1.ศาล รธน.มีมติ 7 : 2 ให้ “ธนาธร” พ้น ส.ส. เหตุมีพยานหลักฐาน-ข้อพิรุธหลายจุดบ่งชี้ยังถือหุ้นสื่อ-ไม่ได้โอนจริง!
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้วินิจฉัยว่า สมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ จากกรณีถือหุ้นสื่อ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ขณะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เอกสารประกอบ รวมทั้งการไต่สวนพยาน คำแถลงการณ์ปิดคดีของคู่กรณีแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2562 ได้มี พ.ร.ฏ.การเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป 24 ม.ค.2562 มีประกาศ กกต.กำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 24 มี.ค.2562 กำหนดให้พรรคที่จะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อยื่นรายชื่อผู้สมัครต่อผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตั้งแต่ 4-8 ก.พ.2562 พรรค อนค.ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครวันที่ 6 ก.พ.2562 โดยมีรายชื่อนายธนาธร อยู่ในลำดับที่ 1
ต่อมา 8 พ.ค.2562 กกต.ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. มีชื่อนายธนาธรเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค อนค. แต่นายธนาธรถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำนวน 675,000 หุ้น ตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.2558 โดยรับหุ้นจากนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดา ต่อมา 21 มี.ค.2562 บริษัท วี-ลัค มีเดีย ได้แจ้งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปรากฏชื่อนางสมพรเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) บัญญัติลักษณะต้องห้ามของ ส.ส. หากเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชน ต้องห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อไม่ให้เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นอาศัยความได้เปรียบเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง ฯลฯ
กรณีที่นายธนาธร ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่า การไต่สวนและยื่นคำร้องของ กกต.ต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายนั้น ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า มาตรา 82 วรรคสี่ ให้ กกต.มีหน้าที่และอำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณีที่เห็นว่า สมาชิกภาพของ ส.ส.มีเหตุสิ้นสุดลง ซึ่ง กกต.มีมติเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2562 ว่า สมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธรสิ้นสุดลง และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติแล้ว
กรณีที่นายธนาธรโต้แย้งว่า บริษัท วี-ลัค มีเดีย ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชน และได้ปิดกิจการไปแล้วตั้งแต่ 26 พ.ย.2561 ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า บริษัท วี-ลัค มีเดีย ทำธุรกิจสื่อมวลชน ซึ่งหากเจ้าของจะเลิกกิจการ ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน 30 วัน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า บริษัท วี-ลัค ไปจดแจ้งยกเลิกการพิมพ์ก่อนวันที่ 6 ก.พ.2562 ซึ่งเป็นวันที่พรรค อนค.ส่งรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อแต่อย่างใด
กรณีที่นายธนาธรโต้แย้งว่า วันที่สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายธนาธรไม่ได้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย แล้ว เพราะได้โอนหุ้นให้นางสมพร มารดา ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.2562 ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า จากพยานหลักฐานจากการไต่สวนพบว่า แบบสำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งบริษัท วี-ลัค มีเดีย ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในวันที่ 12 ม.ค.2558 และ 21 มี.ค.2562 พบว่า นายธนาธรถือหุ้นบริษัทดังกล่าว 675,000 หุ้น ตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.2558 กระทั่งวันที่ 21 มี.ค.2562 จึงมีการส่งสำเนา บอจ.5 ระบุหุ้นหมายเลขดังกล่าวว่า นางสมพรเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งนายธนาธรแก้ข้อกล่าวหาว่า ได้โอนหุ้นดังกล่าวให้นางสมพรตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.2562 และได้รับเช็คค่าหุ้นจากนางสมพร 6.7 ล้านบาท ต่อมานางสมพรโอนหุ้นให้นายนายทวี จรุงสถิตพงศ์ หลาน เมื่อวันที่ 14 ม.ค.2562 และนายทวีโอนกลับคืนให้นางสมพรในวันที่ 21 มี.ค.2562 โดยไม่มีค่าตอบแทน
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาว่า นายธนาธรได้โอนหุ้นดังกล่าวในวันที่ 8 ม.ค.2562 จริงหรือไม่ ซึ่งจากหลักฐานพบว่า ที่ผ่านมาทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ทางบริษัทจะส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บอจ.5 ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยเร็วทุกครั้ง แต่การโอนหุ้นของนายธนาธรให้นางสมพรในวันที่ 8 ม.ค.2562 กลับไม่ส่งสำเนา บอจ.5 โดยเร็วตามปกติแต่อย่างใด ทั้งที่การส่งสำเนาดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญหากนายธนาธรประสงค์จะเข้าสู่การเมือง เพราะถ้าไม่ได้โอนหุ้นก่อนลงสมัคร ส.ส.ย่อมทำให้มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนประเด็นเช็ค 6,750,000 บาทที่นายธนาธรได้รับเป็นค่าหุ้นจากนางสมพรในวันที่ 8 ม.ค.2562 แต่กลับนำเช็คไปขึ้นเงินในวันที่ 16 พ.ค.2562 นั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตรวจสอบหลักฐานย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ปกติจะมีการนำเช็คไปขึ้นเงินภายใน 42-45 วัน แต่กลับนำเช็คที่ได้รับจากนางสมพรไปขึ้นเงิน โดยใช้เวลานานถึง 128 วัน แม้นางรวิพรรณ ภรรยานายธนาธรจะเบิกความว่า ไม่สะดวกนำเช็คไปขึ้นเงิน เพราะต้องดูแลบุตร แต่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เช็คดังกล่าวระบุชื่อนายธนาธรเป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อม มอบหมายให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนได้ มิใช่เฉพาะนางรวิพรรณเพียงคนเดียว นางรวิพรรณจึงไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปขึ้นเงินด้วยตนเองหรือรอเวลาถึง 4 เดือนเศษ
ส่วนกรณีที่นางสมพรโอนหุ้นให้นายทวี หลาน และต่อมา 21 มี.ค.2562 หลานโอนกลับคืนนางสมพร และไม่มีค่าตอบแทน โดยอ้างว่าเป็นเครือญาติ ศาลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องย้อนแย้งและแตกต่างกับการโอนหุ้นระหว่างนางสมพรกับนายธนาธร ซึ่งเป็นบุตร กลับมีค่าตอบแทน แม้นางสมพรจะอ้างว่า ต้องการให้นายทวีมาช่วยฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ แต่การโอนหุ้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการโอนหุ้นกันจริงหรือไม่
“การที่นายธนาธร ผู้ถูกร้องอ้างว่า โอนหุ้นกันในวันที่ 8 ม.ค.2562 โดยมีพยานบุคคลกลุ่มเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากเอกสารหลักฐานต่างๆ แล้ว เห็นว่า ล้วนเป็นการกล่าวอ้างเพียงให้เจือสมกับที่ปรากฏหลักฐานสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งบริษัท วี-ลัค มีเดีย ได้ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในวันที่ 21 มี.ค.2562 ว่านางสมพรรับโอนหุ้นคืนจากนายทวี“
ส่วนกรณีที่นายธนาธรระบุว่า เดินทางกลับจากการปราศรัยที่ จ.บุรีรัมย์ มายังบ้านพักในกรุงเทพฯ วันที่ 8 ม.ค.2562 เพื่อโอนหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ให้กับนางสมพร ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า แม้จะฟังได้ว่า เดินทางกลับมาจริงในวันดังกล่าว แต่ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า นายธนาธรอยู่ในกรุงเทพฯ ในวันที่ 8 ม.ค.2562 เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า มีการโอนหุ้นกันในวันดังกล่าวจริง
การพิจารณาว่า มีการโอนหุ้นในวันที่ 8 ม.ค.2562 จริงหรือไม่ ต้องพิจารณาจากหลักฐานทั้งปวงแห่งคดี แม้นายธนาธรจะมีพยานหลักฐานมาแสดงว่า โอนหุ้นในวันที่ 8 ม.ค.2562 แก่นางสมพร แม้นายธนาธรจะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานจากข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เมื่อพิจารณาจากข้อพิรุธหลายจุดหลายประการ ประกอบกับพยานหลักฐานพฤติการณ์เหตุแวดล้อมที่สอดรับอย่างแน่นหนาแล้ว ย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่าพยานหลักฐานของนายธนาธร ผู้ถูกร้อง ข้อเท็จจริงที่ได้จากพฤติการณ์แวดล้อมที่เป็นพิรุธน่าสงสัยหลายประการประกอบกัน มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายและพยานหลักฐานของผู้ถูกร้องได้
ดังนั้น ข้อพิรุธที่น่าสงสัยหลายประการดังกล่าว ประกอบกับพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ว่า นายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ประกอบกิจการสื่อมวลชนอยู่ในวันที่ 6 ก.พ.2562 ซึ่งเป็นวันที่พรรค อนค.ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อันเป็นลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ทำให้สมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) โดยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายธนาธรหยุดปฏิบัติหน้าที่ คือ 23 พ.ค.2562 และเมื่อตำแหน่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อว่างลง ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศให้ผู้มีชื่อในลำดับถัดไปของบัญชีพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทน
สำหรับผู้ที่ได้ขึ้นมาเป็น ส.ส.แทนนายธนาธร ก็คือ นายมานพ คีรีภูวดล ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค อนค.ลำดับที่ 51 ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์
2.“ธนาธร” อ้างศาล รธน.ใช้ข้อสันนิษฐานตัดสินคดี ด้าน “กกต.” เตรียมฟันดาบสอง รู้อยู่แล้วขาดคุณสมบัติยังลงสมัคร ส.ส.!
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) พ้นสมาชิกภาพ ส.ส.เนื่องจากมีพยานหลักฐานและข้อพิรุธหลายจุดที่บ่งชี้ว่า นายธนาธรยังถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย อยู่ ณ วันที่ 6 ก.พ.2562 ซึ่งเป็นวันลงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค อนค.
ปรากฏว่า นายธนาธร ซึ่งก่อนหน้านี้เคยพูดเหมือนต่อรองศาลรัฐธรรมนูญระหว่างศาลฯ ไต่สวนเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ว่า "...หากศาลตัดสินเป็นคุณกับผม ผมจะออกไปทำเรื่องบลายด์ทรัสต์ทันที เพราะต้องการใช้มาตรฐานนักการเมืองตะวันตกในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน..." แต่พอศาลรัฐธรรมนูญตัดสินไม่เป็นคุณกับตนเอง นายธนาธรจึงออกอาการไม่พอใจคำวินิจฉัยของศาลฯ พร้อมกล่าวหาโจมตีศาลฯ ว่า “เรื่องคุณสมพร(มารดา)โอนหุ้นให้คุณทวี(หลาน) หรือการโอนหุ้นกลับไปกลับมานั้น ข้อเท็จจริงนี้ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับความสมบูรณ์ของการโอนหุ้นวันที่ 8 ม.ค. ดังนั้น ข้อสันนิษฐานที่ศาลยกขึ้นมา กรณีคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ของผม ทั้งหมดตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐาน ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ศาลให้น้ำหนักกับข้อสันนิษฐานมากกว่าข้อเท็จจริง เพราะยังมีข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานอีกหลายข้อ”
ไม่เท่านั้น นายธนาธรยังอ้างอีกว่า ไม่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใดเป็นนักธุรกิจเลย ฉะนั้นศาลอย่าใช้มาตรฐานศาลมาตัดสินเรื่องการลงทุนของนางสมพร มารดาของตน นอกจากนี้นายธนาธรยังอ้างต่อว่า การอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่มีการบอกมติขององค์คณะตุลาการ ต่างจากการวินิจฉัยคดีอื่น ซึ่งคำกล่าวของนายธนาธรไม่จริงแต่อย่างใด เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ให้นายธนาธรพ้นสภาพ ส.ส.
ทั้งนี้ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า คำกล่าวหาโจมตีศาลรัฐธรรมนูญของนายธนาธรจะเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาลฯ หรือไม่
นายธนาธรยังย้ำด้วยว่า แม้จะพ้นจากการเป็น ส.ส.แต่ตนยังเป็นหัวหน้าพรรค อนค.และยังสามารถกลับมาเป็น ส.ส.ได้ ที่สำคัญ ยังอยู่ในรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ยืนยันจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญและขับเคลื่อน พ.ร.บ.การรับราชการทหาร ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร
ด้านสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกเอกสารเมื่อวันที่ 21 พ.ย.กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายธนาธรพ้นสภาพ ส.ส.จากการถือหุ้นสื่อว่า สำนักงาน กกต.จะเสนอให้ กกต.พิจารณาขั้นตอนและอำนาจการดำเนินการ รวมถึงการแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 151 ในการประชุม กกต.ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า
สำหรับมาตรา 151 ดังกล่าว บัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทำหนังสือยินยอม ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี...”
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 พ.ย. กกต.ได้ประชุมพิจารณาสำนวนการสืบสวนกรณีมีผู้กล่าวหาว่านายธนาธรให้พรรค อนค.กู้ยืมเงิน ถือว่าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 66 หรือไม่ ที่ห้ามบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองเกินกว่า 10 ล้านบาทต่อพรรคการเมืองต่อปี โดยคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนของ กกต.และคณะอนุกรรมการวินิจฉัยคำร้องและปัญหาหรือข้อโต้แย้ง ได้ดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดทุกประการแล้ว มติของ กกต.พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การพิจารณาเรื่องดังกล่าว ปรากฏข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ ชัดเจน และเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้พรรค อนค.ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่อไป
ทั้งนี้ ช่วงที่นายธนาธรแจ้งทรัพย์สินของตนรวมคู่สมรสต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายธนาธรระบุว่า มีทรัพย์สิน 5,632,536,266 บาท มีหนี้สิน 683,303 บาท พร้อมระบุด้วยว่า ในจำนวนทรัพย์สินดังกล่าว เป็นเงินที่ได้ปล่อยกู้ให้พรรค อนค.รวมกว่า 191 ล้านบาท
ด้านนายธนาธรได้เดินทางไปยังสำนักงาน กกต.เมื่อวันที่ 21 พ.ย. พร้อมเผยว่า ได้รับเอกสารแจ้งจาก กกต.ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมกรณีให้พรรคกู้เงินแล้ว แต่ได้ตอบกลับทาง กกต.ด้วยวาจาว่า ทางพรรคงานเยอะมาก ทำให้ไม่ทัน จึงจะขอขยายเวลาในการส่งเอกสารออกไป ยืนยันไม่กังวล และมองไม่ออกว่าจะขัดกฎหมายหรือขัดรัฐธรรมนูญอย่างไร
3.ศาลฎีกานักการเมืองชั้นอุทธรณ์ พิพากษายืนยกฟ้อง “ทักษิณ” คดีแทรกแซงฟื้นฟู “ทีพีไอ”!
เมื่อวันที่ 22พ.ย. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยองค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ 9 คน ได้อ่านคำพิพากษาชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์คดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โจทก์ ยื่นอุทธรณ์คดีที่ศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2561 ด้วยคะแนนเสียงข้างมากยกฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อายุ 70 ปี อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีกล่าวหานายทักษิณ เมื่อปี 2546 ขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้นำเสนอให้กระทรวงการคลัง สมัยที่ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ และจำเลยร่วมกับ ร.อ.สุชาติ ยินยอมให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผน และเป็นผู้เสนอชื่อ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธานคณะผู้บริหารแผน และนายทนง พิทยะ เป็นผู้บริหารแผน
ทั้งนี้ องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ พิจารณาประเด็นที่ ป.ป.ช.โจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วเห็นว่า แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงให้อำนาจกระทรวงการคลังเข้าเป็นผู้บริหารแผนของ ทีพีไอ ลูกหนี้ก็ตาม แต่กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่หลักในการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมถึงการพยุงสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไม่ให้เกิดความเสียหายมากจนยากแก่การแก้ไข
การเข้าไปเป็นผู้บริหารแผนของ ทีพีไอ ซึ่งประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หากทีพีไอไม่สามารถฟื้นฟูได้และตกเป็นผู้ล้มละลาย กิจการเหล่านั้นอาจหยุดชะงัก ประเทศชาติและประชาชนย่อมได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ พฤติการณ์ย่อมมีความจำเป็นอย่างยิ่งและเร่งด่วนที่กระทรวงการคลังจะต้องดำเนินการเมื่อได้รับการร้องขอให้ช่วยเหลือ กระทรวงการคลังจึงเข้าไปเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอได้
ส่วนที่ ป.ป.ช.โจทก์ อุทธรณ์ว่า นายทักษิณ จำเลยเป็นผู้ริเริ่มผลักดันสั่งการและเป็นตัวการร่วม รวมถึงไม่ทักท้วงการพิจารณาของ ครม.เพื่อเปลี่ยนจากวาระเพื่อทราบ เป็นวาระเพื่อพิจารณา มีผลให้กระทรวงการคลังเข้าเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอโดยมีเจตนาครอบงำกิจการของทีพีไอ กับเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องนั้น ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า จำเลยเชิญตัวแทนของเจ้าหนี้และผู้บริหารของทีพีไอเข้าหารือที่บ้านพิษณุโลกเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอและการตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่เท่านั้น แต่ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ได้เลือกกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนตามข้อเสนอของจำเลย หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องกับเหตุในคดีนี้
อีกทั้งต่อมา ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่ตั้งบริษัท บริหารแผนไทย จำกัด เป็นผู้บริหารแผน ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ โดยเห็นควรขอให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนหากกระทรวงการคลังยินยอม ซึ่งในท้ายที่สุด ที่ประชุมเจ้าหนี้และทุกฝ่ายยินยอมให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผน และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งตั้งกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนข้ออ้างเกี่ยวกับการครอบงำกิจการของทีพีไอ โดยอ้างคำกล่าว “นายอยากได้” คำว่า "นาย" หมายถึงจำเลย ผู้ที่พูดข้อความคือ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ ไม่ใช่จำเลย จึงเป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย ส่วนที่จำเลยเสนอชื่อคณะผู้บริหารแผนของทีพีไอ เป็นเพียงการเสนอความเห็นเบื้องต้นแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในเรื่องที่นำมาปรึกษาเท่านั้น และจะได้รับการแต่งตั้งหรือไม่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายอีกชั้นหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่า นายทักษิณ จำเลย เข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ หรือการบริหารกิจการ หรือเข้าไปรับโอนถือครองหุ้นของทีพีไอ จึงรับฟังไม่ได้ว่า การเสนอชื่อคณะผู้บริหารแผนของจำเลย เป็นการเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง
สำหรับข้ออ้างที่ว่า การขายหุ้นเพิ่มทุนของทีพีไอให้แก่หน่วยงานในกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้กระทรวงการคลังคืนเงินค่าจ้างบริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัด ที่บริหารจัดการกิจการทรัพย์สินของทีพีไอ ให้แก่ทีพีไอ ทำให้ทีพีไอและกระทรวงการคลังได้รับความเสียหายนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งตั้งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอแล้ว หากทีพีไอหรือกระทรวงการคลังได้รับความเสียหายอย่างไร ทีพีไอหรือกระทรวงการคลังก็อาจไปว่ากล่าวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป เมื่อไม่ปรากฏในทางไต่สวนว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้อง หรือรู้เห็นหรือมีพฤติการณ์ที่บ่งชี้ได้ว่า จำเลยมีเจตนาพิเศษประสงค์ต่อผล เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ตามฟ้อง ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของ ป.ป.ช.โจทก์ ทุกข้อฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
4.“หมอวรงค์” ทิ้งพรรค ปชป.ซบพรรค รปช.หลัง “สุเทพ” ทาบทาม ตั้งเป้าปราบลัทธิชังชาติ!
เมื่อวันที่ 21 พ.ย. นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เผยว่า ตนได้ตัดสินใจลาออกจากพรรค ปชป. แล้วเมื่อ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยอยู่บนพื้นฐานที่เข้าใจกัน ยังรักและเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน และยังถือว่าเราเป็นพวกเดียวกัน ที่อาจต้องพึ่งพากันเพื่อประเทศชาติ และว่า ได้ลาผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือด้วยตามวัฒนธรรมไปลามาไหว้ของคนไทย ซึ่งตนตั้งใจจะแถลงข่าว เหตุผลและเส้นทางต่อไปในอนาควันที่ 23 พ.ย.
ล่าสุด วันนี้ (23 พ.ย.) พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ได้จัดงานต้อนรับ นพ.วรงค์ ที่มาสมัครเป็นสมาชิกพรรค รปช. หลังจากลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ปชป. โดยมี ม.ร.ว.จัตุมงคล โศณกุล หัวหน้าพรรค รปช. รวมทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำพรรค และนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เลขาธิการพรรค ให้การต้อนรับ โดย นพ.วรงค์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค รปช. แบบตลอดชีพ โดยจ่ายค่าสมัคร 3,650 บาท
หลังจากนั้น นายสุเทพได้กล่าวแนะนำ นพ.วรงค์ พร้อมระบุว่า พรรค รปช.มีความจำเป็นต้องหาบุคคลมาช่วยงานในพรรค ทันทีที่ทราบข่าวว่า นพ.วรงค์จะลาออกจากพรรค ปชป. จึงได้ทาบทามมาเข้าพรรค
ด้าน นพ.วรงค์ กล่าวถึงสาเหตุที่ลาออกจากพรรค ปชป.ว่า การเมืองปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมากแล้ว สมัยก่อนเราสู้กับระบอบทักษิณ สู้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โครงการจำนำข้าว เป็นการต่อสู้กันระหว่างพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ แต่ปัจจุบันมีการปลูกฝังความคิดที่เป็นอันตรายให้กับคนรุ่นใหม่ ที่ขอเรียกว่าลัทธิชังชาติ ตนเห็นปัญหานี้ และทนอยู่ไม่ได้ ตนเคยไปพบกับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพูดคุยเรื่องนี้ และบอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ทำงานได้ดีมากแล้ว แต่ปัญหาของประเทศมันหลากหลายมาก สไตล์การทำงานของตนไม่เหมาะกับการทำงานแบบนี้ ตนเหมาะกับการออกไปสู้ ไปปราบลัทธิชังชาติ พอดีกับกรรมการบริหาร รปช.มีมติให้ชวนตนมาร่วม และเห็นว่า ถ้าตนมาอยู่ น่าจะช่วยได้มากในการปราบลัทธิชังชาติ รวมทั้งนายสุเทพก็เป็นนักสู้ ประเทศมีปัญหาเมื่อไหร่ นายสุเทพไม่อยู่เฉยๆ แน่ ตนจึงเห็นว่าพรรคนี้จะเหมาะกับตนมากที่สุด
นพ.รวงค์ ยืนยันด้วยว่า การมาอยู่พรรค รปช.ไม่มีการต่อรองเรื่องตำแหน่งแต่อย่างใด และไม่มีความขัดแย้งกับพรรคประชาธิปัตย์
5.โป๊ปฟรานซิส เสด็จเยือนไทยในรอบ 35 ปี เข้าเฝ้า “ในหลวง-พระราชินี-พระสังฆราช” ประกอบพิธีมิสซายิ่งใหญ่-ปชช.แน่นสนามศุภฯ!
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. สมเด็จพระสันตะปาปาฟราสซิส ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ได้เสด็จเยือนประเทศไทยโดยเครื่องบินพระที่นั่ง ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ รักษาการประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในการรับเสด็จ ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 โดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนกองทัพอากาศเข้าเฝ้า
จากนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้เสด็จไปยังสถานเอกอัครสมณทูตนครรัฐวาติกันประจำประเทศไทย เพื่อทรงประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ (พิธีมิสซา) เป็นการส่วนพระองค์ ทั้งนี้ ก่อนหน้าจะเสด็จเยือนประเทศไทย สมเด็จพระสันตะปาปาฟราสซิสทรงมีพระดำรัสเกี่ยวกับการเสด็จเยือนประเทศไทยว่า “ทรงมีความยินดีที่ได้เสด็จมาเยือนประเทศไทย ซึ่งเป็นดินแดนที่ผสานรวมกันของหลายเชื้อชาติ หลายวัฒนธรรม ทั้งยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีอันน่าชื่นชม ทั้งประเทศไทยยังได้ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ... ทรงหวังว่าการเสด็จมาของพระองค์ในครั้งนี้ จะทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการเสวนาเพื่อศาสนสัมพันธ์ด้วยความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งการร่วมมือทำงานกันฉันพี่น้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทำงานบริการเพื่อคนยากจน...”
วันต่อมา 21 พ.ย. ช่วงเช้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ทูตานุทูต ได้เฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสที่ทำเนียบรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถวายการต้อนรับตอนหนึ่งว่า “...รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสถวายการต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปา ในโอกาสเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในปีนี้ตรงกับวาระครบรอบ 350 ปี การจัดตั้งคณะมิสซังคาทอลิกแห่งสยาม และเป็นวาระครบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับนครรัฐวาติกัน... เชื่อมั่นว่าการเสด็จเยือนไทยครั้งนี้ของสมเด็จพระสันตะปาปา ยังความปลาบปลื้มปีติแก่คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยที่มีจำนวนมากกว่า 380,000 คน...”
ทั้งนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาประทานพระดำรัสยินดีที่ได้มาเยือนประเทศไทย ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และเป็นประเทศที่ยังคงรักษามรดกทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรม ...ทรงขอบคุณนายกรัฐมนตรีไทยที่ให้การต้อนรับ ...พร้อมขออำนวยพรไปยังปวงชนชาวไทยทุกคน และขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยได้ผ่านการเลือกตั้ง อันเป็นก้าวสำคัญในการกลับมาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย...
ต่อมา เวลา 10.00 น. สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จไปยังวัดราชบพิธ เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โอกาสนี้ สมเด็จพระสังฆราชมีพระดำรัสตอนหนึ่งว่า “...การเสด็จมาครั้งนี้ของมหาบพิตร ไม่ใช่การมาของมิตรใหม่ หากแต่เป็นการมาเยือนของมิตรแท้อันเก่าแก่ของคนไทย ระยะทางที่ห่างไกลกัน หาใช่อุปสรรคของความสนิทสนมกลมเกลียวกัน...”
วันเดียวกัน (21 พ.ย.) เวลาประมาณ 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงแลกเปลี่ยนของขวัญและฉายพระรูปร่วมกัน ทรงมีพระราชปฏิสันถารตามพระราชอัธยาศัย สมควรแก่เวลา สมเด็จพระสันตะปาปาทูลลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงส่งเสด็จพระสันตะปาปา ณ รถยนต์พระที่นั่ง
หลังจากนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้เสด็จไปยังสนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อเสด็จถึง ทรงเปลี่ยนรถพระที่นั่ง และทรงทักทายผู้เข้าร่วมพิธีตั้งแต่บริเวณสนามฟุตบอลเทพหัสดิน ไปจนถึงในสนามศุภชลาศัย โดยตลอดสองข้างทาง คริสต์ศาสนิกชนที่มาเฝ้ารับเสด็จประมาณ 70,000 คน ต่างส่งเสียง VIVA IL PAPA เพื่อสรรเสริญสมเด็จพระสันตะปาปาดังกึกก้อง พร้อมโบกธงชาติไทยและธงวาติกัน โดยสมเด็จพระสันตะปาปาทรงโบกพระหัตถ์ แย้มพระสรวล และทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปสัมผัสมือผู้ที่มาเฝ้ารับเสด็จ ทำให้คริสต์ศาสนิกชนบางคนถึงกับกลั้นน้ำตาห่งความปลื้มปีติไว้ไม่อยู่ จากนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาได้เริ่มพิธีมิสซา และทรงเทศน์ภาษาสเปน โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
ล่าสุด วันนี้ (23 พ.ย.) เวลา 09.30 น. รัฐบาลไทยได้จัดพิธีส่งเสด็จสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 ดอนเมือง เพื่อเสด็จต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยเครื่องบินของการบินไทย
อนึ่ง การเสด็จเยือนไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสครั้งนี้ นับเป็นการเยือนในรอบ 35 ปี จากที่ก่อนหน้านี้ สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอลที่ 2 เคยเสด็จเยือนไทย เมื่อปี 2527
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยกรณีที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญขอให้วินิจฉัยว่า สมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อ และหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98 (3) หรือไม่ จากกรณีถือหุ้นสื่อ บริษัท วี-ลัค มีเดีย จำกัด ขณะลงสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาคำร้องและคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา เอกสารประกอบ รวมทั้งการไต่สวนพยาน คำแถลงการณ์ปิดคดีของคู่กรณีแล้ว ข้อเท็จจริงเบื้องต้นฟังได้ว่า เมื่อวันที่ 23 ม.ค.2562 ได้มี พ.ร.ฏ.การเลือกตั้ง ส.ส.เป็นการทั่วไป 24 ม.ค.2562 มีประกาศ กกต.กำหนดวันเลือกตั้ง ส.ส.ในวันที่ 24 มี.ค.2562 กำหนดให้พรรคที่จะส่งผู้สมัครลงรับเลือกตั้ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อยื่นรายชื่อผู้สมัครต่อผู้อำนวยการเลือกตั้งประจำเขตเลือกตั้งตั้งแต่ 4-8 ก.พ.2562 พรรค อนค.ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัครวันที่ 6 ก.พ.2562 โดยมีรายชื่อนายธนาธร อยู่ในลำดับที่ 1
ต่อมา 8 พ.ค.2562 กกต.ประกาศผลการเลือกตั้ง ส.ส. มีชื่อนายธนาธรเป็น ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค อนค. แต่นายธนาธรถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย จำนวน 675,000 หุ้น ตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.2558 โดยรับหุ้นจากนางสมพร จึงรุ่งเรืองกิจ มารดา ต่อมา 21 มี.ค.2562 บริษัท วี-ลัค มีเดีย ได้แจ้งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ปรากฏชื่อนางสมพรเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) บัญญัติลักษณะต้องห้ามของ ส.ส. หากเป็นเจ้าของหรือถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชน ต้องห้ามใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. เพื่อไม่ให้เจ้าของหรือผู้ถือหุ้นอาศัยความได้เปรียบเพื่อประโยชน์ในทางการเมือง ฯลฯ
กรณีที่นายธนาธร ผู้ถูกร้องโต้แย้งว่า การไต่สวนและยื่นคำร้องของ กกต.ต่อศาลรัฐธรรมนูญไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายนั้น ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า มาตรา 82 วรรคสี่ ให้ กกต.มีหน้าที่และอำนาจในการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญกรณีที่เห็นว่า สมาชิกภาพของ ส.ส.มีเหตุสิ้นสุดลง ซึ่ง กกต.มีมติเมื่อวันที่ 14 พ.ค.2562 ว่า สมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธรสิ้นสุดลง และยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญถูกต้องตามหลักเกณฑ์ที่รัฐธรรมนูญบัญญัติแล้ว
กรณีที่นายธนาธรโต้แย้งว่า บริษัท วี-ลัค มีเดีย ไม่ได้ประกอบกิจการสื่อมวลชน และได้ปิดกิจการไปแล้วตั้งแต่ 26 พ.ย.2561 ศาลรัฐธรรมนูญชี้ว่า บริษัท วี-ลัค มีเดีย ทำธุรกิจสื่อมวลชน ซึ่งหากเจ้าของจะเลิกกิจการ ต้องแจ้งต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ทราบภายใน 30 วัน แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่า บริษัท วี-ลัค ไปจดแจ้งยกเลิกการพิมพ์ก่อนวันที่ 6 ก.พ.2562 ซึ่งเป็นวันที่พรรค อนค.ส่งรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อแต่อย่างใด
กรณีที่นายธนาธรโต้แย้งว่า วันที่สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ นายธนาธรไม่ได้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย แล้ว เพราะได้โอนหุ้นให้นางสมพร มารดา ตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.2562 ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า จากพยานหลักฐานจากการไต่สวนพบว่า แบบสำเนารายชื่อผู้ถือหุ้น (บอจ.5) ซึ่งบริษัท วี-ลัค มีเดีย ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในวันที่ 12 ม.ค.2558 และ 21 มี.ค.2562 พบว่า นายธนาธรถือหุ้นบริษัทดังกล่าว 675,000 หุ้น ตั้งแต่วันที่ 12 ม.ค.2558 กระทั่งวันที่ 21 มี.ค.2562 จึงมีการส่งสำเนา บอจ.5 ระบุหุ้นหมายเลขดังกล่าวว่า นางสมพรเป็นผู้ถือหุ้น ซึ่งนายธนาธรแก้ข้อกล่าวหาว่า ได้โอนหุ้นดังกล่าวให้นางสมพรตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค.2562 และได้รับเช็คค่าหุ้นจากนางสมพร 6.7 ล้านบาท ต่อมานางสมพรโอนหุ้นให้นายนายทวี จรุงสถิตพงศ์ หลาน เมื่อวันที่ 14 ม.ค.2562 และนายทวีโอนกลับคืนให้นางสมพรในวันที่ 21 มี.ค.2562 โดยไม่มีค่าตอบแทน
ทั้งนี้ ศาลรัฐธรรมนูญต้องพิจารณาว่า นายธนาธรได้โอนหุ้นดังกล่าวในวันที่ 8 ม.ค.2562 จริงหรือไม่ ซึ่งจากหลักฐานพบว่า ที่ผ่านมาทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงรายชื่อผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ทางบริษัทจะส่งสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น บอจ.5 ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้าโดยเร็วทุกครั้ง แต่การโอนหุ้นของนายธนาธรให้นางสมพรในวันที่ 8 ม.ค.2562 กลับไม่ส่งสำเนา บอจ.5 โดยเร็วตามปกติแต่อย่างใด ทั้งที่การส่งสำเนาดังกล่าวจะเป็นหลักฐานสำคัญหากนายธนาธรประสงค์จะเข้าสู่การเมือง เพราะถ้าไม่ได้โอนหุ้นก่อนลงสมัคร ส.ส.ย่อมทำให้มีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ
ส่วนประเด็นเช็ค 6,750,000 บาทที่นายธนาธรได้รับเป็นค่าหุ้นจากนางสมพรในวันที่ 8 ม.ค.2562 แต่กลับนำเช็คไปขึ้นเงินในวันที่ 16 พ.ค.2562 นั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตรวจสอบหลักฐานย้อนหลัง 3 ปี พบว่า ปกติจะมีการนำเช็คไปขึ้นเงินภายใน 42-45 วัน แต่กลับนำเช็คที่ได้รับจากนางสมพรไปขึ้นเงิน โดยใช้เวลานานถึง 128 วัน แม้นางรวิพรรณ ภรรยานายธนาธรจะเบิกความว่า ไม่สะดวกนำเช็คไปขึ้นเงิน เพราะต้องดูแลบุตร แต่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า เช็คดังกล่าวระบุชื่อนายธนาธรเป็นผู้รับเงิน และขีดคร่อม มอบหมายให้บุคคลอื่นไปดำเนินการแทนได้ มิใช่เฉพาะนางรวิพรรณเพียงคนเดียว นางรวิพรรณจึงไม่จำเป็นต้องนำเช็คไปขึ้นเงินด้วยตนเองหรือรอเวลาถึง 4 เดือนเศษ
ส่วนกรณีที่นางสมพรโอนหุ้นให้นายทวี หลาน และต่อมา 21 มี.ค.2562 หลานโอนกลับคืนนางสมพร และไม่มีค่าตอบแทน โดยอ้างว่าเป็นเครือญาติ ศาลฯ พิจารณาแล้วเห็นว่า เป็นเรื่องย้อนแย้งและแตกต่างกับการโอนหุ้นระหว่างนางสมพรกับนายธนาธร ซึ่งเป็นบุตร กลับมีค่าตอบแทน แม้นางสมพรจะอ้างว่า ต้องการให้นายทวีมาช่วยฟื้นฟูกิจการบริษัทฯ แต่การโอนหุ้นโดยไม่มีค่าตอบแทน ทำให้ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่ามีการโอนหุ้นกันจริงหรือไม่
“การที่นายธนาธร ผู้ถูกร้องอ้างว่า โอนหุ้นกันในวันที่ 8 ม.ค.2562 โดยมีพยานบุคคลกลุ่มเดียวกัน เมื่อพิจารณาจากเอกสารหลักฐานต่างๆ แล้ว เห็นว่า ล้วนเป็นการกล่าวอ้างเพียงให้เจือสมกับที่ปรากฏหลักฐานสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นซึ่งบริษัท วี-ลัค มีเดีย ได้ยื่นต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในวันที่ 21 มี.ค.2562 ว่านางสมพรรับโอนหุ้นคืนจากนายทวี“
ส่วนกรณีที่นายธนาธรระบุว่า เดินทางกลับจากการปราศรัยที่ จ.บุรีรัมย์ มายังบ้านพักในกรุงเทพฯ วันที่ 8 ม.ค.2562 เพื่อโอนหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ให้กับนางสมพร ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่า แม้จะฟังได้ว่า เดินทางกลับมาจริงในวันดังกล่าว แต่ข้อเท็จจริงฟังได้เพียงว่า นายธนาธรอยู่ในกรุงเทพฯ ในวันที่ 8 ม.ค.2562 เท่านั้น ไม่ได้หมายความว่า มีการโอนหุ้นกันในวันดังกล่าวจริง
การพิจารณาว่า มีการโอนหุ้นในวันที่ 8 ม.ค.2562 จริงหรือไม่ ต้องพิจารณาจากหลักฐานทั้งปวงแห่งคดี แม้นายธนาธรจะมีพยานหลักฐานมาแสดงว่า โอนหุ้นในวันที่ 8 ม.ค.2562 แก่นางสมพร แม้นายธนาธรจะได้ประโยชน์จากข้อสันนิษฐานจากข้อกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ แต่เมื่อพิจารณาจากข้อพิรุธหลายจุดหลายประการ ประกอบกับพยานหลักฐานพฤติการณ์เหตุแวดล้อมที่สอดรับอย่างแน่นหนาแล้ว ย่อมมีความน่าเชื่อถือมากกว่าพยานหลักฐานของนายธนาธร ผู้ถูกร้อง ข้อเท็จจริงที่ได้จากพฤติการณ์แวดล้อมที่เป็นพิรุธน่าสงสัยหลายประการประกอบกัน มีน้ำหนักหักล้างข้อสันนิษฐานของกฎหมายและพยานหลักฐานของผู้ถูกร้องได้
ดังนั้น ข้อพิรุธที่น่าสงสัยหลายประการดังกล่าว ประกอบกับพฤติการณ์ทั้งปวงแห่งคดี ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ว่า นายธนาธรเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย ประกอบกิจการสื่อมวลชนอยู่ในวันที่ 6 ก.พ.2562 ซึ่งเป็นวันที่พรรค อนค.ยื่นบัญชีรายชื่อผู้สมัคร ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ อันเป็นลักษณะต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) ทำให้สมาชิกภาพ ส.ส.ของนายธนาธรสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) โดยสิ้นสุดลงตั้งแต่วันที่ศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้นายธนาธรหยุดปฏิบัติหน้าที่ คือ 23 พ.ค.2562 และเมื่อตำแหน่ง ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อว่างลง ให้ประธานสภาผู้แทนราษฎรประกาศให้ผู้มีชื่อในลำดับถัดไปของบัญชีพรรคการเมืองเลื่อนขึ้นมาเป็น ส.ส.แทน
สำหรับผู้ที่ได้ขึ้นมาเป็น ส.ส.แทนนายธนาธร ก็คือ นายมานพ คีรีภูวดล ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค อนค.ลำดับที่ 51 ซึ่งเป็นกลุ่มชาติพันธุ์
2.“ธนาธร” อ้างศาล รธน.ใช้ข้อสันนิษฐานตัดสินคดี ด้าน “กกต.” เตรียมฟันดาบสอง รู้อยู่แล้วขาดคุณสมบัติยังลงสมัคร ส.ส.!
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่า นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ส.ส.บัญชีรายชื่อและหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ (อนค.) พ้นสมาชิกภาพ ส.ส.เนื่องจากมีพยานหลักฐานและข้อพิรุธหลายจุดที่บ่งชี้ว่า นายธนาธรยังถือหุ้นบริษัท วี-ลัค มีเดีย อยู่ ณ วันที่ 6 ก.พ.2562 ซึ่งเป็นวันลงสมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรค อนค.
ปรากฏว่า นายธนาธร ซึ่งก่อนหน้านี้เคยพูดเหมือนต่อรองศาลรัฐธรรมนูญระหว่างศาลฯ ไต่สวนเมื่อวันที่ 18 ต.ค.ว่า "...หากศาลตัดสินเป็นคุณกับผม ผมจะออกไปทำเรื่องบลายด์ทรัสต์ทันที เพราะต้องการใช้มาตรฐานนักการเมืองตะวันตกในการจัดการผลประโยชน์ทับซ้อน..." แต่พอศาลรัฐธรรมนูญตัดสินไม่เป็นคุณกับตนเอง นายธนาธรจึงออกอาการไม่พอใจคำวินิจฉัยของศาลฯ พร้อมกล่าวหาโจมตีศาลฯ ว่า “เรื่องคุณสมพร(มารดา)โอนหุ้นให้คุณทวี(หลาน) หรือการโอนหุ้นกลับไปกลับมานั้น ข้อเท็จจริงนี้ไม่เกี่ยวข้องอะไรกับความสมบูรณ์ของการโอนหุ้นวันที่ 8 ม.ค. ดังนั้น ข้อสันนิษฐานที่ศาลยกขึ้นมา กรณีคุณสมบัติการเป็น ส.ส.ของผม ทั้งหมดตั้งอยู่บนข้อสันนิษฐาน ไม่ใช่ข้อเท็จจริง ศาลให้น้ำหนักกับข้อสันนิษฐานมากกว่าข้อเท็จจริง เพราะยังมีข้อเท็จจริงซึ่งปรากฏเป็นหลักฐานอีกหลายข้อ”
ไม่เท่านั้น นายธนาธรยังอ้างอีกว่า ไม่มีตุลาการศาลรัฐธรรมนูญคนใดเป็นนักธุรกิจเลย ฉะนั้นศาลอย่าใช้มาตรฐานศาลมาตัดสินเรื่องการลงทุนของนางสมพร มารดาของตน นอกจากนี้นายธนาธรยังอ้างต่อว่า การอ่านคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญครั้งนี้ ไม่มีการบอกมติขององค์คณะตุลาการ ต่างจากการวินิจฉัยคดีอื่น ซึ่งคำกล่าวของนายธนาธรไม่จริงแต่อย่างใด เพราะศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก 7 ต่อ 2 ให้นายธนาธรพ้นสภาพ ส.ส.
ทั้งนี้ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า คำกล่าวหาโจมตีศาลรัฐธรรมนูญของนายธนาธรจะเข้าข่ายละเมิดอำนาจศาลฯ หรือไม่
นายธนาธรยังย้ำด้วยว่า แม้จะพ้นจากการเป็น ส.ส.แต่ตนยังเป็นหัวหน้าพรรค อนค.และยังสามารถกลับมาเป็น ส.ส.ได้ ที่สำคัญ ยังอยู่ในรายชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ยืนยันจะเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญและขับเคลื่อน พ.ร.บ.การรับราชการทหาร ยกเลิกการเกณฑ์ทหาร
ด้านสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้ออกเอกสารเมื่อวันที่ 21 พ.ย.กรณีศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่านายธนาธรพ้นสภาพ ส.ส.จากการถือหุ้นสื่อว่า สำนักงาน กกต.จะเสนอให้ กกต.พิจารณาขั้นตอนและอำนาจการดำเนินการ รวมถึงการแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.มาตรา 151 ในการประชุม กกต.ที่จะมีขึ้นในสัปดาห์หน้า
สำหรับมาตรา 151 ดังกล่าว บัญญัติว่า “ผู้ใดรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง เนื่องจากขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ได้สมัครรับเลือกตั้งหรือทำหนังสือยินยอม ให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1-10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000-100,000 บาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนด 20 ปี...”
ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 19 พ.ย. กกต.ได้ประชุมพิจารณาสำนวนการสืบสวนกรณีมีผู้กล่าวหาว่านายธนาธรให้พรรค อนค.กู้ยืมเงิน ถือว่าฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมือง มาตรา 66 หรือไม่ ที่ห้ามบริจาคเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์อื่นใดให้แก่พรรคการเมืองเกินกว่า 10 ล้านบาทต่อพรรคการเมืองต่อปี โดยคณะกรรมการสืบสวนและไต่สวนของ กกต.และคณะอนุกรรมการวินิจฉัยคำร้องและปัญหาหรือข้อโต้แย้ง ได้ดำเนินการตามกระบวนการและขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดทุกประการแล้ว มติของ กกต.พิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การพิจารณาเรื่องดังกล่าว ปรากฏข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายถูกต้อง ครบถ้วนสมบูรณ์ ชัดเจน และเกิดความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย จึงมีมติเป็นเอกฉันท์ให้พรรค อนค.ส่งเอกสารหรือหลักฐานที่เกี่ยวข้องมาประกอบการพิจารณาเพิ่มเติม อันจะเป็นประโยชน์ต่อผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายต่อไป
ทั้งนี้ ช่วงที่นายธนาธรแจ้งทรัพย์สินของตนรวมคู่สมรสต่อคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) นายธนาธรระบุว่า มีทรัพย์สิน 5,632,536,266 บาท มีหนี้สิน 683,303 บาท พร้อมระบุด้วยว่า ในจำนวนทรัพย์สินดังกล่าว เป็นเงินที่ได้ปล่อยกู้ให้พรรค อนค.รวมกว่า 191 ล้านบาท
ด้านนายธนาธรได้เดินทางไปยังสำนักงาน กกต.เมื่อวันที่ 21 พ.ย. พร้อมเผยว่า ได้รับเอกสารแจ้งจาก กกต.ให้ส่งเอกสารเพิ่มเติมกรณีให้พรรคกู้เงินแล้ว แต่ได้ตอบกลับทาง กกต.ด้วยวาจาว่า ทางพรรคงานเยอะมาก ทำให้ไม่ทัน จึงจะขอขยายเวลาในการส่งเอกสารออกไป ยืนยันไม่กังวล และมองไม่ออกว่าจะขัดกฎหมายหรือขัดรัฐธรรมนูญอย่างไร
3.ศาลฎีกานักการเมืองชั้นอุทธรณ์ พิพากษายืนยกฟ้อง “ทักษิณ” คดีแทรกแซงฟื้นฟู “ทีพีไอ”!
เมื่อวันที่ 22พ.ย. ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง โดยองค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ 9 คน ได้อ่านคำพิพากษาชั้นวินิจฉัยอุทธรณ์คดีที่คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โจทก์ ยื่นอุทธรณ์คดีที่ศาลฎีกาฯ มีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 29 ส.ค. 2561 ด้วยคะแนนเสียงข้างมากยกฟ้องนายทักษิณ ชินวัตร อายุ 70 ปี อดีตนายกรัฐมนตรี จำเลย ในความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่หรือละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือโดยทุจริต เป็นเหตุให้ผู้หนึ่งผู้ใดเสียหาย ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 กรณีกล่าวหานายทักษิณ เมื่อปี 2546 ขณะดำรงตำแหน่งนายกฯ ได้นำเสนอให้กระทรวงการคลัง สมัยที่ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เข้าเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทีพีไอ และจำเลยร่วมกับ ร.อ.สุชาติ ยินยอมให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผน และเป็นผู้เสนอชื่อ พล.อ.มงคล อัมพรพิสิฏฐ์ เป็นประธานคณะผู้บริหารแผน และนายทนง พิทยะ เป็นผู้บริหารแผน
ทั้งนี้ องค์คณะวินิจฉัยอุทธรณ์ พิจารณาประเด็นที่ ป.ป.ช.โจทก์ยื่นอุทธรณ์แล้วเห็นว่า แม้ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยตรงให้อำนาจกระทรวงการคลังเข้าเป็นผู้บริหารแผนของ ทีพีไอ ลูกหนี้ก็ตาม แต่กระทรวงการคลังมีอำนาจหน้าที่หลักในการดำเนินนโยบายด้านเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ รวมถึงการพยุงสภาวะเศรษฐกิจของประเทศไม่ให้เกิดความเสียหายมากจนยากแก่การแก้ไข
การเข้าไปเป็นผู้บริหารแผนของ ทีพีไอ ซึ่งประกอบธุรกิจอุตสาหกรรมปิโตรเคมีขนาดใหญ่ของประเทศ ซึ่งเป็นสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน หากทีพีไอไม่สามารถฟื้นฟูได้และตกเป็นผู้ล้มละลาย กิจการเหล่านั้นอาจหยุดชะงัก ประเทศชาติและประชาชนย่อมได้รับผลกระทบอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ พฤติการณ์ย่อมมีความจำเป็นอย่างยิ่งและเร่งด่วนที่กระทรวงการคลังจะต้องดำเนินการเมื่อได้รับการร้องขอให้ช่วยเหลือ กระทรวงการคลังจึงเข้าไปเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอได้
ส่วนที่ ป.ป.ช.โจทก์ อุทธรณ์ว่า นายทักษิณ จำเลยเป็นผู้ริเริ่มผลักดันสั่งการและเป็นตัวการร่วม รวมถึงไม่ทักท้วงการพิจารณาของ ครม.เพื่อเปลี่ยนจากวาระเพื่อทราบ เป็นวาระเพื่อพิจารณา มีผลให้กระทรวงการคลังเข้าเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอโดยมีเจตนาครอบงำกิจการของทีพีไอ กับเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองและพวกพ้องนั้น ข้อเท็จจริงได้ความเพียงว่า จำเลยเชิญตัวแทนของเจ้าหนี้และผู้บริหารของทีพีไอเข้าหารือที่บ้านพิษณุโลกเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการของทีพีไอและการตั้งผู้บริหารแผนคนใหม่เท่านั้น แต่ที่ประชุมเจ้าหนี้ไม่ได้เลือกกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนตามข้อเสนอของจำเลย หลังจากนั้นจำเลยก็ไม่ได้เข้าเกี่ยวข้องกับเหตุในคดีนี้
อีกทั้งต่อมา ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งไม่ตั้งบริษัท บริหารแผนไทย จำกัด เป็นผู้บริหารแผน ตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ โดยเห็นควรขอให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนหากกระทรวงการคลังยินยอม ซึ่งในท้ายที่สุด ที่ประชุมเจ้าหนี้และทุกฝ่ายยินยอมให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผน และศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งตั้งกระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนตามมติที่ประชุมเจ้าหนี้ดังกล่าวโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว
ส่วนข้ออ้างเกี่ยวกับการครอบงำกิจการของทีพีไอ โดยอ้างคำกล่าว “นายอยากได้” คำว่า "นาย" หมายถึงจำเลย ผู้ที่พูดข้อความคือ ร.อ.สุชาติ เชาว์วิศิษฐ ไม่ใช่จำเลย จึงเป็นเพียงพยานบอกเล่ามีน้ำหนักน้อย ส่วนที่จำเลยเสนอชื่อคณะผู้บริหารแผนของทีพีไอ เป็นเพียงการเสนอความเห็นเบื้องต้นแก่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในเรื่องที่นำมาปรึกษาเท่านั้น และจะได้รับการแต่งตั้งหรือไม่ต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมายอีกชั้นหนึ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่า นายทักษิณ จำเลย เข้าไปเกี่ยวข้องกับการบริหารแผนฟื้นฟูกิจการของทีพีไอ หรือการบริหารกิจการ หรือเข้าไปรับโอนถือครองหุ้นของทีพีไอ จึงรับฟังไม่ได้ว่า การเสนอชื่อคณะผู้บริหารแผนของจำเลย เป็นการเอื้อประโยชน์แก่พวกพ้อง
สำหรับข้ออ้างที่ว่า การขายหุ้นเพิ่มทุนของทีพีไอให้แก่หน่วยงานในกำกับดูแลของกระทรวงการคลัง และศาลฎีกามีคำพิพากษาให้กระทรวงการคลังคืนเงินค่าจ้างบริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัด ที่บริหารจัดการกิจการทรัพย์สินของทีพีไอ ให้แก่ทีพีไอ ทำให้ทีพีไอและกระทรวงการคลังได้รับความเสียหายนั้น เป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งตั้งให้กระทรวงการคลังเป็นผู้บริหารแผนของทีพีไอแล้ว หากทีพีไอหรือกระทรวงการคลังได้รับความเสียหายอย่างไร ทีพีไอหรือกระทรวงการคลังก็อาจไปว่ากล่าวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้องต่อไป เมื่อไม่ปรากฏในทางไต่สวนว่าจำเลยได้เข้าไปเกี่ยวข้อง หรือรู้เห็นหรือมีพฤติการณ์ที่บ่งชี้ได้ว่า จำเลยมีเจตนาพิเศษประสงค์ต่อผล เพื่อเอื้อประโยชน์ให้แก่ตนเองหรือผู้อื่น การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 ตามฟ้อง ที่ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง พิพากษายกฟ้องมานั้นชอบแล้ว อุทธรณ์ของ ป.ป.ช.โจทก์ ทุกข้อฟังไม่ขึ้น พิพากษายืน
4.“หมอวรงค์” ทิ้งพรรค ปชป.ซบพรรค รปช.หลัง “สุเทพ” ทาบทาม ตั้งเป้าปราบลัทธิชังชาติ!
เมื่อวันที่ 21 พ.ย. นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เผยว่า ตนได้ตัดสินใจลาออกจากพรรค ปชป. แล้วเมื่อ 19 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยอยู่บนพื้นฐานที่เข้าใจกัน ยังรักและเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน และยังถือว่าเราเป็นพวกเดียวกัน ที่อาจต้องพึ่งพากันเพื่อประเทศชาติ และว่า ได้ลาผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือด้วยตามวัฒนธรรมไปลามาไหว้ของคนไทย ซึ่งตนตั้งใจจะแถลงข่าว เหตุผลและเส้นทางต่อไปในอนาควันที่ 23 พ.ย.
ล่าสุด วันนี้ (23 พ.ย.) พรรครวมพลังประชาชาติไทย (รปช.) ได้จัดงานต้อนรับ นพ.วรงค์ ที่มาสมัครเป็นสมาชิกพรรค รปช. หลังจากลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรค ปชป. โดยมี ม.ร.ว.จัตุมงคล โศณกุล หัวหน้าพรรค รปช. รวมทั้งนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำพรรค และนายทวีศักดิ์ ณ ตะกั่วทุ่ง เลขาธิการพรรค ให้การต้อนรับ โดย นพ.วรงค์ได้สมัครเป็นสมาชิกพรรค รปช. แบบตลอดชีพ โดยจ่ายค่าสมัคร 3,650 บาท
หลังจากนั้น นายสุเทพได้กล่าวแนะนำ นพ.วรงค์ พร้อมระบุว่า พรรค รปช.มีความจำเป็นต้องหาบุคคลมาช่วยงานในพรรค ทันทีที่ทราบข่าวว่า นพ.วรงค์จะลาออกจากพรรค ปชป. จึงได้ทาบทามมาเข้าพรรค
ด้าน นพ.วรงค์ กล่าวถึงสาเหตุที่ลาออกจากพรรค ปชป.ว่า การเมืองปัจจุบันเปลี่ยนไปจากเดิมมากแล้ว สมัยก่อนเราสู้กับระบอบทักษิณ สู้กับรัฐบาลยิ่งลักษณ์ โครงการจำนำข้าว เป็นการต่อสู้กันระหว่างพรรคการเมือง 2 พรรคใหญ่ แต่ปัจจุบันมีการปลูกฝังความคิดที่เป็นอันตรายให้กับคนรุ่นใหม่ ที่ขอเรียกว่าลัทธิชังชาติ ตนเห็นปัญหานี้ และทนอยู่ไม่ได้ ตนเคยไปพบกับนายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร เพื่อพูดคุยเรื่องนี้ และบอกว่าพรรคประชาธิปัตย์ขณะนี้ทำงานได้ดีมากแล้ว แต่ปัญหาของประเทศมันหลากหลายมาก สไตล์การทำงานของตนไม่เหมาะกับการทำงานแบบนี้ ตนเหมาะกับการออกไปสู้ ไปปราบลัทธิชังชาติ พอดีกับกรรมการบริหาร รปช.มีมติให้ชวนตนมาร่วม และเห็นว่า ถ้าตนมาอยู่ น่าจะช่วยได้มากในการปราบลัทธิชังชาติ รวมทั้งนายสุเทพก็เป็นนักสู้ ประเทศมีปัญหาเมื่อไหร่ นายสุเทพไม่อยู่เฉยๆ แน่ ตนจึงเห็นว่าพรรคนี้จะเหมาะกับตนมากที่สุด
นพ.รวงค์ ยืนยันด้วยว่า การมาอยู่พรรค รปช.ไม่มีการต่อรองเรื่องตำแหน่งแต่อย่างใด และไม่มีความขัดแย้งกับพรรคประชาธิปัตย์
5.โป๊ปฟรานซิส เสด็จเยือนไทยในรอบ 35 ปี เข้าเฝ้า “ในหลวง-พระราชินี-พระสังฆราช” ประกอบพิธีมิสซายิ่งใหญ่-ปชช.แน่นสนามศุภฯ!
เมื่อวันที่ 20 พ.ย. สมเด็จพระสันตะปาปาฟราสซิส ประมุขแห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก ได้เสด็จเยือนประเทศไทยโดยเครื่องบินพระที่นั่ง ทั้งนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ รักษาการประธานองคมนตรี เป็นผู้แทนพระองค์ในการรับเสด็จ ที่ท่าอากาศยานทหาร 2 กองบิน 6 โดยมีรัฐมนตรีและผู้แทนกองทัพอากาศเข้าเฝ้า
จากนั้นสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้เสด็จไปยังสถานเอกอัครสมณทูตนครรัฐวาติกันประจำประเทศไทย เพื่อทรงประกอบพิธีบูชาขอบพระคุณ (พิธีมิสซา) เป็นการส่วนพระองค์ ทั้งนี้ ก่อนหน้าจะเสด็จเยือนประเทศไทย สมเด็จพระสันตะปาปาฟราสซิสทรงมีพระดำรัสเกี่ยวกับการเสด็จเยือนประเทศไทยว่า “ทรงมีความยินดีที่ได้เสด็จมาเยือนประเทศไทย ซึ่งเป็นดินแดนที่ผสานรวมกันของหลายเชื้อชาติ หลายวัฒนธรรม ทั้งยังมีขนบธรรมเนียมประเพณีอันน่าชื่นชม ทั้งประเทศไทยยังได้ทำงานอย่างเต็มที่เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ... ทรงหวังว่าการเสด็จมาของพระองค์ในครั้งนี้ จะทำให้ทุกฝ่ายตระหนักถึงความสำคัญของการเสวนาเพื่อศาสนสัมพันธ์ด้วยความเข้าใจกันอย่างลึกซึ้ง ทั้งการร่วมมือทำงานกันฉันพี่น้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการทำงานบริการเพื่อคนยากจน...”
วันต่อมา 21 พ.ย. ช่วงเช้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยรัฐมนตรี ผู้บัญชาการเหล่าทัพ ทูตานุทูต ได้เฝ้ารับเสด็จสมเด็จพระสันตปาปาฟรานซิสที่ทำเนียบรัฐบาล โดย พล.อ.ประยุทธ์กล่าวถวายการต้อนรับตอนหนึ่งว่า “...รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มีโอกาสถวายการต้อนรับสมเด็จพระสันตะปาปา ในโอกาสเสด็จเยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการ ในปีนี้ตรงกับวาระครบรอบ 350 ปี การจัดตั้งคณะมิสซังคาทอลิกแห่งสยาม และเป็นวาระครบ 50 ปี ของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับนครรัฐวาติกัน... เชื่อมั่นว่าการเสด็จเยือนไทยครั้งนี้ของสมเด็จพระสันตะปาปา ยังความปลาบปลื้มปีติแก่คริสต์ศาสนิกชนชาวคาทอลิกในประเทศไทยที่มีจำนวนมากกว่า 380,000 คน...”
ทั้งนี้ สมเด็จพระสันตะปาปาประทานพระดำรัสยินดีที่ได้มาเยือนประเทศไทย ซึ่งมีทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์และเป็นประเทศที่ยังคงรักษามรดกทางจิตวิญญาณและวัฒนธรรม ...ทรงขอบคุณนายกรัฐมนตรีไทยที่ให้การต้อนรับ ...พร้อมขออำนวยพรไปยังปวงชนชาวไทยทุกคน และขอแสดงความยินดีอย่างยิ่งที่ประเทศไทยได้ผ่านการเลือกตั้ง อันเป็นก้าวสำคัญในการกลับมาสู่การปกครองในระบอบประชาธิปไตย...
ต่อมา เวลา 10.00 น. สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส เสด็จไปยังวัดราชบพิธ เข้าเฝ้าสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โอกาสนี้ สมเด็จพระสังฆราชมีพระดำรัสตอนหนึ่งว่า “...การเสด็จมาครั้งนี้ของมหาบพิตร ไม่ใช่การมาของมิตรใหม่ หากแต่เป็นการมาเยือนของมิตรแท้อันเก่าแก่ของคนไทย ระยะทางที่ห่างไกลกัน หาใช่อุปสรรคของความสนิทสนมกลมเกลียวกัน...”
วันเดียวกัน (21 พ.ย.) เวลาประมาณ 17.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสเข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ทรงแลกเปลี่ยนของขวัญและฉายพระรูปร่วมกัน ทรงมีพระราชปฏิสันถารตามพระราชอัธยาศัย สมควรแก่เวลา สมเด็จพระสันตะปาปาทูลลา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงส่งเสด็จพระสันตะปาปา ณ รถยนต์พระที่นั่ง
หลังจากนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสได้เสด็จไปยังสนามกีฬาแห่งชาติ เมื่อเสด็จถึง ทรงเปลี่ยนรถพระที่นั่ง และทรงทักทายผู้เข้าร่วมพิธีตั้งแต่บริเวณสนามฟุตบอลเทพหัสดิน ไปจนถึงในสนามศุภชลาศัย โดยตลอดสองข้างทาง คริสต์ศาสนิกชนที่มาเฝ้ารับเสด็จประมาณ 70,000 คน ต่างส่งเสียง VIVA IL PAPA เพื่อสรรเสริญสมเด็จพระสันตะปาปาดังกึกก้อง พร้อมโบกธงชาติไทยและธงวาติกัน โดยสมเด็จพระสันตะปาปาทรงโบกพระหัตถ์ แย้มพระสรวล และทรงเอื้อมพระหัตถ์ไปสัมผัสมือผู้ที่มาเฝ้ารับเสด็จ ทำให้คริสต์ศาสนิกชนบางคนถึงกับกลั้นน้ำตาห่งความปลื้มปีติไว้ไม่อยู่ จากนั้น สมเด็จพระสันตะปาปาได้เริ่มพิธีมิสซา และทรงเทศน์ภาษาสเปน โดยใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง
ล่าสุด วันนี้ (23 พ.ย.) เวลา 09.30 น. รัฐบาลไทยได้จัดพิธีส่งเสด็จสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิส ณ ท่าอากาศยานทหาร กองบิน 6 ดอนเมือง เพื่อเสด็จต่อไปยังประเทศญี่ปุ่น โดยเครื่องบินของการบินไทย
อนึ่ง การเสด็จเยือนไทยของสมเด็จพระสันตะปาปาฟรานซิสครั้งนี้ นับเป็นการเยือนในรอบ 35 ปี จากที่ก่อนหน้านี้ สมเด็จพระสันตะปาปา จอห์น ปอลที่ 2 เคยเสด็จเยือนไทย เมื่อปี 2527