันไปก่อน ส่วนการจำกัดการใช้ไกลโฟเซต เนื่องจากสารดังกล่าว 161 ประเทศทั่วโลก ยังคงใช้สารตัวนี้อยู่ มีเพียง 9 ประเทศเท่านั้น และพบว่ายังกระทบต่ออุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยเฉพาะอาหารสัตว์ ถ้าห้ามใช้สารตัวนี้ จะไม่สามารถนำเข้าถั่วเหลือง ข้าวสาลี มาจากสหรัฐฯ บราซิล และประเทศอื่นๆ ได้ ก็จะกระทบต่อเนื่องกับอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอาหารสัตว์ด้วย
ขณะที่นายอนันต์ สุวรรณรัตน์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า เชื่อว่าทุกคนเห็นด้วยกับการยกเลิกสารดังกล่าว แต่เมื่อพิจารณาแล้ว ถ้ามีการยกเลิกทันที อาจเกิดความโกลาหลได้ เพราะสารพาราควอตมีการใช้มานาน เป็นเหมือนยาสามัญประจำบ้านที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืช ซึ่งที่ผ่านมา กรมวิชาการเกษตรมีการศึกษาหาสารเคมีทดแทนและที่ไม่ใช่สารเคมีมากว่า 1 ปี แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ซึ่งหวังว่าผลการศึกษาจะเสร็จทันมติในวันที่ 1 มิ.ย. 2563 ต่อไป
นายอนันต์ กล่าวอีกว่า ในวันที่ 2 ธ.ค.นี้ จะมีการประชุมคณะทำงานพิจารณาแนวทางช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากการยกเลิกใช้สารเคมี 3 ตัวดังกล่าว ที่กระทรวงเกษตรฯ โดยเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาให้ข้อมูล พร้อมเสนอแนวทางช่วยเหลือ ส่วนงบประมาณที่จะเสนอขอรัฐบาล 3.3 หมื่นล้านนั้น เป็นแค่การคาดการณ์ อาจขอเพิ่มหรือน้อยลงกว่านี้ ต้องรอให้ได้ข้อสรุปทั้งหมดก่อนจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.ต่อไป
ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณีที่คณะกรรมการวัตถุอันตรายมีมติเอกฉันท์ยืดเวลาการเลิกใช้พาราควอตและคลอร์ไพรีฟอส และจำกัดการใช้สารไกลโฟเซตแทนการยกเลิกว่า “สธ.ก็สุดซอยแล้ว ท่านมนัญญา ไทยเศรษฐ์ (รมช.เกษตรฯ) ก็สุดซอยแล้ว สิ่งที่เราทำเพื่อปกป้องสุขภาพ รักษาชีวิตของประชาชนแล้ว แต่ทั้งหมดมีกระบวนการ ถ้าหากลงมติแล้ว เราก็ต้องทำตามกฎหมายที่มีมติออกมาโดยคณะกรรมการ...”
ขณะที่เครือข่ายสนับสนุนการแบนสารพิษร้ายแรง 686 องค์กร ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กไบโอไทย หลังทราบผลการประชุมของคณะกรรมการวัตถุอันตราย โดยแสดงความผิดหวังกับมติของคณะกรรมการฯ ที่อนุญาตให้มีการใช้ไกลโฟเซต และยืดเวลาการแบนพาราควอตและคลอร์ไพริฟอสออกไปอีก 6 เดือน “การตัดสินใจมาจากการผลักดันและสนับสนุนโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ เป็นการตัดสินใจที่เอื้อประโยชน์ต่อบริษัทสารพิษกำจัดศัตรูพืช โดยผลักภาระความเสี่ยงแก่ประชาชนทั้งประเทศ ทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งการอนุญาตให้ใช้สารไกลโฟเซต”
ด้าน น.ส.มนัญญา ไทยเศรษฐ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรฯ ได้ออกมายืนยันว่า การประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายดังกล่าว ไม่ได้มีการโหวต ยังเป็นมติเดิมของวันที่ 22 ต.ค. เพราะการประชุมครั้งนี้ไม่มีการสอบถาม ไม่มีการลงมติเปลี่ยนแปลงผลการประชุม จึงอยากถามว่าเขามาจากประชาธิปไตยหรือไม่
ขณะที่นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ยืนยันว่า มติของคณะกรรมการวัตถุอันตรายที่ขยายเวลาการแบนสารพิษที่ใช้ในการเกษตร เป็นมติของคณะกรรมการฯ ทั้ง 24 คน แม้จะไม่มีการออกเสียงลงมติ แต่ที่ประชุมได้สอบถามและนำมติของที่ประชุมต่อการขยายเวลาการแบนสารพิษ จากเดิม 1 ธ.ค. ไปเป็น 1 มิ.ย.2563 ขึ้นจอหน้าห้อง และสอบถามว่า มีบุคคลใดคัดค้านหรือไม่ ปรากฏว่าไม่มีบุคคลใดเสนอความเห็นคัดค้าน และว่า เรื่องนี้ไม่ใช่การหักหลังพรรคภูมิใจไทย พร้อมเชื่อว่า ไม่เป็นรอยร้าวกับพรรคร่วมรัฐบาล
ด้าน นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา อาจารย์คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า “อัปยศขั้นสูงสุดของประเทศไทย ไกลโฟเซต จำกัดการใช้ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส เลื่อนแบนไป 6 เดือน”
วันต่อมา 29 พ.ย. รศ.ภญ.จิราพร ลิ้มปานานนท์ อาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็น 1 ในคณะกรรมการวัตถุอันตราย และได้ร่วมประชุมเมื่อวันที่ 27 พ.ย. ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า ขอลาออกจากคณะกรรมการวัตถุอันตราย และขอแย้งการแถลงข่าวของท่านประธานคณะกรรมการฯ ว่า ไม่ได้มีการลงมติอย่างชัดเจนว่าผู้ใดเห็นด้วยหรือไม่ในแต่ละประเด็น แต่เป็นภาวะจำยอมในการรับมติ จึงไม่สามารถเรียกได้ว่าเป็นมติเอกฉันท์ เพราะหากพิจารณาในการอภิปรายจะพบว่า ดิฉันยืนยันชัดเจนมาโดยตลอดในการแบนสารทั้งสาม และยืนยันให้คงมติวันที่ 22 ต.ค. และขอแย้งการแถลงที่ว่า ไกลโฟเซตไม่เป็นอันตราย เพราะกรรมการ รวมทั้งดิฉันได้อภิปรายถึงผลเสียต่อสุขภาพและไม่สามารถจะจัดการความเสี่ยงต่อผู้บริโภค จนพบการปนเปื้อนทั้งในสิ่งแวดล้อม ผัก ผลไม้ และน้ำนมแม่
3.เลื่อนอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดี “เบญจา” กับพวก ช่วย “โอ๊ค-เอม” ไม่ต้องเสียภาษีซื้อหุ้นชินคอร์ป หลังคนสนิท “หญิงอ้อ” อ้างป่วย!
เมื่อวันที่ 26 พ.ย. ศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ได้นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกาคดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางเบญจา หลุยเจริญ อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง สมัยรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และอดีตรองอธิบดีกรมสรรพากร, น.ส.จำรัส แหยมสร้อยทอง อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย, น.ส.โมรีรัตน์ บุญญาศิริ อดีตผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย, นายกริช วิปุลานุสาสน์ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย กรมสรรพากร และ น.ส.ปราณี เวชพฤกษ์พิทักษ์ คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน ณ ป้อมเพชร อดีตภรรยานายทักษิณ ชินวัตร เป็นจำเลยที่ 1-5 ในความผิดฐานร่วมกันเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157
คดีนี้ โจทก์ยื่นฟ้องเมื่อวันที่ 3 ธ.ค. 2558 สรุปว่า จำเลยที่ 1-4 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานของกรมสรรพากร ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อไม่ให้นายพานทองแท้ ชินวัตร และ น.ส.พินทองทา ชินวัตร คุณากรวงศ์ บุตรชายและบุตรสาวนายทักษิณ ชินวัตร ต้องเสียภาษีอากรหรือเสียภาษีน้อยกว่าที่จะต้องเสีย และได้รับประโยชน์ที่มิควรได้ จากการที่นายพานทองแท้ และ น.ส.พินทองทา ซื้อหุ้นบริษัท ชินคอร์ปอเรชั่น จำกัด เมื่อปี 2549 คนละ 164,600,000 หุ้น ในราคาพาร์หุ้นละ 1 บาท ขณะที่ราคาตลาดหุ้นละ 49.25 บาท ถือได้ว่านายพานทองแท้และ น.ส.พินทองทา เป็นผู้ได้รับเงินพึงประเมินตามประมวลรัษฎากร มาตรา 39 และมีหน้าที่ต้องเสียภาษีของส่วนต่างราคาหุ้น คนละ 7,941,950,000 บาท โดยการกระทำดังกล่าวทำให้กรมสรรพากร กระทรวงการคลัง และราชการเสียหาย ซึ่งจำเลยทั้งหมดสู้คดี และให้การปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา
ต่อมา ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 28 ก.ค.2559 ว่า นางเบญจา, น.ส.จำรัส, น.ส.โมรีรัตน์ และนายกริช จำเลยที่ 1-4 มีความผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ ตามประมวลกฎหมายมาตรา 157 และ 83 ให้จำคุกคนละ 3 ปี ส่วน น.ส.ปราณี คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 5 มีความผิดฐานเป็นผู้สนับสนุนเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่มิชอบฯ มีโทษ 2 ใน 3 ให้จำคุกเป็นเวลา 2 ปี และเมื่อพิเคราะห์พฤติการณ์แห่งคดีของจำเลยทั้งหมดแล้ว ไม่มีเหตุให้รอการลงโทษ ด้านจำเลยที่ 1-5 ยื่นอุทธรณ์ และได้ประกันตัว โดยศาลตีราคาประกันคนละ 3 แสนบาท
ต่อมา ศาลอุทธรณ์พิพากษาเมื่อวันที่ 19 ต.ค.2560 โดยพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ให้จำคุกจำเลยที่ 1-4 คนละ 3 ปี และจำคุกจำเลยที่ 5 2 ปี โดยไม่รอลงอาญา จากนั้นจำเลยทั้งหมดยื่นฎีกา และได้ประกันตัวด้วยหลักทรัพย์คนละ 5 แสนบาท
ทั้งนี้ เมื่อถึงวันที่ศาลฯ นัดอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา (26 พ.ย.) จำเลยที่ 1-4 และนายประกันเดินทางมาศาล ส่วน น.ส.ปราณี คนใกล้ชิดเลขานุการส่วนตัวของคุณหญิงพจมาน จำเลยที่ 5 ไม่เดินทางมา มีเพียงนายประกันและทนายความ มาศาล พร้อมแถลง ขอศาลเลื่อนนัดอ่านคำพิพากษาฎีกาออกไปก่อน โดยอ้างว่า จำเลยที่ 5 ป่วยกะทันหัน เวียนศีรษะ มีอาการบ้านหมุน อาเจียนรุนแรง อยู่ระหว่างรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลพระรามเก้า โดยทนายความได้นำใบรับรองแพทย์มาแสดงต่อศาล ระบุว่า ต้องเข้ารักษาอาการตั้งแต่วันที่ 25-27 พ.ย.นี้
ด้านศาลสอบถามทนายความ ป.ป.ช. ฝ่ายโจทก์แล้ว ไม่คัดค้านคำขอเลื่อน ศาลพิเคราะห์เหตุจำเป็นและใบรับรองแพทย์ที่ยื่นแล้ว น่าเชื่อว่า จำเลยที่ 5 มีอาการป่วยจริง จึงเลื่อนนัดฟังคำพิพากษาฎีกาออกไปก่อน โดยนัดฟังคำพิพากษาฎีกาอีกครั้งในวันที่ 26 ธ.ค.นี้ เวลา 10.00 น.
4.“ชัยวัฒน์” กับพวกรอดนอนคุก คดีฆ่าบิลลี่ หลังดีเอสไอยื่นขอถอนประกัน แต่ศาลยกคำร้อง!
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร อดีตผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 9 (อุบลราชธานี) ซึ่งถูกย้ายไปเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปัตตานี หลังตกเป็นผู้ต้องหาคดีร่วมกันฆ่าอำพรางนายพอละจี รักจงเจริญ หรือบิลลี่ เมื่อปี 2557 ได้เข้ารายงานตัวต่อศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลาง ครั้งที่ 1 พร้อมกับพวกรวม 4 คน หลังครบกำหนดฝากขังครั้งแรก 12 วัน
ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ได้ยื่นคำร้องขอถอนประกันและขอให้ศาลฯ เพิ่มเงื่อนไขการปล่อยตัวชั่วคราวนายชัยวัฒน์กับพวก เนื่องจากเห็นว่านายชัยวัฒน์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนโดยอ้างว่า การได้มาซึ่งพยานหลักฐานไม่เป็นความจริงและสร้างพยานหลักฐานเท็จ นอกจากนี้ยังให้สัมภาษณ์ว่าจะไปสาบานตนที่จุดเกิดเหตุ ซึ่งอาจส่งผลให้พยานที่อยู่ในพื้นที่เกิดความสับสน และอาจทำให้พนักงานสอบสวนไม่ได้รับความร่วมมือจากคนในพื้นที่ ถือได้ว่านายชัยวัฒน์เข้าไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน
ด้านนายชัยวัฒน์กับพวกได้ยื่นคัดค้านคำร้องของดีเอสไอต่อศาล โดยอ้างว่า การให้สัมภาษณ์ของตนเป็นเพียงการอธิบายแสดงความเห็นโดยสุจริต อีกทั้งตั้งแต่ผู้ต้องหาทั้งหมดได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว ก็ไม่มีใครเข้าไปในพื้นที่ รวมถึงตำแหน่งหน้าที่ปัจจุบันของผู้ต้องหาทั้งหมดก็ไม่มีอำนาจในการสั่งการดำเนินการใดๆ ในพื้นที่เกิดเหตุ พร้อมกันนี้ นายชัยวัฒน์ยังแถลงให้คำมั่นต่อศาลว่า จะไม่เข้าไปในพื้นที่เกิดเหตุและไม่ให้สัมภาษณ์ต่อสื่อมวลชนเกี่ยวกับรูปคดี
ด้านศาลพิเคราะห์คำร้องพร้อมข้อเท็จจริงแล้วเห็นว่า ยังไม่พบพฤติการณ์ของนายชัยวัฒน์ ผู้ต้องหาที่ 1 จะไปยุ่งเหยิงกับพยานหลักฐาน และชั้นนี้ ยังไม่มีเหตุอันควรที่จะเพิกถอนประกันหรือการกำหนดเงื่อนไขประกันเพิ่มเติม จึงมีคำสั่งให้ยกคำร้องของดีเอสไอ
หลังศาลยกคำร้องดีเอสไอ นายชัยวัฒน์มีสีหน้ายิ้มแย้ม เมื่อผู้สื่อข่าวถามถึงกรณีถูกโยกย้ายไปเป็นผู้อำนวยการสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดปัตตานี นายชัยวัฒน์ตอบว่า อยู่ที่ไหนก็ได้ เป็นข้าราชการต้องทำงานให้ดีที่สุด ขอให้ชาวปัตตานีได้เห็นการทำงานก่อน จะทำงานให้ดีที่สุด และว่า ในฐานะที่เป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้ติดอะไร เพราะจริงๆ แล้ว เป็นข้าราชการ ผู้บริหารสั่งไปไหนก็ต้องไป
อนึ่ง ก่อนหน้านี้ ศาลได้อนุญาตให้นายชัยวัฒน์กับพวกประกันตัว โดยตีราคาประกันคนละ 8 แสนบาท พร้อมกำหนดเงื่อนไขห้ามเดินทางออกนอกประเทศ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากศาล
5.สลด! ลูกฆ่าหั่นศพแม่แช่ตู้เย็น ก่อนยิงตัวเองดับ คาดผลจากป่วยซึมเศร้า ด้านหมอชี้ ซึมเศร้าส่วนใหญ่ไม่ทำร้ายคนอื่น!
เมื่อวันที่ 25 พ.ย. ตำรวจ สน.ท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กทม.ได้รับแจ้งมีเหตุฆ่าคนตาย จึงรุดไปตรวจสอบ ที่เกิดเหตุเป็นบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้น พบผู้เสียชีวิตคือ น.ส.ยุรีย์ เถาวัลย์ อายุ 42 ปี เจ้าของบ้าน ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับไฟแนนซ์รถยนต์ ถูกฆ่าและหั่นศพ โดยพบอวัยวะส่วนต่างๆ ถูกใส่ไว้ในตู้เย็น ขณะที่อวัยวะบางส่วนถูกทิ้งในชักโครกห้องน้ำ ตำรวจจึงนำส่งสถาบันนิติเวช โรงพยาบาลศิริราช เพื่อชันสูตรอย่างละเอียดต่อไป
สำหรับผู้ต้องสงสัยก่อเหตุฆ่าหั่นศพครั้งนี้ คือ นายศิระ สมเดช อายุ 20 ปี บุตรชายของผู้ตาย ปัจจุบันเรียนอยู่คณะวิศวะคอมพิวเตอร์ ชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง ซึ่งนายศิระได้ใช้ปืนขนาด .38 ของตนยิงขมับขวาของตนเอง จนบาดเจ็บสาหัส ก่อนเสียชีวิตที่โรงพยาบาล
ด้าน น.ส.วรนุช วงษ์ชัย อายุ 35 ปี เพื่อนร่วมงานของ น.ส.ยุรีย์ ผู้ตาย ซึ่งเป็นผู้พบศพคนแรก ให้การว่า ได้ร่วมกับ น.ส.ยุรีย์ทำธุรกิจเกี่ยวกับไฟแนนซ์รถยนต์ และว่า คืนก่อนหน้าวันเกิดเหตุ (24 พ.ย.) ประมาณ 20.00 น. ตนพยายามโทรศัพท์หาผู้ตายหลายครั้ง เพื่อคุยเรื่องธุรกิจ แต่ไม่สามารถติดต่อได้ ช่วงบ่ายวันเกิดเหตุ จึงเดินทางมาหาที่บ้าน “ตอนมาถึงบ้านคนตาย หนูก็เรียก นายศิระก็ไม่ยอมเปิดบ้าน พักใหญ่ๆ นายศิระก็มาเปิดและร้องไห้ว่าแม่หาย ใครไม่รู้ลักแม่ไป เลยบอกใจเย็นๆ เปิดประตูให้พี่ก่อน นายศิระก็เปิด พอเปิดปุ๊บก็โวยวาย ร้องไห้ฟูมฟาย ร้องไห้เหมือนคนสติหลุด ไม่ใช่คนเดิม พร้อมบอกว่าเป็นโรคซึมเศร้ารู้มั้ย หนูก็ขึ้นไปบนห้อง หนูก็เห็นกระเป๋า น.ส.ยุรีย์ วางอยู่ เอกสารอะไรอยู่ครบ นายศิระกำโทรศัพท์แนบไว้ หนูว่าไม่ใช่แล้ว แล้วปืนอยู่ที่ขา หนูดูที่นอนก็ไม่ได้เก็บ ปกติ น.ส.ยุรีย์เก็บที่นอน หนูว่าต้องอยู่แถวนี้ น.ส.ยุรีย์เหมือนบอกหนูว่ายังอยู่ หนูมั่นใจว่ามันอยู่ แต่ไม่มีชีวิตแล้ว หนูเลยพยายามลงมาจากห้อง นายศิระผลักหนู หนูก็ออกมาอยู่หน้าบ้าน ยืนอยู่เป็นชั่วโมง จนนายศิระเปลี่ยนชุดนักเรียน เอากุญแจรถแม่จะออก หนูก็สวนเข้ามากับพี่ชาย พี่ชายขึ้นไปหาข้างบน หนูลงข้างล่าง เปิดห้องน้ำ เปิดดูตู้ ไม่มี ช็อตสุดท้าย เปิดตู้เย็น แค่นั้นแหละ พอเจอ หนูกรี๋ดแล้ววิ่งออกมาเลย”
ด้าน พล.ต.ต.โชคชัย งามวงศ์ ผบก.น.9 กล่าวว่า บ้านหลังนี้มีแค่ น.ส.ยุรีย์ กับบุตรชายอยู่กันแค่ 2 คน อยู่มานาน 3 ปีแล้ว เนื่องจากแยกทางกับสามี จากการสอบถามญาติๆ ที่เดินทางมาดูศพ ทราบว่า นายศิระป่วยเป็นโรคซึมเศร้า ต้องรักษาอาการกับแพทย์มาประมาณ 2 ปี ประกอบกับในบ้านที่เกิดเหตุพบยารักษาโรคซึมเศร้า พร้อมด้วยชุดอุปกรณ์มีดทำครัว ซึ่งทำความสะอาดเก็บไว้ในห้องครัวเรียบร้อย หลังจากนี้จะส่งกองพิสูจน์หลักฐานและแพทย์เพื่อตรวจสอบสาเหตุต่อไป
ด้าน นพ.ธรนินทร์ กองสุข ผู้อำนวยการสถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา กล่าวว่า เป็นไปได้น้อยมากที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าจะฆ่าหรือทำร้ายผู้อื่น กรณีที่เกิดขึ้น ต้องตรวจสอบการรักษาย้อนหลัง แต่การทำร้ายผู้อื่น เข้าข่ายเป็นผู้ป่วยทางจิตที่มีอาการหูแว่ว ประสาทหลอน หรือมีภาวะติดสุรา หรือได้รับสารเสพติด ไปกระตุ้นประสาท ทำให้เกิดพฤติกรรมทำร้ายผู้อื่น
ขณะที่ป้าของนายศิระ กล่าวว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ทุกคนเสียใจ ป้าไม่มีสิทธิที่จะติดใจหรือสงสัยอะไร เพราะไม่ได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ และว่า นายศิระ หรือน้องกายอยู่กับพ่อตั้งแต่เกิดจนอายุ 15 ปี ทางแม่ไม่มีความพร้อม จึงฝากป้าให้ช่วยดูแลน้องกาย เมื่อแม่มีความพร้อม ก็มารับน้องไปดูแลเอง เราก็โอเค เพราะเขาอยู่กับแม่แล้วมีความสุข เราก็ให้ไป ที่บ้านก็รักเขาทั้งคู่ “ขณะนี้ไม่สามารถตอบได้ว่า น้องกายเป็นคนทำหรือไม่ทำ แต่สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยหัวใจคือ น้องกายเป็นเด็กดีมาโดยตลอด และเป็นคนที่เคารพบุพการี”
ด้านนางประยงค์ เถาวัลย์ แม่ของ น.ส.ยุรีย์ กล่าวว่า ตนมีลูกคนเดียว ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์อย่างนี้กับครอบครัวตน ยังรู้สึกสะเทือนใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น คิดว่าหลานชายไม่น่าจะเป็นคนก่อเหตุอย่างนี้ได้ ส่วนบทสรุปจะออกมาอย่างไร ขึ้นอยู่กับเจ้าหน้าที่ตำรวจ
เป็นที่น่าสังเกตว่า คดีนี้ ผู้ที่ติดตามข่าว มีความเห็นแตกออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่า นายศิระเป็นคนฆ่าหั่นศพแม่ แต่อีกฝ่ายไม่เชื่อ โดยพยายามจับพิรุธต่างๆ บ้างบอกว่า นายศิระถนัดมือซ้าย ไม่น่าจะใช้มือขวาที่ไม่ถนัดจับปืนยิงขมับขวาของตนเอง บ้างบอกว่า นายศิระรักแม่มาก ไม่น่าจะฆ่าแม่ บ้างบอกว่า น.ส.ยุรีย์ มีความขัดแย้งกับเพื่อนบางคน ฯลฯ