xs
xsm
sm
md
lg

“นักวิชาการ” แนะเร่งพูดคุยหาทางออก “ทีวีดิจิตอล” ให้อยู่รอดโดยรัฐไม่เสียประโยชน์

เผยแพร่:   โดย: MGR Online


“ดร.สิขเรศ” นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิตอล แนะเร่งพูดคุยหาทางออกให้ทีวีดิจิตอลอยู่รอด โดยที่รัฐไม่เสียผลประโยชน์ เพื่อประเทศชาติเองไม่ใช่เรื่องของการอุ้มนายทุน พร้อมกระทุ้ง กสทช. พิจารณาตัวเองว่ามีส่วนทำให้ปัญหาลุกลามมาถึงจุดนี้หรือเปล่า

วันที่ 27 มี.ค. ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิตอลและสื่อใหม่ ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการ “คนเคาะข่าว” ออกอากาศในเวลา 22.15 น. ทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียมช่อง “นิวส์วัน” ถึงกรณีที่ กสทช. และผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ยื่นข้อเสนอให้ คสช. ใช้มาตรา 44 เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล และผู้ประกอบการเครือข่ายโทรคมนาคม ได้แก่ 1. ขอพักชำระค่าใบอนุญาตเป็นเวลา 3 ปี โดยให้ผู้ประกอบการที่ยื่นขอพักชำระจ่ายเฉพาะดอกเบี้ยตามอัตราที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด 2. ลดค่าเช่าโครงข่าย (มัค) ลง 50% เป็นเวลา 2 ปี แล้วส่วนที่ลดนี้ กสทช. เป็นคนออกค่าใช้จ่ายด้วย ซึ่งวานนี้ (27 มี.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ ได้ตีกลับข้อเสนอดังกล่าว

ดร.สิขเรศ กล่าวว่า ต้องมองข้อแรกก่อนว่า 1. หากมีมาตรการใดที่สามารถช่วยเหลือได้ เช่น การเงิน การธนาคาร การพักชำระหนี้ ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันกับอุตสากรรมอื่นที่มีปัญหา ก็เทียบเคียงได้ 2.ค่าเช่าโครงข่ายต้องแก้ที่สาเหตุของปัญหาก่อนเอาเงินรัฐไปออก ต้องคุยกันจริงจังแล้วมาดูความจริงว่ามาตราการไหนทำได้ทำไม่ได้ เพื่อไม่ให้รัฐเสียผลประโยชน์

เมื่อถามว่า ปัญหามาถึงจุดนี้ได้อย่างไร คสทช. ต้องรับผิดชอบหรือไม่ ดร.สิขเรศ กล่าวว่า ปัญหาแยกออกเป็น 1. ทีวีดิจิตอลเข้ามาตลาดมากเกินไป 24 ช่องในครั้งเดียว หรือผิดพลาดเชิงนโยบายหรือไม่ 2. เทคโนโลยีชะงักงันหรือเทคโนโลยีใหม่เข้ามา อันนี้กำหนดไม่ได้ 3. ผิดพลาดที่องค์กรผู้บริหารหรือไม่ ต้องให้ความเป็นธรรม ซึ่งตนขอหยิบยกคำพิพากษาศาลปกครอง ย่อหน้าหนึ่งระบุว่า การปฏิบัติงานของ กสทช. เป็นไปอย่างล่าช้า หรือพูดง่ายๆ ไม่บรรลุวัตถุประสงค์นั่นเอง อันนี้ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่ง ต้องถามผู้กำหนดนโยบาย ซึ่งเราเชื่อว่าท่านเป็นอรหันต์ ก็อยู่ที่วิจารณญาณ เปรียบเทียบกับนักการเมือง ผู้บริหารอื่นๆ ก็แล้วแต่ท่านจะพิจารณา แต่ทั้งนี้ต้องรอการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดด้วย

ดร.สิขเรศ กล่าวด้วยว่า ตนมีมาตรการปลดล็อกที่เสนอในที่ต่าง ๆ 8 - 9 มาตรการ ซึ่งต้องมาคุยกันสักที หาทางออกให้รัฐไม่เสียผลประโยชน์และผู้ประกอบการอยู่ได้ อย่างการเสนอมาตรา 44 ก็มีนักวิชาการบางส่วนออกมาเห็นขัดแย้งด้วย ก็เป็นสิ่งที่มีประโยชน์ มาดีเบตกัน ว่ามีวิธีไหนอีกบ้าง เพื่อผลประโยชน์ประเทศชาติในอนาคต ไม่ใช่เรื่องของการอุ้มนายทุน เรามาวิพากษ์กันได้ ดีกว่าพายเรือในอ่างไม่มีทางออก


คำต่อคำ

นงวดี - สวัสดีค่ะ ต้อนรับคุณผู้ชมเข้าสู่รายการคนเคาะข่าว วันนี้อยู่กันคืนวันอังคารที่ 27 มีนาคม 2561 กับดิฉันนงวดี ถนิมมาลย์ คุณผู้ชมวันนี้เรามาคุยถึงประเด็นร้อน ล่าสุดวันนี้ที่ประชุม คสช. ก็มีมติไม่ออกคำสั่งมาตรา 44 เพื่อช่วยเหลือผู้ปะกอบการทีวีดิจิตอล และผู้ประมูลคลื่นความถี่ 900 เมกะเฮิรตซ์ แต่วันนี้เราจะพูดกันส่วนของผู้ประกอบการทีวีดิจิตอลที่เรียกว่ามาตราการที่คุยกันไปและก็สรุปทั้งจากฝั่ง กสทช. และผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ท้ายที่สุดแล้ว คสช. ยังไม่อนุมัติ เบรกออกมา ทีนี้วันนี้เราจะคุยกันถึงเรื่องทั้งทางออกของธุรกิจทีวีดิจิตอล รวมไปถึงภาพของธุรกิจนี้ตั้งแต่ช่วงต้นปีจนถึงเดือนนี้ก็ 1 ไตรมาส เข้าไปแล้วนะคะ ก็มีปรากฏการณ์เกิดขึ้นในธุรกิจนี้ อย่างปรากฏการณ์ออเจ้า เป็นต้น เรามาเช็คดูว่าจะมีโอกาสไหม ถ้าผู้ประกอบการสามารถที่ผลิตเนื้อหาสาระหรือว่ารายการที่มีคุณภาพ จะกลายเป็นทางออกที่ยั่งยืนให้กับบรรดาผู้ประกอบการได้หรือไม่นะคะ วันนี้เราจะคุยกันหลายแง่มุมกับ ดร.สิขเรศ ศิรากานต์ นักวิชาการอิสระด้านสื่อดิจิตอลและสื่อใหม่ อาจารย์ค่ะสวัสดีค่ะ

สิขเรศ - สวัสดีครับ

นงวดี - เริ่มกันที่เรื่องของไอเดียที่อยากจะให้ท่านนายกฯ ใช้มาตรา 44 มาช่วยเหลือ เป็นทางออกให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ซึ่งท้ายที่สุด คสช. มีมติว่ายังไม่ลงนาม ไม่อนุญาตให้ใช้มาตรา 44 นี้ อาจารย์มี
ความเห็นอย่างไรกับเรื่องนี้ค่ะอาจารย์

สิขเรศ - ประเด็นนี้ ผมคิดว่าเป็นประเด็นที่น่าศึกษารายละเอียดลึกซึ้ง ถ้าเรามองภาพจากความเป็นจริง ตอนนี้ทุกท่านประจักษ์เป็นที่เรียบร้อยแล้วว่า การประกอบการทีวีดิจิตอล คือระยะเวลา 4 ปีที่ผ่านมา มีอุปสรรคมากทางด้านเศรษฐกิจนะครับ แล้วก็ทีวีดิจิตอลเอง เอาจริงๆ ตรงๆ ใช้แทบทุกมาตราการในเชิงธุรกิจหมดแล้ว ยกตัวอย่างเช่น เลย์ออฟพนักงาน (Lay Off) การปรับโครงสร้างองค์กร การเปลี่ยนผู้บริหาร หรือแม้กระทั่งล่าสุดเพิ่งได้ยินข่าวจะมีการปรับจากทางค่าย อสมท. ด้วยซ้ำไป จะชิปตัวเองไปในส่วนของอสังหาริมทรัพย์หรือแม้กระทั่งในส่วนของมีการขายหุ้น มีบางบริษัทที่เคยทำธุรกิจมา 40-50 ปี แป๊บเดียวมีการผันเปลี่ยนในธุรกิจทีวีดิจิตอล ก็ก่อให้เกิดภาวะชะงักงันหรือเปลี่ยนมืไปเลย สิ่งต่างๆ เหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ที่เราเห็นอยู่แล้ว ถ้าจะมองกันให้อย่างชัดเจนเพิ่มเติมมากยิ่งขึ้น ผมคิดว่าอยากจะให้ผู้ชมทุกท่านๆ ชมกราฟตรงนี้ ดูกราฟตรงนี้ ผมรวมรวบให้ตั้งแต่จุดเริ่มต้นตอนเข้าเริ่มทีวีดิจิตอล จนถึง ณ วันนี้นะครับ ผลประกอบการล่าสุด เพราะฉะนั้นเราจะเห็นว่าสีเทาเป็นกิจการที่ เป็นกิจการในตลาดหลักทรัพย์ที่ทำเรื่องทีวีดิจิตอลด้วยหรือได้รับใบอนุญาตทีวีดิจิตอลด้วย ส่วนใหญ่เราก็จะเห็นว่าเป็นตัวสีแดง มีตัวสีน้ำเงินหรือสีเขียวที่ผกผันขึ้นมาบ้าง ก็มีอยู่จำนวนหนึ่งนะครับ แต่โดยทั้งหมดแล้ว เราจะเห็นว่ายังติดตัวแดงอยู่ ในหลายส่วนผมคิดว่าในส่วนของผู้ประกอบการที่มีผลกำไร คิดว่าต้องชื่นชมนะครับ อย่างเช่น ในกรณีของเวิร์คพอยท์เองก็ดีหรือในกรณีของ RS ก็ดี ก็ต้องดูว่าเขามีการปรับเปลี่ยนธุรกิจอยู่ด้วย บางธุรกิจ เช่น RS ปรับเปลี่ยนอย่างมากจากทีวีดิจิตอลอย่างเดียว เปลี่ยนไปสู่โหมดของธุรกิจเรื่องของการขาย ความงาม

นงวดี - ช้อปปิ้ง

สิขเรศ - ช้อปปิ้งไปนะครับ ในส่วนที่น่าสังเกตในของกรณีของช่อง 3 ดูผลกำไรน่าตกใจมาก ทุกท่านคงจะทราบแล้วนะครับ จากวันที่รุ่งเรืองที่สุด 5,500 ล้าน สู่ 1,200 ล้าน และมาสู่ 61 ล้าน เพระาฉะนั้นเราจะเห็นเคริฟที่สำคัญ ในกลุ่มเนชั่นก็เหมือนกันนะครับ เนชั่นไม่สามารถที่จะประกาศผลประกอบการได้ เนื่องจากมีความเปลี่ยนแปลงอย่างสูงนะครับ ผู้บริหารก็เปลี่ยนแปลงไปนะครับ เราก็จะเห็นว่าการติดลบจำนวนมาก ไตรมาส 3 ก็ 2,000 กว่าล้าน เพราะอันนี้ผมคิดว่าเป็นปรากฏการณ์ที่ทำไมธุรกิจทีวีดิจิตอลจึงต้องหาทางออก ทางออกในที่นี้ เป็นทางออกด้านการเงินส่วนใหญ่ เพราะทางออกอื่นๆ อย่างเช่น ปรับโครงสร้างองค์กรเราก็เห็นอยู่แล้ว เรื่องเกี่ยวกับการลดต้นทุนอื่นๆ เราก็เห็นอยู่แล้ว หรือแม้กระทั่งในทางที่ดี อย่างเช่น ปรากฏการณ์ออเจ้า ส่งเสริมอุตสาหกรรมหนึ่ง ไปสู่อุตสาหกรรมหนึ่ง แต่เราก็จะเห็นทีวีดิจิตอลหลายช่องเหมือนกัน เอาวีซีดีมาออก ผมเปรียบเทียบง่ายๆ เหมือนกับหนังวนหรือตอนนี้เป็นปรากฏการณ์ เราก็ต้องรักชาติเราพอสมควรนะ เgikป็นปรากฏการณ์บอลลีวู้ด (Bollywood) ไปแล้วนะครับ หน้าจอมีแต่บอลลีวู้ด (Bollywood) ทั้งนั้น หรือรายการที่ Import กันมาทั้งนั้น ในส่วนที่ดีก็มีนะครับ ในส่วนที่มีการลงทุนเพิ่มเติมก็มี นี่แหล่ะคือทั้งหมดทั้งมวลที่เราเห็นปรากฏการณ์ตรงนี้ ถามว่ามันมีแนวโน้มที่จะดีขึ้นไหม บางช่องก็มีสัญญาณในเชิงบวกมากยิ่งขึ้น บางช่องเห็นแล้วว่าการผลิตรายการหรือการที่พยายามปรับตัวเอง มีสภาวะที่อาจจะมองเห็นความหวังบ้าง แต่บางช่องผมคิดว่าก็ต้องตอบตามตรงว่าก็ยังไม่เห็นความหวังเลย ก็เลยเป็นที่มาที่ทำไมผู้ประกอบการถึงเดินเข้าสู่ร้องขอรัฐในการที่ช่วยเหลือ

นงวดี - แต่ว่าสิ่งที่ยื่นขอจะให้ใช้มาตรา 44 เอาเฉพาะที่เกี่ยวกับผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล ก็คือพักชำระค่าใบอนุญาต คือข้อ 1 คือพักชำระค่าใบอนุญาตให้ผู้ประกอบการทีวีดิจิตอล 3 ปี แล้วก็ให้จ่ายเฉพาะดอกเบี้ย และอัตราดอกเบี้ยแบงก์ชาติก็น่าจะประมาณ 1.5 เปอร์เซ็นต์ อย่างนี้นะคะอาจารย์ กับอีกข้อหนึ่งก็คือลดค่าเช่าโครงข่ายทีวีดิจิตอลให้ผู้ประกอบการ 50 เปอร์เซ็นต์ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 2 ปี และส่วนที่ลด กสทช. เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายด้วย

สิขเรศ - ใช่ครับ

นงวดี - อาจารย์ดู 2 ข้อนี้นะคะอาจารย์ คิดยังไงคะ

สิขเรศ - ประเด็นก็คือต้องมองในข้อแรกก่อนนะครับ หากมีมาตราการใดที่สามารถที่จะช่วยเหลือธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ ได้ เช่น มาตราการทางด้านการเงิน การธนาคาร การพักชำระหนี้ ซึ่งเป็นมาตราฐานเดียวกับอุตสาหากรรมอื่นที่มีปัญหา ผมคิดว่าก็อาจจะเทียบเคียงได้ อันนี้เราต้องมาพูดคุยกันวิเคราะห์กันในมาตราการที่หนึ่ง ถ้ามันเทียบเคียงกันได้ สมมุติว่าอสังหาริมทรัพย์มีปัญหา ข้าวมีปัญหา ปลาทะเลมีปัญหา ผลิตภัณฑ์จากทะเลมีปัญหา เราเคยมาตราการเหล่านี้ไหม ยางมีปัญหา เราเคยมีมาตราการคล้ายๆ แบบนี้ไหม ในการช่วยเหลือผู้ประกอบการ อันที่หนึ่ง อันที่สอง กิจการทีวีดิจิตอลไม่ว่าเราจะว่ายังไงก็แล้วแต่ แต่คิดว่าเขาก็เป็นกิจการที่เสียค่าใบอนุญาต 22 เจ้า ที่เหลือก็ยังเสียค่าใบอนุญาตอยู่ เสียค่าธรรมเนียมให้กับ กสทช. อยู่นะครับ อันนี้ผมคิดว่าต้องเป็นมาตราฐานหนึ่ง ในส่วนของค่าโครงข่ายก็เหมือนกัน จริงๆ แล้วผมคิดว่ามันก็ต้องแก้ที่ปัญหาสาเหตุนะครับ ประเด็นที่จริงก่อนที่จะเอาเงินรัฐไปออก อาจจะต้องมีการพูดคุยอย่างจริงจังไหม ผมคิดว่ามีการพยายามร้องขอในเชิงธุรกิจแล้วว่าลดกันเองได้ไหม หมายถึงผู้ประกอบการช่วยบริการโครงข่าย เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเป็นเวลาที่ที่เรามาดูความว่า เอ๊ะมาตราการไหนทำได้ ทำไม่ได้ แล้วผู้ประกอบการเอง อย่างเช่น อันนี้เป็นข้อมูลเปิดเผยในสาธารณะอยู่แล้ว เช่น ผู้ประกอบการของไทยพีบีเอส ท่านก็ชี้แจงอยู่แล้วรายได้ที่มาจากค่าบริการโครงข่าย มีจำนวนรายได้เท่านี้ๆ เพราะฉะนั้นอันนี้เป็นหลักฐานเชิงประจักษ์อยู่แล้วในเชิงกลไล ในเชิงธุรกิจ แล้วรัฐเองหากมีการผลักดัน การช่วยเหลือกัน ผมคิดว่าเป็นการพูดคุยระหว่างธุรกิจ

นงวดี - ผู้ประกอบการด้วยกัน

สิขเรศ - ผู้ประกอบการ อันนี้ก็เป็นโมเดลหนึ่งไม่ต้องเดือดร้อนเงินของรัฐถูกไหมครับ หรือแม้กระทั่งส่วน อสมท. เอง ก็นำเสนอแล้วว่า อสมท. ได้รายได้จากค่าเช่าโครงข่ายเท่าไหร่ ที่นี้ผมก็อยากจะได้รับทราบโครงข่ายของ ททบ. ด้วยเหมือนกันนะครับ ททบ. ได้ 2 โครงข่าย เพราะฉะนั้นถ้าถามในประเด็นส่วนที่ 2 คือหลักการเอาเงินถอนที่เหลือจากคูปองกล่องรับทีวีดิจิตอล ที่เผลือมาสนับสนุนค่าโครงข่ายแทน ทั้งนี้ทั้งนั้น ก็ดูเหมือนจะมีเหตุผลในบางนัยยะ ท่านผู้ชมทางบ้านอาจบอกไม่มีเหตุผล มันเป็นเงินของรัฐ ถูกไหมครับ ผมก็เลยบอกว่ามันมีโมเดลอื่นๆ ที่เราไม่เคยคุยกันในสาธารณะหรือคุยกันอย่างเปิดเผยจริงๆ ว่าถ้าเรื่องโครงข่ายมีวิธีการอย่างนี้อีก ถูกต้องหรือไม่ คุยกันเอง จริงจัง ถ้าเราอยากเปลี่ยนผ่านสู่โทรทัศน์ดิจิตอล มุ่งสู่เศรษฐกิจดิจิตอล มันมีวิธีการนี้ด้วยใช่หรือไม่ ใช่ไหมครับ ถ้าถามผม 2 ข้อ ผมว่าข้อที่หนึ่งต้องตอบมีมาตราการใดๆ ที่เคยช่วยเหลือธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ อันที่สองโครงข่ายก็ต้องมาดูด้วย มีวิธีอื่นอีกไหม ที่เขาสามารถที่จะพิจารณาหรือต่อรองกันได้ในเชิงธุรกิจนะครับ แล้วรัฐก็ไม่เสียผลประโยชน์

นงวดี - แต่ที่นี้ก็อาจจะมีคนถามว่า ถ้าสมมุติว่าวันนี้โอเคว่ามีการอนุมัติให้อุ้มผู้ประกอบการด้วยมาตราการ 2 ข้อนี้ออกมา คนก็อาจถามหาว่าเรื่องของ อ้าว แล้วเรามาถึงจุดนี้ได้ยังไงนะอาจารย์ ทำไมก่อนหน้านี้ผู้ที่มีการกำกับดูแล อย่าง กสทช. จะต้องรับผิดชอบอะไรบ้างรึเปล่า เพราะว่าต้องทำความเข้าใจว่า จากผู้ประกอบการก่อนหน้าที่จะมีการเปิดใบอนุญาตมาถึง 24 ช่อง ก่อนหน้านี้ก็มีไม่กี่ช่อง แล้วมาจนถึงมีผู้ประกอบการจำนวนมากขึ้น ก็ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในภาคธุรกิจนี้ขึ้นมา ที่นี้เขาก็อาจจะคิดก็ได้ว่าถ้าอย่างนี้ทำให้ กสทช. ลอยตัวรึเปล่า อาจารย์มีมุมมองยังไงค่า

สิขเรศ - ทั้งประชาชน ทั้งนักวิชาการ ก็อาจจะประเด็นปัญหาทีวีดิจิตอลก็ได้อยู่สามสี่ประเด็นนะครับ ประเด็นที่หนึ่งก็เรื่องเกี่ยวกับเข้ามาในตลาดจนมากเกินไป 24 ช่อง ในครั้งเดียว นั้นหมายความว่านั้่นอาจเป็นข้อผิดพลาดเชิงนโยบายหรือไม่ อันนี้คือข้อคำถามข้อที่หนึ่งนะครับ ก่อนจะตอบคำถาม อื่นๆ ข้อที่สองมีเทคโนโลยีดีลอปชั่นหรือมีการชะงักงัน หรือมีการที่เทคโนโลยีใหม่เข้ามา อันนี้ก็เป็นปัจจัยที่เราอาจจะพูดตรงๆ ว่า กำหนดไม่ได้ ถูกไหมครับ อันดับที่สาม ในส่วนที่สามคือเรื่องเกี่ยวกับผิดพลาดองค์กรผู้บริหารหรือไม่ เพราะฉะนั้นคืออันนี้ถ้ากล่าวโดยให้ความเป็นธรรม เพราะฉะนั้นเราหยิบยกของข่าวศาลปกครอง หรือคำพิพากษา คำพิจารณาของศาลปกครองมา ผมอาจจะไม่ซ้ำหรือไม่ย้ำ เพระาฉะนั้นมีอยู่ย่อหน้าหนึ่งก็ได้เห็นว่าการปฏิบัติงานของ กสทช. เองเป็นไปอย่างล่าช้า หรือพูดง่ายๆ ว่า ไม่บรรลุวัตถุประสงค์นั่นเอง หรือไม่บรรลุ KPI นั่นเอง แค่เอาภาษาที่เขานิยมกันอยู่ เพราะฉะนั้นอันนี้ก็อาจจะเป็นส่วนหนึ่งถ้าถาม อันนี้ผมคิดว่าต้องเรียนถามทางส่วนของผู้กำหนดนโยบายด้วย เพราะเราเชื่อมั่นว่าท่านเป็นอรหันต์ เพราะฉะนั้นคือเราก็ มันอยู่ที่วิจารณญาณ เปรียบเทียบกับนักการเมือง เปรียบเทียบผู้บริหารของรัฐ เปรียบเทียบกับผู้บริหารอื่นๆ เพราะผมคอว่าอันนี้ก็แล้วแต่ที่ท่านจะพิจารณา แต่ตอนนี้ผมคิดว่าก็อาจจะต้องผลพิจารณาของศาลปกครองสูงสุดด้วย ว่าท่านมีผลในการพิจารณาอย่างไร เพราะฉะนั้นผมคิดว่าอันนี้ก็เป็นมาตราฐาน ของคณะกรรมการเอง หรือเจ้าหน้าที่พนักงานของรัฐเอง ว่าตรงนี้มันมีผลสูญเสียหรือไม่ ผมก็มองว่าโอเค อันที่หนึ่งไม่มีใครกล่าวหา อยู่แล้วครับว่ามีเจตนารมณ์ที่ดี แต่เดียวกับเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ ผมคิดว่าสิ่งที่จะตรวจสอบได้อีกอันก็คือประชาชนนั่นเอง ว่ากรณีในตรงนี้ในการที่มีการชะงักงัน หรือมันนำไปสู่แทนที่จะแก้ไขที่สาเหตุหรือองค์กรที่กำกับดูแลเองได้ แต่มันติดเงื่อนไขตรงนี้ ผู้ประกอบการเลยต้องวิ่งไป Fast Track หรือหนทางลัดพิเศษ ที่วันนี้เราปรากฏกันว่ามีปัญหาในส่วนอันนี้ครับ

นงวดี - ไหนๆ อาจารย์เอาคำพิพากษาจากศาลมาให้ฟังแล้วนะคะ มาดูแล้ว อย่างเขามีการพูดถึงเจ๊ติ๋ม โมเดล ว่ามันอาจจะเป็นวิธีหนึ่ง เพื่อที่จะให้ผู้ประกอบการรายอื่นสามารถที่จะมองทางออกได้บ้าง อาจารย์คิดว่ามันมีอะไรแบบนี้ไหมคะ เจ๊ติ๋ม โมเดล ที่ว่าค่ะอาจารย์ เจ๊ติ๋มเขาก็จอดำเลยนะคะ จอดำแล้วเข้าสู่ศาลเลย

สิขเรศ - วันที่พิพากษามีแนวโน้มที่เป็นไปได้ วันที่ กสทช. เอง ท่านรองนายกฯ และผู้ประกอบการ บอกว่าอาจจะมีการเสนอ ม.44 ก็โอเค คุณติ๋ม โมเดล ก็อาจจะพักไว้แค่นี้ก่อน วันนี้สถานการณ์ ท่านผู้ชมครับเปลี่ยนเร็วมาก อาทิตย์กว่าเท่านั้นเอง ตอนนี้ คสช. โอเค บอกไปทำรายงานมาใหม่ พูดง่ายๆ ระงับไว้ก่อน แล้วก็กลับเข้ามาอีกทีหนึ่ง ถามว่าความเป็นไปได้มีไหม ผมคิดว่าก็อาจตอบตรงๆ ว่าเป็นไรได้ เพราะว่าอย่าลืมนะครับ ก่อนที่จะฟ้องร้อง การฟ้องร้องของคุณติ๋มก็คือ อยู่บนจอเรียบร้อยแล้วนะครับ แล้วผลการตัดสินของศาลปกครองกลางก็มาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แต่ผมอยากให้จับตาใน 2 ส่วน ส่วนที่สำคัญ คืออันที่หนึ่งยังมีผู้ประกอบการอีกจำนวนหนึ่งที่ฟ้อง กสทช. เหมือนกัน คล้ายๆ กัน ถ้ามูลเหตุการฟ้องคล้ายๆ กัน ก็จะมีอยู่อีก 7 ช่อง 5 ช่อง และอีก 2 ช่อง ก็คือ ไทยรัฐ ทีวี ไบรท์ ทีวี PPTV GMM25 ONEHD เนชั่น และ NOW เพราะฉะนั้นอันนี้ผมคิดว่าก็ต้องดูจับตามองการฟ้อง การตัดสิน ในส่วนของตรงนี้ ต่อมาถามว่ามี อันนี้คือมูลเหตุที่ผมทำสรุปจากการทำวิจัยว่ามีฐานการฟ้องอะไรบ้าง ที่ปรากฏอยู่บนนะครับ เพราะฉะนั้นถามว่าก็ต้องรอคำพิพากษาหรือคำตัดสินในส่วนตรงนี้ด้วยเหมือนกัน เพราะมันมีคำพิพากษาของคุณติ๋มเรียบร้อยแล้ว อีก 7 ยังไม่ได้ตัดสิน อันที่หนึ่ง อันที่สองต้องพิจารณา ใครที่จะทำคุณติ๋ม โมเดล เอาตรงๆ เลยครับ บริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์อาจจะยากหน่อย ถูกไหมครับ เพราะว่าต้องแจ้ง อย่าง กสทช. เองก็ต้องแจ้ง องค์กรของรัฐก็ต้องแจ้งบอกว่าบริษัทมหาชน ผู้ถือใบอนุญาตผิดสัญญากับรัฐหรือมีคดีกับรัฐ หรือมีอะไรก็แล้วแต่ มันก็เสี่ยงที่จะถูกแขวนหรือเสี่ยงที่ตลาดหลักทรัพย์อาจจะมีมาตราการอะไรบางส่วน เพราะฉะนั้นก็ต้องมอง ถามว่าคุณติ๋ม โมเดล ได้หรือไม่ อาจจะมีได้ แต่ในกรณีตลาดหลักทรัพย์ยากหน่อย แต่บริษัทจดทะเบียนธรรมดาก็ต้องจับตรามอง ข้อที่สาม บริษัทที่มีผลประกอบการค่อนข้างจะตัวแดง ก็อาจเลือกหนทาง เพราะคุณติ๋มใช้วิธีการก็คือในการยื่นหนังสือ เจตจำนงในการขอยกเลิกสัญญาหรือพิมพ์ขึ้นความถี่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพราะฉะนั้นผมคิดว่าตอนนี้ก็เป็นข้อพิจารณาของฝ่ายกฎหมาย แต่ละบริษัทมากกว่า ยิ่งบ่ายวันนี้มีเหตุการณ์ที่พลิกเปลี่ยนแบบนี้ เพราะฉะนั้นผมก็เลยบอกว่าให้จับตามองตั้งแต่วินาทีนี้เป็นต้นไป ว่าจะมีความเคลื่อนไหวจาก 3 กลุ่ม ที่ผมเล่าให้ผมเป็นอย่างไรบ้าง

นงวดี - คือมีโอกาสที่เป็นเจ๊ติ๋ม โมเดล เพราะว่า อันนี้ลืมเลย ถ้าอาจารย์ไม่เตือน คือมีผู้ประกอบการเขาจับมือกัน ไปร้องต่อศาล ที่อาจารย์ มี 2 กรณีด้วย

สิขเรศ - ใช่ครับ 5 บวก 2 ครับ

นงวดี - 5 บวก 2 นะคะอาจารย์ ที่นี้ถ้าดูตอนนี้แล้ว จากสิ่งเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในธุรกิจนี้ อยากให้อาจารย์มองนิดหนึ่งว่า ดูแล้วจะรอดกันสักกี่รายคะอาจารย์

สิขเรศ - ผมคิดว่าก็เรื่องเกี่ยวกับทรานส์ฟอร์เมชั่นหรือการที่เป็นภาพที่เราเห็นจากสไลด์สักครู่ที่ผมโชว์ให้ดูแล้ว ในหลายๆ บริษัทเราก็เห็นอยู่แล้วผลประกอบการของเขาที่เคยรุ่งเรืองรุ่งโรจน์ แม้รายได้กับกำไรมันเห็นชัดเจน บางบริษัทก็อยู่ในสภาวะที่กำไรหดอย่างมาก หรือเอากันตรงๆ คือในประเทศไทยของเราพิเศษโมเดลเรื่องทีวีมาจากการขายโฆษณาทั้งนั้น ตอนนี้การขายโฆษณาเอง กลุ่มที่มาเป็นอันดับต้นๆ ก็คือ ส่วนของ New Media ทั้งหมด ก็จากการประมาณการอย่างที่ผมบอก ตัวเลขที่สามารถประมาณการได้ที่ผ่านเอเจนซี่ ที่ของ New Media ของ เฟซบุ๊ก (Facebook ) ของ กูเกิ้ล (Google) ของ โซเชียลมีเดีย (Social Media) ประมาณหมื่นกว่าล้านบาท หมื่นสองพันล้านบาท แต่ในขณะเดียวกันถ้าท่านผู้ชมทำธุรกิจออนไลน์ เราไม่ต้องจ่ายตังในระบบเอเจนซี่ถูกไหมครับ เราจ่ายตังผ่านตรงกับ เฟซบุ๊ก (Facebook ) กับ ยูทูป เลย เพราะฉะนั้นมันจะมีเม็ดเงินจำนวนส่วนหนึ่ง ซึ่งไม่มีใครประมาณได้ในประเทศนี้ ซึ่งตรงย้ายฐานออกจากประเทศนี้ไป เพระาฉะนั้นเราจะเห็นโมเดลใหม่ๆ วิธีการ วิธีคิดใหม่ๆ (มีต่อ...)


กำลังโหลดความคิดเห็น